แสดงบทความที่มีป้ายกำกับ งานเสาเข็ม แสดงบทความทั้งหมด
แสดงบทความที่มีป้ายกำกับ งานเสาเข็ม แสดงบทความทั้งหมด

18 กันยายน 2551

หลักการตัดหัวเข็ม


Method Statement for Pile cut off

1. Check ขนาดของ Footing และระดับของ Pile cut off ก่อนลงมือขุด
2. ให้ทำระดับไว้ที่เสาเข็มก่อนขุด การขุดให้เผื่อระยะการทำงานออกไปข้างละประมาณ 0.50-1.00 เมตร
จากแนวขนาดของ Footing โดยการโรยปูนขาว หรือ Mark ตำแหน่งที่ขุดให้แน่นอน
3. ในขณะขุดห้ามกองดินไว้ที่บริเวณปากหลุมเป็นอันขาด
4. เมื่อขุดแล้วปรากฏว่ามีน้ำใต้ดินไหลออกมา ให้ขุดเผื่อ เครื่องสูบน้ำลงได้ และต้องทำบ่อ Sump
เพื่อให้ง่ายต่อการสูบน้ำออก
5. ในขณะขุดดิน จะต้องระวังไม่ให้เครื่องจักรโดนหัวเสาเข็มเป็นอันขาด " จะต้องคอยชี้บอกตำแหน่งให้
Operator รู้ตำแหน่งของเสาเข็ม " โดย Foreman หน้างานต้องระวังในขณะขุดเสมอ
6. การหาระดับตัดเสาเข็ม ให้ Surveyor เป็นผู้ถ่ายระดับมาฝากไว้ให้ และ Foreman เป็นผู้หาค่าระดับ Pile cut off เอง
7. เมื่อขุดเสร็จถ้าเป็นไปได้ควรเท Lean ให้เร็วที่สุด
8. การตัดเสาเข็ม คนงานต้องมีอุปกรณ์ Safety พร้อม เช่น แว่นตา กัน สะเก็ด Ear Plug สายพ่วงสำหรับต่ออุปกรณ์ไฟฟ้า
และ สายไฟ จะต้องไม่แช่น้ำเด็ดขาด
9. เมื่อตัดเสร็จควรตรวจสอบสภาพของเสาเข็มว่าสมบูรณ์ ดี หรือไม่ ถ้าอยู่ในสภาพไม่สมบูรณ์ ให้แจ้ง
วิศวกร ทราบทันที


งานเสาเข็ม

การสำรวจสภาพดินเพื่อการออกแบบงานที่เกี่ยวข้อง

งานตอกเสาเข็ม


Method Statement of Pile Driving work


1. การเตรียมการ
1.1 แบบแปลนและผังของโครงการ
1.2 การวางแผนการตอกเสาเข็ม (Piling Sequence) แบบฟอร์มที่ใช้ในการตอกเข็ม (Daily piling record , Pile driving record)
1.3 วิธีการตรวจสอบเข็ม (Pile load test , Static test)
1.4 การทำ Pilot test pile , จำนวน Pilot pile คิดตามสัดส่วนของพื้นที่โครงการ
1.5 เอกสารรายการคำนวณเสาเข็ม , รายการคำนวณ Blow count

2. การดำเนินงานตอกเสาเข็ม (Pilot Pile Test)
2.1 วางผังโครงการโดยใช้พิกัดค่า Coordinate ตามแบบแปลนที่กำหนด โดยอ้างอิงจากหมุด BM เดิม (from existing building )
2.2 ตำแหน่งเข็มอ้างอิงตามค่า Coordinate ของโครงการและแบบแปลน ที่จัดขึ้นโดย Designer (Recheck By Consultant)
2.3 ทำการตอกเข็มตัวอย่าง (Pilot test pile) เพื่อหาขนาด และ ความยาวของเสาเข็ม เพื่อเสนอขออนุมัติ จากเจ้าของโครงการ 2.4 เมื่อ Owner อนุมัติเรื่อง ขนาดความยาวพร้อมรายการคำนวณ Blow count ของเข็มเรียบร้อยจึงเริ่มดำเนินการตอกเสาเข็ม

3. ขั้นตอนการตอกเข็ม
3.1 วางแผนการ Start ตอกเสาเข็มต้นแรกและแนวทางการเดิน ปั้นจั่น (Piling Sequence) โดย Engineer
3.2 เมื่อ Survey ทำการวางหมุดเสร็จแล้วให้ Foreman Recheck ระยะก่อนว่าถูกต้องหรือคลาดเคลื่อนจากแบบแปลนหรือไม่
3.3 ก่อนที่ปั้นจั่นจะยกเสาเข็มขึ้นตอกให้ ทำ off set ตำแหน่งของเข็ม ทั้ง 2 แกน ก่อนยกเสาเข็มขึ้นและ Recheck off set โดย Foreman อีกครั้งเพื่อให้เข็มได้ตำแหน่งที่ถูกต้อง
3.4 ก่อนทำการ Check ดิ่ง ควรตอกเข็มให้จมลงไปก่อน ประมาณ 30 – 50 cm. แล้ว Recheck off set อีกครั้งว่าคลาดเคลื่อนหรือไม่ แล้วทำการ Check ดิ่ง โดย Foreman ต้องตรวจสอบด้วยเสมอ ซึ่งการตรวจสอบต้องตรวจสอบทั้ง 2 แกน คือ ด้านหน้าและด้านข้าง โดยค่าการดิ่งไม่ควรเกิน 1 : 500 หรือ 0.1%
3.5 ในการตอกเข็มให้ Foreman ตรวจสอบน้ำหนักของตุ้มตอก และระยะยกของลูกตุ้มให้ได้ตามที่คำนวณไว้

4. การ Check Blow Count
4.1 Mark ระยะที่ปลายของเสาเข็มแต่ละต้นเป็นช่วงๆละ 30 cm. จำนวน 10 ช่วง หรือประมาณ 3 เมตร
4.2 ทำการตอกเสาเข็มจนถึงตำแหน่งที่ Mark ไว้ (3 m.) เริ่มทำการนับจำนวน Blow ในแต่ละช่วง (30 cm.) ทำการบันทึกค่าไว้ของแต่ละช่วงว่าได้ Blow เท่าไหร่ จนกระทั่งถึงช่วงๆหนึ่ง จำนวน Blow จะเพิ่มขึ้นมาก แต่ระยะที่เสาเข็มจมลงน้อยมาก จึงทำการนับ Blow ที่ตอก 10 ครั้งสุดท้าย (Last ten blow) แล้ววัดระยะที่เข็มจมลงในการตอก 10 ครั้งสุดท้าย แล้วบันทึกค่าไว้ (ทำ 2 ครั้ง) (Last ten Blow ต้องไม่เกินจากค่าที่คำนวณไว้)
4.3 Foreman recheck ทิศทางการเยื้องศูนย์ของเข็ม บันทึกการเยื้องศูนย์

หมายเหตุ :
- Foreman ควรดูแลและควบคุมอย่างไกล้ชิด กรณีเข็มหัก หัวระเบิด หรือ มีสิ่งผิดปกติให้แจ้ง Engineer ทราบทันที
- การใช้ตุ้มต้องมีน้ำหนักตามที่คำนวณ
- การยกตุ้มและปล่อยตุ้มต้องตามระยะที่คำนวณ
- ปั้นจั่นต้องอยู่ในสภาพที่แข็งแรง ตะเกียบต้องตรงไม่บิดเบี้ยว
- ระยะหนีศูนย์ในแนวราบไม่ควรเกิน 5 ซม
- ระยะหนีศูนย์ในแนวดิ่งไม่ควรเกิน 0.1% ของความยาวเข็ม
ในขณะที่ตอกนั้น จะต้องทำตามดังนี้
- การยกตุ้มปั้นจั่นตามความสูงที่ได้คำนวณมา
- การตรวจสอบเสาเข็มให้อยู่แนวดิ่งตลอดการตอก
- ระยะหนีศูนย์ในแนวราบไม่เกิน 5 ซ.ม.
- ระยะหนีศูนย์ในขณะดิ่งไม่เกิน 0.1 % ของความยาวเข็ม


หลักการตัดหัวเข็ม