แสดงบทความที่มีป้ายกำกับ งานโครงสร้างคอนกรีตเสริมเหล็ก แสดงบทความทั้งหมด
แสดงบทความที่มีป้ายกำกับ งานโครงสร้างคอนกรีตเสริมเหล็ก แสดงบทความทั้งหมด

18 กันยายน 2551

คานคอดิน

Method statement of Ground Beam
จาก คานคอดิน

1. ทำการบดอัดดินให้ได้ตาม Spec ที่ Design ไว้ โดยทั่วไปใช้ที่ 95% Modify Poctor หรือ CBR > 20
2. Check ระดับ และ Alignment เพื่อหาระยะคาน และลดระดับเพื่อเท Lean Concrete
3. เท Lean Concrete หนาประมาณ 5 Cm. โดยเข้าแบบเผื่อ หน้าคานไว้ข้างละประมาณ 10 Cm. เพื่อสะดวกต่อการเข้าแบบ
4. วาง Alignment ของคานโดยตีเส้นขอบคานหรือ off set บน Lean ไว้
5. ทำการลงเหล็กเสริมตาม Detail เหล็กคาน ซึ่งอาจทำที่หน้างานหรือประกอบแล้วยกมาก่อตั้งก็ได้
( โดยเหล็กบนระยะต่อคานไม่ควรอยู่บริเวณหัวเสา หรือตำแหน่งคานควรมากกว่า 0.3 L เพราะบริเวณ
ใกล้หัวเสาจะเกิดแรงเฉือนมาก และเหล็กล่างก็ไม่ควรต่ออยู่ตรงกลาง Span เนื่องจากรับ Moment มากกว่าที่ยืน
6. ทำการเข้าแบบข้างโดยยึดตีนล่าง โดยให้แบบในเสมอเส้นเต้าที่ตีไว้ แล้วยึดให้แน่น ทำทั้ง 2 ด้าน
7. ตีค้ำยันปากแบบไว้ก่อน แต่ยังไม่ต้องยึด ทำการจับฉากหัวไม้แบบให้ได้ฉากจริงทั้ง 2 ข้าง แล้วดึง……
เพื่อจัดแนวของปากแบบ Check ระยะปากแบบให้ได้จึงค่อยรัดปากแบบให้แน่น
8. ทำการวางระดับเทไว้ข้างแบบโดย Surveyer (ในกรณี Lean ไม่ได้ระดับ) หรืออาจดึงระดับจาก Top Lean ขึ้นมาก็ได้ในกรณีที่เท Lean ได้ระดับ
9. ทำการเทคอนกรีตโดยจี้ Vibration ให้สม่ำเสมอตลอดคาน ในการหยุดเทควรหยุดอยู่ที่ ตำแหน่ง........0.4 L-0.5 L ไม่ควรหยุดเทที่ตำแหน่งหัวเสา หรือกลางคานเพราะมีแนวเฉือนและ Moment มาก

การหล่อเสาในที่

ข้อปฎิบัติเพื่อลดการแตกร้าวของพื้นอัดแรง

การปฏิบัติเพื่อลดการแตกร้าวของพื้นคอนกรีตอัดแรง
1. หลักการและเหตุผล
1.1 การแตกร้าวของพื้นคอนกรีตส่วนมากเกิดจาก
- การหดตัวของคอนกรีต ( Shrinkage )
- การสูญเสียน้ำเร็วเกินไป อันเนื่องมาจากการบ่มไม่ดี
- พื้นคอนกรีตยึดรั้งกับชิ้นส่วนที่มี Stiffness สูง
- การสูญเสียแรงในลวดอัดแรงทำให้แรงอัดในคอนกรีตต่ำ
- การแตกร้าวที่มุมเว้า เนื่องจาก Tensile stress
- การแตกร้าวเนื่องจากการเทคอนกรีตติดกับคอนกรีตที่เทไว้ก่อนแล้ว
2. ข้อควรสังเกต และข้อปฏิบัติเบื้องต้น
2.1 คอนกรีตที่มีส่วนผสมของน้ำ ( ต่อลูกบาศก์เมตร ) มากจะเกิด Shrinkage มาก
- ห้ามเติมน้ำเพื่อเพิ่ม Slump
- เมื่อเกิดฝนตก หรือมีการรดน้ำลงบนกองทราย หรือหินจะต้องคำนวณหาปริมาณน้ำแล้วนำมาหักลบเพื่อลด
ปริมาณน้ำที่ผสมคอนกรีต
2.2 การบ่มคอนกรีตควรกระทำโดยเร็วที่สุดหลังจากการเทคอนกรีตและแต่งผิวแล้ว
- การป้องกันแสงแดด ส่องโดยตรงต่อคอนกรีตที่ยังไม่ได้บ่ม
- การป้องกันมิให้มีลมผ่านผิวคอนกรีตที่ยังไม่ได้บ่มโดยตรง
2.3 พื้นคอนกรีตอัดแรง ซึ่งติดกับโครงสร้างที่มี Stiffness สูง เช่น ปล่องลิฟท์ กำแพงขนาดใหญ่ ฯลฯ และมีการกำหนด
วิธีป้องกันการยึดติดกัน เช่น Block out เสา / แยก Joint / ทำ Pour Strip / ทำผิวสไลด์ ฯลฯ จะต้องตรวจสอบก่อน
เทคอนกรีตว่าเป็นไปตามแบบ Detail จริงๆ
- ตรวจสอบ Block out เสา ต้องแยกขาดจริงๆ
- ตรวจสอบ การปูพลาสติก เพื่อแยกชั้นคอนกรีตต้องระวังแผ่นพลาสติกขาด / ถ้าขาดต้องปะด้วยเทปกาว
หรือปูแผ่นพลาสติกซ้อนอีกชั้น
- ตรวจสอบ Dowel ซึ่งกำหนดให้ Debond หรือมีเทปพัน
- ตรวจสอบการแยกชิ้นส่วนคานหรือเสาหรือกำแพงที่กำหนดให้แยกขาดจากกัน
- ตรวจสอบการเสริมเหล็กพิเศษตามแบบ Detail หรือ Typical Detail ที่มีเพิ่มเติมจากแปลนเหล็ก
Top & Bottom
2.4 การสูญเสียแรงในลวดอัดแรง ส่วนมากเกิดจากความฝืดในท่อ
- ตรวจสอบแนวท่อจะต้องตรงไม่ส่ายเลื้อยหรือขยับไปมาโดยง่าย การเลี้ยวท่อต้องทำอย่างน้อยที่สุด
และทำเท่าที่จำเป็นเท่านั้น ควรแก้ไขใน As-Built Drawing ด้วย ( ความคลาดเคลื่อนที่ยอมให้ใน
แนวราบ + - 40 มม. )
- ตรวจสอบการยึดท่อว่าแน่นหนา ท่อต้องไม่เคลื่อนที่ในขณะเท concrete
-ตรวจสอบ profile ว่าถูกต้องตาม shop drawing และไม่มีการเปลี่ยนแปลงระดับ profile อย่างกระทันหัน
หรือชันเกินไป (ความคลาดเคลื่อนในแนวดิ่งที่ยอมให้เท่ากับ + - 5 มม)
2.5 ที่ขอบพื้นบนมุมเว้า และช่องเปิดทุกแห่งต้องมีเหล็กเสริมพิเศษกันแตก
2.6 การเทคอนกรีตติดกับคอนกรีตที่เทไว้ก่อนและแข็งตัวแล้ว คอนกรีตใหม่มีโอกาศมากที่จะเกิดรอยร้าวตั้งฉากรอยต่อ
คอนกรีต
- การเสริมเหล็ก ( บน - ล่าง ) ขนานกับรอยต่อจะลดการเกิดรอยร้าวได้
- การเว้นระยะเวลาการเทคอนกรีตทั้งสองส่วนให้น้อยที่สุดจะช่วยลดโอกาสการเกิดรอยร้าวได้มาก
( ข้อแนะนำคือควรเทคอนกรีตในวันถัดไปโดยไม่เว้นวัน )

ข้อกำหนดการดึงลวดในพื้น Postension

ข้อกำหนดการดึงลวดขั้นต้น (Pre - Stressing)
1
หลักการและเหตุผล
เพื่อลดการแตกร้าว Shrinkage Crack ของพื้นคอนกรีต อันเนื่องจากการเทคอนกรีตแบบ Strip
ยาว 50-60 เมตร
2
ข้อกำหนด การดึงลวดขั้นต้น
2.1
หลังจากการเทคอนกรีตพื้นแต่ละ Strip 2.5-3.0 วัน (60-72 ชม.) ให้ทำการดึงลวด
อัดแรงในทิศทางตามยาวของ จำนวนครึ่งหนึงบนลวดทั้งหมด (เส้นเว้นเส้น) ด้วย
แรง 10 ตัน ต่อเส้น (กรณี สมอยึดแบบ 3 เส้น ให้ดึงลวดแต่ละกล่ม เพียงเส้นเดียว
แรง 15 ตัน) (ก่อนดึงลวดต้องพ่นสี Mark ปลายลวดเพื่อเตรียมดพเนินการวัด
Elongation ตามปกติ แต่ยังไม่ต้องวัด Elongation ในขณะนี้)
2.2
กรณีที่สมอยึดตัวสุดท้ายอยู่ห่างจากขอบ Concreting Joint น้อยกว่า 0.40 เมตร ยัง
ไม่ต้องดึงลวดที่สมอยึดตัวนั้น แต่ให้ดึงพร้อมกับลวดใน Strip ถัดไป
2.3
กรณีที่ดึงลวดตามข้อ 2.1 แล้วเกิดการแตกร้าว หรือรอยร้าวที่คอนกรีต บริเวณหัว
สมอ ยึดให้ลดแรงดึงจาก 10 ตัน เหลือ 8 ตัน
2.4
เมื่อเทคอนกรีตครบทุก Strip แล้ว 2.5-3.0 วัน (60-72 ชม.) แต่กำลังอัดของคอนกรีต
ยังต่ำกว่า 240 ksc. ให้ทำการดึงลวดอัดแรงในทิศทางตามขวาง ของ Strip จำนวน
ครึ่งหนึ่งบนลวดอัดแรงทั้งหมด (เส้นเว้นเส้น) ด้วยแรง 10 ตันต่อเส้น (กรณีสมอยึด
แบบ 3 เส้น ให้ดึงลวดแต่ละกลุ่ม เพียงเส้นเดียวด้วยแรง 15 ตัน)
2.5
เมื่อคอนกรีตทั้งผืนมีกำลังอัดได้ 240 ksc. ให้ทำการดึงลวดตามขั้นตอน ปกติโดยเริ่ม
ดึงจากลวดเส้นที่ยังไม่ได้ดึงก่อน และดึงลวดที่เคยดึงด้วยแรง 10 ตัน เพิ่มเป็น
14.07 ตัน (กรณีสมอยึดแบบ 3 เส้น ให้ดึงลวดซ้ำด้วยแรง 15 ตัน) ทั้งนี้ให้สังเกตว่า
Elongation ของลวดเส้นหลัง ควรจะเท่ากับหรือใกล้เคียงกับลวดเส้นก่อน หาก
Elongation แตกต่างกันมากหรือมีค่าต่ำกว่า 95 % ของค่าที่ออกแบบไว้ให้เพิ่มแรง
ดึงเป็น 15 ตัน

Stressing for Postension slab

STRESSING
1. อุปกรณ์การ STRESSING
1.1 เครื่องมือและอุปกรณ์การดึงลวดอัดแรง
- Hydraulic Pump
- Hydraulic Jack

- CCL Mastermatc, Proving Ring
หมายเหตุ การดึงลวดจะกระทำเมื่อกำลังอัดประลัยคอนกรีตรูปทรงกระบอกไม่น้อยกว่า 240 กก. / ตร.ซม.( 75 % Strength design)
และวัดค่า Elongation
2. การ STRESSING
2.1 หลังจากการเทคอนกรีตพื้นแต่ละ Strip 2.5 - 3.0 วัน ( 60 - 72 ชม. ) ให้ทำการดึงลวดอัดแรงในทิศทางตามยาวของ
จำนวนครึ่งหนึ่งของลวดทั้งหมด ( เส้นเว้นเส้น ) ด้วยแรง 10 ตันต่อเส้น ( กรณีสมอยึดแบบ 3 เส้น ให้ดึงลวดแต่ละกลุ่ม
เพียงเส้นเดียวด้วยแรง 15 ตัน ) ก่อนดึงลวดต้องพ่นสี Mark ปลายลวดเพื่อเตรียมดำเนินการวัด Elongation ตามปกติ
แต่ยังไม่ต้องวัด Elongation ในขณะนี้
2.2 กรณีที่สมอยึดตัวสุดท้ายอยู่ห่างจากขอบ Concreting Joint น้อยกว่า 0.40 เมตร ยังไม่ต้องดึงลวดที่สมอยึดตัวนั้น แต่
ต้องดึงพร้อมลวดใน Strip ถัดไป
2.3 กรณีที่ดึงลวดตามข้อ 2.1 แล้วเกิดการแตกร้าว หรือรอยร้าวที่คอนกรีต บริเวณหัวสมอยึดให้ลดแรงดึงจาก 10 ตัน
เหลือ 8 ตัน
2.4 เมื่อเทคอนกรีตครบทุก Strip แล้ว 2.5 - 3.0 วัน ( 60 - 72 ชม.) แต่กำลังอัดของคอนกรีตยังต่ำกว่า 240 ksc. ให้ทำการ
ดึงลวดอัดแรงในทิศทางตามขวางของ Strip จำนวนครึ่งหนึ่งของลวดอัดแรงทั้งหมด (เส้นเว้นเส้น )ด้วยแรง 10 ตัน
ต่อเส้น ( กรณีสมอยึดแบบ 3 เส้น ให้ดึงลวดแต่ละกลุ่ม เพียงเส้นเดียวด้วยแรง 15 ตัน )
2.5 เมื่อคอนกรีตทั้งผืนมีกำลังอัดได้ 240 ksc. ให้ทำการดึงลวดตามขั้นตอนปกติโดยเริ่มดึงจากลวดเส้นที่ยังไม่ได้ดึงก่อน
และดึงลวดที่เคยดึงด้วยแรง 10 ตัน เพิ่มเป็น 14.07 ตัน ( กรณีสมอยึด 3 เส้นให้ดึงลวดซ้ำด้วยแรง 15 ตัน ) ทั้งนี้ให้
สังเกตว่า Elongation ของลวดเส้นหลัง ควรเท่ากันหรือใกล้เคียงกับลวดเส้นก่อน หาก Elongation แตกต่างกันมาก
หรือมีค่าต่ำกว่า 95% ของค่าที่ออกแบบไว้ให้เพิ่มแรงดึงเป็น 15 ตัน
2.6 หลังจากดึงลวดเสร็จเรียบร้อย จะทำการวัดระยะยืดจริง โดยวัดระยะจากกิ๊ฟ ถึงตำแหน่งพ่นสีที่ทำไว้
เพื่อนำค่าระยะยืดจริงของลวดเปรียบเทียบกับค่า Elongation ที่ออกแบบไว้
2.7 กรณีที่วัดค่า Elongation จากการดึงลวด ได้ค่าไม่ตรงตามข้อกำหนด จะต้องทำการดึงซ่อม หรือหาทางแก้ไข
เป็นกรณีไป
3. การควบคุมแรงดึงในเส้นลวด
3.1 ควบคุมแรงดึงจาก Pressure - Gage ที่เครื่อง Hydraulic Pump
3.2 เปรียบเทียบค่าระยะยืด จริงของลวดกับค่า Elongation ที่ได้ออกแบบไว้โดยค่าที่จะแตกต่างกันไม่เกิน 5%
(ตามค่ากำหนด)
4. กรณีที่ค่าระยะยืดจริงของลวดกับ Elongation ที่ออกแบบไว้แตกต่างกันเกิน 5% ให้ทำการตรวจสอบและแก้ไข
เป็นกรณีไป

4.1 กรณี - 5% (ระยะยืดของลวดน้อยกว่ารายการคำนวณ Elongation)
- ให้เพิ่มแรงดึงแต่ต้องไม่เกิน 80% Fpu.( 15 ตัน) แล้ววัดระยะยืดของลวดที่เพิ่มขึ้น
- กรณีที่เพิ่มแรงดึงถึง 80% Fpu. แล้ว ระยะยืดของลวดเกิน 5% ให้ทำการคำนวณตรวจสอบโครงสร้าง
เฉพาะส่วนนั้น ๆ โดยใช้ค่าแรงดึงลวดที่เกิดขึ้นจริง
4.2 กรณี + 5% (ระยะยืดจริงมากกว่ารายการคำนวณ Elongation)
- ตรวจสอบแรงดึง โดย Re-Stressing ด้วยแรง 75% Fpu. (14 ตัน) สังเกตระยะยืดเพิ่มแรงช้า ๆ
สังเกตระยะยืดจนลวดขยับตัวอ่าน Pressure Gage จะได้ค่าแรงในลวดเส้น นั้น ๆ ตรวจสอบว่าเกิน
80% Fpu. หรือไม่ ถ้าไม่เกินถือว่าผ่าน กรณี 50% Fpu. ให้รายงานผู้ออกแบบเพื่อหาทางแก้ไขต่อไป
5. การอัดน้ำปูน (Grouting Cement)
5.1 เครื่องมือและอุปกรณ์การอัดน้ำปูน
- เครื่องมืออัดน้ำปูน Mono Pump
- เครื่องผสมปูน (Mixer Tank)
5.2 วัสดุ Grouting Cement
วัสดุ Grouting Cement เป็นส่วนผสมของปอร์ดแลนด์ซีเมนต์ชนิดที่ 1 ผสมกับน้ำ และ Admixture
โดยมีอัตราส่วนของน้ำ ต่อ ซีเมนต์ (W/C RATIO) ไม่เกิน 0.45 โดยน้ำหนักดังอัตราส่วนต่อไปนี้
- ปอร์ตแลนด์ซีเมนต์ชนิดที่ 1 =50 kg.
- ADMIXTURE (Aluminum) ส่วนผสมตามสูตรของ Admixture แต่ละชนิด
- น้ำ = 20 - 22 ลิตร
ก่อนจะนำส่วนผสมไปอัดน้ำปูน จะต้องทำการทดสอบการไหล (Test Flow Rate) ของส่วนผสมก่อน
โดยให้ได้อัตราการไหลประมาณ 11 วินาที โดยใช้ปริมาตร 1.7 ลิตร และจะต้องทำการเก็บลูกปูน
ไว้ทดสอบกำลังอัด (151 ksc อายุ 7 วัน),(280 ksc อายุ 28 วัน)
หมายเหตุ ปริมาตร 1.7 ลิตร ใช้เวลาประมาณ 7 - 8 วินาที
5.3 ขั้นตอนการอัดน้ำปูน
- ก่อนการอัดน้ำปูนจะต้องทำการอุดปูนทรายหุ้มสมอยึด เพื่อป้องกันการรั่วของน้ำปูน Grout บริเวณสมอยึด
หมายเหตุ ทำการตัดปลายลวดก่อนทำการอุดปูนทรายหุ้มสมอยึด
- ทำความสะอาดท่อร้อยลวดอัดแรง โดยการอัดน้ำหรือเป่าลมเข้าไปในท่อเพื่อไล่สิ่งสกปรกที่อยู่ภายในท่อออก
และยังเป็นการตรวจสอบว่าท่อตันหรือไม่ ถ้าตันให้ทำการเจาะรูใหม่ เพื่อให้สามารถอัดน้ำปูนได้เต็ม
- ทำการอัดน้ำปูนเข้าไปในท่อร้อยลวดอัดแรง ผ่านท่อ Air vent ด้านหนึ่งให้น้ำปูนไหลผ่านท่อ Air vent ที่ปลาย
สมอยึดอีกด้านหนึ่ง แล้วจึงทำการปิด Air vent ที่ปลายสมอยึดด้านท้าย คงค้างแรงดันอย่างน้อย 50 PSI หรือ
3.5 ksc. เป็นเวลา 5 วินาที ก่อนทำการปิดท่อ Air vent (โดยการพับท่อ Air vent ที่อัดน้ำปูนไว้ เพื่อรักษาความดัน
ภายในท่อไว้)
- ภายหลังจากอัดน้ำปูนทิ้งไว้อย่างน้อย 24 ชั่วโมง จึงค่อยตัดท่อ Air vent โดยสกัดเข้าไปในเนื้อคอนกรีต
ประมาณ 2 - 3 ซม. แล้วจึงทำการ Grout ปูนแต่งผิวคอนกรีต

การ่ติดตั้งเสาคอนกรีตสำเร็จรูป


Method Statement การติดตั้งเสา Pre - Cast

1. ก่อนการติดตั้งจะต้องตรวจสอบความสมบูรณ์ของเสา
2. ในการยกและขนส่ง จะต้องทำอย่างระมัดระวัง
3. ในขณะที่ติดตั้งเสาจะต้องตรวจสอบตำแหน่งของเสา โดยการทำ Center line ไว้ที่ฐานราก
4. ให้ตรวจสอบการได้ดิ่งของเสา โดยต้องตรวจสอบทั้งสองแกน
5. ให้ตรวจสอบตำแหน่งของปลั๊ก ว่าหันหน้าไปใน ทิศทางที่ถูกต้องหรือไม่
6. ในการเชื่อม Plate ที่เสา Pre - Cast กับ Plate ที่ฐานราก จะต้องเชื่อมเฉพาะที่ได้รับการอนุมัติแล้วเท่านั้น
7. ในการเชื่อม Plate ให้เว้นที่มุมทั้งสี่ด้านไว้ประมาณ 1 ชั่วโมง เพื่อทำการ Epoxy Injet
8. ในการทำ Epoxy Injet ด้วย Sikadur 752 ไว้ดังนี้
8.1 ติดตั้งท่อ Injet ไว้ที่มุมทั้งสี่ด้าน แล้วทำการปิดช่องว่างที่เหลือด้วย Epoxy Injet
8.2 เมื่อ Epoxy Grout แห้งตัวดีแล้ว ให้ทำการ Injet Epoxy ด้วยเครื่อง Injet
8.3 ทำการ Injet Epoxy ไป จนกว่า Epoxy จะไหลออกมาจากท่อ ทั้ง 3 ด้าน แสดงว่า Epoxy ได้เข้าไปเต็มที่ใต้ Plate แล้ว
8.4 ให้ระวังเครื่องจักรจะไปรบกวนเสา Pre - Cast ในขณะที่รอ Epoxy Set ตัว
9. ให้ทำการตัดท่อ Injet ออก แล้วทำการเชื่อมให้เต็ม
10. ให้ทำการเจาะเสียบเหล็ก Dia 6 mm. ระยะห่าง 20 cm. แล้วทำการเทปิด Plate ส่วนที่เหลือด้วย Lean Concrete

การหล่อเสาคอนกรีตสำเร็จรูป


Method Statement Pre - Cast column

1. การเตรียมการ
ตรวจสอบขนาดของแบบที่จะหล่อ ให้ถูกต้องตาม Shop Drawing
ตรวจสอบเหล็กเสริม และสิ่งที่ต้องฝังไว้ในเสาให้ถูกต้องตาม Shop drawing
ตรวจสอบขนาดแผ่นเหล็ก และ dowel ที่จะฝังในคอนกรีต ให้ถูกต้องตามแบบ
ตรวจสอบการเก็บลูกปูน
ตรวจสอบ Strength ของคอนกรีต ที่จะใช้ต้องไม่น้อยกว่า 240 KSC ทรงกระบอก

2. การทำงาน
ตรวจสอบการจี้คอนกรีตให้สม่ำเสมอและเพียงพอ
ตรวจสอบตำแหน่งของแผ่นเหล็ก และสิ่งที่ต้องฝังในคอนกรีต ให้ได้ตำแหน่งตาม Shop drawing

3. หลังการทำงาน
ตรวจสอบการแต่งผิวให้ถูกต้อง
ตรวจสอบตำแหน่งของแผ่นเหล็กและสิ่งที่ต้องฝังในคอนกรีตให้ได้ตำแหน่งตาม Shop drawing


การติดตั้งเสาคอนกรีตสำเร็จรูป

การหล่อเสาคอนกรีตเสริมเหล็กในที่



Method Statement for Column Rebar and Form work

ขั้นตอนการผูกเหล็กและเข้าแบบเสา

1. หลังจากเทฐานรกหรือพื้นแล้ว Surveyor จะเป็นผู้มาให้ Line เสา โดยจะให้เป็น Center Line ของเสา ทั้งสองแกน หรือให้เป็น Offset Line ก็ได้

2. การหาตำแหน่งเสาจริงเพื่อตั้งแบบ นายช่าง / Foreman ผู้รับผิดชอบจะเป็นคนหา Line และตีเต๊าเองแล้วจึงตีกรอบ
ไม้ตีนแบบ โดยใช้ไม้ 1 1/2" x 3"
3. ติดตั้งเหล็กเสา มีข้อสังเกต คือ
- ถ้าเหล็กยื่นออกนอกแนวเสาให้แจ้งนายช่างผู้รับผิดชอบทัน
- ถ้ามีปั้นจั่นใช้งาน จะต้องผูกเสาเป็นโครง แล้วใช้ปั้นจั่นยกขึ้นติดตั้งจะประหยัดค่าแรงมากกว่า การผูกเหล็กเส้นในที่
- ถ้าเหล็กเสาสูงมากทำให้เอียงจะต้องใช้สลิงดึงไว้หรือใช้ไม้ค้ำ
- การโผล่เหล็กตอกเสา ( Starter Bar ) เพื่อทาบเหล็กต้องเช็คจากแบบหรือ Spec ว่าต้องต่อเยื้องระยะทาบ 50 % หรือไม่
- เช็คขนาดจำนวนของเหล็กยื่น และระยะห่างเหล็กปลอกให้ตรงตามแบบ
หมายเหตุ ตรวจสอบเหล็กก่อนเข้าแบบเสา
- ผูกลูกปูน Covering ไว้ที่เหล็กยืนเสา

4. ประกอบแบบเสาเป็นโครงตาม Form work Assembly โดยนายช่าง / Foreman จะต้องตรวจสอบแบบ
ตามรายการดังกล่าวก่อนยกขึ้นติดตั้ง ได้แก่
- จำนวนโครงคร่าว
- ความหนาไม้อัดสำหรับทำแบบต้อง = 15 ซม. เท่านั้น
- ต้องทำความสะอาดผิวไม้แบบ และทาด้วยน้ำมันทาแบบทุกครั้ง
5. ยกแบบเสาขึ้นติดตั้งและยึดตีนเสาไว้กับไม้ตีนแบบ
6. ติดตั้งโซ่ หรือสลิงยึดรั้งปากแบบ 4 มุม พร้อมกับ Turn Buckle เพื่อจัดดิ่งเสา
หมายเหตุ - โซ่ / สลิง = 3 หุน
- Turn Buckle = 5 หุน
- เช็คดิ่ง > 1/400
7. ติดตั้งเหล็กรัดเสาระยะห่างตาม Form work Assembly ขัดให้แน่น
8. เช็คดิ่งเสาโดยใช้ลูกดิ่งอย่างน้อย 2 ด้าน โดยเช็คที่ตำแหน่งใกล้ปากแบบและตีนเสา
9. อุดรูที่ตีนเสาและรอยต่อแบบ


ขั้นตอนการเทเสาคอนกรีต

1. ช่วงก่อนเทคอนกรีต
- เทน้ำปูน - ทรายลงไปในเสา ประมาณ 1-2 กระป๋อง ตอนที่รถปูนมาถึงหน้างาน (ห้ามเททิ้งไว้ก่อน)
- หย่อนสายไว้เบรเตอร์ลงไปให้ถึงตีนเสาโดยยังไม่ต้องติดเครื่อง ขนาดหัวไวเบรเตอร์ 1 1/2 x 2"
2. ช่วงระหว่างเทคอนกรีต
- การเทคอนกรีตให้เปิดเทครั้งละ 1/4 ของ Bucket กรณีขนาดของ Bucket = 0.5 คิว แล้วจี้ไวเบรเตอร์ พร้อมกับใช้
ฆ้อนยางเคาะที่ข้างแบบทุกครั้ง
หมายเหตุ ความสูงของคอนกรีตแต่ละชั้น > 1/400 0.75 m.
- กรณี Load คอนกรีตลง Bucket จะต้อง Check Slump ปูนก่อนทุกคัน Slump 7.5 + 2.5 ซ.ม. Slump ไม่ได้ให้สั่ง
รถปูนกลับทันที ห้ามเติมน้ำ
- การสั่งปูนเพื่อมาเทเสาคอนกรีต ไม่ควรสั่งมากกว่า 2 คิว เพราะจะทำให้ปูนข้นโม่ไม่ได้ Slump ตามที่ต้องการ
- เมื่อเทคอนกรีตใกล้เคียงระดับที่ต้องการแล้ว ควรเทต่อด้วยการใช้ถังปูนรับปูนจาก Bucket ก่อนแทนการเท
Bucket ลงเสาโดยตรง เพื่อให้สามารถควบคุมระดับหัวเสาได้เพื่อไม่ต้องไปสกัดหัวเสาทีหลัง
3. ช่วงหลังเทคอนกรีต
- เช็คดิ่งเสาอีกครั้งทันทีหลังเทคอนกรีตเสร็จใหม่ ๆ ถ้า เสาล้ม > 1/400 ต้องรีบปรับดิ่งเสาใหม่ทันที
ขณะที่คอนกรีตยังไม่ Set ตัว
- ทำความสะอาดเหล็กเสริมเสาชั้นต่อไปทุกครั้งก่อนเสร็จงาน
หมายเหตุ 1. ถ้าเสาเป็นโพรง (Honey Comp) จนต้องตัดทิ้ง จะหักค่าใช้จ่ายจากผลงานผู้รับเหมา
2. ถ้าเทเสาสูงกว่าระดับที่ต้องการ ค่าแรง + ค่าเช่า Jackhammer จะหักค่าใช้จ่ายจากผลงาน
ผู้รับเหมา


การหล่อเสาสำเร็จรูป

การตรวจค่ายุบตัวของคอนกรีต


Method Statement of Slump test

อุปกรณ์

1. โคนรูปทรงกรวยตัดเส้นผ่านศูนย์กลางด้านบน 10 ซ.ม. และด้านล่าง 20 ซ.ม. สูง 30 ซ.ม. มีหูจับ
และแผ่นเหล็กยื่นออกมาให้เท้าเหยียบทั้ง 2 ข้าง
2. เหล็กกระทุ้งขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 16 ซ.ม. ยาว 60 ซ.ม. ปลายกลม มน
3. แผ่นเหล็กสำหรับรอง
4. ช้อนตัก เกรียงเหล็ก ตลับเมตร หรือ ไม้วัด

วิธีทดสอบ
1. นำอุปกรณ์จุ่มน้ำให้เปียก
2. วางแผ่นเหล็กลงกับพื้นราบ นำโคนขึ้นวางใช้เท้าเหยียบ หูจับ ทั้ง 2 ข้าง
3. ใช้ช้อนตัก ตักคอนกรีตใส่ลงในโคนโดยแบ่งเป็น 3 ชั้น แต่ละชั้นให้มีปริมาตรเท่า ๆ กัน
ชั้นที่ 1 ใส่คอนกรีต ในโคนสูงประมาณ 6-7 ซ.ม. กระทุ้งด้วยเหล็กกระทุ้งชั้นละ 25 ครั้ง
ให้กระจายทั่วผิวหน้าอย่างสม่ำเสมอ ตัดคอนกรีตใส่ในชั้นที่ 2 ประมาณ 9 ซ.ม. กระทุ้งอีก 25 ครั้ง
ให้ทะลุลงไปชั้นแรกด้วย ชั้นที่ 3 ใส่จนเต็ม กระทุ้งให้ทุละลงชั้นที่ 2 จำนวน 25 ครั้ง ทั่วบริเวณ
ผิวหน้าแล้วปาด ผิวหน้าคอนกรีตให้เรียบร้อย ทั้งทำความสะอาด บริเวณโคน และแผ่นเหล็กรองให้เรียบร้อย
4. ดึงโคนขึ้นตรง ๆ ไม่ต้องหมุน
5. วางโคนลงข้าง ๆ ของกองคอนกรีต แล้ววัดค่าการยุบตัวของคอนกรีต

Remark : ค่ายุบตัว คือค่าระยะ ที่คอนกรีตยุบตัวจากเดิม โดยวัดที่จุดกึ่งกลางของคอนกรีตที่ยุบตัวในการวัด
ให้ละเอียด 0.5 ซม.

การจี้คอนกรีตที่ถูกต้อง

Super flatfloor V.1


Method Statement for flat slab
1. เตรียมพื้นที่สำหรับเท Lean concrete ฉีดน้ำยากันปลวกตลอดพื้นที่ แล้วปูพลาสติก หนา 0.2 mm.
2. เท Lean concrete หนา 5 cm. ปาดระดับให้เรียบพอประมาณ (ระดับของ Lean concrete อยู่ระดับเดียวกับ
Drop - panel)

3. กำหนดแนวการเทพื้น เพื่อจะได้ทำการ Set เหล็กฉากปรับระดับ โดยขนาดของ Bay ในการเทนั้นไม่ควรใหญ่
มากนัก จะทำให้การควบคุมระดับทำได้ยาก วิธีการในการ Set เหล็กฉาก คือ
- กำหนดแนวในการวางเหล็กฉาก ไม่ควรห่างเกิน 6 m. (ความยาวของเหล็กกล่องปาดปูน)
- ใช้เหล็ก DB 12 ยาว ประมาณ 15 cm. เชื่อมกับแผ่น Plate เพื่อวางเป็นแนว ขาไกด์
- เชื่อมเหล็ก L - 30 x30 x 5 mm. เข้ากับ ขาไกด์ เพื่อใช้เป็นเหล็กฉากปรับระดับ

- Joint แนวริมด้านข้าง ใช้ตาข่ายกั้น Joint โดยใช้ลวดผูกกับเหล็กพื้นให้แน่นและได้ดิ่งเพื่อป้องกัน
คอนกรีตล้นออกมาก
4. ก่อนการเทควรทำการตรวจสอบ
- การวางเหล็กพื้น ระยะห่างของเหล็ก การเสริมเหล็กเสริมพิเศษให้ครบถ้วน ระยะ Covering ของปูน
- กรณีของการเท Bay ต่อจาก Bay ที่เทมาแล้วให้ทำการสกัดปูนที่เกินออกมาตามแนว Joint ให้ได้ดิ่ง แล้ว
ราดด้วยน้ำยาประสานก่อนการเท
- ความสะอาดของเหล็ก Lean concrete และ แนว Joint
5. ควรควบคุม Slump ของปูนให้อยู่ระหว่าง 10-12 cm.
6. เริ่มเทคอนกรีตจากด้านในสุดออกมา แล้วควรเทไล่ออกมาให้เป็นหน้าเพื่อป้องกันคอนกรีต Set ตัวไม่พร้อมกัน
ทำให้ปรับระดับได้ยาก
7. ในขณะเทคอนกรีตให้จี้คอนกรีตให้ทั่ว โดยเน้นบริเวณ Drop - panel ซึ่งจะมีเหล็กเสริมหนาแน่น
8. ใช้เหล็กกล่อง อะลูมิเนียม ปาดระดับตามเหล็กฉากที่ Set ไว้ โดยในขณะเดียวกันให้ Survey ทำการตรวจสอบ
เหล็กฉากด้วย เพื่อป้องกันการทรุดตัวของเหล็กฉาก อันจะทำให้คอนกรีตไม่ได้ระดับ หากคลาดเคลื่อนให้ทำการ
เชื่อมแก้ไข
9. ให้ Survey สุ่มจับค่าระดับของคอนกรีตเป็นระยะ ๆ หากสูงหรือต่ำไปให้แก้ไขทันที

ข้อควรระวัง
1. ควรทำการ Recheck เหล็กระดับก่อนการเท และในขณะเทเพื่อให้ได้ระดับที่แน่นอน
2. ในการตั้งกล้องระดับ แต่ละครั้ง ควรจะอ้างอิงมาจากจุดเดิมทุกครั้งเพื่อให้ได้ระดับเดียวกันทั้งอาคาร
3. ในการแกะเหล็กฉากแนว Joint ออก ควรทำด้วยความระมัดระวังไม่ให้เกิดรอยแตก

การทำ Trial Mix for Concrete


Method Statement Trial Mix

1. ตรวจสอบ Strength ของคอนกรีต กับผู้ออกแบบ ใช้ 240 ksc Cy และ 280 ksc Cy ที่ Slump 75+2.5 cm.
2. ให้เก็บตัวอย่าง ที่ 3 วัน 3 ลูก ของ Strength 280 ksc Cy
ให้เก็บตัวอย่าง ที่ 7 วัน 3 ลูก ของ Strength 240 ksc Cy และ 320 ksc Cy
ให้เก็บตัวอย่าง ที่ 14 วัน 3 ลูก ของ Strength 240 ksc Cy และ 320 ksc Cy
3. นัดกับ Plant Concrete เพื่อทำการเก็บตัวอย่าง โดยต้องตรวจสอบ Slump และ Strength ให้ถูกต้อง
4. ให้นำตัวอย่างขึ้นมาจากบ่อก่อน 1 วัน ก่อน ที่จะทำการทดสอบ
5. ทำการ Cab หัวตัวอย่างก่อนการทดสอบ
6. นำผลทดสอบทั้งหมดมาเขียนเป็นกราฟ


การตรวจสอบค่ายุบตัวของคอนกรีต

การจี้คอนกรีต ที่ถูกต้อง


Method Statement of Vibrators. (Internal Vibrators Type)

1. ต้องจุ่มหัวจี้ลงไปตลอด ความลึกของคอนกรีตสด แล้วจี้ไปถึงชั้นล่างด้วย
2. การจี้เขย่าต้องให้ทั่วบริเวณคอนกรีต โดยต้องกำหนดระยะการจี้ที่ถูกต้องเพื่อให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด
ในการอัดแน่น
3. เมื่อจี้เขย่าเสร็จแล้ว ควรดึงหัวจี้ขึ้นอย่างช้า ๆ เพื่อให้ช่องเปิดที่เกิดจากหัวจี้ปิดตัวเองเข้าสนิท ไม่มีฟองอากาศขังอยู่

งานฐานรากอาคาร


Method Statement Of Footing

1. Surveyor เป็นผู้หา Grid line ให้ แล้ว Foreman เป็นผู้หาตำแหน่งของ Footing เอง
2. ถ้าพบว่าตำแหน่งของ Center line ไม่ถูกต้องหรือแปลก ๆ ไป ให้ตาม Surveyor มาช่วย
Recheck อีกครั้ง แต่ ถ้ายังไม่ถูกต้องให้แจ้งวิศวกรทราบ
3. Foreman จะต้องเป็นผู้หาระยะเสาเข็มหนีศูนย์ Pile Deviation เผื่อส่งเป็น Record ให้ วิศวกร



เส้น Grid line

เส้นทิศทาง Pile Deviation


4. เมื่อได้ตำแหน่งของ Center line แล้วให้ทำการหาขนาดของ Footing โดยการตีเส้นบอกขนาดให้ชัดเจน
แล้วทำการประกอบแบบและลงเหล็กเสริม

งานเท Concrete

1. เมื่อเข้าแบบและลงเหล็กเสร็จเรียบร้อยแล้วให้ตรวจสอบ ดังนี้
- เหล็กของ Footing ครบหรือไม่, Covering ได้ตามแบบหรือไม่
- ตรวจสอบขนาดของแบบ กว้าง, ยาว, สูง ว่าถูกต้องหรือไม่ และจะต้องได้ดิ่งและแนวที่ถูกต้อง
- ตรวจสอบจำนวนเหล็กเสริมของเสา, ขนาดเหล็กปลอก ว่าถูกต้องหรือไม่
- ให้ Survey ตรวจสอบตำแหน่งของเหล็กเสาอีกครั้งก่อนที่จะตีล๊อกเหล็กเสา
- ตรวจสอบ การค้ำยันและรอยต่อของแบบ ว่าแข็งแรงหรือไม่ โดยเฉพาะตรงมุมของแบบ
- ให้ทำระดับของ Concrete ที่จะเทให้เรียบร้อย และตรวจสอบความสะอาดของแบบที่จะเท
2. เมื่อทำตามขั้นตอนในข้อที่ 1 เสร็จเรียบร้อยแล้ว ให้ตามนายช่างมาตรวจ แล้วค่อยตาม Consult มา Check
ก่อนเท Concrete โดย Foreman จะต้องตาม Headman ชุดที่ทำมาเดินด้วยตอนตรวจแบบ
3. เมื่อ Consult อนุญาตให้เท Concrete แล้วให้แจ้งยอด Concrete ให้นายช่างทราบและทำตามดังต่อไปนี้
- ต้องเตรียมเครื่องมือในการเท Concrete ให้เพียงพอ เครื่องจี้, สาย Wire และให้ตรวจสอบเครื่องมือว่า
อยู่ในสภาพการใช้งานได้หรือไม่, ตรวจสอบน้ำมัน, น้ำมันเครื่อง, ให้เต็มอยู่ตลอด และให้ Check ว่ามีเครื่อง
Spare อยู่ที่ไหนเครื่องเสียจะได้วิ่งไปเอามาโดยด่วน
- ให้ Check เครื่องจักรที่จะเทว่าอยู่ในสภาพพร้อมใช้งานหรือไม่ ถ้าพร้อมให้จัดเครื่องจักรเข้าประจำที่ และให้
Check เส้นทางของรถขนส่ง Concrete ว่าสามารถส่ง Concrete ได้ถึงจุดหรือไม่ ถ้าไม่ได้ให้รับจัดการ
4. เมื่อพร้อมแล้วให้จัดคนมารอรถปูน โดยในการเท Concrete นั้น นายช่างจะต้องเป็นผู้จัดให้ว่าใครเท Concrete
ก่อนหลัง ห้ามลัดคิวโดยเด็ดขาด
5. ในขณะที่เท Concrete นั้น นายช่างและ Foreman จะต้องอยู่ดูจนจบห้ามปล่อยให้คนงานเทกันเอง และต้องปฏิบัติดังนี้
- ในการจี้ปูนจะต้องมีการจี้ที่สมาเสมอและทั่วถึง
- จะต้องตรวจสอบไม้แบบ, ค้ำยัน ว่าแข็งแรงพอหรือไม่ ในขณะที่เท ถ้ารั่วให้รับซ่อมโดยเร็ว

6. เมื่อเท Concrete เสร็จแล้ว จะต้องปฏิบัติดังนี้
- ผิวหน้าคอนกรีตทีเทเสร็จแล้วจะต้อง Check ว่าต้องเตรียมผิวอย่างไร เช่น Footing จะต้อง ปั่นหยาบ เพื่อไม่ให้
ผิวหน้าแตกลายงา และ Foreman และ Headman จะต้องอยู่ดูจนเสร็จขั้นตอนนี้
- ต้องตรวจสอบระดับว่าถูกต้องหรือไม่
- ต้องตรวจสอบตำแหน่งของเหล็กเสาว่าคลาดเคลื่อนหรือไม่ ถ้าคลาดเคลื่อนให้รับแก้ไขโดยด่วน
- ต้องทำความสะอาดเครื่องมือทุกชิ้นให้สะอาดเหมือเดิมก่อนคืน Store โดย Foreman และ Headman จะต้อง
เป็นผู้ดูแล ห้ามอ้างถึงกันและกันว่าไม่ใช่หน้าที่
- ต้องจัดให้เครื่องจักรเข้าที่ ห้ามจอดไว้หน้างานโดยเด็ดขาด Foreman และนายช่างต้องเป็นผู้ดูแล
7. เมื่อ Concrete Set เป็นที่เรียบร้อยแล้ว และพร้อมจะรื้อแบบข้างนั้นให้ Foreman คุยกับนายช่าง ทุกครั้งก่อนรื้อแบบ
และเมื่อรื้อเสร็จแล้วจะต้องตามนายช่างไปตรวจดูสภาพของผิว Concrete และใช้น้ำยาบ่มคอนกรีต Spare ผิวคอนกรีต
ก่อนที่จะกลบดิน


งานคานคอดิน

17 กันยายน 2551

All step Postension Super flatfloor surface finish with floorhardener

Method Statement for Post tension slab (Bonded System)

ขั้นตอนการทำระบบพื้น Post Tension (CCL Bonded System)
1. ติดตั้งค้ำยัน, แบบพื้น และแบบข้าง
2. วางเหล็กเสริมล่าง
3. วางลวดอัดแรง และติดตั้ง ANCHORAGE ตามแบบ SHOP DRAWING
4. วางเหล็กเสริมบนบริเวณหัวเสา
5. เทคอนกรีต
6. ดึงลวดอัดแรงเมื่อกำลังอัดของคอนกรีตรูปทรงกระบอกไม่น้อยกว่า 240 ksc
7. อัดน้ำปูนเข้าท่อร้อยลวดอัดแรง

การดึงลวดอัดแรง (STRESSING)
1. เครื่องมือและอุปกรณ์การดึงลวดอัดแรง
- Hydraulic Pump
- Hydraulic Jack
- CCL Mastermatc, Proving Ring
2. การดึงลวดอัดแรง
การดึงลวดจะกระทำเมื่อกำลังอัดประลัยคอนกรีตรูปทรงกระบอกไม่น้อยกว่า 240 กก. / ตร.ซม.
โดยจะทำตามลำดับดังนี้

2.1 ก่อนดึงลวด ทำการ Calibrate เครื่องดึงลวดและทำเครื่องหมาย โดยการพ่นสีไว้ที่ปลายลวด
ที่จะดึง เพื่อเป็นระยะอ้างอิงในการวัดหาค่าระยะยืดของลวด (โดยทั่วไปจะพ่นสีห่างจากกิ๊ฟ
จับลวดประมาณ 10 ซม.)
2.2 ทำการดึงลวด 50 % ของจำนวนลวดทั้งหมดในแนว Main Tendon หรือ ดึงกลุ่มเว้นกลุ่ม
2.3 ทำการดึงลวด 50 % ของจำนวนลวดทั้งหมดในแนว Distribute Tendon
2.4 ดึงลวดที่เหลือทั้งหมดในแนว Main Tendon
2.5 ดึงลวดที่เหลือทั้งหมดในแนว Distribute Tendon
2.6 หลังจากดึงลวดเสร็จเรียบร้อย จะทำการวัดระยะยืดจริง โดยวัดระยะจากกิ๊ฟ ถึงตำแหน่งพ่นสีที่ทำไว้
เพื่อนำค่าระยะยืดจริงของลวดเปรียบเทียบกับค่า Elongation ที่ออกแบบไว้
2.7 กรณีที่วัดค่า Elongation จากการดึงลวด ได้ค่าไม่ตรงตามข้อกำหนด จะต้องทำการดึงซ่อม หรือ
หาทางแก้ไขเป็นกรณีไป
3. การควบคุมแรงดึงในเส้นลวด
3.1 ควบคุมแรงดึงจาก Pressure - Gage ที่เครื่อง Hydraulic Pump ซึ่งได้รับการ Calibrate
จาก Load Cell หรือ Proving Ring ที่ได้รับการเทียบแรงจากสถาบันที่เชื่อถือได้ทุก ๆ 6 เดือน
โดยใช้แรงดึง 75 % Eup. ซึ่งเท่ากับ 14 ตัน
3.2 เปรียบเทียบค่าระยะยืด จริงของลวดกับค่า Elongation ที่ได้ออกแบบไว้ โดยค่าที่ได้จะแตกต่างกัน
ไม่เกิน 5 % (ตามข้อกำหนด)

4. กรณีที่ค่าระยะยืดจริงของลวดกับ Elongation ที่ออกแบบไว้แตกต่างกันเกิน 5 % ให้ทำการตรวจสอบ และ
แก้ไขเป็นกรณี คือ
4.1 กรณีเกิน -5% (ระยะยืดของลวดน้อยกว่ารายการคำนวณ Elongation)
- ให้เพิ่มแรงดึงแต่ต้องไม่เกิน 80 % Fpu. (15 ตัน ) แล้ววัดระยะยืดของลวดที่เพิ่มขึ้น
- กรณีที่เพิ่มแรงดึงถึง 80 % Fpu. แล้ว ระยะยืดของลวดเกิน -5% ให้ทำการคำนวณตรวจสอบโครงสร้าง
เฉพาะส่วนนั้น ๆ โดยใช้ค่าแรงดึงลวดที่เกิดขึ้นจริงกับลวดนั้น ๆ ส่งวิศวกรที่ควบคุมงานเพื่อตรวจสอบ
พิจารณาต่อไป
4.2 กรณี +5 % (ระยะยึดจริงมากกว่ารายการคำนวณ Elongation)
- ตรวจสอบแรงดึง โดย Re-Stressing ด้วยแรง 75 % Fpu. (14 ตัน) สังเกตระยะยืดเพิ่มแรงช้า ๆ
สังเกตระยะยืดจนลวดขยับตัวอ่าน Pressure Gage จะได้ค่าแรงในลวดเส้น นั้น ๆ ตรวจสอบว่าเกิน 80 %/ Fpu.
หรือไม่ ถ้าไม่เกินถือว่าผ่าน กรณี 50 % Fpu. ให้รายงานผู้ออกแบบเพื่อหาทางแก้ไขต่อไป
5. การอัดน้ำปูน ( Grouting Cement )
5.1 เครื่องมือและอุปกรณ์การอัดน้ำปูน
- เครื่องมืออัดน้ำปูน Mono Pump
- เครื่องผสมปูน (Mixer Tank)


5.2 วัสดุ Grouting Cement
วัสดุ Grouting Cement เป็นส่วนผสมของบอร์ดแลนด์ซีเมนต์ชนิดที่ 1 ผสมกับน้ำและ Admixture
โดยมีอัตราส่วนของน้ำ ต่อ ซีเมนต์ (W/C RATIO) ไม่เกิน 0.45 โดยน้ำหนักดังอัตราส่วนต่อไปนี้
- ปอร์ตแลนด์ซีเมนต์ชนิดที่ 1 = 50 kg.
- ADMIXTURE (Aluminum) ส่วนผสมตามสูตรของ Admixture แต่ละชนิด
- น้ำ = 20 - 22 ลิตร
ก่อนจะนำส่วนผสมไปอัดน้ำปูน จะต้องทำการทดสอบการไหล (Test Flow Rate) ของส่วนผสมก่อน โดย
ให้ได้ค่าอัตราการไหลประมาณ 11 วินาที โดยใช้ปริมาตร 1.7 ลิตร และ จะต้องทำการเก็บลูกปูนไว้ทดสอบกำลังอัด
(151 ksc อายุ 7 วัน), (280 ksc อายุ 28 วัน)
หมายเหตุ น้ำปริมาตร 1.7 ลิตร ใช้เวลาประมาณ 7-8 วินาที
5.3 ขั้นตอนการอัดน้ำปูน
- ก่อนการอัดน้ำปูนจะต้องทำการอุดปูนทรายหุ้มสมอยึด เพื่อป้องกันการรั่วของน้ำปูน Grout บริเวณสมอยึด
หมายเหตุ ทำการตัดปลายลวดก่อนทำการอุดปูนทราบหุ้มสมอยืด
- ทำความสะอาดท่อร้อยลวดอัดแรง โดยการอัดน้ำหรือเป่าลมเข้าไปในท่อเพื่อไล่สิ่งสกปรกที่อยู่ภายในท่อออก
และยังเป็นการตรวจสอบว่าท่อตันหรือไม่ ถ้าตันให้ทำการเจาะรูใหม่ เพื่อให้สามารถอัดน้ำปูนได้เต็ม
- ทำการอัดน้ำปูนเข้าไปในท่อร้อยลวดอัดแรง ผ่านรูทีสมอยืดด้สนหนึ่งให้น้ำปูนไหลผ่านออกที่ปลายสมอยึดอีกด้านหนึ่ง แล้วจึงทำการปิดรูปที่ปลายสมอยึดด้านท้าย คงค้างแรงดันอย่างน้อย 50 PSI หรือ 3.5 ksc. เป็นเวลา 5 วินาที
ก่อนทำการปิดรูที่ Grouting End
- ทำการต่อท่า Air Vent ภายหลังจากการอัดน้ำปูนอย่างน้อย 24 ชั่วโมง