17 กันยายน 2551

All step Postension Super flatfloor surface finish with floorhardener

Method Statement for Post tension slab (Bonded System)

ขั้นตอนการทำระบบพื้น Post Tension (CCL Bonded System)
1. ติดตั้งค้ำยัน, แบบพื้น และแบบข้าง
2. วางเหล็กเสริมล่าง
3. วางลวดอัดแรง และติดตั้ง ANCHORAGE ตามแบบ SHOP DRAWING
4. วางเหล็กเสริมบนบริเวณหัวเสา
5. เทคอนกรีต
6. ดึงลวดอัดแรงเมื่อกำลังอัดของคอนกรีตรูปทรงกระบอกไม่น้อยกว่า 240 ksc
7. อัดน้ำปูนเข้าท่อร้อยลวดอัดแรง

การดึงลวดอัดแรง (STRESSING)
1. เครื่องมือและอุปกรณ์การดึงลวดอัดแรง
- Hydraulic Pump
- Hydraulic Jack
- CCL Mastermatc, Proving Ring
2. การดึงลวดอัดแรง
การดึงลวดจะกระทำเมื่อกำลังอัดประลัยคอนกรีตรูปทรงกระบอกไม่น้อยกว่า 240 กก. / ตร.ซม.
โดยจะทำตามลำดับดังนี้

2.1 ก่อนดึงลวด ทำการ Calibrate เครื่องดึงลวดและทำเครื่องหมาย โดยการพ่นสีไว้ที่ปลายลวด
ที่จะดึง เพื่อเป็นระยะอ้างอิงในการวัดหาค่าระยะยืดของลวด (โดยทั่วไปจะพ่นสีห่างจากกิ๊ฟ
จับลวดประมาณ 10 ซม.)
2.2 ทำการดึงลวด 50 % ของจำนวนลวดทั้งหมดในแนว Main Tendon หรือ ดึงกลุ่มเว้นกลุ่ม
2.3 ทำการดึงลวด 50 % ของจำนวนลวดทั้งหมดในแนว Distribute Tendon
2.4 ดึงลวดที่เหลือทั้งหมดในแนว Main Tendon
2.5 ดึงลวดที่เหลือทั้งหมดในแนว Distribute Tendon
2.6 หลังจากดึงลวดเสร็จเรียบร้อย จะทำการวัดระยะยืดจริง โดยวัดระยะจากกิ๊ฟ ถึงตำแหน่งพ่นสีที่ทำไว้
เพื่อนำค่าระยะยืดจริงของลวดเปรียบเทียบกับค่า Elongation ที่ออกแบบไว้
2.7 กรณีที่วัดค่า Elongation จากการดึงลวด ได้ค่าไม่ตรงตามข้อกำหนด จะต้องทำการดึงซ่อม หรือ
หาทางแก้ไขเป็นกรณีไป
3. การควบคุมแรงดึงในเส้นลวด
3.1 ควบคุมแรงดึงจาก Pressure - Gage ที่เครื่อง Hydraulic Pump ซึ่งได้รับการ Calibrate
จาก Load Cell หรือ Proving Ring ที่ได้รับการเทียบแรงจากสถาบันที่เชื่อถือได้ทุก ๆ 6 เดือน
โดยใช้แรงดึง 75 % Eup. ซึ่งเท่ากับ 14 ตัน
3.2 เปรียบเทียบค่าระยะยืด จริงของลวดกับค่า Elongation ที่ได้ออกแบบไว้ โดยค่าที่ได้จะแตกต่างกัน
ไม่เกิน 5 % (ตามข้อกำหนด)

4. กรณีที่ค่าระยะยืดจริงของลวดกับ Elongation ที่ออกแบบไว้แตกต่างกันเกิน 5 % ให้ทำการตรวจสอบ และ
แก้ไขเป็นกรณี คือ
4.1 กรณีเกิน -5% (ระยะยืดของลวดน้อยกว่ารายการคำนวณ Elongation)
- ให้เพิ่มแรงดึงแต่ต้องไม่เกิน 80 % Fpu. (15 ตัน ) แล้ววัดระยะยืดของลวดที่เพิ่มขึ้น
- กรณีที่เพิ่มแรงดึงถึง 80 % Fpu. แล้ว ระยะยืดของลวดเกิน -5% ให้ทำการคำนวณตรวจสอบโครงสร้าง
เฉพาะส่วนนั้น ๆ โดยใช้ค่าแรงดึงลวดที่เกิดขึ้นจริงกับลวดนั้น ๆ ส่งวิศวกรที่ควบคุมงานเพื่อตรวจสอบ
พิจารณาต่อไป
4.2 กรณี +5 % (ระยะยึดจริงมากกว่ารายการคำนวณ Elongation)
- ตรวจสอบแรงดึง โดย Re-Stressing ด้วยแรง 75 % Fpu. (14 ตัน) สังเกตระยะยืดเพิ่มแรงช้า ๆ
สังเกตระยะยืดจนลวดขยับตัวอ่าน Pressure Gage จะได้ค่าแรงในลวดเส้น นั้น ๆ ตรวจสอบว่าเกิน 80 %/ Fpu.
หรือไม่ ถ้าไม่เกินถือว่าผ่าน กรณี 50 % Fpu. ให้รายงานผู้ออกแบบเพื่อหาทางแก้ไขต่อไป
5. การอัดน้ำปูน ( Grouting Cement )
5.1 เครื่องมือและอุปกรณ์การอัดน้ำปูน
- เครื่องมืออัดน้ำปูน Mono Pump
- เครื่องผสมปูน (Mixer Tank)


5.2 วัสดุ Grouting Cement
วัสดุ Grouting Cement เป็นส่วนผสมของบอร์ดแลนด์ซีเมนต์ชนิดที่ 1 ผสมกับน้ำและ Admixture
โดยมีอัตราส่วนของน้ำ ต่อ ซีเมนต์ (W/C RATIO) ไม่เกิน 0.45 โดยน้ำหนักดังอัตราส่วนต่อไปนี้
- ปอร์ตแลนด์ซีเมนต์ชนิดที่ 1 = 50 kg.
- ADMIXTURE (Aluminum) ส่วนผสมตามสูตรของ Admixture แต่ละชนิด
- น้ำ = 20 - 22 ลิตร
ก่อนจะนำส่วนผสมไปอัดน้ำปูน จะต้องทำการทดสอบการไหล (Test Flow Rate) ของส่วนผสมก่อน โดย
ให้ได้ค่าอัตราการไหลประมาณ 11 วินาที โดยใช้ปริมาตร 1.7 ลิตร และ จะต้องทำการเก็บลูกปูนไว้ทดสอบกำลังอัด
(151 ksc อายุ 7 วัน), (280 ksc อายุ 28 วัน)
หมายเหตุ น้ำปริมาตร 1.7 ลิตร ใช้เวลาประมาณ 7-8 วินาที
5.3 ขั้นตอนการอัดน้ำปูน
- ก่อนการอัดน้ำปูนจะต้องทำการอุดปูนทรายหุ้มสมอยึด เพื่อป้องกันการรั่วของน้ำปูน Grout บริเวณสมอยึด
หมายเหตุ ทำการตัดปลายลวดก่อนทำการอุดปูนทราบหุ้มสมอยืด
- ทำความสะอาดท่อร้อยลวดอัดแรง โดยการอัดน้ำหรือเป่าลมเข้าไปในท่อเพื่อไล่สิ่งสกปรกที่อยู่ภายในท่อออก
และยังเป็นการตรวจสอบว่าท่อตันหรือไม่ ถ้าตันให้ทำการเจาะรูใหม่ เพื่อให้สามารถอัดน้ำปูนได้เต็ม
- ทำการอัดน้ำปูนเข้าไปในท่อร้อยลวดอัดแรง ผ่านรูทีสมอยืดด้สนหนึ่งให้น้ำปูนไหลผ่านออกที่ปลายสมอยึดอีกด้านหนึ่ง แล้วจึงทำการปิดรูปที่ปลายสมอยึดด้านท้าย คงค้างแรงดันอย่างน้อย 50 PSI หรือ 3.5 ksc. เป็นเวลา 5 วินาที
ก่อนทำการปิดรูที่ Grouting End
- ทำการต่อท่า Air Vent ภายหลังจากการอัดน้ำปูนอย่างน้อย 24 ชั่วโมง

2 ความคิดเห็น:

mybuilt กล่าวว่า...

อืมม์ มีประโยชน์

ไม่ระบุชื่อ กล่าวว่า...

ขอบคุณครับสำหรับบทความ