18 กันยายน 2551

การติดตั้งวงกบประตู หน้าต่าง


Method statement การติดวงกบประตูและหน้าต่าง

วงกบประตูหน้าต่าง ที่ใช้กับอาคารส่วนมากจะเป็นวงกบไม้ เหล็กและอลูมิเนียม
1
งานอลูมิเนียมประตูหน้าต่าง ส่วนมากจะจ้างผู้รับเหมาเป็นผู้ติดตั้ง ทางบริษัทฯ จะต้องจัดเตรียมช่อง
เปิดไว้ให้งานที่ต้องทำ คือ
1.1 เทเสาเอ็นและทับหลัง ตามขนาดช่องเปิดที่ต้องการ
1.2 จับเซี้ยมและฉาบปูนให้ได้ตามขนาดตามแบบ ช่องเปิดจะต้องได้ขนาด ทั้งแนวดิ่ง แนวราบ และเส้น-
ทแยงมุมควรจะทำงานฉาบปูนให้เรียบร้อย เพื่อป้องกันปูนเลอะขอบกระจก และอลูมิเนียม
1.3 เมื่อติดตั้งอลูมิเนียมเสร็จแล้ว ควรใช้เทปกาวปิดอลูมิเนียมไว้ เพื่อป้องกันการเปรอะเปื้อนเนื่องจากการ
ทาสี โดยเฉพาะประตูที่มีธรณีเป็นอลูมิเนียม จะเกิดการถลอก ก่อนการส่งงาน เทปกาวที่ใช้ต้องเป็น
เทปกาวที่ใช้กับงานอลูมิเนียมโดยเฉพาะ เมื่อลอกออกจะไม่มีกาวติดอยู่ที่ผิวอลูมิเนียม
1.4 ควรติดตั้งให้ผิวอลูมิเนียมล้นออกจากผนัง ประมาณ 2 - 3 มม. เพื่อป้องกันการล้มดิ่งของงานผนัง
2
งานประตูไม้และประตูเหล็ก จะใช้ผู้รับเหมาติดตั้งเหมือนงานอลูมิเนียม งานที่ต้องทำคือ
2.1 เตรียมช่องเปิด โดยทำเสาเอ็นทับหลัง โดยฝังเหล็กเส้นขนาด 9 มม .ไว้ เพื่องานเชื่อมติดตั้งวงกบ-
กบประตู
2.2 เมื่อติดตั้งวงกบประตูเสร็จแล้ว จึงทำการฉาบปูนภายหลัง โดยเซาะร่องขนาด 6 มม.ริมวงกบ
เพื่อซ่อนรอย Crack ที่ผิวเหล็กกับปูน
2.3 การติดตั้งประตูเหล็กอีกวิธีซึ่งที่นิยมทำกันคือให้เว้นเสาเอ็นและทับหลังไว้ข้างละ 5 ซม. โดยรอบ
เมื่อติดตั้งวงกบแล้วจึงแทรกปูน-ทรายให้เรียบร้อยก่อนฉาบ การติดตั้งธรณีประตูให้ติดตั้งภายหลัง
โดยการกรีดพื้น
3
งานวงกบไม้ โดยทั่วไป วงกบไม้จะใช้ขนาด 2" x 4" กรณีที่เป็นห้องน้ำจะใช้ขนาด 2" x 5" งานที่ต้องทำคือ
3.1 เตรียมช่องเปิด โดยทำเสาเอ็นทับหลังเหมือนประตูเหล็ก
3.2 ติดตั้งประตูกับช่องเปิด โดยใช้สกรูและพุกพลาสติก รูหัวสกรูจะโป๊วอุดแล้วทาสี
3.3 ทำการฉาบปูน และเซาะร่องเหมือนวงกบประตูเหล็ก
4
ปัญหาที่พบบ่อยๆ
4.1 ไม้ที่ใช้ทำวงกบ บิดงอเพราะไม้ไม่ได้อบจนแห้ง ควรใช้ไม้ที่แห้งสนิทแล้ว
4.2 การกองวงกบไม้ที่หน้างาน ทำให้วงกบบิดงอ ควรหลีกเลี่ยง
4.3 ก่อนติดตั้ง ควรทาน้ำยากันปลวก และน้ำยากันยางไม้ก่อน เพราะจะพบปัญหาเมื่อวงกบเปียกน้ำ
จากงานปูน ยางไม้จะไหลออกมาทำให้มีปัญหากับงานทาสี
4.4 ควรติดตั้งวงกบประตูให้เรียบร้อย แล้วค่อยฉาบปูน ปัญหาที่พบบ่อยคือ จะฉาบปูนผนังแล้วเว้น
บริเวณขอบประตูไว้เมื่อติดตั้งวงกบแล้วจึงมาฉาบปูน บริเวณขอบวงกบเป็นการเก็บงาน เมื่อทาสี
เสร็จจะเห็นรอยต่อปูนตรงส่วนนี้ซึ่งดูหน้าเกลียด
4.5 กรณีที่วงกบประตูอยู่ที่ผนังเบา ต้องเพิ่มเหล็กกล่อง เป็นโครงสร้างเสาเอ็นและทับหลัง เพื่อยึด
วงกบประตูมิฉะนั้นผนังยิบซัมจะเกิดรอยร้าว เนื่องจากการสั่นสะเทือนเวลาเปิด-ปิดประตู

การปู หรือ บุ ผนังกระเบื้อง
งานฝ้า T-bar
งานฝ้าฉาบเรียบ
การปูพื้นด้วย Marblex Tile
งานมุงหลังคาอาคารขาดใหญ่

6 ความคิดเห็น:

สเตนกลาส Stained Glass กล่าวว่า...

http://classified.sanook.com/item/5310485

สเตนกลาส Stained Glass บานประตู บานหน้าต่าง ผนัง ฉาก โลโก้ รสนิยมตกแต่งบ้านอย่างมีระดับ ทนทาน สวยงาม สว่าง เย็นสบาย วัสดุในการผลิตและเทคนิคในการผลิตปราณีต ผลิตสเตนกลาสตามความต้องการ ทุกรูปแบบ ทุกขนาดเมดบายดีไซน์เอกลักษณ์ไม่มีซ้ำ ด้วยกระจกเทมเปอร์ คุณภาพเยี่ยม คู่ควรกับบ้านคุณ เราคือโรงงานผู้ผลิตให้กับท่าน สถาปนิกออกแบบตกแต่งภายใน ร้านวงกบประตูหน้าต่าง ร้านค้าผ้าม่าน ที่สนใจด้วยความยินดี

สเตนกลาส Stained Glass ทุกขนาดเมดบายดีไซน์เอกลักษณ์ไม่มีซ้ำ
สเตนกลาส Stained Glass คุณภาพทองเหลืองเกรด A เงาประกายวาววับ ทนทานไม่หลุดลอก
สเตนกลาส Stained Glass กระจกนิรภัย Safety Glass หนาและอบ ทนต่อการกระแทก TEMPERED 5 MM. 11 MM. (AIR CAP) แข็งแรง & ปลอดภัย ไม่แตกเป็นปากฉลาม รักษาอุณหภูมิด้วยสารกันชื้นไล้ฝ้า Desicant
สเตนกลาส Stained Glass เราให้คุณมากกว่าใครด้วยระบบฉนวน INSULATE GLASS ลดความร้อนจากภายนอก ประหยัดพลังงาน ลดเสียงรบกวนจากภายนอก เพื่อบรรยากาศส่วนตัว

ฉนวนเทปโฟมเรานำเข้าเพื่อผลิตและจำหน่ายทุกขนาดคงทนถาวรกว่าซิลิโคลนระยะยาวไม่รั่วซึม รวมทั้งกระจก กระจกเงาดีไซน์ (เทคนิคสลักลายกระจกอีสออล) กระจกลวดลาย เทปโฟม ฉาก ม่าน พรม วอลเปเปอร์ มู่ลี่ ติดต่อขอชมสินค้าที่โชว์รูม

ไมค์ 0894437484 email & msn : hs0rfd@hotmail.com

Video Present
http://www.youtube.com/watch?v=nlvZzw_bFC8

Slideshow Present
http://www.slide.com/r/IRAsNU906D-iOp3RtTzdE8_HPcy9S76F?map=2&cy=tg

แผนที่โชว์รูม
http://maps.google.co.th/maps/ms?hl=th&gl=th&ie=UTF8&oe=UTF8&msa=0&msid=100003293371807880512.00046fb714ee4be1c1193&z=15

อิฐอ่างทอง ดาวคู่
http://www.it-angthong.com

Mr.Stained Glass กล่าวว่า...
ความคิดเห็นนี้ถูกผู้เขียนลบ
Mr.Stained Glass กล่าวว่า...

http://classified.sanook.com/item/5660955

http://www.baanlaesuan.com/house_preview.aspx?articleId=2844

สเตนกลาสสวยใสอย่างมีคุณค่า จาก นิตยสารบ้านและสวน ฉบับที่ 397 ประจำเดือน กันยายน 2552

สเตนกลาสสวยใสอย่างมีคุณค่า

ภาพของแสงสว่างที่ส่องผ่านงานสเตนกลาส หรืองานกระจกสีเป็นภาพที่ดูสวยงาม ส่วนใหญ่เรามักพบงานลักษณะนี้ตามหน้าต่างของโบสถ์หรือวิหาร ทว่าปัจจุบันก็มีบางบ้านที่ตกแต่งด้วยกระจกสีที่ประดับประดาเป็นภาพตามแต่จินตนาการ เบื้องหลังความสวยงามเหล่านี้ต้องแลกด้วยความพิถีพิถันในขั้นตอนการผลิต จึงทำให้งานสเตนกลาสเป็นงานศิลปะที่เปี่ยมด้วยความงดงามและคุณค่า...ฉบับนี้เราจะมาดูเขาทำฟังเขาพูดเกี่ยวกับงานฝีมือประเภทนี้กัน

มองผ่าน...กระจกสี

สเตนกลาสแบ่งได้ 2 ประเภทหลักๆ คือ Machine Made และ Hand Made อย่างหลังจะให้ความอิ่มของสีได้สวยมากกว่า เพราะมีน้ำหนักของเนื้อสีเลื่อมกันในแต่ละแผ่น และแน่นอนว่าราคาต้องแพงกว่าด้วย

มองผ่าน...ความยาก

ศิลปะบนกระจกมีหลากเทคนิคหลายขั้นตอน แต่แนวคิดหลักๆของคือการนำกระจกแต่ละชิ้นมาเชื่อมต่อกัน อาจเป็นงานชิ้นเดียว (สองมิติ)อย่างหน้าต่างประดับ หรืออาจเป็นโคมไฟ หรือตะเกียง (สามมิติ) สำหรับสิ่งที่ถือว่ายากที่สุดของงานศิลปะประเภทนี้คือ "การเลือกชิ้นกระจกที่ใช่" เปรียบได้กับความยากในการหาชิ้นส่วนขอจิ๊กซอว์ภาพ นอกจากนี้ยังต้องคำนึงถึงเรื่องสีและเท็กซ์เจอร์ เพื่อให้เวลาที่ส่องผ่านแสงแล้วสีสันที่ได้จะมีความสวยงามตามจินตนาการของผู้ออกแบบ

มองผ่าน...อดีต

งานศิลปะสเตนกลาสมีการทำมาตั้งแต่สมัยโบราณแล้ว แต่มารุ่งเรืองที่สุดในยุคกลาง โดยเฉพาะบนผืนแผ่นดินยุโรป เทคนิคดั้งเดิมของงานประเภทนี้คือการเชื่อมต่อแผ่นกระจกด้วยรางตะกั่วรูปตัวเอช (H) หลังจากนั้นจะใช้การบัดกรีตะกั่วเชื่อมเข้ากัน ทำให้ไม่สามารถทำชิ้นงานด้วยกระจกชิ้นเล็กๆได้ เนื่องจากข้อจำกัดของรางตะกั่ว ปัจจุบันจึงมีการประยุกต์ใช้เทคนิค Copper Foiling โดยการใช้แผ่นทองแดงหุ้มขอบแผ่นกระจก ก่อนใช้เส้นตะกั่วบัดกรีติดกัน ทำให้สามารถสร้างสรรค์ชิ้นงานได้ไม่จำกัด
มองผ่าน..แสง

แสงเป็นตัวการสำคัญที่ทำให้เห็นความอิ่มของเนื้อสีบนกระจกได้ชัดเจน อาศัยการมองย้อนแสงที่อาจเป็นแสงประดิษฐ์หรือแสงธรรมชาติ ดังนั้นชิ้นงานที่นำมาตกแต่งช่องแสงนั้นต้องคำนึงถึงทิศทางของแสงที่ส่องผ่านเข้ามาและตำแหน่งที่ติดตั้ง เพราะจะทำให้งานเกิดความสวยงาม

นอกจากการสร้างชิ้นงานใหม่แล้ว งานลักษณะนี้ก็ต้องการการซ่อมแซมด้วย จึงมีความสำคัญเป็นอย่างมากที่จะต้องใช้ความพิถีพิถันและความชำนาญทั้งในการเลือกกระจกสีเพื่อให้ได้เนื้อสีที่ใกล้เคียงของเดิมมากที่สุด การเพ้นต์ลวดลายเพิ่มเติมในส่วนที่ชำรุด ให้เหมือนสภาพเดิมมากที่สุด รวมถึงเทคนิคต่างๆที่คงวิธีการเดิม เช่น การกัดสีกระจกเพื่อให้สีของกระจกใหม่ดูเข้ากัน เหล่านี้ล้วนทำให้งานสเตนกลาสต้องอาศัยฝีมือช่างมากกว่าเทคโนโลยีที่ทันสมัย

กระจกสเตนกลาส Stained glass กล่าวว่า...

กระจกสีสเตนกลาส
Stained Glass
มนต์เสน่ห์ของแผ่นแก้วย้อมสีกระจกสีสเตนกลาส
Magic of Stained Glass
ตอนที่ 1

แผ่นแก้วหรือแผ่นกระจกที่เราเห็นกันอยู่นี้ ถือว่าเป็นการนำผลิตผลของธรรมชาติด้วยการเอาเม็ดทรายแก้ว Silica และหินฟันม้า Feldspar และส่วนประกอบทางเคมีอื่นอีกหลายอย่าง มาผสมให้ได้สัดส่วนที่ต้องการ แล้วจึงนำมาผ่านกรรมวิธีหลอมละลาย ให้เป็นเนื้อเดียวกัน มีการคิดค้นเติมสารเคมีและอ๊อกไซด์ของโลหะต่างๆลงไปในขณะที่ยังร้อนเหลว เป็นน้ำกระจก เพื่อให้ได้เนื้อกระจกที่มีสีสรรสวยงาม และนำมาขึ้นรูปด้วยกรรมวิธีต่างๆ ด้วยวิธีการเท การดึง การเป่า การเหวี่ยง ทำให้เป็นแผ่น ที่มีสีสรรและลวดลายเฉพาะตนที่เกิดจากกรรมวิธี สูตรการผสมผสานวัตถุดิบ ตลอดจนเทคนิคของผู้ผลิตแต่ละแห่งที่ทำให้เกิดเอกลักษณ์เฉพาะตนขึ้น

ผู้ออกแบบและประกอบงานกระจกสีสเตนกลาส จึงจำเป็นต้องรู้จักลวดลายและสีสรรของกระจกสเตนกลาสที่ถูกผลิตขึ้นนี้อย่างกว้างขวาง เพื่อที่จะนำมาใช้ในการออกแบบโดยนำเอกลักษณ์เฉพาะตัวของแผ่นกระจกสีนี้ไปใช้ประกอบชิ้นงานกระจกสี ให้มีลวดลายและสีสรร ที่เหมาะสมลงตัวกับรูปแบบของงานกระจกสีสเตนกลาส ไม่ต่างกับจิตรกรเอก ที่ต้องรู้จักและเข้าใจในเรื่องของสีและการเลือกเฟ้นสีที่ใช้สำหรับสร้างสรรค์งานศิลปะอันสวยงามของตน

Mr. Glass Design

กระจกสเตนกลาส Stained glass กล่าวว่า...

กระจกสีสเตนกลาส
Stained Glass
มนต์เสน่ห์ของแผ่นแก้วย้อมสีกระจกสีสเตนกลาส
Magic of Stained Glass
ตอนที่ 2

การทำงานกระจกสีนั้นมีรายละเอียดที่สามารถแบ่งและแยกออกเป็นแขนงต่างๆได้หลายอย่าง ด้วยลักษณะจากการประกอบชิ้นงานและวิธีการตกแต่งชิ้นส่วนของกระจกที่จะนำไปประกอบเป็นชิ้นงาน ซึ่งอาจแบ่งออกคร่าวๆได้เป็น 2 ประเภทคือ การใช้แผ่นทองแดงบางๆ Foil ผนึกกาวไว้อีกด้านหนึ่งแล้วตัดเป็นเส้นเล็กๆ สำหรับหุ้มรอบขอบกระจกที่ตัดเจียรเป็นชิ้นส่วนรูปร่างตามที่ต้องการ นำมาต่อเข้าด้วยกันแล้วเชื่อมชิ้นงานนั้นด้วยการไล้ตะกั่วให้ขอบของชิ้นงานต่อติดกัน เป็นการทำกระจกสเตนกลาสด้วย เส้นแถบโลหะ Foil ซึ่งนิยมใช้ทำเป็นงานโคมไฟ แผ่นสเตนกลาสประตูหรือหน้าต่าง บานโชว์ จนถึงโมบายสำหรับแขวน ตั้งโต๊ะ ของชำร่วย กล่องเก็บของจุกจิก ซึ่งกลุ่มแม่บ้านในประเทศอเมริกาและในยุโรปนิยมทำกันเป็นงานอดิเรก เนื่องจากสามารถขึ้นรูปชิ้นงานได้อย่างคล่องตัวหลากหลายรูปแบบ

ประเภทที่สองคือการใช้เส้นโลหะชนิดต่างๆ เช่นตะกั่ว ทองแดง ทองเหลือง ที่มีแถบร่องสำหรับใส่กระจกบนเส้นทั้งสองข้างมีรูปหน้าตัดเป็นตัว H ซึ่งการใช้เส้นโลหะประเภทหลังนี้เมื่อเชื่อมต่อเป็นโครงสร้างติดกันแล้วจะมีความแข็งแรงมาก นิยมทำเป็นบานหน้าต่างหรือประตูรวมถึงผนังบานโชว์ที่มีขนาดใหญ่ เพราะเส้นโลหะที่ใช้เดินเส้นขอบรอบชิ้นกระจกนั้นถือเป็นโครงสร้างที่ใช้ยึดชิ้นงานไว้ด้วยกันและยังสามารถยึดกับโครงสร้างของอาคารได้อย่างแข็งแรง โดยเฉพาะร่องของเส้นโลหะนั้นช่วยในเรื่องของการซีลอัดน้ำยากันน้ำซึมที่ขอบรอยต่อของชิ้นงานไม่ให้น้ำรั่วเข้าไปในตัวอาคารได้ ต่างจากการใช้แผ่น Foil ที่ตัดเป็นเส้น

การใช้กระจกสีนั้นมีมานานแล้วตั้งแต่ยุคสมัยโรมันกลุ่มอาหรับประเทศยุโรปและเข้าสู่ยุคเฟื่องฟูในอเมริกาเรื่อยมาจนถึงเอเชีย กระจกสีมีประวัติและการพัฒนาการอย่างมากมายจากอดีตสู่ปัจจุบัน ด้วยความทรงอิทธิพลด้วยมนต์ขลังพลังแห่งแสงสีนี่เอง กระจกสเตนกลาสจึงได้เคยถูกสั่งให้ทำลายทิ้งให้หมดและฆ่าช่าง รวมถึงเผาตำราต่างๆ ที่ใช้สำหรับการผลิตกระจกสี เพื่อที่จะแย่งชิงและทำลายมนต์ขลังพลังแสงแห่งอำนาจของกระจกสีของฝ่ายศาสนาจักร โดยฝ่ายอาณาจักรผู้ปกครองฝ่ายทหาร ผู้ที่ต้องการมีอำนาจเหนือฝ่ายศาสนาจักร ในยุคนั้นงานกระจกสีถูกทำลายจนแทบไม่เหลือ จนเวลาล่วงเลยไป ได้มีการรวบรวมและฟื้นฟูงานกระจกสีสเตนกลาสขึ้นมาใหม่ มีการคิดค้นและพัฒนาอย่างจริงจังในสมัยพระนางเจ้าวิคทอเรียและไปแตกหน่อเติบโตขึ้นที่สหรัฐอเมริกาด้วยเทคนิคการผลิตน้ำกระจก การทำแผ่นกระจกที่รู้จักกันในชื่อของ Tiffany ที่ได้สร้างสรรกระจกสีเสตนกลาสได้อย่างวิจิตรงดงาม จนเป็นที่รู้จักกันอย่างกว้างขวาง ทำให้มิติของการนำกระจกสีไปประกอบชิ้นงานตกแต่งประดับอาคารในรูปแบบต่างๆมากมายหลายแขนงและได้กลายเป็นส่วนสำคัญส่วนหนึ่งของอาคารบ้านเรือนในฐานะเครื่องประดับตกแต่งบ้านราคาแพง ที่บ่งบอกถึงความมีรสนิยมและศิลปะของผู้ใช้

การนำกระจกสีสเตนกลาสมาใช้ตกแต่งในส่วนของ บานประตู หน้าต่าง ห้องโถง บานโชว์ ช่องแสงบันได เคาท์เตอร์ บาร์ ฯลฯ นอกจากจะได้เข้าถึงมนต์เสน่ห์แห่งสีสรรที่สวยงามแล้ว เส้นลายที่ประกอบขึ้นนั้นก็ทำหน้าที่บ่งบอกถึงเรื่องราวที่ผู้ออกแบบได้บรรจงสร้างสรรเรื่องราว Concept ไว้อย่างปราณีต ผ่านสีสรรของกระจก และเส้นลาย ไม่ว่าจะเป็น ความอ่อนช้อย ความนิ่มนวล ความแข็งแกร่ง ความละมุนละม่อมจากกระจก ที่สามารถถ่ายทอดอารมณ์จากผู้ออกแบบและผู้เป็นเจ้าของงานกระจกสี ไม่ว่าจะเป็นความกลมกลืนของการใช้โทนสี หรือความตื่นเต้นจากการตัดกันของสีกระจกที่ถูกลำแสงฉายกระทบขับให้กระจกเปล่งแสงสีออกมาอย่างน่าพิศวง ที่กล่าวมานี้ยังไม่รวมถึงเอกลักษณะเฉพาะของพื้นผิวกระจก Texture ที่มีความโดดเด่นในตัวเอง ที่จะช่วยเสริมความแวววาวสดใสให้กับเรื่องราวของกระจกสีสเตนกลาสได้อย่างน่าสนใจมากขึ้นอีก

Mr. Glass Design

กระจกสเตนกลาส Stained glass กล่าวว่า...

กระจกสีสเตนกลาส
Stained Glass
มนต์เสน่ห์ของแผ่นแก้วย้อมสีกระจกสีสเตนกลาส
Magic of Stained Glass
ตอนที่ 3

เคยมีการทำวิจัยเกี่ยวกับ กระจกสเตนกลาส ว่าทำไมมนต์ขลังพลังแห่งแสงสีจึงมีอิทธิพลต่อมนุษย์ มาช้านานแล้ว ผลจากการวิจัยระบุว่าลำแสงอาทิยต์ที่พุ่งผ่านเนื้อกระจกสีนั้น เป็นลำแสงที่มีผลต่อการทำลายอนุภาคของบรรยากาศที่เป็นอันตรายต่อมนุษย์ ดังนั้นในบริเวณที่ได้รับแสง ที่ผ่านกระจกสีครอบคลุมถึง จะทำให้มนุษย์รู้สึกสบาย ผ่อนคลายจากสภาวะแวดล้อมที่ก่อให้เกิดโรคร้ายเช่นมะเร็ง นี่คือเหตุผลทางวิทยาศาสตร์ ที่ผู้วิจัยได้สรุปเป็นนัยสำคัญไว้

ทำให้ไม่แปลกใจเลยว่า มนต์ขลังพลังแห่งแสงสีที่ผ่านแผ่นกระจกนี้ นอกจากจะเป็นที่ชื่นชอบในเรื่องความสวยงามแล้ว ยังมีคุณค่าต่อชีวิตที่ทำให้ผู้ได้มีไว้และได้สัมผัสแสงสีจากกระจกสเตนกลาสนี้รู้สึกได้ถึงความสุขกายสบายใจอีกด้วย

ในประเทศแถบร้อนชื้นอย่างประเทศไทยนั้น มีภาวะของเม็ดฝุ่นที่ มีความคมสูง ทำให้เกิดการกัดกร่อนและทำปฏิกิริยากับกระจกสเตนกลาสทำให้มีปัญหาในเรื่องของการดูแลรักษา การทำความสะอาด จึงมีการนำกระจกใสมาประกบทั้งสองด้านของกระจกสเตนกลาส ซึ่งมีการทำอยู่สองแบบคือ แบบแรกใช้แถบกาวเหนียวเป็นตัวยึดกระจกทั้งสองแผ่นไว้โดยมีกระจกสเตนกลาสอยู่ตรงกลาง ด้วยการใช้ความร้อนทำให้ชิ้นงานแห้งสนิทก่อนผนึกเป็นกระจก Double glass หรือ Triple glass ซึ่งอาจมีข้อด้อยในเรื่องของการเกิดฝ้าขึ้นได้ในภายหลัง และกาวที่ซีลนั้นจะไม่แห้งตลอดการใช้งาน อาจทำให้เกิดน้ำหนักกดทับบนเส้นกาวล่างสุด ทำให้เกิดการอ่อนตัวและเกิดการเคลื่อนของตัวสเตนกลาสที่บรรจุอยู่ภายในได้ หากถูกแสงแดดและความร้อนเป็นเวลานานๆต่อเนื่อง

ส่วนในแบบที่สองเป็นการผนึกกระจกทั้งสามแผ่นไปพร้อมกันด้วยกาวที่เช็ตตัวแล้วแห้งสนิท มีคุณสมบัติเป็นกระจกกันน้ำได้ซีลรอบแผ่นกระจก โดยเพิ่มการบรรจุสารกันชื้นไว้ภายในกรอบบานแล้วซีลปิดทับกระจกทั้งสามแผ่นให้เป็นชิ้นเดียวกัน ซึ่งจะทำให้เกิดเป็นช่องอากาศแห้งตลอดเวลา เป็นกระจก Insulate Glass Unit (IGU) ก็นับว่าในเมืองไทยก็มีการพัฒนาการด้านเทคนิคไปมากทีเดียวในการผลิตกระจกสีที่มีทั้งคุณค่าและคุณภาพออกสู่ตลาดไม่แพ้ชาติใดๆ นี่ยังไม่ได้พูดถึงการ Painting ที่ช่างเขียนไทยก็มีฝีมือเป็นที่รู้จักกันอย่างกว้างขวาง มีการพัฒนาการเขียนและการเผากระจกสีให้สีติดเป็นเนื้อเดียวกับกระจกเลย

สุดท้ายก็อยู่ที่ผู้จะเป็นเจ้าของชิ้นงานกระจกสีสเตนกลาส ว่าจะกำหนดเรื่องราว Concept ของกระจกสีสเตนกลาส ให้มีรูปแบบมีภาพลักษณ์อย่างไร ที่จะทำให้อาคาร สถานที่ มีความโดดเด่น สวยงามตามที่ต้องการ และเรื่องราวเหล่านี้ก็คือกระพี้ส่วนหนึ่งของ “มนต์เสน่ห์แห่งแผ่นแก้วย้อมสี” Magic of Stained Glass ที่เราอยากได้เป็นเจ้าของและได้สัมผัสมันด้วยตัวเอง
Mr. Glass Design