Step 3 ขั้นตอนการ Stressing and Grouting
อันนี้อาจจะเป็นหลักวิชาการหน่อยนะครับ แต่สำคัญ
ขั้นตอนการ Stressing and
1 มีหลักการและเหตุผล คือ เพื่อลดการแตกร้าวของผิวพื้นคอนกรีต (Shrinkage Crack) อันเนื่องจากการเทคอนกรีตแบบ Strip ยาว ๆ เช่น 50-60 เมตร
2 วิธีการ STRESSING
2.1 หลังจากการเทคอนกรีตพื้นแต่ละ Strip เวลาไฟประมาณ60 - 72 ชม. (3.0 วัน) ให้ทำการดึงลวดอัดแรงในทิศทางตามยาวของพื้นคอนกรีตแต่ละstrip โดยให้ดึงลวด ดังนี้
กรณีสมอยึดแบบ 2 เส้นต่อกลุ่ม ให้ดึงลวดเพียงหนึ่งเส้น ด้วยแรง 10 ตันต่อเส้น
กรณีสมอยึดแบบ 3 เส้นต่อกลุ่ม ให้ดึงลวดเพียงหนึ่่งเส้น ด้วยแรง 15 ตัน ต่อเส้น
ก่อนดึงลวดทุกดครั้ง อย่าลืมต้องพ่นสี Mark ปลายลวดเพื่อเตรียมการสำหรับ การวัด Elongation
2.2 กรณีที่สมอยึดตัวสุดท้ายอยู่ห่างจากขอบ Concreting Joint น้อยกว่า 0.40 เมตร ยังไม่ต้องดึงลวดที่สมอยึดตัวนั้น แต่ ต้องดึงพร้อม การดึงลวดของ Strip ถัดไป
2.3 กรณีที่ดึงลวดตามข้อ 2.1 แล้วเกิดการแตกร้าว หรือเกิดรอยร้าว ที่บริเวณหัวสมอยึดลวด
ให้ลดแรงดึงจาก 10 ตัน เหลือ 8 ตัน
2.4 เมื่อเทคอนกรีตครบทุก Strip แล้ว และเวลาครบ 60 - 72 ชม แต่กำลังอัดของคอนกรีตยังต่ำกว่า 240 ksc. cylinder ให้ทำการ ดึงลวดอัดแรงในทิศทางตามขวางของ Strip เป็นจำนวนครึ่งหนึ่งของจำนวนเส้นลวดอัดแรงทั้งหมด (เส้นเว้นเส้น ) ด้วยแรง 10 ตัน ต่อเส้น สำหรับกลุมลวดที่สมอยึดแบบสองเส้น
( กรณีสมอยึดแบบ 3 เส้น ให้ดึงลวดแต่ละกลุ่ม เพียงเส้นเดียวด้วยแรง 15 ตัน )
2.5 เมื่อคอนกรีตทั้งผืนมีกำลังอัดได้ 240 ksc.cyl ให้ทำการดึงลวดตามขั้นตอนปกติ เรียงตามลำดับ
โดยเริ่มดึงลวด จากเส้นที่ยังไม่ได้ดึงมาก่อนด้วยแรง 14.07 ตัน
และดึงลวดที่เคยดึงมาก่อนด้วยแรง 10 ตัน เพิ่มเป็น 14.07 ตัน
( กรณีสมอที่ยึด 3 เส้น ให้ดึงลวด ด้วยแรง 15 ตัน )
ทั้งนี้ให้ สังเกตว่า Elongation ของการดึงลวดชุดหลัง ควรเท่ากันหรือใกล้เคียงกับค่า Elongation ของการดึงลวดชุดก่อน หาก Elongation แตกต่างกันมากหรือมีค่าต่ำกว่า 95% ของค่าที่ออกแบบไว้
ให้เพิ่มแรงดึงเป็น 15 ตัน
2.6 หลังจากดึงลวดเสร็จเรียบร้อย จะทำการวัดระยะยืดจริง โดยวัดระยะจากกิ๊ฟ ถึงตำแหน่งพ่นสีที่ทำไว้
เพื่อนำค่าระยะยืดจริงของลวดเปรียบเทียบกับค่า Elongation ที่ออกแบบไว้
2.7 กรณีที่วัดค่า Elongation จากการดึงลวด ได้ค่าไม่ตรงตามข้อกำหนด จำเป็นจะต้องทำการดึงซ่อม หรือหาทางแก้ไข เป็นกรณีไป ซึ่งต้องได้รับการอนุมัตจากผู้ออกแบบด้วย
2.8 การควบคุมแรงดึงในเส้นลวด
2.8.1 ควบคุมแรงดึงจาก Pressure - Gage ที่เครื่อง Hydraulic Pump
2.8.2 เปรียบเทียบค่าระยะยืด จริงของลวดกับค่า Elongation ที่ได้ออกแบบไว้โดยค่าที่จะแตกต่างกันไม่เกิน 5%
(ตามค่ากำหนด)
2.9 กรณีที่ค่าระยะยืดจริงของลวดกับ Elongation ที่ออกแบบไว้แตกต่างกันเกิน 5% ให้ทำการตรวจสอบและแก้ไข
เป็นกรณีไป
2.9.1 กรณี - 5% (ระยะยืดของลวดน้อยกว่ารายการคำนวณ Elongation)
- ให้เพิ่มแรงดึงแต่ต้องไม่เกิน 80% Fpu.( 15 ตัน) แล้ววัดระยะยืดของลวดที่เพิ่มขึ้น
- กรณีที่เพิ่มแรงดึงถึง 80% Fpu. แล้ว ระยะยืดของลวดเกิน 5% ให้ทำการคำนวณตรวจสอบโครงสร้าง
เฉพาะส่วนนั้น ๆ โดยใช้ค่าแรงดึงลวดที่เกิดขึ้นจริง
2.9.2 กรณี + 5% (ระยะยืดจริงมากกว่ารายการคำนวณ Elongation)
- ตรวจสอบแรงดึง โดย Re-Stressing ด้วยแรง 75% Fpu. (14 ตัน) สังเกตระยะยืดเพิ่มแรงช้า ๆ
สังเกตระยะยืดจนลวดขยับตัวอ่าน Pressure Gage จะได้ค่าแรงในลวดเส้น นั้น ๆ ตรวจสอบว่าเกิน
80% Fpu. หรือไม่ ถ้าไม่เกินถือว่าผ่าน กรณี 50% Fpu. ให้รายงานผู้ออกแบบเพื่อหาทางแก้ไขต่อไป
2.10
เครื่องมือและอุปกรณ์การดึงลวดอัดแรง
- Hydraulic Pump
- Hydraulic Jack
- CCL Mastermatc, Proving Ring
หมายเหตุ การดึงลวดจะกระทำเมื่อกำลังอัดประลัยคอนกรีตรูปทรงกระบอกไม่น้อยกว่า 240 กก. / ตร.ซม.( 75 % Strength design)
และวัดค่า Elongation
3
การอัดน้ำปูน (Grouting Cement)
3.1 เครื่องมือและอุปกรณ์การอัดน้ำปูน
- เครื่องมืออัดน้ำปูน Mono Pump
- เครื่องผสมปูน (Mixer Tank)
3.2 วัสดุ Grouting Cement
วัสดุ Grouting Cement เป็นส่วนผสมของปอร์ดแลนด์ซีเมนต์ชนิดที่ 1 ผสมกับน้ำ และ Admixture
โดยมีอัตราส่วนของน้ำ ต่อ ซีเมนต์ (W/C RATIO) ไม่เกิน 0.45 โดยน้ำหนักดังอัตราส่วนต่อไปนี้
- ปอร์ตแลนด์ซีเมนต์ชนิดที่ 1 =50 kg.
- ADMIXTURE (Aluminum) ส่วนผสมตามสูตรของ Admixture แต่ละชนิด
- น้ำ = 20 - 22 ลิตร
ก่อนจะนำส่วนผสมไปอัดน้ำปูน จะต้องทำการทดสอบการไหล (Test Flow Rate) ของส่วนผสมก่อน
โดยให้ได้อัตราการไหลประมาณ 11 วินาที โดยใช้ปริมาตร 1.7 ลิตร และจะต้องทำการเก็บลูกปูน
ไว้ทดสอบกำลังอัด (151 ksc อายุ 7 วัน),(280 ksc อายุ 28 วัน)
หมายเหตุ ปริมาตร 1.7 ลิตร ใช้เวลาประมาณ 7 - 8 วินาที
3.3 ขั้นตอนการอัดน้ำปูน
- ก่อนการอัดน้ำปูนจะต้องทำการอุดปูนทรายหุ้มสมอยึด เพื่อป้องกันการรั่วของน้ำปูน Grout บริเวณสมอยึด
หมายเหตุ ทำการตัดปลายลวดก่อนทำการอุดปูนทรายหุ้มสมอยึด
- ทำความสะอาดท่อร้อยลวดอัดแรง โดยการอัดน้ำหรือเป่าลมเข้าไปในท่อเพื่อไล่สิ่งสกปรกที่อยู่ภายในท่อออก
และยังเป็นการตรวจสอบว่าท่อตันหรือไม่ ถ้าตันให้ทำการเจาะรูใหม่ เพื่อให้สามารถอัดน้ำปูนได้เต็ม
- ทำการอัดน้ำปูนเข้าไปในท่อร้อยลวดอัดแรง ผ่านท่อ Air vent ด้านหนึ่งให้น้ำปูนไหลผ่านท่อ Air vent ที่ปลาย
สมอยึดอีกด้านหนึ่ง แล้วจึงทำการปิด Air vent ที่ปลายสมอยึดด้านท้าย คงค้างแรงดันอย่างน้อย 50 PSI หรือ
3.5 ksc. เป็นเวลา 5 วินาที ก่อนทำการปิดท่อ Air vent (โดยการพับท่อ Air vent ที่อัดน้ำปูนไว้ เพื่อรักษาความดัน
ภายในท่อไว้)
- ภายหลังจากอัดน้ำปูนทิ้งไว้อย่างน้อย 24 ชั่วโมง จึงค่อยตัดท่อ Air vent โดยสกัดเข้าไปในเนื้อคอนกรีต
ประมาณ 2 - 3 ซม. แล้วจึงทำการ Grout ปูนแต่งผิวคอนกรีต
ข้อระวัง
Bearing plate บางจุดที่ covering น้อยหรือ เหล็กเสริมไม่ถูกต้องตาม spect เวลาดึงลวดอาจทำให้คอนกรีตระเบิดได้
Step 4 ขั้นตอนการเคลือบเงาด้วย Converseal
1 ความคิดเห็น:
ขอบคุณครับสำหรับบทความ
แสดงความคิดเห็น