23 กุมภาพันธ์ 2552

Field density Test





Field Density Test
การหาความหนาแน่นของลูกรัง ในสนาม


ความเข้าใจง่ายๆ เป็นการทดลองหาความหนาแน่นของลูกรังในสนาม โดยวิธี Sand Cone Method
การหาความหนาแน่นของลูกรัง คือการหาน้ำหนักของลูกรัง ในบริเวณที่บดอัดเรียบร้อย หาร ด้วย ปริมาตรของหลุมที่ขุดลูกรังออกมา และการที่จะหาปริมาตรของหลุมที่กล่าวนี้ จำเป็นจะต้องวัดหรือใช้วัสดุ ที่ทราบความหนาแน่นและความถ่วงจำเพาะที่แน่นอน แล้วไปแทนที่ในหลุมที่ขุดลูกรังขึ้นมา
Sand Cone method คือ วิธี การใช้ทรายช่วยในการหาปริมาตรของหลุม ทรายที่นิยมใช้คือ ทราย Ottawa ซึ่งมีเม็ดของทราย กลมและขนาดเท่ากัน (Uniform) เพื่อให้ได้ความหนาแน่นที่เท่ากันโดยตลอด และไม่เกิดการแยกตัวของเม็ดหยาบและเม็ดเล็ก (Segregation) ขณะทำการทดลอง




เครื่องมือที่ใช้ในการทดลองได้แก่

ขวดรูปทรงกระบอก โปร่งแสง สำหรับบรรจุทราย
กรวยโลหะ มีลิ้นปิด เปิด เพื่อควบคุมการไหลของทราย
แผ่นมาตรฐาน (Base plate) ตรงกลางมีรูกลมเส้นผ่าศูนย์กลาง 152.5 mm
เครื่องชั่งสนาม สามารถชั่งได้ประมาณ 1-10 กก
ทราย Ottawa
เครื่องมือเบ็ดเตล็ด เช่น เตาแก๊ส กระทะ ช้อน ถาด กระป๋อง สมุดบันทึก




จากตารางการบันทึก เรามาทำความเข้าใจกัน ตามลำดับดังนี้

1. การหาความหนาแน่นเปียกของลูกรัง (wet density)
[a] = น้ำหนักของ ( ลูกรังที่ขุดจากหลุม + กระป๋องที่บรรจุลูกรัง)
[b] = น้ำหนักของกระป๋องที่บรรจุลูกรัง
[1] = [a]-[b]= น้ำหนักของลูกรังที่ขุดจากหลุม
[2] = น้ำของ (ขวดบรรจุทราย+ทราย Ottawa+กรวย) ก่อนปล่อยทรายลงหลุม
[3] = น้ำของ (ขวดบรรจุทราย+ทราย Ottawa+กรวย) หลังปล่อยทรายลงหลุม
[4] = [2]-[3] = น้ำหนักของทรายที่อยู่ใน ( กรวย+แผ่นฐาน+หลุม)
[5] = น้ำหนักของทรายที่อยู่ใน ( กรวย+แผ่นฐาน)
[6] = [4]-[5] = น้ำหนักของทรายในหลุม
R sand = ความหนาแน่นของทราย Ottawa จะมีค่ามากับทรายด้วย
[8] = [6]/[7] = ปริมาตรของหลุมที่ขุด
[9] = [1]/[8] = ความหนาแน่นเปียกของลูกรัง

2 การหาปริมาณความชื้นและความหนาแน่นแห้งของลูกรัง




[10] = น้ำหนักของกระป๋องทีบรรจุลูกรังเปียกก่นอคั่ว
[11] = น้ำหนักของ (กระป๋อง + ลูกรังเปียกก่อนคั่ว )
[12] = น้ำหนักของ (กระป๋อง + ลูกรังหลังคั่วแห้ง )
[13] = [12]-[10] = น้ำหนักของ ลูกรังแห้ง
[14] = [11]-[12] = น้ำหนักของ น้ำ
[15] = [14]x100/[13] = ปริมาณความชื้นของลูกรัง

[16] = [9]/{1+[15]/100} = ความหนาแน่นแห้งของลูกรัง




3 ผลของการทดสอบความหนาแน่นของลูกรัง ในสนาม



[17] = ความหนาแน่นแห้งสูงสุดของลูกรัง จากห้องแลป
[18] = สเป็คการบดอัดความหนาแน่นของลูกรัง ในสนาม ปกติ กำหนดที่ 95%
[19] = { [16]/[17] } x 100

ถ้า [19] มากกว่าหรือเท่ากับ [18] แสดงว่าผลการบดอัดลูกรังที่หน้างานได้มาตรฐาน





www.mybuilt.blogspot.com