8 ตุลาคม 2552

Underground water tank and Waste water treatment.


Method Statement For. Underground water tank and Waste water treatment.

1. When Shop dwg. for construction old revision and revise1 WWT approved
2. Material Approve for all waterproof approved
แถบยางกันซึม ชนิด PVC Waterstops
วัสดุกันซึมภายใน WWT ชนิด water base epoxy
วัสดุกันซึมผนังภายนอก UWT&WWT ชนิด Self adhesive membrane ,cold applied self 1.5 mm thk.
วัสดุกันซึมผนังภายใน UWT ชนิด Cement Base waterproofing

3. ลำดับของงานหลังจากงานฐานรากแล้วเสร็จ บริเวณ Sump pump เตรียมงานเพื่อเทคอนกรีต ถึงระดับใต้พื้น -1.70 m. เนื่องจาก sump pump และพื้นระดับ -1.70 เทไม่ต่อเนื่องกัน ดังนั้นจะต้องติดตั้ง PVC waterstops ที่รอยต่อคอนกรีตบริเวณนี้
4. การติดตั้ง water stop ต้องติดตั้งให้ถูกวิธี หากไม่ถูกวิธี เมื่อเทคอนกรีต waterstops อาจถูกคอนกรีตทับ เท่ากับเปิดทางให้น้ำซึมผ่านผนังคอนกรีตได้ง่าย วิธีป้องกันควรใช้ลวดเหล็กหรืออื่น ๆ ช่วยยึดระยะทุก ๆ 20 cm. การต่อ PVC waterstops ควรกระทำตามข้อแนะนำของผู้ผลิต
5. บริเวณหลุม drop cylo กับพื้นของบ่อบำบัด ให้ทำการเทคอนกรีตครั้งเดียว โดยติดตั้ง ไม้แบบลอย ดังนั้น จึงไม่ต้อง ติดตั้ง
PVC waterstops
6. การเตรียมงานไม้แบบ งานเหล็ก ,วัสดุกันซึม เพื่อการเทคอนกรีต
6.1 ปรับดินเทคอนกรีตหยาบ
6.2 ปู membrane กันซึมพื้นทั้งหมด โดยเผื่อระยะทาบ แนวตั้งของผนัง 30 cm.









6.3 กรณีปูชนฐานราก ให้ทำตามรูปด้านล่าง









6.4 ลงเหล็กพื้นทาบตามแบบที่กำหนด

6.5 ลงเหล็กผนังตามแบบที่กำหนด

6.6 ติดตั้ง PVC waterstops ระหว่างพื้นและผนังดังรูป








6.7 ติดตั้ง PVC waterstops ของผนังที่เทคอนกรีต ก่อนและหลัง ดังรูป









7. ผนังที่สัมผัสดินและน้ำใต้ดิน ทำกันซึมด้วยวิธีติดตั้ง membrane เพื่อป้องกันน้ำซึมด้านข้าง ก่อนถมดินให้ติดตั้งแผ่นวีวี่บอร์ดประกบ membrane เพื่อป้องกันความเสียหายที่จะเกิดกับแผ่น membrane
8. ลำดับการเทผนัง ให้เทผนังรอบนอกทั้งหมดก่อน หลังจากนั้นให้เทผนังภายในตามลำดับ
9. เมื่อเทคอนกรีตแล้วเสร็จ สำหรับ UWT ให้ทำกันซึมภายใน โดยระบบ Cement Base waterproofing
สำหรับ WWT ให้ทำกันซึมภายใน โดยระบบ water base epoxy
10. วิธีการทดสอบการรั่วซึมของ ถังน้ำดี และบ่อบำบัดน้ำเสีย
8.1 กรณีเป็นถังน้ำบนดิน จะทำการทดสอบโดยวิธีขังน้ำ
8.2 กรณี ถังน้ำใต้ดิน จะทำการตรวจสอบการรั่วซึมของผนัง / พื้นก่อนทำกันซึม หากพบว่ามีการรั่วซึมการแก้ไขปัญหา
เบื้องต้นจะใช้วัสดุอุด water plug หากยังเกิดการรั่วซึมอีก ให้ทำการ ยิงโฟม (INJECTION PU FOAM) การยิงน้ำยานั้น จะทำการเจาะบริเวณที่เกิดการรั่วซึม แล้วฝังหัว (PACKER) เป็นหัวที่ใช้ในการเสียบสายต่อจากเครื่องยิงน้ำยา แล้วทำการยิงน้ำยา เมื่อยิงน้ำยาแล้วนั้น น้ำยาที่ยิงเข้าไปจะวิ่งเข้าไปยังรอยต่อ ช่องว่างต่าง ๆ ภายในตัวคอนกรีต ซึ่งน้ำสามารถรั่วซึมออกไปได้นั้น จะทำปฏิกิริยากับน้ำ หรืออากาศ สร้างตัวเป็นแผ่นโฟมยาง ปิดกั้นทางเดินของน้ำไม่ให้น้ำนั้นไหลซึมผ่านออกไปได้อีก

ไม่มีความคิดเห็น: