16 มิถุนายน 2552

09-06-08 กทม.เดินหน้าถอนป้ายโฆษณาผิดกฎหมาย

กทม.เดินหน้าถอนป้ายโฆษณาผิดกฎหมาย

นายประกอบ จิรกิติ รองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร (กทม.) เปิดเผยถึงการแก้ปัญหาป้ายโฆษณาในพื้นที่ กทม. ว่า ขณะนี้ กทม.ได้กวดขันและตรวจสอบป้ายโฆษณาที่ก่อสร้างโดยไม่ได้รับอนุญาต หรือก่อสร้างผิดไปจากแบบที่ได้รับอนุญาต และดำเนินคดีกับผู้กระทำผิดทุกราย ส่วนป้ายผิดกฎหมายทั้งหมดอยู่ระหว่างรื้อถอนของสำนักงานเขต ทั้งนี้การแก้ไขปัญหาป้ายโฆษณาของ กทม. ได้เสนอให้ออกกฎกระทรวงเรื่องป้ายโดยเฉพาะ โดยเพิ่มแรงลมในการออกแบบโครงสร้างอาคารประเภทป้าย ซึ่งขณะนี้เรื่องอยู่ระหว่างการพิจารณาของกระทรวงมหาดไทย (มท.) ประกอบกับขณะนี้ได้มีกฎกระทรวง เรื่อง การตรวจสอบอาคาร ซึ่งป้ายเป็นอาคารประเภทหนึ่งที่เจ้าของป้ายจะต้องจัดให้มีการตรวจสอบด้านความมั่นคงแข็งแรง ทำให้อาคารประเภทป้ายต้องมีการตรวจสอบทุกปี นอกจากนั้นป้ายที่ฝ่าฝืนกฎหมาย กทม.ก็ได้มีการดำเนินคดีและออกคำสั่งต่างๆ ตามกฎหมายควบคุมอาคาร รวมทั้งคำสั่งห้ามใช้ป้าย ซึ่งการห้ามใช้ป้ายนั้นจะห้ามผู้ลงโฆษณาด้วย โดยหากยังฝ่าฝืนลงโฆษณาบนป้ายที่ผิดกฎหมาย ผู้ลงโฆษณาก็จะมีความผิดตามกฎหมายควบคุมอาคารด้วย ตามมาตรา 67 พ.ร.บ.ควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522 มีโทษจำคุกไม่เกินหกเดือน หรือปรับไม่เกินหนึ่งแสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ และผู้ฝ่าฝืนยังต้องโทษปรับอีกวันละไม่เกินสามหมื่นบาท ตลอดระยะเวลาที่ฝ่าฝืนหรือจนกว่าจะได้ปฏิบัติให้ถูกต้องต่อไป
ด้านนายทรงศักดิ์ นุชประยูร ผู้อำนวยการกองควบคุมอาคาร เปิดเผยว่า สำหรับข้อมูลป้ายที่สำนักงานเขตจะต้องดำเนินการรื้อถอนตั้งแต่วันที่ 27 พ.ค.ที่ผ่านมา มีจำนวน 272 ป้าย ในจำนวนนี้รื้อถอนแล้ว 154 ป้าย อยู่ระหว่างรื้อถอน 107 ป้าย ที่เหลือได้รับการยืนยันว่าสร้างก่อนปี 33 ซึ่งเป็นป้ายที่ไม่ต้องขออนุญาต ถือว่าถูกต้องตาม พ.ร.บ.ควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522 จำนวน 11 ป้าย นอกจากนั้นจากการรายงานของสำนักงานเขตทั้ง 50 เขต มีจำนวนป้ายโฆษณาในพื้นที่ทั้งหมด 1,032 ป้าย ในจำนวนนี้ถูกต้องตามกฎหมาย 836 ป้าย ก่อสร้างผิดแบบที่ขออนุญาต 36 ป้าย และก่อสร้างโดยไม่ได้รับอนุญาต 160 ป้าย

from เนชั่นทันข่าว8 มิย. 2552 19:15 น.

09-03-22 รองผู้ว่าฯ ปากน้ำตรวจอาคารถล่ม

รองผู้ว่าฯ ปากน้ำตรวจอาคารถล่ม ประสาน ปภ.เขต 8 รื้อซากปรักหักพัง

จากกรณีเหตุอาคารถล่มทับบ้านพักคนงาน กระทั่งมีผู้ได้รับบาดเจ็บ จำนวน 18 คน เป็นเด็ก 5 คน เหตุเกิดภายใน ซ.ศรีบุญเรือง ถ.เทพารักษ์ ต.สำโรงเหนือ อ.เมือง จ.สมุทรปราการ
นายสุรชัย ขันอาสา รองผู้ว่าราชการจังหวัดสมุทรปราการ เปิดเผยภายหลังเดินทางมาดูที่เกิดเหตุว่า ได้กำชับให้เทศบาล ต.สำโรงเหนือ เจ้าของพื้นที่ตรวจสอบว่า อาคารดังกล่าวขออนุญาตถูกต้องหรือไม่ พร้อมกับกันพื้นที่ ประกาศเป็นเขตภัยพิบัติ คนที่ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องห้ามเข้าพื้นที่ ทั้งนี้ ยังได้ประสานกับป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย เขต 8 จ.ปราจีนบุรี นำเครื่องจักรกลหนักมาทำการรื้อซากปรักหักพัง และอาคาร เนื่องจากเห็นว่าไม่ปลอดภัย เพราะบางส่วนของอาคารอาจถล่มเพิ่ม

โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์22 มีนาคม 2552 15:38 น.
http://mybuilt.blogspot.com

ระทึก!บ่อบำบัดน้ำเสียหน้าห้างบิ๊กซีลาดพร้าวบึม!


ระทึก!บ่อบำบัดน้ำเสียหน้าห้างบิ๊กซีลาดพร้าวบึม! แม่ค้าเจ็บ 4 ราย คาดเกิดจากแก็สมีเทนระเบิด ด้านเขตวังทองหลางเตรียมถกผู้รับผิดชอบหามาตรการแก้ไข ตำรวจเร่งหาตัวเจ้าของพื้นที่มาดำเนินการต่อไป เมื่อเวลา 20.00 น.วันนี้ 11 มิ.ย.ร.ต.ท.สถาพร สุขสว่าง ร้อยเวร สน.โชคชัย รับแจ้งเหตุระเบิดบริเวณลาดจอดรถหน้าห้างบิ๊กซี สาขาลาดพร้าว แขวงและเขตลาดพร้าว กทม.จึงประสานเจ้าหน้าที่สำนักงานเขตวังทองหลาง เดินทางไปตรวจสอบที่เกิดเหตุเป็นลานกว้างประมาณ 30 เมตรหน้าห้างบิ๊กซีที่ให้ผู้ค้าเช่าแผงขายสินค้าต่างๆ ตั้งแต่เวลา 18.00 น.จนถึงเวลา 23.00 น.โดยเบื้องต้นพบว่าบริเวณพื้นผิวของลานจอดรถดังกล่าวมีแผงกั้นท่อระบายน้ำเสีย ส่วนบริเวณด้านล่างเป็นบ่อบำบัดน้ำเสียของห้างบิ๊กซี โดยแรงระเบิดทำให้พื้นบริเวณลานจอดรถดังกล่าวได้รับความเสียหาย รอยแยกยาวประมาณ 10 เมตรและยกตัวดันฝาท่อระบายน้ำสูงขึ้นประมาณ 1เมตร และส่งกลิ่นเหม็นเน่าคละคลุ้ง คล้ายสิ่งปฏิกูล นอกจากนี้ยังทำให้มีผู้บาดเจ็บเป็นรอยถลอก ที่บริเวณ ศีรษะ แขนและลำตัว จำนวน 4 ราย ซึ่งได้นำตัวส่งโรงพยาบาลเปาโลสยาม ซอยโชคชัย 4 ทราบชื่อคึอน.ส.สุวรรณา อนุศักดิ์ชน อายุ 24ปี น.ส.เกศดา ยินดี อายุ 20 ปี นางนิดา สร้อยจำปา อายุ 54 ปี น.ส.ศรัณยา แห้วไธสง อายุ19 ปี ทั้งหมดเป็นแม่ค้าขายสินค้าบริเวณหน้าห้างฯ ต่อมาเจ้าหน้าที่ตำรวจได้นำเชือกมากั้นบริเวณที่เกิดเหตุ และให้พ่อค้าแม่ค้าที่เช่าแผงบริเวณดังกล่าวนำสินค้าออกจากที่เกิดเหตุเพื่อความปลอดภัย ส่วนพื้นที่บริเวณหน้าห้างบิ๊กซีที่ไม่ได้รับความเสียหายยังสามารถขายสินค้าได้ ร.ต.ท.สถาพร กล่าวว่า เหตุระเบิดดังกล่าวเกิดขึ้นเอง ไม่ได้เป็นเหตุลอบวางระเบิดแต่อย่างใด เนื่องจากบริเวณด้านล่างเป็นบ่อบำบัดน้ำเสียของห้างฯ ทำให้มีผู้บาดเจ็บเล็กน้อย 4 ราย ซึ่งเจ้าหน้าที่ได้นำตัวส่งโรงพยาบาลเรียบร้อยแล้ว แต่ขณะนี้ยังไม่มีผู้บริหารของห้างดังกล่าวติดต่อมา เบื้องต้นสอบถามเจ้าหน้าที่ดูแลบริเวณห้างฯต่าง ปฏิเสธว่าพื้นที่บริเวณดังกล่าวอยู่นอกตัวอาคาร ไม่ใช่พื้นทื่ของห้างบิ๊กซี ซึ่งได้เช่าพื้นที่ของห้างอิมพีเรียล สาขาลาดพร้าว อย่างไรก็ตามหลังจากนี้จะสอบปากคำผู้เสียหายและตรวจสอบพื้นที่ดังกล่าวว่าอยู่ในความรับผิดชอบของเอกชนรายใด นายสมชาย พิสิทสวัสดี หัวหน้าฝ่ายสิ่งแวดล้อมและสุขาภิบาล กล่าวว่า เบื้องต้นน่าจะเกิดจากแก๊สมีเทน ที่เกิดจากการหมักหมมของสิ่งปฏิกูล ซึ่งพบต้นทราบว่าบวิเวณด้านล่างเป็นบ่อพักน้ำเสีย จึงเป็นไปได้ว่าอาจจะเกิดจากประกายไฟ อย่างใดอย่างหนึ่ง จนทำให้เกิดแรงระเบิดขึ้น เช่นอาจจะมีคนโยนก้นบุหรี่ลงไปในท่อพักน้ำเสีย เนื่องจากสอบถามเจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัยที่เห็นเหตุการณ์ ทราบว่าได้ยินเสียงดังคล้ายระเบิด 2ครั้ง มีควันและเห็นมีประกายไฟเกิดขึ้นเช่นกัน ขณะที่นายกรพัส หาญกิจ ผู้ช่วยผู้อำนวยการเขตวังทองหลาง กล่าวว่า หลังจากนี้จะประสานผู้บริหารของห้างฯ เพื่อดูแลรับผิดชอบด้านความปลอดภัยต่อไป โดยอาจจะมีคำสังของสำนักงานเขตวังทองหลางให้ทางห้างฯ ดูแลเรื่องหลักการสุขาภิบาล การจัดการบ่อบำบัดน้ำเสียให้มีมาตรฐานมากขึ้น ส่วนสำนวนการสอบสวนคงเป็นหน้าที่ของพนักงานสอบสวนสน.โชคชัยจะดำเนินการต่อไปที่มา ASTV ผู้จัดการออนไลน์
http://mybuilt.blogspot.com

คมชัดลึก :ปูนพังถล่มนั่งร้านก่อสร้างทับ 3 คนงานเสียชีวิต

คมชัดลึก :ปูนพังถล่มนั่งร้านก่อสร้างทับ 3 คนงานเสียชีวิตคาที่ เจ็บอีก 4 ขณะกำลังก่อสร้างโรงภาพยนตร์เอสพลานาด ซีนีเพล็กซ์ รัตนาธิเบศร์ ตอนนี้สามารถนำศพออกมาได้ 2 ราย อีก 1 รายยังติดอยู่ ด้านผู้ว่าฯเมืองนนท์และผู้การยันจะตรวจสอบถึงสาเหตุของการเร่งเทปูน เตรียมเรียกวิศวกรผู้คุมงาน โฟร์แมน สอบ ด้านวิศวกรชี้อาจเกิดจากนั่งร้านชำรุดรับน้ำหนักไม่ไหว

15 มิถุนายน 2552

ปูนพังถล่มนั่งร้านก่อสร้างทับ 3 คนงานเสียชีวิตคาที่ เจ็บอีก 4

คมชัดลึก : เมื่อเวลา 04.40 น.วันที่ 13 พ.ค. พ.ต.ท.เฉลิมยศ หอมสกล สารวัตรเวรสอบสวน สภ.เมืองนนทบุรี สาขาย่อยรัตนาธิเบศร์ รับแจ้งเหตุมีนั่งร้านปูนถล่มทับคนงานได้รับบาดเจ็บจำนวนมาก และมีผู้ถูกปูนทับติดอยู่ที่ชั่นล่างของอาคารก่อสร้างด้วย โดยที่เกิดเหตุเป็นสถานที่ก่อสร้างโรงภาพยนตร์เอสพลานาด ซีนีเพล็กซ์ รัตนาธิเบศร์ ซึ่งตั้งอยู่แยกแคราย หมู่ 8 ต.บางกระสอ อ.เมือง จ.นนทบุรี หลังรับแจ้งจึงเดินทางไปตรวจสอบยังที่เกิดเหตุ พร้อมด้วยหน่วยกู้ชีพโรงพยาบาลพระนั่งเกล้า เจ้าหน้าที่มูลนิธิปอเต็กตึ้ง ที่เกิดเหตุทางเจ้าหน้าที่ได้ช่วยเหลือผู้บาดเจ็บออกมาได้ 4 คน และนำส่งโรงพยาบาลพระนั่งเกล้าเป็นการด่วน ในเบื้องต้นทราบชื่อคือ นายอาหื่อ มาเยอะ และนายอาบื่อ เยสอกู่ ซึ่งเป็นชาวไทยใหญ่ ได้รับบาดเจ็บสาหัส และอาทู ไม่ทราบนามสกุล กับนายโชคชัย นุสนธิ ได้รับบาดเจ็บเล็กน้อยที่แขนขวาและแผลถลอกตามลำตัว ส่วนคนงานก่อสร้างที่โชคร้ายถูกนั่งร้านและปูนถล่มทับร่าง 3 คน ทราบชื่อนายอาจ่าง อาซอ อายุ 27 ปี อยู่เลขที่ 163 หมู่ 6 ต.แม่คะ อ.ฝาง จ.เชียงใหม่ นายคำแสง ยาราช อายุ 50 ปี อยู่บ้านเลขที่ 31 หมู่ 16 ต.ห้วยข่า อ.บุณฑริก จ.อุบลราชธานี และนายเสถียร เกตุบุตร เกตุบุตร อายุ 22 ปี อยู่บ้านเลขที่ 33 หมู่ 2 ต.อุทัยสวรรค์ อ.นากลาง จ.หนองบัวลำภู โดยตอนเกิดเหตุระหว่างที่เจ้าหน้าที่กำลังระดมกำลังเข้าไปช่วยเหลือคนงานเคราะห์ร้าย 3 คนที่ติดอยู่ในซากนั่งร้านและถูกปูนซีเมนต์ทับนั้น เจ้าหน้าที่ยังได้ยินเสียงร้องขอความช่วยเหลือดังมาจากคนงานทั้ง 3 อยู่ แต่ระหว่างที่เจ้าหน้าที่รอรถดับเพลิงจากเทศบาลมาทำการฉีดน้ำ เพื่อไล่ปูนที่ถล่มทับ เสียงรอขอความช่วยเหลือก็ขาดหายไป ซึ่งทางเจ้าหน้าที่ยังไม่กล้าเข้าไปช่วยเหลือในทันที เนื่องจากเกรงว่านั่งร้านจะถล่มซ้ำลงมาอีก ซึ่งต้องรอทางเจ้าหน้าที่วิศวกรฝ่ายโยธาของเทศบาลนครนนทบุรี มาประเมินสถานการณ์ในที่เกิดเหตุ ก่อนจะเข้าให้ความช่วยเหลือได้ เมื่อปูนซีเมนต์ที่ถล่มมาทับคนงานได้แห้งตัวอย่างเร็ว ทำให้การช่วยเหลือคนงานที่เคราะห์ร้ายเป็นไปด้วยความยากลำบาก จนในที่สุดปูนที่ทับเริ่มแห้ง และแข็งตัวฝังทั้งเป็นคนงานทั้ง 3 คน แม้ว่าทางเจ้าหน้าที่ดับเพลิงจะพยายามฉีดน้ำเลี้ยงไว้ไม่ให้ปูนแข็งตัวก็ตามนั่งร้านถล่มคนงานดับ 3 ศพ
อย่างไรก็ตามหลังจากที่เจ้าหน้าที่มูลนิธิได้ใช้เครื่องมือขุดเจาะทำการเจาะปูนที่ฝังร่างคนงานที่ถูกปูนนั่งร้านถล่มทับจนเสียชีวิต ซึ่งสามารถนำศพผู้เสียชีวิตรายแรกที่พบออกมาได้คือนายอาจ่างสภาพศพถูกปูนทับและมีบาดแผลถลอกทั้งตัว และสามารถขุดเจาะนำศพผู้เคราะห์ร้ายรายที่สองออกมาได้คือ นายเสถียร สภาพศพถูกทับด้วยปูนทั้งตัวเช่นกัน ศรีษะด้านหลังแตกเป็นแผลฉกรรจ์ ขาขวาหัก มีรอยถลอกตามลำตัวหลายแห่ง ส่วนผู้เสียชีวิต
ส่วนรายที่ 3 คือนายคำแสง ทางเจ้าหน้าที่มูลนิธิยังไม่สามารถค้นหาศพพบ เนื่องจากปูนซีเมนต์และนั่งร้านที่ลงทับนั้น น่าจะทับฝังผู้ตายจนมิดไม่เห็นร่าง และปูนซีเมนต์เริ่มแห้งจับเป็นตัวแข็ง ทำให้ทางเจ้าหน้าที่มูลนิธิต้องทำการรื้อถอนนั่งร้านบริเวณโดมซึ่งมีจำนวนมาก ออกเสียก่อน จึงจะสามารถทำการกะเทาะปูนที่พื้นล่างเพื่อค้นหาศพนายคำแสงได้
ด้านนางวิเชียร ยาราช ภรรยานายคำแสง คนงานที่ถูกปูนนั่งร้านทับ และยังค้นหาศพไม่พบ ได้เดินทางมาเฝ้าดูการช่วยเหลือหาร่างของสามี กล่าวว่า คิดว่าขณะนี้สามีตนเองคงไม่น่าจะรอดชีวิต จากเหตุการณ์ดังกล่าวแล้ว แต่อยากให้ทางเจ้าหน้าที่ช่วยเหลือนำร่างของสามีออกมาให้ได้ เหมือนเพื่อนคนงานอีก 2 คน ซึ่งจะได้นำศพเขาไปทำพิธีให้ถูกต้อง เรื่องความช่วยเหลือนั้นคงต้องรอให้ทางบริษัทเป็นผู้เสนอมา ตนเองคงไม่รู้ว่าทางบริษัทจะให้ความช่วยเหลืออะไรบ้างในขณะนี้ นายเชิดวิทย์ ฤทธิประศาสน์ ผู้ว่าราชการจังหวัดนนทบุรี พ.ต.อ.สุพจน์ เกษมชัยอนันต์ รอง ผบก.ภ.จว.นนทบุรี พ.ต.อ.ณรงค์ฤทธิ์ ภักดีณรงค์ ผกก.สภ.เมืองนนทบุรี ได้เดินทางมาตรวจสอบที่เกิดเหตุ นายเชิดวิทย์ กล่าวว่า จะต้องดำเนินการตรวจสอบหาสาเหตุในครั้งนี้ ว่ามาจากสาเหตุใดระหว่างการรีบเร่งเทปูนก่อสร้าง หรือจะเกิดจากการที่ระหว่างก่อสร้างมีฝนตกพร่ำๆ มาตลอดทั้งคืน จนทำให้ปูนเกิดมีน้ำหนักมากขึ้น จนนั่งร้านไม่สามารถรับน้ำหนักได้ เป็นเหตุให้นั่งร้านเกิดถล่มลงมาทับคนงานเสียชีวิต อย่างไรก็ตามระหว่างนี้จะห้ามทางโครงการดำเนินการก่อสร้างใด ๆ ทั้งสิ้น เนื่องจากต้องรอให้ทางเจ้าหน้าที่วิศวกรโยธา และเทศบาลนครนนทบุรี เข้ามาตรวจสอบโครงสร้างและจุดที่เกิดเหตุเสียก่อนว่ามีความปลอดภัยมากน้อยแค่ไหน จึงจะอนุญาตให้ดำเนินการต่อไป
พ.ต.ท.เฉลิมยศ หอมสกล สารวัตรสอบสวน กล่าวว่า จะเรียกวิศวกรผู้คุมงาน โฟร์แมน หัวหน้าคนงาน บ.โฟคัส ดีวีล็อปเม้นท์ แอนด์คอนสตรัคชั่นจำกัด ซึ่งเป็นผู้รับเหมาก่อสร้างของโครงการนี้มาทำการสอบสวนว่าสาเหตุเกิดจากอะไร ถ้าเกิดจากการประมาทของผู้รับเหมา ทางเจ้าหน้าที่จะได้ข้อหากระทำการโดยประมาทจนเป็นเหตุทำให้มีผู้เสียชีวิตและได้รับบาดเจ็บ นอกจากนี้ยังต้องรอผลการตรวจสอบหาสาเหตุจากทางวิศวกรโยธาของเทศบาลนครนนทบุรีเพื่อนำมาสรุปในการดำเนินคดีต่อไป
สำหรับการช่วยเหลือคนงานก่อสร้างที่เคราะห์ร้ายทั้ง 3 คน ที่ถูกซากนั่งร้านและปูนถล่มทับนั้น ต่อมานายคม แสงบำรุง ผู้อำนวยการฝ่ายควบคุมอาคารเทศบาลนครนนทบุรีและวิศวกร ได้เดินทางมาตรวจสอบที่เกิดเหตุและประเมินว่า โครงสร้างนั่งร้านยังแข็งแรงอยู่ ซึ่งให้ทางเจ้าหน้าที่ดับเพลิงและเจ้าหน้าที่มูลนิธิ นำเครื่องมือเจาะปูนเข้าไปทำการช่วยเหลือนำศพผู้เสียชีวิตออกมาได้ โดยทางเจ้าหน้าที่ใช้เวลาเกือบหนึ่งชั่วโมงจึงสามารถเจาะปูนที่แข็งตัวนำศพของนายอาจ่าง อาซอ ชาวไทยใหญ่ ออกมาจากซากปูนได้สำเร็จ
จากนั้นจึงใช้เวลาอีกชั่วโมงกว่านำร่างของคนงานที่เคราะห์ร้ายออกมาได้อีกคน แต่ยังไม่ทราบชื่อว่าผู้ตายเป็นใดระหว่างนายคำแสงกับนายเสถียร เนื่องจากไม่พบหลักฐานใด ๆ ในตัว ส่วนผู้เสียชีวิตรายที่สามนั้น ทางเจ้าหน้าที่ยังไม่พบว่าร่างถูกฝังอยู่ตรงจุดไหนใต้ซากนั่งร้าน ซึ่งกำลังอยู่ในระหว่างการค้นหา
ด้านนิพล จันทร์คำ หัวหน้าคนงานก่อสร้างที่รอดชีวิตจากปูนถล่มทับนั่งร้าน กล่าวว่า ระหว่างที่คุมคนงานก่อสร้างเข้าทำงานตั้งแต่ช่วงเวลาตี 2 โดยมีคนงานทั้งหมดประมาณ 30 กว่าคน ตนเองคุมคนงานทำการปาดปูนอยู่ที่ชั้น 4 ของอาคาร ซึ่งในวันนี้จะต้องเทปูนก่อสร้างทั้งหมดประมาณ 500 คิว ตนเองกับคนงานประมาณ 8 คน ได้ขึ้นไปทำงานปาดปูนจากท่อส่งอยู่ที่ชั้น 4 ซึ่งระหว่างที่ทำงานนั้นก็มีฝนตกพร่ำมาตลอดทั้งคืน
จนกระทั่งเมื่อถึงเวลาประมาณตี 4 ครึ่ง นั่งร้านที่ตนเองกับคนงานอีก 8 คนทำงานอยู่ ก็เกิดยุบตัวถล่มลงมาอย่างไม่ทันตั้งตัว เป็นเหตุให้คนงานทั้งหมดร่วงลงไปอยู่ที่ชั้นล่าง แต่ตนเองโชคดีที่สามารถเกาะนั่งร้านได้ทัน จึงไม่หล่นลงไปที่ชั้นล่างด้วย ทำให้รอดตายมาอย่างหวุดหวิด ซึ่งหลังเกิดเหตุแล้ว ตนเองได้พยายามช่วยเหลือเพื่อนคนงานที่ได้รับบาดเจ็บ แต่สามารถช่วยเหลือเพื่อนคนงานที่ไม่ถูกปูนทับได้เพียง 4 คนเท่านั้น ส่วนอีก 3 คน ไม่สามารถช่วยเหลือได้ทันเพราะถูกซากนั่งร้านและปูนทับจนไม่เห็นร่าง
ด้านนายธงชัย จิ๋วราษฎร์อำนวย วิศวกรโครงการคุมงานก่อสร้าง กล่าวว่า ในการก่อสร้างแต่ละขั้นตอนนั้นจะมีวิศวกรสนามคอยควบคุมงานตลอดเวลา สาเหตุที่นั่งร้านพังถล่มลงมานั้น น่าจะเกิดมาจากนั่งร้านบางจุดเกิดชำรุดขึ้น จึงไม่สามารถรับน้ำหนักปูนที่เทไปไหว จึงเกิดถล่มลงมา ส่วนนั่งร้านที่ทางบริษัทนำมาใช้ในการก่อสร้างก็เป็นนั่งร้านที่มีมาตรฐานและใช้ก่อสร้างมาแล้วหลายอาคาร อย่างไรก็ตามทางบริษัทยินดีที่จะรับผิดชอบความเสียหายที่เกิดขึ้นทั้งหมดให้กับคนงานที่ได้รับบาดเจ็บและเสียชีวิต
สำหรับโครงการก่อสร้างดังกล่าว เป็นของบริษัทเมเจอร์ ซีนีเพล็กซ์ ซึ่งก่อสร้างเป็นโรงภาพยนตร์เอสพลานาด ซีนีเพล็กซ์ บนพื้นที่ประมาณ 50,000-60,000 ตารางเมตร โดยตัวอาคารก่อสร้างเป็นตึกสูง 7 ชั้น ซึ่งจะแบ่งเป็นส่วนเป็นช้อปปิ้งเซ็นเตอร์ โบวลิ่ง คาราโอเกะ และไอซ์สเกต โดยดำเนินการก่อสร้างมาตั้งแต่วันที่ 1 ธันวาคม 2551 ตามสัญญาจะต้องแล้วเสร็จวันที่ 20 กันยายน 2552 จึงทำให้ทางบริษัทโพคัส ดีวอลลอปเม้ทน์แอนด์คอนสตรัคชั่นจำกัด มหาชน ซึ่งเป็นผู้รับเหมาโครงการเร่งทำการก่อสร้างเทปูนเพื่อก่อสร้างให้เสร็จตามสัญญา
โดยในระหว่างที่เกิดเหตุนั้นทางบริษัทผู้รับเหมาได้เร่งเทปูน 500 คิว ก่อสร้างตัวอาคารภายในช่วงโดมที่ยื่นออกมาจากอาคาร ปรากฏว่านั่งร้านที่บริเวณชั้น 4 ของอาคารรับน้ำหนักปูนที่เทไม่ไหว จึงเป็นเหตุทำให้นั่งร้านร่วงถล่มลงมายังชั้นล่าง มีคนงานก่อสร้างได้รับบาดเจ็บ 4 คนและเสียชีวิต 3 คน
ก.แรงงานเล็งเอาผิดนายจ้างปล่อยห้างร้างทับคนงาน
ที่กระทรวงแรงงาน นาง อัมพร นิติสิริ อธิบดีกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน (กสร.) กล่าวภายหลังเดินทางไปตรวจสอบเหตุการณ์นั่งร้านก่อสร้างโรงภาพยนต์ ภายในห้างสรรพสินค้าบริษัท เอกชัย ดิสทีบิวชั่น ซิสเทม จำกัด สาขารัตนาธิเบศร์ พังถล่ม เมื่อช่วงเช้าวันที่ 13 พ.ค.ที่ผ่านมา ทำให้คนงานได้รับบาดเจ็บ 4 คนและเสียชีวิต 3 คน ว่า จากการเดินทางไปตรวจสอบที่เกิดเหตุพบว่าสาเหตุที่นั่งร้านพังถล่มลงมาทับคนงาน มาจากส่วนค้ำยันที่ทำไว้สำหรับเทพื้นคอนกรีต บริเวณชั้นที่ 3 ซึ่งสูงจากชั้นล่างประมาณ 12 เมตรพังลง ซึ่งล่าสุดเจ้าหน้าที่เจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงาน จาก กสร.กำลังอยู่ในระหว่างเข้าไปตรวจสอบ ว่านายจ้างหรือผู้รับเหมาได้ปฏิบัติตามกฎหมายคุ้มครองแรงงาน ว่าด้วยการกำหนดมาตรฐานความปลอดภัยในการทำงาน เช่น จัดอุปกรณ์ที่มีมาตรฐาน มีเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยคอยดูแล หรือสอนให้ลูกจ้างปฏิบัติงานอย่างระมัดระวังแล้วหรือไม่ หากตรวจพบว่าไม่ปฏิบัติตาม ก็อาจถูกดำเนินคดีอาญา มีอัตราโทษสูงสุด ปรับไม่เกิน 2 แสนบาท หรือจำคุกไม่เกิน 1 ปี หรือทั้งจำทั้งปรับ
นางอัมพร กล่าวอีกว่า แต่หากปฏิบัติตามกฎหมายแล้ว แต่เกิดจากความประมาทของลูกจ้างเอง ก็อาจถูกลงโทษน้อยลงแค่เปรียบเทียบปรับเท่านั้น ดังนั้นจึงอยากขอเตือนให้เหตุการณ์ครั้งนี้เป็นอุทาหรณ์ ไม่ให้เกิดเหตุซ้ำอีก ส่วนการรักษาพยาบาล คนงานที่ได้รับบาดเจ็บและตายนั้นเป็นไปตามสิทธิประโยชน์ของกองทุนประกันสังคม และหากเป็นคนงานต่างด้าวที่จดทะเบียนถูกต้องก็สามารถเบิกจ่ายได้จากกองทุนทดแทนได้ อย่างไรก็ตามในระหว่างนี้เป็นช่วงมรสุมลมพัดแรงอาจทำให้ป้ายโฆษณาล้มจำนวนหนึ่ง ซึ่งหากอยู่ในโรงงานจะมีเจ้าหน้าที่ของ กสร.เข้าตรวจสอบ ซึ่งหากไม่ได้มาตรฐานนายจ้างเจ้าของโรงงานก็ต้องรับผิดชอบตามกฎหมาย ทั้งนี้ขอให้นายจ้าง ลูกจ้างช่วยกันตรวจสอบสภาพแวดล้อมความปลอดภัยจากการทำงานด้วย เพื่อเป็นการป้องกันอันตรายในชีวิตและทรัพย์สิน
http://mybuilt.blogspot.com

23 กุมภาพันธ์ 2552

Field density Test





Field Density Test
การหาความหนาแน่นของลูกรัง ในสนาม


ความเข้าใจง่ายๆ เป็นการทดลองหาความหนาแน่นของลูกรังในสนาม โดยวิธี Sand Cone Method
การหาความหนาแน่นของลูกรัง คือการหาน้ำหนักของลูกรัง ในบริเวณที่บดอัดเรียบร้อย หาร ด้วย ปริมาตรของหลุมที่ขุดลูกรังออกมา และการที่จะหาปริมาตรของหลุมที่กล่าวนี้ จำเป็นจะต้องวัดหรือใช้วัสดุ ที่ทราบความหนาแน่นและความถ่วงจำเพาะที่แน่นอน แล้วไปแทนที่ในหลุมที่ขุดลูกรังขึ้นมา
Sand Cone method คือ วิธี การใช้ทรายช่วยในการหาปริมาตรของหลุม ทรายที่นิยมใช้คือ ทราย Ottawa ซึ่งมีเม็ดของทราย กลมและขนาดเท่ากัน (Uniform) เพื่อให้ได้ความหนาแน่นที่เท่ากันโดยตลอด และไม่เกิดการแยกตัวของเม็ดหยาบและเม็ดเล็ก (Segregation) ขณะทำการทดลอง




เครื่องมือที่ใช้ในการทดลองได้แก่

ขวดรูปทรงกระบอก โปร่งแสง สำหรับบรรจุทราย
กรวยโลหะ มีลิ้นปิด เปิด เพื่อควบคุมการไหลของทราย
แผ่นมาตรฐาน (Base plate) ตรงกลางมีรูกลมเส้นผ่าศูนย์กลาง 152.5 mm
เครื่องชั่งสนาม สามารถชั่งได้ประมาณ 1-10 กก
ทราย Ottawa
เครื่องมือเบ็ดเตล็ด เช่น เตาแก๊ส กระทะ ช้อน ถาด กระป๋อง สมุดบันทึก




จากตารางการบันทึก เรามาทำความเข้าใจกัน ตามลำดับดังนี้

1. การหาความหนาแน่นเปียกของลูกรัง (wet density)
[a] = น้ำหนักของ ( ลูกรังที่ขุดจากหลุม + กระป๋องที่บรรจุลูกรัง)
[b] = น้ำหนักของกระป๋องที่บรรจุลูกรัง
[1] = [a]-[b]= น้ำหนักของลูกรังที่ขุดจากหลุม
[2] = น้ำของ (ขวดบรรจุทราย+ทราย Ottawa+กรวย) ก่อนปล่อยทรายลงหลุม
[3] = น้ำของ (ขวดบรรจุทราย+ทราย Ottawa+กรวย) หลังปล่อยทรายลงหลุม
[4] = [2]-[3] = น้ำหนักของทรายที่อยู่ใน ( กรวย+แผ่นฐาน+หลุม)
[5] = น้ำหนักของทรายที่อยู่ใน ( กรวย+แผ่นฐาน)
[6] = [4]-[5] = น้ำหนักของทรายในหลุม
R sand = ความหนาแน่นของทราย Ottawa จะมีค่ามากับทรายด้วย
[8] = [6]/[7] = ปริมาตรของหลุมที่ขุด
[9] = [1]/[8] = ความหนาแน่นเปียกของลูกรัง

2 การหาปริมาณความชื้นและความหนาแน่นแห้งของลูกรัง




[10] = น้ำหนักของกระป๋องทีบรรจุลูกรังเปียกก่นอคั่ว
[11] = น้ำหนักของ (กระป๋อง + ลูกรังเปียกก่อนคั่ว )
[12] = น้ำหนักของ (กระป๋อง + ลูกรังหลังคั่วแห้ง )
[13] = [12]-[10] = น้ำหนักของ ลูกรังแห้ง
[14] = [11]-[12] = น้ำหนักของ น้ำ
[15] = [14]x100/[13] = ปริมาณความชื้นของลูกรัง

[16] = [9]/{1+[15]/100} = ความหนาแน่นแห้งของลูกรัง




3 ผลของการทดสอบความหนาแน่นของลูกรัง ในสนาม



[17] = ความหนาแน่นแห้งสูงสุดของลูกรัง จากห้องแลป
[18] = สเป็คการบดอัดความหนาแน่นของลูกรัง ในสนาม ปกติ กำหนดที่ 95%
[19] = { [16]/[17] } x 100

ถ้า [19] มากกว่าหรือเท่ากับ [18] แสดงว่าผลการบดอัดลูกรังที่หน้างานได้มาตรฐาน





www.mybuilt.blogspot.com

28 มกราคม 2552

ซานติก้า เปลี่ยนอาคารพานิย์เป็นสถานบริการโดยไม่ได้รับอนุญาติ

มีการปลอมลายเซ็นของวิศวกรผู้ออกแบบ และวิศวกรผู้คุมงานก่อสร้าง
คณะทำงานฯ สรุปสอบซานติก้าผับต่อ รมว.ยุติธรรม ระบุรองผบก.ป.ถือหุ้น เบ่งละเว้นจับ โอละพ่อ เสี่ยสุริยา แค่คนดูลานจอดรถ 5 ปีเลี่ยงภาษี 25 ล้านบาท
เมื่อวันที่ 26 ม.ค. เวลา 14.00 น. คณะทำงานของกระทรวงยุติธรรม ชุดตรวจสอบเสาเหตุเพลิงไหม้ซานติก้าผับ ได้เข้ารายงานคืบหน้าการตรวจสอบสาเหตุเพลิงไหม้อาคารซานติก้าผับ ต่อ นายพีระพันธุ์ สาลีรัฐวิภาค รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม
โดยล่าสุดการตรวจสอบสรุปชัดเจนว่า เกิดจากยิงพลุไฟฉลองปีใหม่ของทีมงานซานติก้าผับ ไม่ใช่การจุดไฟเย็นของลูกค้า ไฟติดฉนวนเก็บเสียงบนเพดานทำให้ลุกไหม้อย่างรวดเร็ว
นอกจากนั้น คณะทำงานฯยังพบประเด็นน่าสงสัยว่า ภายหลัง พ.ต.อ.ประยนต์ ลาเสือ รองผู้บังคับการกองปราบปราม(รอง ผบก.ป.) เข้ามาถือหุ้นในบริษัท ไวท์แอนด์บราเธอร์ จำกัด เมื่อวันที่ 17 ก.ย.2549 ตำรวจก็ไม่เคยเข้าจับกุมซานติก้าผับอีกเลย ทั้งที่ ก่อนหน้านั้นเข้าจับกุมฐานเปิดสถานบริการโดยไม่รับอนุญาต และจำหน่ายสุราในเวลาห้ามจำหน่าย เกือบจะวันเว้นวัน รวมถึง 47 ครั้ง
ยิ่งกว่านั้น คณะทำงานฯ ยังพบว่า นายสุริยา ฤทธิ์ระบือ ระบุเป็นผู้จัดการบริษัทไวท์แอนด์บราเธอร์ จำกัด นั้น เป็นเพียงเด็กรับรถในลานจอดรถยนต์ ซึ่งมีรายงานการตรวจสอบความผิดสืบเนื่องหลายด้านของผู้ประกอบการซานติก้าผับ และเจ้าหน้าที่รัฐหลายฝ่าย มีการหลบเลี่ยงไม่เสียภาษีสถานบริการ ในอัตราร้อยละ 10 ของรายได้ให้กับกรมสรรพสามิต ตลอดระยะเวลา 5 ปีที่เปิดซานติก้าผับ มีรายได้รวม 250 ล้านบาท จึงมีภาระต้องชำระภาษีสรรพสามิต 25 ล้านบาท ในกรณีนี้จึงมีความผิด ทั้งในส่วนของเอกชนและเจ้าหน้าที่สรรพสามิต ทั้งนี้ จะให้มีการตรวจสอบไปยังกรมสรรสามิตว่า ทางซ่านติก้าผับ ได้มีการเสีย-ภาษีอย่างถูกต้องหรือไม่
นอกจากนี้ ยังพบว่า ซานติก้าผับ ไม่ได้เสียภาษีป้ายและภาษีโรงเรือน ให้กับสำนักงานเขตวัฒนา รวมถึงการไม่เสียภาษีเงินได้ให้กับกรมสรรพากรอีกด้วย
รายงาน ยังเปิดเผยด้วยว่า ในส่วนของ นายวิสุทธิ์ เสร็จสวัสดิ์ หรือเสี่ยขาว มีส่วนต้องร่วมรับผิดในหลายข้อกล่าวหา เนื่องจากมีการแก้ไขเปลี่ยนแปลงอาคารซานติก้าผับ จากอาคารพาณิชย์เพื่อพักอาศัยมาเป็นสถานบริการโดยไม่ได้รับอนุญาต และเข้าใช้อาคารโดยไม่ได้รับอนุญาต ไม่ตรวจสอบอาคารให้อยู่ในสภาพปลอดภัย และไม่ทำประกันภัยคุ้มครองให้กับบุคคลภายนอก
นอกจากนี้ ยังพบว่า มีการปลอมลายเซ็นของวิศวกรผู้ออกแบบ และวิศวกรผู้คุมงานก่อสร้าง ซึ่งกรณีดังกล่าวเจ้าหน้าที่ของสำนักงานเขต อาจต้องร่วมรับผิด กับเจ้าของซานติก้าผับ



www.mybuilt.blogspot.com

22 มกราคม 2552

การทำงาน ชั้นใต้ดิน

1. วางแผนกำหนดตำแหน่ง ที่จะต้องฝังเสาเหล็ก KING POST หรือ PREFOUNDED COLUMN เพื่อใช้เป็นเสาชั่วคราวหรือเสาอาคารจริง เพื่อที่จะใช้รองน้ำหนักพื้นคานในขณะที่ยังไม่มีฐานรากจริง โดยตำแหน่ง PREFOUNDED COLUMN จะต้องตรงกับตำแหน่งของเสาเข็มเจาะต้นใดต้นหนึ่ง

2. ทำการเจาะเสาเข็มตามปกติ แต่เมื่อเทคอนกรีตได้ระดับตามต้องการแล้ว ให้หย่อนเสา PREFOUNDED COLUMN ลงไปและฝังในคอนกรีตเสาเข็มที่ดีอย่างเพียงพอ โดยทำเฉพาะต้นที่กำหนดไว้ตามข้อ 1 ส่วนต้นอื่นๆ เป็นเสาเข็มเจาะตามปกติ
หมายเหตุ : ระยะห่างของ PREFOUNDED COLUMN ควรจะอยู่ที่ 8 – 9 เมตร สำหรับช่องว่างให้ BACK HOE ขุดดิน

3. ทำการเทกำแพง DIAPHAGM WALL โดยรอบให้เรียบร้อยโดยรอบโครงการ จนเป็นวงปิด (CLOSED LOOP)

4. เทพื้น (หรือคาน) ที่ระดับชั้น GROUND สูงหรือต่ำกว่าระดับดินเดิมเล็กน้อยก็ได้ โดยใช้พื้นดินเป็นแบบรองรับชั่วคราว แต่จะต้องมี DETAIL รอยต่อของพื้น,คาน เชื่อมกับเสา PREFOUNDED COLUMN เป็นอย่างดี (เพื่อถ่ายน้ำหนักพื้น,คาน ลงสู่เสาเหล็กได้) และจะต้องเว้นพื้นบางช่วงเอาไว้ชั่วคราว เพื่อสำหรับนำดินขึ้นมาจากใต้ดินในภายหลัง

5. เริ่มงานขุดดินโดยใช้รถ BACK HOE ขนาดกลาง (10 – 15 ตัน) มุดลงไปขุดดินใต้พื้นคอนกรีตที่เทไปแล้ว (น้ำหนักพื้นจะเริ่มถ่ายลงสู่เสาเหล็ก PREFOUNDED COLUMN ในขั้นตอนนี้ และแบกน้ำหนักไว้โดยเสาเข็มเจาะ 1 ต้น) งานขุดดินจะดำเนินการไปจนกระทั่งถึงระดับใต้ท้องพื้นชั้นถัดไป (ควรจะลึกจากท้องพื้นคอนกรีตมากกว่า 5 เมตร) ในขั้นตอนนี้พื้นและคานชั้น GROUND จะทำหน้าที่เป็นค้ำยันไปในตัวสำหรับค้ำยันกำแพงกันดินมิให้เอียงเข้ามาในบ่อขุด

6. เทพื้นชั้นใต้ดินแรกนี้ (ถ้ามี) และดำเนินการขุดดินลงไป อีกจนถึงระดับใต้ฐานราก
7. เทฐานราก MAT FOUNDATION
8. เทคอนกรีตหุ้มเสาเหล็กจากชั้นที่ลึกที่สุดขึ้นมาตามลำดับขึ้นสู่ชั้นบน ๆ
9. เก็บงานเทพื้นชั้นใต้ดินที่เว้นว่างไว้
10. ดำเนินการเทชั้นบนๆ ไปตามลำดับปกติ

http://mybuilt.blogspot.com

20 มกราคม 2552

Super Flat floor with floorhardener At RC Site

Step 1 ขั้นตอนการทำงาน เริ่มตั้งแต่ การปรับดินเทลีน คานคอดิน วางแผ่น Prestress จนถึงการเทคอนกรีตเสร็จ

1. ปรับดินเท Lean Concrete หนาประมาณ 5 ซม. เพื่อทำคานคอดินรับพื้น ข้อระวังในการทำคานคอดิน คือการควบคุมระดับหลังคานให้ใด้ระดับตามแบบก่อสร้าง เพื่อการวางแผ่น Prestress ง่ายขึ้นในระหว่างการทำงาน
2. รื้อไม้แบบคานคอดินออก ปรับระดับดินเดิมตามสภาพ แล้ว ฉีดน้ำยากำจัดปลวกลงดิน ให้ได้ตามสเป็คของผู้ออกแบบ ตามด้วยการวางแผ่น Prestress
3. วางแผนและจัดลำดับ การเทคอนกรีตพื้นออกเป็นโซน แต่ละโซนมีขนาด กว้าง x ยาว ประมาณ 20 x50 เมตร แต่โซนออกแบบรอยต่อเป็น pour strip หรือ Expantion joint ทั้งนี้เพื่อควบคุมรอยแตกร้าว ส่วนการเทคอนกรีตแต่ละครั้งควรแบ่ง strip การเทไม่ควรเกิน 6-8 เมตร เพื่อควบคุมค่าระดับของพื้น

4. การวางเหล็กเสริมควรวางให้ได้ตำแหน่ง เหล็กบนต้องอยู่บนจริง ๆ เหล็กล่างต้องอยู่ล่าง และในส่วน
Covering ต้องได้ตามที่กำหนดโดยใช้ลูกปูนและ barchair ช่วยในการจัดตำแหน่งของเหล็กเสริม

5. Construction Joint ของแต่ละ Bay ให้ใช้ตะแกรงกงไก่เป็นแบบ ด้านที่จะตัด Joint ควรยึดตะแกรงให้แน่นด้วย เหล็ก 9 mm. ตลอดแนวที่จะตัด Joint ระวังเวลา จี้คอนกรีต ถ้ายึดตะแกรงไม่ดีจะทำให้คอนกรีตทะลักล้นออกมา การติดตะแกรง ควรวางให้ได้ระนาบฉากเสมอ

5. การใส่เหล็กฉาก กันเหลี่ยมบิ่น หรือ เพื่อให้เหลี่ยมของพื้นในแนวที่ตัด Joint มีคุณภาพควรใช้เหล็กฉากใหม่ ไม่ควรใช้เหล็กเก่าเพราะอาจมีขี้ปูนติดกับเหล็กฉากอยู่ และควรทาเหล็กฉากด้วยน้ำยา หรือจาระบี เพื่อไม่ให้เหล็กฉากยึดติดกับ Concrete ตอนรื้อเหล็กฉากควรใช้เครื่องตัดร่องนำระหว่างแนวเหล็กฉาก กับคอนกรีต เพื่อป้องกันเหลี่ยมแตก การ Set ระดับ ไม่ควรเชื่อมเหล็กฉากติดกับเหล็กเสริม เพราะระดับอาจเคลื่อนได้ ก่อนเทควรให้ Survey Check ระดับให้อีกครั้ง และควรยึดค่าระดับอ้างอิงจุดเดียวกันเสมอ

6. การเสริมเหล็กกันแตกตามบริเวณ Block Out และ Opening รวมทั้งตามมุมเสา มุมหักต่างๆของคอนกรีต ต้องมี อย่างน้อย 3 เส้น โดยใช้ความยาวเท่ากับ 3 d และระยะห่างประมาณ 2.5 - 3 ซม. โดย Aggregated สามารถแทรกตัวลงได้โดยไม่มีการแยกตัว
7. การเท Concrete ควรจะเทเริ่มจาก Bay ตรงมุมออกมาก่อน หรือ ทาง วิศวกร เห็นสมควร และก่อนเท
คอนกรีต ควร Check Slump ก่อนเททุกครั้ง Slump ต้องได้ตามที่ Mix Design ไว้ ( Slump ปกติจะอยู่ที่ 10 + 1 ซม. )
8. การปาดหน้าปูนให้ใช้กล่องอลูมิเนียม หรือโครงถักอลูมิเนียมช่วยในการปาดหน้า และง่ายต่อการ Check ระดับของผิวคอนกรีต

9. การเท Concrete ใน Bay ต่อไปควรสะกัดคอนกรีตที่ล้นออกนอกตะแกรงกงไก่ก่อนเทคอนกรีตใหม่เสมอ

การตรวจสอบก่อนการเทคอนกรีต และระหว่างการเทคอนกรีต
- ตรวจสอบระดับของ lean Concrete และความเรียบร้อยของพลาสติก Sheet
- ตรวจสอบแนววางท่อ และระดับของลวดอัดแรงให้ได้ตามแบบ
- ตรวจสอบงานระบบที่อยู่ใต้พื้นให้ตรงตามแบบ
- ตรวจสอบเหล็กเสริมตามช่องเปิด และ joint รวมทั้งบริเวณสมอยึด (Anchorage)
- ตรวจสอบเหล็กฉาก ว่าได้ระดับเท และได้แนว และมีความแข็งแรง
- ตรวจสอบว่ามีการจี้ปูนสม่ำเสมอ และ slump ในการเทต้องได้ตามกำหนด
- ตรวจสอบการปาดปูน ปรับระดับด้วยโครงถักอลูมิเนียม และเช็คด้วยกล้องระดับ
- ถ้าเหล็กเสริมติดแนว tendon ให้ขยับเหล็กเสริมออกจากแนว tendon ห้ามหักงอ tendon เพื่อหลบเหล็กเสริมซึ่งจะทำให้เกิด
friction loss สูง
- แนวการเทคอนกรีตต้องเป็นแนวเดียวกันตลอดห้ามเทตัดขวางกันเป็นสามแยก
ข้อควรระวัง
1. ไม่ควรให้คนงานเดินบนเหล็กเสริมเพราะอาจทำให้เหล็กคด งอ เสียรูปทรงได้
2. ก่อนเทคอนกรีต ทุกครั้งควรให้ Survey มา Recheck ระดับก่อนเสมอ และใช้ค่าระดับที่จุดเดียวกัน
3. ก่อนเทคอนกรีตควรลดระดับเผื่องาน Finishing ตามแบบไว้ก่อนเสมอ
4. ก่อนเทคอนกรีต ควรลงน้ำยากันปลวกก่อน 1 วัน
5. ต้องทำความสะอาดแบบก่อนเทคอนกรีตทุกครั้ง
6 เพื่อความสวยงามของพื้นคอนกรีตควร Set ตำแหน่งรอยต่อ joint ให้หลบในที่ลับตาหรือบริเวณที่มีสิ่งของมาบังไว้
7 การเก็บน้ำปูนหรือขี้ปูนที่ล้นเข้าไปใน Concrete Bay เก่าและเก็บรอยต่อให้ดี ถ้าเก็บไม่ดีจะเกิดเป็นรอยตะเข็บเกิดขึ้น
8 ในบริเวณจุดตัว Joint ให้เป็นสี่แยกตลอด และไม่ควรตัด Joint ให้เป็นมุมฉากมุม, มุมเว้า
9 ในส่วนพื้นที่โครงสร้างต่างชนิดกันควรตัด Joint แยกจากกันเป็น Slab on ground กับ Slab on beam
10 ตรงส่วนมุมเว้า มุมแหลม ควรเสริมเหล็กกันแตกเสมอ รวมถึงบริเวณ Block out วงกบ โดยใช้ความยาวเท่ากับ 3 d
Step 2 ขั้นตอนการขัดมันด้วยผง FLOOR HARDENER

20 พฤศจิกายน 2551

การทำงานที่ปลอดภัยที่เกี่ยวข้องกับปั้นจั่น

Method statement การทำงานที่เกี่ยวข้องกับปั้นจั่น
1 แต่งกายให้ถูกต้องรัดกุมดังนี้
1.1 กางเกงขายาว เสื้อ รัดกุมไม่รุ่มร่าม
1.2 สวมหมวกนิรภัยพร้อมสายรัดคาง ป้องกันวัสดุหล่น
1.3 รองเท้าหุ้มส้น สวมใส่แล้วคล่องตัว สะดวกต่อการประกอบปั้นจั่น
2 กรณีประกอบปั้นจั่นที่ความสูงมากกว่าสามเมตรขึ้นไป ให้รัดเข็มขัดนิรภัยและคล้องกับโครงปั้นจั่นไว้ตลอดเวลา กรณีปีนขึ้นหรือลง ให้ปีด้วยความระมัดระวัง และมีเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยและควบคุมดูแลอย่างใกล้ชิด
3 เมื่อประกอบแล้วเสร็จ ให้ติดป้ายบอกพิกัดน้ำหนักยกไว้ที่ปั้นจั่น ปิดคำเตือนให้ระวังอันตรายและให้ผู้บังคับปั้นจั่นและรอบข้าง เห็นได้ชัดเจน
4 ในการทำงานเกี่ยวกับปั้นจั่น จัดให้มีการให้สัญญาณการใช้ปั้นจั่นที่เข้าใจในระหว่างผู้เกี่ยวข้อง ในกรณีที่การใช้สัญญาณเป็นการใช้สัญญาณมือ ต้องจัดให้มีรูปภาพหรือคู่มือการใช้สัญญาณมือตามที่กำหนดไว้ที่ปั้นจั่นและบริเวณที่ทำงาน
5 จัดให้มีการตรวจสอบส่วนประกอบและอุปกรณ์ของปั้นจั่นทุก ๆ สามเดือน กรณีโครงการนี้ใช้เวลาตอกไม่ถึงสามเดือน ให้บันทึกเวลาที่ตรวจสอบและผลการตรวจสอบ โดยมีวิศวกรเป็นผู้รับรองไว้เป็นหลักฐาน ก่อนเข้ามาใช้งานในโครงการนี้ เพื่อให้มีการตรวจสอบได้ในระหว่างเวลาทำงาน
6 ในการทำงานเกี่ยวกับปั้นจั่น ห้ามใช้เชือกลวดเหล็กกล้าที่มี ลักษณะ ชำรุด หรือไม่ผ่านตามข้อกำหนดความปลอดภัย
7 จัดทำเครื่องหมายแสดงเขตอันตรายหรือเครื่องกั้นเขตอันตรายในรัศมีส่วนรอบของปั้นจั้นที่หมุนกวาดระหว่างทำงานเพื่อเตือนให้ระวังอันตรายอาจเกิดขึ้นในรัศมีของการทำงานได้
8 จัดติดตั้งเครื่องดับเพลิงชนิดที่เหมาะสมและใช้การได้
9 เก็บและเคลื่อนย้ายเชื้อเพลิงที่ใช้กับปั้นจั่นด้วยความระมัดระวังมิให้เกิดอันตรายได้
10 ถ้ามีการทำงานในเวลากลางคืน จัดให้มีแสงสว่างทั่วบริเวณตลอดเวลาที่ทำงาน

20 ตุลาคม 2551

การสำรวจพื้นที่เพื่อวางแผนการก่อสร้าง




การสำรวจพื้นที่

1 ตรวจสอบแนวเขตที่ดินที่จะทำการก่อสร้าง

2 ทำวงรอบโครงการและค่าระดับ คร่าวๆ

3 หาข้อสรุปกับเจ้าของโครงการว่า งานนี้ต้องถมหรือตัดดิน


4 งานรื้อย้ายต้นไม้และวัชพืช ขยะ ดินเลน ออกจากพื้นที่

5 ปรับบดอัดดินเดิม

6 ตรวจสอบและแก้ไขดินอ่อน (Soft Spot)

7 งานถมดินพร้อมบดอัด ปรับระดับให้ได้ตามสเป็ค

8 การทดสอบดินถม

9. กรณีการถมสระน้ำเก่า
9.1. ทำการสูบน้ำออกจนหมด
9.2. ขุดลอกเอาขี้เลนออกให้หมด จนถึงชั้นดินแข็ง
9.3. ทำการถมด้วยทรายหยาบโดยทำการถมเป็นชั้นๆ ชั้นละ 50 cm. แล้วบดอัดด้วยรถบด
9.4. ทำการทดสอบโดยวิธี ตามหลักวิศวกรรม


การสำรวจสภาพดินเพื่อการออกแบบงานที่เกี่ยวข้อง

งานเสาเข็ม