18 กันยายน 2551

Stressing for Postension slab

STRESSING
1. อุปกรณ์การ STRESSING
1.1 เครื่องมือและอุปกรณ์การดึงลวดอัดแรง
- Hydraulic Pump
- Hydraulic Jack

- CCL Mastermatc, Proving Ring
หมายเหตุ การดึงลวดจะกระทำเมื่อกำลังอัดประลัยคอนกรีตรูปทรงกระบอกไม่น้อยกว่า 240 กก. / ตร.ซม.( 75 % Strength design)
และวัดค่า Elongation
2. การ STRESSING
2.1 หลังจากการเทคอนกรีตพื้นแต่ละ Strip 2.5 - 3.0 วัน ( 60 - 72 ชม. ) ให้ทำการดึงลวดอัดแรงในทิศทางตามยาวของ
จำนวนครึ่งหนึ่งของลวดทั้งหมด ( เส้นเว้นเส้น ) ด้วยแรง 10 ตันต่อเส้น ( กรณีสมอยึดแบบ 3 เส้น ให้ดึงลวดแต่ละกลุ่ม
เพียงเส้นเดียวด้วยแรง 15 ตัน ) ก่อนดึงลวดต้องพ่นสี Mark ปลายลวดเพื่อเตรียมดำเนินการวัด Elongation ตามปกติ
แต่ยังไม่ต้องวัด Elongation ในขณะนี้
2.2 กรณีที่สมอยึดตัวสุดท้ายอยู่ห่างจากขอบ Concreting Joint น้อยกว่า 0.40 เมตร ยังไม่ต้องดึงลวดที่สมอยึดตัวนั้น แต่
ต้องดึงพร้อมลวดใน Strip ถัดไป
2.3 กรณีที่ดึงลวดตามข้อ 2.1 แล้วเกิดการแตกร้าว หรือรอยร้าวที่คอนกรีต บริเวณหัวสมอยึดให้ลดแรงดึงจาก 10 ตัน
เหลือ 8 ตัน
2.4 เมื่อเทคอนกรีตครบทุก Strip แล้ว 2.5 - 3.0 วัน ( 60 - 72 ชม.) แต่กำลังอัดของคอนกรีตยังต่ำกว่า 240 ksc. ให้ทำการ
ดึงลวดอัดแรงในทิศทางตามขวางของ Strip จำนวนครึ่งหนึ่งของลวดอัดแรงทั้งหมด (เส้นเว้นเส้น )ด้วยแรง 10 ตัน
ต่อเส้น ( กรณีสมอยึดแบบ 3 เส้น ให้ดึงลวดแต่ละกลุ่ม เพียงเส้นเดียวด้วยแรง 15 ตัน )
2.5 เมื่อคอนกรีตทั้งผืนมีกำลังอัดได้ 240 ksc. ให้ทำการดึงลวดตามขั้นตอนปกติโดยเริ่มดึงจากลวดเส้นที่ยังไม่ได้ดึงก่อน
และดึงลวดที่เคยดึงด้วยแรง 10 ตัน เพิ่มเป็น 14.07 ตัน ( กรณีสมอยึด 3 เส้นให้ดึงลวดซ้ำด้วยแรง 15 ตัน ) ทั้งนี้ให้
สังเกตว่า Elongation ของลวดเส้นหลัง ควรเท่ากันหรือใกล้เคียงกับลวดเส้นก่อน หาก Elongation แตกต่างกันมาก
หรือมีค่าต่ำกว่า 95% ของค่าที่ออกแบบไว้ให้เพิ่มแรงดึงเป็น 15 ตัน
2.6 หลังจากดึงลวดเสร็จเรียบร้อย จะทำการวัดระยะยืดจริง โดยวัดระยะจากกิ๊ฟ ถึงตำแหน่งพ่นสีที่ทำไว้
เพื่อนำค่าระยะยืดจริงของลวดเปรียบเทียบกับค่า Elongation ที่ออกแบบไว้
2.7 กรณีที่วัดค่า Elongation จากการดึงลวด ได้ค่าไม่ตรงตามข้อกำหนด จะต้องทำการดึงซ่อม หรือหาทางแก้ไข
เป็นกรณีไป
3. การควบคุมแรงดึงในเส้นลวด
3.1 ควบคุมแรงดึงจาก Pressure - Gage ที่เครื่อง Hydraulic Pump
3.2 เปรียบเทียบค่าระยะยืด จริงของลวดกับค่า Elongation ที่ได้ออกแบบไว้โดยค่าที่จะแตกต่างกันไม่เกิน 5%
(ตามค่ากำหนด)
4. กรณีที่ค่าระยะยืดจริงของลวดกับ Elongation ที่ออกแบบไว้แตกต่างกันเกิน 5% ให้ทำการตรวจสอบและแก้ไข
เป็นกรณีไป

4.1 กรณี - 5% (ระยะยืดของลวดน้อยกว่ารายการคำนวณ Elongation)
- ให้เพิ่มแรงดึงแต่ต้องไม่เกิน 80% Fpu.( 15 ตัน) แล้ววัดระยะยืดของลวดที่เพิ่มขึ้น
- กรณีที่เพิ่มแรงดึงถึง 80% Fpu. แล้ว ระยะยืดของลวดเกิน 5% ให้ทำการคำนวณตรวจสอบโครงสร้าง
เฉพาะส่วนนั้น ๆ โดยใช้ค่าแรงดึงลวดที่เกิดขึ้นจริง
4.2 กรณี + 5% (ระยะยืดจริงมากกว่ารายการคำนวณ Elongation)
- ตรวจสอบแรงดึง โดย Re-Stressing ด้วยแรง 75% Fpu. (14 ตัน) สังเกตระยะยืดเพิ่มแรงช้า ๆ
สังเกตระยะยืดจนลวดขยับตัวอ่าน Pressure Gage จะได้ค่าแรงในลวดเส้น นั้น ๆ ตรวจสอบว่าเกิน
80% Fpu. หรือไม่ ถ้าไม่เกินถือว่าผ่าน กรณี 50% Fpu. ให้รายงานผู้ออกแบบเพื่อหาทางแก้ไขต่อไป
5. การอัดน้ำปูน (Grouting Cement)
5.1 เครื่องมือและอุปกรณ์การอัดน้ำปูน
- เครื่องมืออัดน้ำปูน Mono Pump
- เครื่องผสมปูน (Mixer Tank)
5.2 วัสดุ Grouting Cement
วัสดุ Grouting Cement เป็นส่วนผสมของปอร์ดแลนด์ซีเมนต์ชนิดที่ 1 ผสมกับน้ำ และ Admixture
โดยมีอัตราส่วนของน้ำ ต่อ ซีเมนต์ (W/C RATIO) ไม่เกิน 0.45 โดยน้ำหนักดังอัตราส่วนต่อไปนี้
- ปอร์ตแลนด์ซีเมนต์ชนิดที่ 1 =50 kg.
- ADMIXTURE (Aluminum) ส่วนผสมตามสูตรของ Admixture แต่ละชนิด
- น้ำ = 20 - 22 ลิตร
ก่อนจะนำส่วนผสมไปอัดน้ำปูน จะต้องทำการทดสอบการไหล (Test Flow Rate) ของส่วนผสมก่อน
โดยให้ได้อัตราการไหลประมาณ 11 วินาที โดยใช้ปริมาตร 1.7 ลิตร และจะต้องทำการเก็บลูกปูน
ไว้ทดสอบกำลังอัด (151 ksc อายุ 7 วัน),(280 ksc อายุ 28 วัน)
หมายเหตุ ปริมาตร 1.7 ลิตร ใช้เวลาประมาณ 7 - 8 วินาที
5.3 ขั้นตอนการอัดน้ำปูน
- ก่อนการอัดน้ำปูนจะต้องทำการอุดปูนทรายหุ้มสมอยึด เพื่อป้องกันการรั่วของน้ำปูน Grout บริเวณสมอยึด
หมายเหตุ ทำการตัดปลายลวดก่อนทำการอุดปูนทรายหุ้มสมอยึด
- ทำความสะอาดท่อร้อยลวดอัดแรง โดยการอัดน้ำหรือเป่าลมเข้าไปในท่อเพื่อไล่สิ่งสกปรกที่อยู่ภายในท่อออก
และยังเป็นการตรวจสอบว่าท่อตันหรือไม่ ถ้าตันให้ทำการเจาะรูใหม่ เพื่อให้สามารถอัดน้ำปูนได้เต็ม
- ทำการอัดน้ำปูนเข้าไปในท่อร้อยลวดอัดแรง ผ่านท่อ Air vent ด้านหนึ่งให้น้ำปูนไหลผ่านท่อ Air vent ที่ปลาย
สมอยึดอีกด้านหนึ่ง แล้วจึงทำการปิด Air vent ที่ปลายสมอยึดด้านท้าย คงค้างแรงดันอย่างน้อย 50 PSI หรือ
3.5 ksc. เป็นเวลา 5 วินาที ก่อนทำการปิดท่อ Air vent (โดยการพับท่อ Air vent ที่อัดน้ำปูนไว้ เพื่อรักษาความดัน
ภายในท่อไว้)
- ภายหลังจากอัดน้ำปูนทิ้งไว้อย่างน้อย 24 ชั่วโมง จึงค่อยตัดท่อ Air vent โดยสกัดเข้าไปในเนื้อคอนกรีต
ประมาณ 2 - 3 ซม. แล้วจึงทำการ Grout ปูนแต่งผิวคอนกรีต

1 ความคิดเห็น:

ไม่ระบุชื่อ กล่าวว่า...

ขอบคุณครับสำหรับบทความ