Method statement of Ground Beam
จาก คานคอดิน |
1. ทำการบดอัดดินให้ได้ตาม Spec ที่ Design ไว้ โดยทั่วไปใช้ที่ 95% Modify Poctor หรือ CBR > 20
2. Check ระดับ และ Alignment เพื่อหาระยะคาน และลดระดับเพื่อเท Lean Concrete
3. เท Lean Concrete หนาประมาณ 5 Cm. โดยเข้าแบบเผื่อ หน้าคานไว้ข้างละประมาณ 10 Cm. เพื่อสะดวกต่อการเข้าแบบ
4. วาง Alignment ของคานโดยตีเส้นขอบคานหรือ off set บน Lean ไว้
5. ทำการลงเหล็กเสริมตาม Detail เหล็กคาน ซึ่งอาจทำที่หน้างานหรือประกอบแล้วยกมาก่อตั้งก็ได้
( โดยเหล็กบนระยะต่อคานไม่ควรอยู่บริเวณหัวเสา หรือตำแหน่งคานควรมากกว่า 0.3 L เพราะบริเวณ
ใกล้หัวเสาจะเกิดแรงเฉือนมาก และเหล็กล่างก็ไม่ควรต่ออยู่ตรงกลาง Span เนื่องจากรับ Moment มากกว่าที่ยืน
6. ทำการเข้าแบบข้างโดยยึดตีนล่าง โดยให้แบบในเสมอเส้นเต้าที่ตีไว้ แล้วยึดให้แน่น ทำทั้ง 2 ด้าน
7. ตีค้ำยันปากแบบไว้ก่อน แต่ยังไม่ต้องยึด ทำการจับฉากหัวไม้แบบให้ได้ฉากจริงทั้ง 2 ข้าง แล้วดึง……
เพื่อจัดแนวของปากแบบ Check ระยะปากแบบให้ได้จึงค่อยรัดปากแบบให้แน่น
8. ทำการวางระดับเทไว้ข้างแบบโดย Surveyer (ในกรณี Lean ไม่ได้ระดับ) หรืออาจดึงระดับจาก Top Lean ขึ้นมาก็ได้ในกรณีที่เท Lean ได้ระดับ
9. ทำการเทคอนกรีตโดยจี้ Vibration ให้สม่ำเสมอตลอดคาน ในการหยุดเทควรหยุดอยู่ที่ ตำแหน่ง........0.4 L-0.5 L ไม่ควรหยุดเทที่ตำแหน่งหัวเสา หรือกลางคานเพราะมีแนวเฉือนและ Moment มาก
การหล่อเสาในที่
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น