แสดงบทความที่มีป้ายกำกับ งานดิน งานลูกรัง แสดงบทความทั้งหมด
แสดงบทความที่มีป้ายกำกับ งานดิน งานลูกรัง แสดงบทความทั้งหมด

18 กันยายน 2551

การสำรวจพื้นที่เพื่อการถมดิน




การสำรวจพื้นที่

1 ตรวจสอบแนวเขตที่ดินที่จะทำการก่อสร้าง

2 ทำวงรอบโครงการและค่าระดับ คร่าวๆ

3 หาข้อสรุปกับเจ้าของโครงการว่า งานนี้ต้องถมหรือตัดดิน


4 งานรื้อย้ายต้นไม้และวัชพืช ขยะ ดินเลน ออกจากพื้นที่

5 ปรับบดอัดดินเดิม

6 ตรวจสอบและแก้ไขดินอ่อน (Soft Spot)

7 งานถมดินพร้อมบดอัด ปรับระดับให้ได้ตามสเป็ค

8 การทดสอบดินถม

9. กรณีการถมสระน้ำเก่า
9.1. ทำการสูบน้ำออกจนหมด
9.2. ขุดลอกเอาขี้เลนออกให้หมด จนถึงชั้นดินแข็ง
9.3. ทำการถมด้วยทรายหยาบโดยทำการถมเป็นชั้นๆ ชั้นละ 50 cm. แล้วบดอัดด้วยรถบด
9.4. ทำการทดสอบโดยวิธี ตามหลักวิศวกรรม


การสำรวจสภาพดินเพื่อการออกแบบงานที่เกี่ยวข้อง

งานเสาเข็ม

การตรวจสภาพชั้นดิน


Method Statement การตรวจสอบสภาพชั้นดิน

เพื่อหาข้อมูลและรายละเอียดของชั้นดินประกอบการออกแบบฐานรากอาคาร ให้เป็นไปอย่างประหยัด และ ปลอดภัย
ตามหลัก วิศวกรรม โดยเจาะดินและเก็บตัวอย่างทดสอบ ทั้งในสนามและในห้องปฏิบัติการ หาค่าความต้านทาน คุณสมบัติทาง
วิศวกรรมและจำแนกชนิดของชั้นดิน เพื่อทำ SOIL PROFILE การทำทดสอบต่าง ๆ ทั้งในสนามและห้องปฏิบัติการทดลอง ให้ถือตามมาตรฐาน ASTM และในระหว่างที่เจาะสำรวจมี SOIL ENGINEER หรือ TECHNICIAN ที่มีความรู้และความชำนาญด้าน SOIL ENGINEERING โดยเฉพาะควบคุมใกล้ชิดตลอดเวลา

วิธีการเจาะสำรวจ
1. การเจาะในชั้นดินอ่อน ให้ใช้ AUGER เท่านั้น สำหรับในชั้นดิน แข็งมาก หรือชั้นทราย ให้ใช้ WASH BORING ได้
2. จะเจาะสำรวจชั้นดิน เก็บตัวอย่างและทดสอบ SPT ความลึกประมาณ 20 เมตร หรือถึงชั้นดินแน่นมาก ที่มีค่า
SPT มากกว่า 50 ครั้ง / ฟุต ไปแล้ว หนาไม่ต่ำกว่า 4 - 5 เมตร แล้วแต่กรณีไหนจะถึงก่อน หรือหยุดเมื่อพบชั้นหน้าหินหรือกรวดแน่นมาก

การเก็บตัวอย่างและทดสอบในสนาม
1. เก็บตัวอย่างที่ความลึก 1.0 , 5, 2.0, และ 3.0 เมตร และต่อไปทุกช่วง 1.5 เมตร และที่ดินเปลี่ยนชั้น
2. เก็บตัวอย่าง UNDISTURBED ด้วยกระบอกบาง ที่มีเส้นผ่าศูนย์กลาง 21/4 นิ้ว สำหรับชั้นดินอ่อน และแข็งปานกลาง
โดยวิธีการกดกระบอกไฮโดรลิกจากเครื่องเจาะ
3. เก็บตัวอย่าง DISTURBED ด้วยกระบอกผ่า พร้อมทั้งทดสอบ STANDARD PENETRATION TEST (SPT) สำหรับ
ชั้นดินแข็งมาก และชั้นทราย
4. ตัวอย่างดินเหนียวที่ได้ ให้ทดสอบความแข็งด้วย POCKET PENETROMETER เพื่อหาค่า UNDRAINED SHEAR
STRENGTH ทันทีเมื่อได้ตัวอย่างขึ้นมาจากหลุมเจาะ
5. ตัวอย่างดินที่เก็บไม่ติด (NO RECOVERY) ให้ทำการเก็บซ้ำอีกครั้งเพื่อให้ได้ตัวอย่างดิน
6. บรรจุตัวอย่างที่เก็บได้ทั้งหมดไว้ในขวดแก้วใส และปิดให้มิดชิดป้องกันไอน้ำระเหยออก
7. บันทึกและหาความลึกที่ดินเปลี่ยนชั้นทุกครั้ง
8. วัดระดับน้ำในหลุมทุกเช้าก่อนเริ่มงานเจาะต่อไป และภายหลังจากเจาะเสร็จแล้ว 24 ชั่วโมง
9. ประมาณค่าความแตกต่างของระดับผิวดินแต่ละปากหลุม

งานเสาเข็ม

การป้องกันดินเคลื่อนตัวออกด้านข้าง

Method Statement for Protect soil sliding

ขั้นตอนการป้องกันดินเคลื่อนตัวออกด้านข้าง

1. การเตรียมการ
1.1 ตรวจสอบสภาพพื้นที่ อาคารข้างเคียงที่จะป้องกันความเสียหายจากการตอกเข็ม
1.2 วางแผน Line การขุดล่วงหน้าสำรวจดูว่ามีท่อหรือสิ่งก่อสร้างอยู่ในพื้นที่ หรือ Line ที่จะขุดหรือไม่
1.3 เตรียมเครื่องจักรให้พร้อม Backhoe, รถหกล้อเล็ก

2. วิธีการขุดคูดินป้องกันแรงสั่นสะเทือน
2.1 วาง Line โดยการโรยปูนขาว หรือ ตอกหมุด Peg เป็นช่วง ๆ ตลอดความยาวของอาคารที่จะป้องกัน
2.2 ขุดลอกดินตลอดแนวที่จะป้องกันโดยใช้ Backhoe หรือ JCB ในการขุดถ้าพื้นที่ไม่พอที่จะ Stock ดินควรใช้
รถหกล้อวิ่งดินออกไป Stock ข้างนอก
2.3 ขุดลอกดินให้ลึกประมาณ 1.00 ม. กว้าง ประมาณ 1.00 เมตร ยาวตลอดแนวอาคารที่จะป้องกัน
2.4 เมื่อขุดร่องเสร็จให้ปล่อยน้ำเข้าให้เต็มร่อง เพื่อช่วยลดแรงสั่นสะเทือนในระดับ บน ๆ
หมายเหตุ ป้องกันแรงสั่นสะเทือนได้ในระดับบน ๆ และการเคลื่อนตัวด้านข้างไปยังอาคารข้างเคียง

3. วิธีในการป้องกันความเสียหายจากการสั่นสะเทือนและการแทนที่ดิน
1 วิธีตอก Sheet Pile
2 วิธีตอกเข็มโดยบังคับทิศทางการเคลื่อนตัวของดินออกจากอาคารเดิม
3 วิธีขุดคูโดยรอบ บริเวณอาคารข้างเคียง
4 การเลือกขนาดตุ้มตอกให้เหมาะสมและการยกระดับตุ้มให้พอดี
5 วิธีการเลือกใช้เข็มเหล็กรูปพรรณ