18 กันยายน 2551

ข้อปฎิบัติเพื่อลดการแตกร้าวของพื้นอัดแรง

การปฏิบัติเพื่อลดการแตกร้าวของพื้นคอนกรีตอัดแรง
1. หลักการและเหตุผล
1.1 การแตกร้าวของพื้นคอนกรีตส่วนมากเกิดจาก
- การหดตัวของคอนกรีต ( Shrinkage )
- การสูญเสียน้ำเร็วเกินไป อันเนื่องมาจากการบ่มไม่ดี
- พื้นคอนกรีตยึดรั้งกับชิ้นส่วนที่มี Stiffness สูง
- การสูญเสียแรงในลวดอัดแรงทำให้แรงอัดในคอนกรีตต่ำ
- การแตกร้าวที่มุมเว้า เนื่องจาก Tensile stress
- การแตกร้าวเนื่องจากการเทคอนกรีตติดกับคอนกรีตที่เทไว้ก่อนแล้ว
2. ข้อควรสังเกต และข้อปฏิบัติเบื้องต้น
2.1 คอนกรีตที่มีส่วนผสมของน้ำ ( ต่อลูกบาศก์เมตร ) มากจะเกิด Shrinkage มาก
- ห้ามเติมน้ำเพื่อเพิ่ม Slump
- เมื่อเกิดฝนตก หรือมีการรดน้ำลงบนกองทราย หรือหินจะต้องคำนวณหาปริมาณน้ำแล้วนำมาหักลบเพื่อลด
ปริมาณน้ำที่ผสมคอนกรีต
2.2 การบ่มคอนกรีตควรกระทำโดยเร็วที่สุดหลังจากการเทคอนกรีตและแต่งผิวแล้ว
- การป้องกันแสงแดด ส่องโดยตรงต่อคอนกรีตที่ยังไม่ได้บ่ม
- การป้องกันมิให้มีลมผ่านผิวคอนกรีตที่ยังไม่ได้บ่มโดยตรง
2.3 พื้นคอนกรีตอัดแรง ซึ่งติดกับโครงสร้างที่มี Stiffness สูง เช่น ปล่องลิฟท์ กำแพงขนาดใหญ่ ฯลฯ และมีการกำหนด
วิธีป้องกันการยึดติดกัน เช่น Block out เสา / แยก Joint / ทำ Pour Strip / ทำผิวสไลด์ ฯลฯ จะต้องตรวจสอบก่อน
เทคอนกรีตว่าเป็นไปตามแบบ Detail จริงๆ
- ตรวจสอบ Block out เสา ต้องแยกขาดจริงๆ
- ตรวจสอบ การปูพลาสติก เพื่อแยกชั้นคอนกรีตต้องระวังแผ่นพลาสติกขาด / ถ้าขาดต้องปะด้วยเทปกาว
หรือปูแผ่นพลาสติกซ้อนอีกชั้น
- ตรวจสอบ Dowel ซึ่งกำหนดให้ Debond หรือมีเทปพัน
- ตรวจสอบการแยกชิ้นส่วนคานหรือเสาหรือกำแพงที่กำหนดให้แยกขาดจากกัน
- ตรวจสอบการเสริมเหล็กพิเศษตามแบบ Detail หรือ Typical Detail ที่มีเพิ่มเติมจากแปลนเหล็ก
Top & Bottom
2.4 การสูญเสียแรงในลวดอัดแรง ส่วนมากเกิดจากความฝืดในท่อ
- ตรวจสอบแนวท่อจะต้องตรงไม่ส่ายเลื้อยหรือขยับไปมาโดยง่าย การเลี้ยวท่อต้องทำอย่างน้อยที่สุด
และทำเท่าที่จำเป็นเท่านั้น ควรแก้ไขใน As-Built Drawing ด้วย ( ความคลาดเคลื่อนที่ยอมให้ใน
แนวราบ + - 40 มม. )
- ตรวจสอบการยึดท่อว่าแน่นหนา ท่อต้องไม่เคลื่อนที่ในขณะเท concrete
-ตรวจสอบ profile ว่าถูกต้องตาม shop drawing และไม่มีการเปลี่ยนแปลงระดับ profile อย่างกระทันหัน
หรือชันเกินไป (ความคลาดเคลื่อนในแนวดิ่งที่ยอมให้เท่ากับ + - 5 มม)
2.5 ที่ขอบพื้นบนมุมเว้า และช่องเปิดทุกแห่งต้องมีเหล็กเสริมพิเศษกันแตก
2.6 การเทคอนกรีตติดกับคอนกรีตที่เทไว้ก่อนและแข็งตัวแล้ว คอนกรีตใหม่มีโอกาศมากที่จะเกิดรอยร้าวตั้งฉากรอยต่อ
คอนกรีต
- การเสริมเหล็ก ( บน - ล่าง ) ขนานกับรอยต่อจะลดการเกิดรอยร้าวได้
- การเว้นระยะเวลาการเทคอนกรีตทั้งสองส่วนให้น้อยที่สุดจะช่วยลดโอกาสการเกิดรอยร้าวได้มาก
( ข้อแนะนำคือควรเทคอนกรีตในวันถัดไปโดยไม่เว้นวัน )

ไม่มีความคิดเห็น: