3 มีนาคม 2553

การสำรวจพื้นที่ เพื่อวางแผนก่อสร้าง

เปิดโครงการใหม่สำหรับ PM,PE,SM และผู้ที่ได้รับมอบหมาย

การสำรวจพื้นที่ เพื่อวางแผนก่อสร้าง

การก่อสร้างอาคารสูงหรืออาคารขนาดใหญ่ ทั่วไป จำเป็นอย่างยิ่ง ที่จะต้องเข้าใจขั้นตอน และเทคนิคการสำรวจที่จำเป็นในการก่อสร้างอาคารอย่างละเอียด ตั้งแต่การรับมอบพื้นที่จากเจ้าของโครงการ การสำรวจหน้างานเบื้องต้น การตรวจสอบและรับมอบแนวอ้างอิง การสำรวจการวางผังอาคาร การกำหนดระดับอ้างอิง การตรวจสอบแนวเสาเข็ม การให้แนวผนังอาคาร การให้แนวดิ่งอาคารสูง การตรวจสอบระดับในแต่ละชั้นอาคาร การตรวจสอบระยะร่น เป็นต้น
การรับมอบพื้นที่ การตรวจรับพื้นที่ถือเป็นขั้นตอนที่สำคัญ เพราะโครงการก่อสร้างบางโครงการ กำหนดวันที่รับมอบพื้นที่เป็นวันเริ่มสัญญา
การตรวจสอบและรับมอบแนวอ้างอิง(Base Line) โดยส่วนมากจะเป็นการตรวจสอบแนว Base Line ที่กำหนดไว้เทียบกับแนวของเสาเข็มอาคาร
การกำหนดระดับอ้างอิง เป็นความต้องการของเจ้าของโครงการหรือฝ่ายออกแบบ โดยส่วนมากจะให้ยึดที่ curb footpath หรือสันถนน เป็นระดับอ้างอิง การกำหนดระดับอ้างอิงถือเป็นเรื่องสำคัญต่อผู้รับเหมาเพราะ ต้องวางแผนเรื่องงานดินถมและดินตัด
การสำรวจหน้างานเบื้องต้น
จดบันทึกและถ่ายภาพ สิ่งที่ได้จากการสำรวจเบื้องต้นได้แก่ Existing Building,ป่ารกทึบ ต้นไม้ใหญ่,เสา สายไฟฟ้าโทรศัพท์,คลองหรือร่องน้ำสาธารณะ ,บ่อน้ำหรือสระ เป็นต้น สิ่งเหล่านี้มีผลต่อการวางแผนงานช่วงเริ่มต้นเป็นอย่างมาก และสิ่งที่ PM,PE,SM ต้องให้ความสำคัญและต้องดำเนินควบคู่กันไป ได้แก่
1 Facility

1.1 Facility for staff คือการจัดเตรียม/จัดหาที่พักสำหรับ staff ที่จะมาเริ่มมาทำงานในโครงการ ที่พัก staff ควรจะสะดวกสบายใกล้ที่ทำงาน ไม่แออัด ใช้แนวคิด ทำงานหนัก ที่พักสบาย วางแผนแก้ปัญหาเรื่องน้ำ,ไฟ หรือรถรับส่งกรณีที่พักอยู่ห่างไกล อันเนื่องมาจากโครงการก่อสร้างอยู่ย่านธุรกิจ


1.2 Facility for Labour ไดแก่การจัดหา บ้านพักคนงาน แบ่งเป็น 2 กรณี
1.2.1 สร้าง Camp กรณีโครงการ มีระยะเวลานานมากกว่า 1 ปี หรือโครงการอยู่ในพื้นที่ทุรกันดาร
1.2.2 เช่า ตึก/ อาคาร กรณีโครงการระยะสั้นหรือมีอาคารขนาดใหญ่ใกล้เคียงพื้นที่ก่อสร้าง
ข้อแนะนำในการจัดหา Labour Camp ปัญหาที่อาจเกิดขึ้น คือ คนงานเยอะ แต่ไม่ได้เตรียมแผนเรื่องน้ำ ,ไฟ ถ้ามีปัญหาเรื่องน้ำ,ไฟ จะก่อให้เกิดปัญหาต่อคนงาน และ ความก้าวหน้าเป็นอย่างมาก
ปัญหาเรื่อง น้ำประปา, ไฟฟ้า ถ้าเป็นบ้านพัก/ หอพัก Staff จะไม่ค่อยมีปัญหาเนื่องจากมีการติดตั้งไว้แล้ว กรณีเป็น Labour Camp คนงานพักอาศัยจำนวนมาก PM,PE,SM ต้องดำเนินการดังนี้
ทำเองหรือมอบหมายให้ผู้ช่วยไปติดต่อส่วนราชการที่เกี่ยวข้อง เช่น

ไฟฟ้าชั่วคราว การดำเนินการคือ ไปแจ้งความประสงค์จะใช้ไฟฟ้า ทางการไฟฟ้าจะตอบกลับมาว่าให้เราเตรียมเอกสารอะไรบ้าง แล้วแจ้งไปยัง Head Office/แผนกที่มีหน้าที่รับผิดชอบ สำหรับส่วนราชการอื่นๆ ก็มีลักษณะที่คล้ายกัน

1.3 Facility อื่นๆ ความหมายคือ การเตรียมการและจัดการความสะดวกสบายให้พนักงานที่จะเข้ามาทำงานในโครงการ ได้แก่วัสดุอุปกรณ์เครื่องมือรวมทั้งสวัสดิการอื่นๆ ที่เหมาะสม ตามกฎของ บริษัท เพื่อให้พนักงานทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ

2. Site Layout
เมื่อ PM,PE,SM ไปสำรวจที่หน้างานครั้งแรก ( ควรจะมีแบบ lay out plan ประกอบด้วย ) PM,PE,SM ต้องตรวจสอบว่า
1. พื้นที่ ที่เป็นส่วนก่อสร้าง ไม่ควรทำเป็น Site Facility
2. ให้ยึดคติที่ว่า Staff ทำงานหนักต้องมีที่นั่งทำงานสะดวกสบาย เพื่อให้สมดุลกับการทำงาน พยายามจัดหา Site Office ให้เร็วทีสุด ทางที่ดีควรติดกับโครงการ ยกเว้นหาไม่ได้ควรตั้ง Site Office ให้อยู่ในเขต green area/land&hard scape นอกจาก Site Office ที่ต้องสร้างในพื้นที่โครงการแล้ว ก็จะมี Temporaryสิ่งปลูกสร้างชั่วคราวดังนี้
store / Maintenance / EE/ Rebar Shop/ Fab Shop และ อื่นๆ สิ่งเหล่านี้ต้องการพื้นที่ในการทำงานทั้งนั้น
: ฉะนั้นให้ PM นำ Lay out plan มาตรวจสอบเพื่อกำหนดตำแหน่งที่จะทำ Temporary
* สำคัญมาก เมื่อเข้าพื้นที่ต้องรีบสร้าง Site Office ให้เสร็จเร็วที่สุด
อุปกรณ์ / สำนักงาน Site Office จะทำงานได้อย่างมีคุณภาพต้องมีน้ำ ไฟฟ้า,แอร์เย็น,อุปกรณ์สำนักงานทั้งหมด
* Site Office ต้องเขียนแบบขึ้นให้เหมาะตามสภาพโครงการ หรือรูปแบบที่มาตรฐาน ( เป็นหน้าที่ของ PM/PE/SM )
ใน Site งาน ไฟฟ้าชั่วคราวในโครงการ ก็ติดต่อเหมือนกับกรณี labour Camp
เปิด Site มาหน้างานยังไม่มีไฟฟ้าใช้ ให้สั่งเครื่องปั่นไฟมาใช้งานก่อน






3. Progress of work
ในส่วนของ Progress of work PM/PE/SM ควรจัด Organization Chart ให้เหมาะสมตามขนาดของโครงการ เช่น

3.1 ทีม admin/site secretary รับผิดชอบ บัญชีการเงิน จักซื้อ ธุรการ ค่าแรง
3.2 ทีม Office engineer และ Draftman รับผิดชอบ งานสำนักงานและแบบก่อสร้าง
3.3 ทีมหน้างาน ได้แก่ PE SM SE FM SV HM รับผิดชอบ ความก้าวหน้าของงาน
3.4 แผนกความปลอดภัยในการทำงาน
3.5 แผนกป้องกันความเสียหายทั้งบุคลากรและทรัพย์สิน
อื่น ๆ



4 ความคิดเห็น:

Unknown กล่าวว่า...

อะไรก็ safety / flow chart อะนะ safety อยู่ข้างบนนะครับ ไม่ใช่ผู้ช่วยช่าง
ตรงข้ามแล้ว ช่างนั่นแหละคือผู้ช่วย safety 8รับ

Unknown กล่าวว่า...

เห็นด้วย
PM ต้องสนับสนุนเรื่องบทบสท หน้าทีครับ

Unknown กล่าวว่า...

ค่อยๆ พูดค่อยจากันครับ

งานสายนี้บางช่วงเบา บางช่วง ลุย เหนื่อย เป็นธรรมดา
ของงานสายนี้ครับ

รักงานสบาย ไม่ควรเข้ามาจับงานสายนี้ครับ

Unknown กล่าวว่า...

ได้ความรู้มากครับ