1. วางแผนกำหนดตำแหน่ง ที่จะต้องฝังเสาเหล็ก KING POST หรือ PREFOUNDED COLUMN เพื่อใช้เป็นเสาชั่วคราวหรือเสาอาคารจริง เพื่อที่จะใช้รองน้ำหนักพื้นคานในขณะที่ยังไม่มีฐานรากจริง โดยตำแหน่ง PREFOUNDED COLUMN จะต้องตรงกับตำแหน่งของเสาเข็มเจาะต้นใดต้นหนึ่ง
2. ทำการเจาะเสาเข็มตามปกติ แต่เมื่อเทคอนกรีตได้ระดับตามต้องการแล้ว ให้หย่อนเสา PREFOUNDED COLUMN ลงไปและฝังในคอนกรีตเสาเข็มที่ดีอย่างเพียงพอ โดยทำเฉพาะต้นที่กำหนดไว้ตามข้อ 1 ส่วนต้นอื่นๆ เป็นเสาเข็มเจาะตามปกติ
หมายเหตุ : ระยะห่างของ PREFOUNDED COLUMN ควรจะอยู่ที่ 8 – 9 เมตร สำหรับช่องว่างให้ BACK HOE ขุดดิน
3. ทำการเทกำแพง DIAPHAGM WALL โดยรอบให้เรียบร้อยโดยรอบโครงการ จนเป็นวงปิด (CLOSED LOOP)
4. เทพื้น (หรือคาน) ที่ระดับชั้น GROUND สูงหรือต่ำกว่าระดับดินเดิมเล็กน้อยก็ได้ โดยใช้พื้นดินเป็นแบบรองรับชั่วคราว แต่จะต้องมี DETAIL รอยต่อของพื้น,คาน เชื่อมกับเสา PREFOUNDED COLUMN เป็นอย่างดี (เพื่อถ่ายน้ำหนักพื้น,คาน ลงสู่เสาเหล็กได้) และจะต้องเว้นพื้นบางช่วงเอาไว้ชั่วคราว เพื่อสำหรับนำดินขึ้นมาจากใต้ดินในภายหลัง
5. เริ่มงานขุดดินโดยใช้รถ BACK HOE ขนาดกลาง (10 – 15 ตัน) มุดลงไปขุดดินใต้พื้นคอนกรีตที่เทไปแล้ว (น้ำหนักพื้นจะเริ่มถ่ายลงสู่เสาเหล็ก PREFOUNDED COLUMN ในขั้นตอนนี้ และแบกน้ำหนักไว้โดยเสาเข็มเจาะ 1 ต้น) งานขุดดินจะดำเนินการไปจนกระทั่งถึงระดับใต้ท้องพื้นชั้นถัดไป (ควรจะลึกจากท้องพื้นคอนกรีตมากกว่า 5 เมตร) ในขั้นตอนนี้พื้นและคานชั้น GROUND จะทำหน้าที่เป็นค้ำยันไปในตัวสำหรับค้ำยันกำแพงกันดินมิให้เอียงเข้ามาในบ่อขุด
6. เทพื้นชั้นใต้ดินแรกนี้ (ถ้ามี) และดำเนินการขุดดินลงไป อีกจนถึงระดับใต้ฐานราก
7. เทฐานราก MAT FOUNDATION
8. เทคอนกรีตหุ้มเสาเหล็กจากชั้นที่ลึกที่สุดขึ้นมาตามลำดับขึ้นสู่ชั้นบน ๆ
9. เก็บงานเทพื้นชั้นใต้ดินที่เว้นว่างไว้
10. ดำเนินการเทชั้นบนๆ ไปตามลำดับปกติ
http://mybuilt.blogspot.com
1 ความคิดเห็น:
พื้นที่ใช้สอย
พื้นที่ใช้สอย ที่เขาชอบเรียกกันในวงการก่อสร้าง ไม่ว่าจะเป็น บ้านจัดสรร บ้านพักอาศัย ทาวน์เฮาส์ คอนโดมิเนียม โรงงาน โรงแรม และบริษัทที่ออกแบบเขาเรียกกัน “ พื้นที่ใช้สอย “ ไม่แน่ใจว่า ความหมาย และ ขอบเขต หมายถึง ส่วนไหนของตัวอาคารบ้าง
เพราะผมหาข้อมูลในหนังสือ ตำรา หรือ สื่ออย่างอินเตอร์เน็ต ก็แล้ว ถามคนที่มีประสบการณ์ ทางวงการงานก่อสร้างก็แล้ว ถามวิศวกร ที่ออกแบบบ้าง ควบคุมงานบ้าง ประมาณราคาบ้าง แล้วนำมาเทียบกันแต่ละที่ ไม่ค่อยที่จะให้ความกระจ่างแจ้งชัดเจนสักคน หรือ สักบริษัทเลย แต่ละคนก็บอกไปตามความน่าจะเป็นของตนเอง แต่ไม่มีข้อมูล หรือแหล่งที่มา ที่จะใช้อ้างอิงได้เลยว่า พื้นที่ใช้สอยจริง มีมาตรฐานการคิดพื้นที่ใช้สอยกันอย่างไรและส่วนไหนที่นำมาคิดเป็นพื้นที่ใช้สอยในการหาราคาต่อตารางเมตร
แต่ผมเคยถามคนที่เป็นวิศวกรที่เขาทำงานอยู่เกี่ยวกับหมู่บ้านจัดสรร ( เป็นบริษัทชื่อดังมากในเมืองไทย ) เขาบอกว่าพื้นที่ใช้สอยจริงๆก็คือพื้นที่ภายในอาคารทั้งหมด รวมทั้ง ชานพักบันได ระเบียงชั้น 2 ที่ยื่นออกมาโดยไม่มีหลังคาคลุมก็นับเป็นพื้นที่ใช้สอย พื้นที่ทางเดินรอบบ้าน ( Footpath ) ที่อยู่นอกแนวผนัง ก็นับ เป็นพื้นที่ใช้สอย เขาบอกว่าให้คิดพื้นที่ใช้สอยรวมทั้งภายนอก และภายในให้มากเท่าไหร่ ลูกค้าที่มาดู หรือ ที่สนใจ เขาจะได้เห็นว่าพื้นที่ใช้สอยมากยิ่งเป็นจุดสนใจในการเลือกซื้อบ้านเหล่านี้ และเป็นจุดขายทางการตลาดของหมู่บ้านเหล่านี้ด้วย ผมก็เลยถามเขาว่ามันจะไม่เป็นการโกหกลูกค้าหรอครับ แต่เขาก็บอกว่าไม่เป็นไร เขาทำมานานแล้วไม่เห็นมีอะไรเกิดขึ้นเลย แล้วผมก็ถามพี่ที่เขาเป็นวิศวกรที่ดูแลหมู่บ้านจัดสรรท่านนี้ต่อว่า พื้นที่ใช้สอยของโรงงาน โรงแรม หรือ ห้างสรรพสินค้า เขาคิดกันยังไง แกก็บอกเลยว่า พื้นที่ใช้สอยพวกนี้ยิ่งคิดง่าย กว่าบ้านจัดสรรอีก แกบอกว่า Floor Area เท่าไหร่ พื้นที่ใช้สอยก็เท่านั้น ผมก็ถามแกว่า Floor Area คืออะไร แกบอกว่า มันก็คือพื้นที่ของพื้นทั้งหมด จากชั้นใต้ดิน ถึงชั้นหลังคาเลย ไม่รวมพื้นที่ของทางเท้าที่อยู่รอบอาคาร ( ผมนึกในใจ ทีบ้านจัดสรร ให้คิดรวม แต่อาคารพวกนี้ไม่ให้คิดรวม ผมงงมาก แต่ก็ไม่กล้าถามแก )
แล้วผมก็ถามแกต่อว่ามันต่างกันไหมครับ ระหว่างพื้นที่ใช้สอย กับ Floor Area แกก็บอกว่ามันคล้ายๆกัน ใช้ได้เหมือนกัน ผมก็เลยสมมติให้แกฟังว่า ถ้าในกรณีที่มีถังเก็บน้ำใต้ดินที่อยู่ภายในอาคาร พื้นที่ของถังเก็บน้ำใต้ดินคิดเป็นพื้นที่ของพื้นที่ใช้สอยได้หรือไม่ เพราะว่าฝาของถังเก็บน้ำใต้ดินใช้เป็นชั้น Basement ด้วย ส่วนพื้นที่ของพื้นถังเก็บน้ำใต้ดินที่เก็บน้ำ คิดรวมด้วยหรือไม่ แกก็บอกคิดรวมเลย และผมก็ถามแกต่ออีกว่าถ้าในกรณีอาคารมีพื้นชั้นหลังคาเป็นคอนกรีต ใช้วางพวกเครื่องจักร เช่น Cooling Tower หรือ อื่นๆ หรือถ้ามีแต่พื้นคอนกรีตเป็นหลังคาเป็นพื้นที่โล่งๆ ( พื้นดาดฟ้า ) คนสามารถใช้สอยได้เป็นครั้งคราว แกก็บอกว่า พื้นที่ชั้นหลังคา ให้หาร 2 ของพื้นที่รวมของพื้นหลังคา ผมก็เลยถามต่อว่า ทำไมต้องหารสองครับ แกบอกว่า เป็นพื้นที่ที่คนไม่สามารถใช้พื้นที่ใช้สอยได้อย่างเต็มที่ ก็เลยต้องหารสอง ( ผมก็เลยนึกในใจว่ามีอย่างนี้ด้วยหรอ )
ฉะนั้นผมก็เลยอยากได้ข้อมูลในเรื่องนี้อย่างละเอียดและชัดเจน เพื่อที่จะได้รู้อย่างกระจ่างแจ้งสักทีครับ
ขอบคุณครับ
แสดงความคิดเห็น