20 มกราคม 2552

Super Flat floor with floorhardener At RC Site

Step 1 ขั้นตอนการทำงาน เริ่มตั้งแต่ การปรับดินเทลีน คานคอดิน วางแผ่น Prestress จนถึงการเทคอนกรีตเสร็จ

1. ปรับดินเท Lean Concrete หนาประมาณ 5 ซม. เพื่อทำคานคอดินรับพื้น ข้อระวังในการทำคานคอดิน คือการควบคุมระดับหลังคานให้ใด้ระดับตามแบบก่อสร้าง เพื่อการวางแผ่น Prestress ง่ายขึ้นในระหว่างการทำงาน
2. รื้อไม้แบบคานคอดินออก ปรับระดับดินเดิมตามสภาพ แล้ว ฉีดน้ำยากำจัดปลวกลงดิน ให้ได้ตามสเป็คของผู้ออกแบบ ตามด้วยการวางแผ่น Prestress
3. วางแผนและจัดลำดับ การเทคอนกรีตพื้นออกเป็นโซน แต่ละโซนมีขนาด กว้าง x ยาว ประมาณ 20 x50 เมตร แต่โซนออกแบบรอยต่อเป็น pour strip หรือ Expantion joint ทั้งนี้เพื่อควบคุมรอยแตกร้าว ส่วนการเทคอนกรีตแต่ละครั้งควรแบ่ง strip การเทไม่ควรเกิน 6-8 เมตร เพื่อควบคุมค่าระดับของพื้น

4. การวางเหล็กเสริมควรวางให้ได้ตำแหน่ง เหล็กบนต้องอยู่บนจริง ๆ เหล็กล่างต้องอยู่ล่าง และในส่วน
Covering ต้องได้ตามที่กำหนดโดยใช้ลูกปูนและ barchair ช่วยในการจัดตำแหน่งของเหล็กเสริม

5. Construction Joint ของแต่ละ Bay ให้ใช้ตะแกรงกงไก่เป็นแบบ ด้านที่จะตัด Joint ควรยึดตะแกรงให้แน่นด้วย เหล็ก 9 mm. ตลอดแนวที่จะตัด Joint ระวังเวลา จี้คอนกรีต ถ้ายึดตะแกรงไม่ดีจะทำให้คอนกรีตทะลักล้นออกมา การติดตะแกรง ควรวางให้ได้ระนาบฉากเสมอ

5. การใส่เหล็กฉาก กันเหลี่ยมบิ่น หรือ เพื่อให้เหลี่ยมของพื้นในแนวที่ตัด Joint มีคุณภาพควรใช้เหล็กฉากใหม่ ไม่ควรใช้เหล็กเก่าเพราะอาจมีขี้ปูนติดกับเหล็กฉากอยู่ และควรทาเหล็กฉากด้วยน้ำยา หรือจาระบี เพื่อไม่ให้เหล็กฉากยึดติดกับ Concrete ตอนรื้อเหล็กฉากควรใช้เครื่องตัดร่องนำระหว่างแนวเหล็กฉาก กับคอนกรีต เพื่อป้องกันเหลี่ยมแตก การ Set ระดับ ไม่ควรเชื่อมเหล็กฉากติดกับเหล็กเสริม เพราะระดับอาจเคลื่อนได้ ก่อนเทควรให้ Survey Check ระดับให้อีกครั้ง และควรยึดค่าระดับอ้างอิงจุดเดียวกันเสมอ

6. การเสริมเหล็กกันแตกตามบริเวณ Block Out และ Opening รวมทั้งตามมุมเสา มุมหักต่างๆของคอนกรีต ต้องมี อย่างน้อย 3 เส้น โดยใช้ความยาวเท่ากับ 3 d และระยะห่างประมาณ 2.5 - 3 ซม. โดย Aggregated สามารถแทรกตัวลงได้โดยไม่มีการแยกตัว
7. การเท Concrete ควรจะเทเริ่มจาก Bay ตรงมุมออกมาก่อน หรือ ทาง วิศวกร เห็นสมควร และก่อนเท
คอนกรีต ควร Check Slump ก่อนเททุกครั้ง Slump ต้องได้ตามที่ Mix Design ไว้ ( Slump ปกติจะอยู่ที่ 10 + 1 ซม. )
8. การปาดหน้าปูนให้ใช้กล่องอลูมิเนียม หรือโครงถักอลูมิเนียมช่วยในการปาดหน้า และง่ายต่อการ Check ระดับของผิวคอนกรีต

9. การเท Concrete ใน Bay ต่อไปควรสะกัดคอนกรีตที่ล้นออกนอกตะแกรงกงไก่ก่อนเทคอนกรีตใหม่เสมอ

การตรวจสอบก่อนการเทคอนกรีต และระหว่างการเทคอนกรีต
- ตรวจสอบระดับของ lean Concrete และความเรียบร้อยของพลาสติก Sheet
- ตรวจสอบแนววางท่อ และระดับของลวดอัดแรงให้ได้ตามแบบ
- ตรวจสอบงานระบบที่อยู่ใต้พื้นให้ตรงตามแบบ
- ตรวจสอบเหล็กเสริมตามช่องเปิด และ joint รวมทั้งบริเวณสมอยึด (Anchorage)
- ตรวจสอบเหล็กฉาก ว่าได้ระดับเท และได้แนว และมีความแข็งแรง
- ตรวจสอบว่ามีการจี้ปูนสม่ำเสมอ และ slump ในการเทต้องได้ตามกำหนด
- ตรวจสอบการปาดปูน ปรับระดับด้วยโครงถักอลูมิเนียม และเช็คด้วยกล้องระดับ
- ถ้าเหล็กเสริมติดแนว tendon ให้ขยับเหล็กเสริมออกจากแนว tendon ห้ามหักงอ tendon เพื่อหลบเหล็กเสริมซึ่งจะทำให้เกิด
friction loss สูง
- แนวการเทคอนกรีตต้องเป็นแนวเดียวกันตลอดห้ามเทตัดขวางกันเป็นสามแยก
ข้อควรระวัง
1. ไม่ควรให้คนงานเดินบนเหล็กเสริมเพราะอาจทำให้เหล็กคด งอ เสียรูปทรงได้
2. ก่อนเทคอนกรีต ทุกครั้งควรให้ Survey มา Recheck ระดับก่อนเสมอ และใช้ค่าระดับที่จุดเดียวกัน
3. ก่อนเทคอนกรีตควรลดระดับเผื่องาน Finishing ตามแบบไว้ก่อนเสมอ
4. ก่อนเทคอนกรีต ควรลงน้ำยากันปลวกก่อน 1 วัน
5. ต้องทำความสะอาดแบบก่อนเทคอนกรีตทุกครั้ง
6 เพื่อความสวยงามของพื้นคอนกรีตควร Set ตำแหน่งรอยต่อ joint ให้หลบในที่ลับตาหรือบริเวณที่มีสิ่งของมาบังไว้
7 การเก็บน้ำปูนหรือขี้ปูนที่ล้นเข้าไปใน Concrete Bay เก่าและเก็บรอยต่อให้ดี ถ้าเก็บไม่ดีจะเกิดเป็นรอยตะเข็บเกิดขึ้น
8 ในบริเวณจุดตัว Joint ให้เป็นสี่แยกตลอด และไม่ควรตัด Joint ให้เป็นมุมฉากมุม, มุมเว้า
9 ในส่วนพื้นที่โครงสร้างต่างชนิดกันควรตัด Joint แยกจากกันเป็น Slab on ground กับ Slab on beam
10 ตรงส่วนมุมเว้า มุมแหลม ควรเสริมเหล็กกันแตกเสมอ รวมถึงบริเวณ Block out วงกบ โดยใช้ความยาวเท่ากับ 3 d
Step 2 ขั้นตอนการขัดมันด้วยผง FLOOR HARDENER

20 พฤศจิกายน 2551

การทำงานที่ปลอดภัยที่เกี่ยวข้องกับปั้นจั่น

Method statement การทำงานที่เกี่ยวข้องกับปั้นจั่น
1 แต่งกายให้ถูกต้องรัดกุมดังนี้
1.1 กางเกงขายาว เสื้อ รัดกุมไม่รุ่มร่าม
1.2 สวมหมวกนิรภัยพร้อมสายรัดคาง ป้องกันวัสดุหล่น
1.3 รองเท้าหุ้มส้น สวมใส่แล้วคล่องตัว สะดวกต่อการประกอบปั้นจั่น
2 กรณีประกอบปั้นจั่นที่ความสูงมากกว่าสามเมตรขึ้นไป ให้รัดเข็มขัดนิรภัยและคล้องกับโครงปั้นจั่นไว้ตลอดเวลา กรณีปีนขึ้นหรือลง ให้ปีด้วยความระมัดระวัง และมีเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยและควบคุมดูแลอย่างใกล้ชิด
3 เมื่อประกอบแล้วเสร็จ ให้ติดป้ายบอกพิกัดน้ำหนักยกไว้ที่ปั้นจั่น ปิดคำเตือนให้ระวังอันตรายและให้ผู้บังคับปั้นจั่นและรอบข้าง เห็นได้ชัดเจน
4 ในการทำงานเกี่ยวกับปั้นจั่น จัดให้มีการให้สัญญาณการใช้ปั้นจั่นที่เข้าใจในระหว่างผู้เกี่ยวข้อง ในกรณีที่การใช้สัญญาณเป็นการใช้สัญญาณมือ ต้องจัดให้มีรูปภาพหรือคู่มือการใช้สัญญาณมือตามที่กำหนดไว้ที่ปั้นจั่นและบริเวณที่ทำงาน
5 จัดให้มีการตรวจสอบส่วนประกอบและอุปกรณ์ของปั้นจั่นทุก ๆ สามเดือน กรณีโครงการนี้ใช้เวลาตอกไม่ถึงสามเดือน ให้บันทึกเวลาที่ตรวจสอบและผลการตรวจสอบ โดยมีวิศวกรเป็นผู้รับรองไว้เป็นหลักฐาน ก่อนเข้ามาใช้งานในโครงการนี้ เพื่อให้มีการตรวจสอบได้ในระหว่างเวลาทำงาน
6 ในการทำงานเกี่ยวกับปั้นจั่น ห้ามใช้เชือกลวดเหล็กกล้าที่มี ลักษณะ ชำรุด หรือไม่ผ่านตามข้อกำหนดความปลอดภัย
7 จัดทำเครื่องหมายแสดงเขตอันตรายหรือเครื่องกั้นเขตอันตรายในรัศมีส่วนรอบของปั้นจั้นที่หมุนกวาดระหว่างทำงานเพื่อเตือนให้ระวังอันตรายอาจเกิดขึ้นในรัศมีของการทำงานได้
8 จัดติดตั้งเครื่องดับเพลิงชนิดที่เหมาะสมและใช้การได้
9 เก็บและเคลื่อนย้ายเชื้อเพลิงที่ใช้กับปั้นจั่นด้วยความระมัดระวังมิให้เกิดอันตรายได้
10 ถ้ามีการทำงานในเวลากลางคืน จัดให้มีแสงสว่างทั่วบริเวณตลอดเวลาที่ทำงาน

20 ตุลาคม 2551

การสำรวจพื้นที่เพื่อวางแผนการก่อสร้าง




การสำรวจพื้นที่

1 ตรวจสอบแนวเขตที่ดินที่จะทำการก่อสร้าง

2 ทำวงรอบโครงการและค่าระดับ คร่าวๆ

3 หาข้อสรุปกับเจ้าของโครงการว่า งานนี้ต้องถมหรือตัดดิน


4 งานรื้อย้ายต้นไม้และวัชพืช ขยะ ดินเลน ออกจากพื้นที่

5 ปรับบดอัดดินเดิม

6 ตรวจสอบและแก้ไขดินอ่อน (Soft Spot)

7 งานถมดินพร้อมบดอัด ปรับระดับให้ได้ตามสเป็ค

8 การทดสอบดินถม

9. กรณีการถมสระน้ำเก่า
9.1. ทำการสูบน้ำออกจนหมด
9.2. ขุดลอกเอาขี้เลนออกให้หมด จนถึงชั้นดินแข็ง
9.3. ทำการถมด้วยทรายหยาบโดยทำการถมเป็นชั้นๆ ชั้นละ 50 cm. แล้วบดอัดด้วยรถบด
9.4. ทำการทดสอบโดยวิธี ตามหลักวิศวกรรม


การสำรวจสภาพดินเพื่อการออกแบบงานที่เกี่ยวข้อง

งานเสาเข็ม