20 สิงหาคม 2553

งานฐานราก


งานระบบป้องกันดินพัง


เมื่อสำรวจสภาพดินแล้ว หากมั่นใจในความแน่นของดิน หรือขุดหลุมไม่ลึกมาก และอาจถูกควบคุมด้วย budget control จำเป็นต้อง hole zink ต้องดำเนินการด้วยความระมัดระวัง โดยปกติจะตัดดินที่ความลาดเอียง ในอัตรส่วน 1:2
ระบบเข็มพืดหรือ Sheet pile
by http://mybuilt.blogspot.com

2 สิงหาคม 2553

Flat floor with floorhardener by Mybuilt

Step 1 ขั้นตอนการทำงาน เริ่มตั้งแต่ การปรับดินเทลีน คานคอดิน วางแผ่น Prestress จนถึงการเทคอนกรีตเสร็จ

1. ปรับดินเท Lean Concrete หนาประมาณ 5 ซม. เพื่อทำคานคอดินรับพื้น ข้อระวังในการทำคานคอดิน คือการควบคุมระดับหลังคานให้ใด้ระดับตามแบบก่อสร้าง เพื่อการวางแผ่น Prestress ง่ายขึ้นในระหว่างการทำงาน
2. รื้อไม้แบบคานคอดินออก ปรับระดับดินเดิมตามสภาพ แล้ว ฉีดน้ำยากำจัดปลวกลงดิน ให้ได้ตามสเป็คของผู้ออกแบบ ตามด้วยการวางแผ่น Prestress
3. วางแผนและจัดลำดับ การเทคอนกรีตพื้นออกเป็นโซน แต่ละโซนมีขนาด กว้าง x ยาว ประมาณ 20 x50 เมตร แต่โซนออกแบบรอยต่อเป็น pour strip หรือ Expantion joint ทั้งนี้เพื่อควบคุมรอยแตกร้าว ส่วนการเทคอนกรีตแต่ละครั้งควรแบ่ง strip การเทไม่ควรเกิน 6-8 เมตร เพื่อควบคุมค่าระดับของพื้น

4. การวางเหล็กเสริมควรวางให้ได้ตำแหน่ง เหล็กบนต้องอยู่บนจริง ๆ เหล็กล่างต้องอยู่ล่าง และในส่วน
Covering ต้องได้ตามที่กำหนดโดยใช้ลูกปูนและ barchair ช่วยในการจัดตำแหน่งของเหล็กเสริม

5. Construction Joint ของแต่ละ Bay ให้ใช้ตะแกรงกงไก่เป็นแบบ ด้านที่จะตัด Joint ควรยึดตะแกรงให้แน่นด้วย เหล็ก 9 mm. ตลอดแนวที่จะตัด Joint ระวังเวลา จี้คอนกรีต ถ้ายึดตะแกรงไม่ดีจะทำให้คอนกรีตทะลักล้นออกมา การติดตะแกรง ควรวางให้ได้ระนาบฉากเสมอ

5. การใส่เหล็กฉาก กันเหลี่ยมบิ่น หรือ เพื่อให้เหลี่ยมของพื้นในแนวที่ตัด Joint มีคุณภาพควรใช้เหล็กฉากใหม่ ไม่ควรใช้เหล็กเก่าเพราะอาจมีขี้ปูนติดกับเหล็กฉากอยู่ และควรทาเหล็กฉากด้วยน้ำยา หรือจาระบี เพื่อไม่ให้เหล็กฉากยึดติดกับ Concrete ตอนรื้อเหล็กฉากควรใช้เครื่องตัดร่องนำระหว่างแนวเหล็กฉาก กับคอนกรีต เพื่อป้องกันเหลี่ยมแตก การ Set ระดับ ไม่ควรเชื่อมเหล็กฉากติดกับเหล็กเสริม เพราะระดับอาจเคลื่อนได้ ก่อนเทควรให้ Survey Check ระดับให้อีกครั้ง และควรยึดค่าระดับอ้างอิงจุดเดียวกันเสมอ

6. การเสริมเหล็กกันแตกตามบริเวณ Block Out และ Opening รวมทั้งตามมุมเสา มุมหักต่างๆของคอนกรีต ต้องมี อย่างน้อย 3 เส้น โดยใช้ความยาวเท่ากับ 3 d และระยะห่างประมาณ 2.5 - 3 ซม. โดย Aggregated สามารถแทรกตัวลงได้โดยไม่มีการแยกตัว
7. การเท Concrete ควรจะเทเริ่มจาก Bay ตรงมุมออกมาก่อน หรือ ทาง วิศวกร เห็นสมควร และก่อนเท
คอนกรีต ควร Check Slump ก่อนเททุกครั้ง Slump ต้องได้ตามที่ Mix Design ไว้ ( Slump ปกติจะอยู่ที่ 10 + 1 ซม. )
8. การปาดหน้าปูนให้ใช้กล่องอลูมิเนียม หรือโครงถักอลูมิเนียมช่วยในการปาดหน้า และง่ายต่อการ Check ระดับของผิวคอนกรีต

9. การเท Concrete ใน Bay ต่อไปควรสะกัดคอนกรีตที่ล้นออกนอกตะแกรงกงไก่ก่อนเทคอนกรีตใหม่เสมอ

การตรวจสอบก่อนการเทคอนกรีต และระหว่างการเทคอนกรีต
- ตรวจสอบระดับของ lean Concrete และความเรียบร้อยของพลาสติก Sheet
- ตรวจสอบแนววางท่อ และระดับของลวดอัดแรงให้ได้ตามแบบ
- ตรวจสอบงานระบบที่อยู่ใต้พื้นให้ตรงตามแบบ
- ตรวจสอบเหล็กเสริมตามช่องเปิด และ joint รวมทั้งบริเวณสมอยึด (Anchorage)
- ตรวจสอบเหล็กฉาก ว่าได้ระดับเท และได้แนว และมีความแข็งแรง
- ตรวจสอบว่ามีการจี้ปูนสม่ำเสมอ และ slump ในการเทต้องได้ตามกำหนด
- ตรวจสอบการปาดปูน ปรับระดับด้วยโครงถักอลูมิเนียม และเช็คด้วยกล้องระดับ
- ถ้าเหล็กเสริมติดแนว tendon ให้ขยับเหล็กเสริมออกจากแนว tendon ห้ามหักงอ tendon เพื่อหลบเหล็กเสริมซึ่งจะทำให้เกิด
friction loss สูง
- แนวการเทคอนกรีตต้องเป็นแนวเดียวกันตลอดห้ามเทตัดขวางกันเป็นสามแยก
ข้อควรระวัง
1. ไม่ควรให้คนงานเดินบนเหล็กเสริมเพราะอาจทำให้เหล็กคด งอ เสียรูปทรงได้
2. ก่อนเทคอนกรีต ทุกครั้งควรให้ Survey มา Recheck ระดับก่อนเสมอ และใช้ค่าระดับที่จุดเดียวกัน
3. ก่อนเทคอนกรีตควรลดระดับเผื่องาน Finishing ตามแบบไว้ก่อนเสมอ
4. ก่อนเทคอนกรีต ควรลงน้ำยากันปลวกก่อน 1 วัน
5. ต้องทำความสะอาดแบบก่อนเทคอนกรีตทุกครั้ง
6 เพื่อความสวยงามของพื้นคอนกรีตควร Set ตำแหน่งรอยต่อ joint ให้หลบในที่ลับตาหรือบริเวณที่มีสิ่งของมาบังไว้
7 การเก็บน้ำปูนหรือขี้ปูนที่ล้นเข้าไปใน Concrete Bay เก่าและเก็บรอยต่อให้ดี ถ้าเก็บไม่ดีจะเกิดเป็นรอยตะเข็บเกิดขึ้น
8 ในบริเวณจุดตัว Joint ให้เป็นสี่แยกตลอด และไม่ควรตัด Joint ให้เป็นมุมฉากมุม, มุมเว้า
9 ในส่วนพื้นที่โครงสร้างต่างชนิดกันควรตัด Joint แยกจากกันเป็น Slab on ground กับ Slab on beam
10 ตรงส่วนมุมเว้า มุมแหลม ควรเสริมเหล็กกันแตกเสมอ รวมถึงบริเวณ Block out วงกบ โดยใช้ความยาวเท่ากับ 3 d
Step 2 ขั้นตอนการขัดมันด้วยผง FLOOR HARDENER

8 กรกฎาคม 2553

การควบคุมคุณภาพงานผนัง

วิธีการฉาบปูนแบบกดเม็ดทรายของแผงก่ออิฐมวลเบาโดยใช้ปูนฉาบสาเร็จรูป
1. การวางแผนงาน
2. การเตรียมการก่อนเริ่มงาน
3. ขั้นตอนการทางาน
4. วิธีการตรวจสอบ
5. กระบวนการจบงาน
6. ปัญหาที่ควรระวัง

1. การวางแผนงาน
1.1 จัดเตรียมแบบ ศึกษารายละเอียดต่างๆ
1.2 ศึกษารายละเอียดของวัสดุที่จะใช้ในโครงการ
1.3 ทาการเลือกวัสดุที่จะใช้ในโครงการ
1.4 จัดทาแผงตัวอย่าง เพื่อให้ทางบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนที่จะใช้วัสดุนั้นมาสาธิต
วิธีการทางานเพื่อนามาวิเคราะห์ถึง เทคนิค ปัญหา และข้อควรระวังระหว่างการ
ทางาน รวมไปถึงปริมาณที่ใช้จริงว่าเป็นไปตามข้อมูลเอกสารประกอบหรือไม่ แต่
ส่วนใหญ่จะไม่ตรงเพราะใช้จริงจะมากกว่าเสมอ ดังนั้นเพื่อสอดคล้องกับการ
ทางานจริง หัวข้อนี้ถือว่ามีความสาคัญระดับต้นๆ ก่อนลงมือทางานเสมอ
1.5 ศึกษาแผนงานหลักของโครงการระยะเวลาที่จะต้องใช้
1.6 เมื่อได้วัสดุและระยะเวลาแล้วจะต้องนามาวิเคราะห์ถึงแรงงานที่จะต้องใช้
เพื่อให้ทันตามแผนงานหลักที่วางไว้
1.7 เมื่อได้ วัสดุและแรงงานแล้วจากนั้นนามาวิเคราะห์ว่าในแต่ละวันใช้วัสดุ
เท่าไหร่ เพื่อวางแผนการนาวัสดุเข้าโครงการ เพราะเมื่อไม่มีการแผนก็จะเกิดความ
เสียหายกับวัสดุที่เข้ามา ปัญหาที่พบบ่อยที่สุดคือ วัสดุเข้ามาเยอะเกินไปทาให้ไม่มี
ที่จัดวางที่ดี ตากแดดตากฝน หรือไม่ก็วัสดุขาดจึงต้องหยุดการทางาน ดังนั้นจึงต้อง
มีการวางแผนเข้าโครงการในแต่ละวันไว้เสมอ
1.8 กาหนดแผนงานให้สอดคล้องกับงานที่เกี่ยวข้อง ไม่ว่าจะเป็นงานระบบไฟฟ้า
ประปา และอื่นๆ


2. การเตรียมการก่อนเริ่มงาน
2.1 จัดเตรียมแบบและศึกษาว่าแผงก่อที่จะทาการฉาบนั้นมีอะไรที่เกี่ยวเนื่องด้วย
ไม่ว่าจะเป็นช่องเปิด งานระบบไฟฟ้า ประปาและอื่นๆ
2.2 จัดเตรียมวัสดุที่จะใช้
2.2.1 ปูนฉาบอิฐมวลเบาตราเสือคู่ หรือเทียบเท่า
2.2.2 ตาข่ายขนาด 3/8 นิ้ว
2.2.3 ตะปูสาหรับติดตาข่าย และติดปุ่ม
2.3 จัดเตรียมแรงงาน
2.3.1 สาหรับพื้นที่ประมาณ 25 ตร.ม. ใช้แรงงานประมาณ 4 คนแบ่งได้ยังนี้
- ช่างปูน 2 คน
- กรรมกร 2 คน (ผสมปูนและเก็บขยะ)
2.4 จัดเตรียมเครื่องมือ
2.4.1 เกรียงไม้
2.4.2 เกรียงพลาสติก
2.4.2 เกรียงขัดมัน
2.4.3 สามเหลี่ยม
2.4.4 ถังปูน
2.4.5 กะบะปูน
2.4.6 สายยางฉีดน้า
2.4.7 ลูกดิ่ง
2.4.8 สายเอ็น
2.4.9 แปรงสลัดน้า
2.4.10 ไม้กวาดอ่อน
2.4.11 ฟองน้า
หมายเหตุ* อุปกรณ์ที่แตกต่างจากการฉาบธรรมดาก็คือ เกรียงขัดมัน เกรียงขัดมัน
ในที่นี้ ควรจะมีคุณภาพที่ดีกว่าเกรียงขัดมันธรรมดา กล่าวคือ จะต้องไม่อ่อน
เกินไป ไม่เว้า ไม่โก่ง เพราะจะทาให้ผนังที่ทาการฉาบนั้นเป็นไปตามเกรียงที่ใช้
เมื่อเกรียงไม่มีคุณภาพ คุณภาพผนังก็ไม่มีคุณภาพตามไปด้วย

3. ขั้นตอนการทางาน
วิธีการฉาบปูนแบบกดเม็ดทรายของแผงก่ออิฐมวลเบาโดยใช้ปูนฉาบสาเร็จรูป
3.1 การเตรียมพื้นที่การฉาบ
3.2 การติดตาข่ายสี่เหลี่ยม
3.3 การราดน้ำก่อนฉาบ
3.4 การติดปุ่มหาระดับและแนวฉากก่อนการฉาบ
3.5 การขึ้นปูนฉาบรอบแรก
3.6 การขึ้นปูนฉาบรอบแรกให้เต็มพื้นที่
3.7 การปรับผิวโดยใช้สามเหลี่ยมปาดให้เรียบตามปุ่มที่ติดไว้
3.8 การเสริมปูนบริเวณที่ปูนไม่เต็มโดยดูจากช่องว่างที่สามเหลี่ยม
3.9 การขึ้นปูนรอบที่ 2 ให้ความหนาของปูนอยู่ที่ประมาณ 2-3 มิลลิเมตร โดยทิ้ง
ระยะห่างจากรอบแรก จากการสังเกตรอยนิ้วมือที่กดลงไป ถ้ากดแล้วมีรอบบุ๋มประมาณ
1-2 มิลลิเมตรถือว่าใช้ได้จึงจะขึ้นปูนรอบ 2
3.10 การปั่นผิวหน้าให้เรียบสังเกตโดยการปั่นดู ถ้ามีปูนติดออกมามากหรือเกรียง
ติดแสดงว่ายังใช้ไม่ได้ แต่ถ้าปั่นแล้วลื่นไม่ติดและมีแต่เม็ดทรายหลุดออกมาถือว่าใช้ได้
3.11 การลงฟองน้าเพื่อให้เม็ดทรายหลุดออกให้เหลือแต่เนื้อปูนบริเวณผิวหน้า
3.12 การกดเม็ดทรายด้วยเกรียงขัดมันโดยทาหลังจากการปั่นเรียบลงฟองทันที
3.13 การขัดควรขัดในแนวดิ่งตรงเพราะแรงที่กดจะสม่าเสมอกว่าการขัดแบบใบพัด
3.14 การบ่มด้วยการฉีดน้า ควรทาหลังจากที่ฉาบเสร็จแล้ว 1 คืน

4 วิธีการตรวจสอบ
4.1 วิธีการตรวจสอบก่อนการฉาบปูน
4.1.1 การตรวจสอบผนังก่อ เช็คแนวฉาบรวมไปถึงระยะว่าเป็นไปตามแบบ
หรือไม่
4.1.2 การตรวจสอบแนวดิ่งผนังว่าได้ดิ่งหรือไม่ ถ้าผนังไม่ได้ดิ่งให้แก้ไข
ก่อนการฉาบทันที
4.1.3 การตรวจสอบตาแหน่งช่องเปิด บล็อกไฟฟ้า ประปา ว่าตรงตามแบบ
หรือไม่ เพราะจะได้ไม่ต้องมาสกัดแล้วฉาบใหม่ภายหลัง
4.1.4 ตรวจสอบความหนาของปูนฉาบ โดยการใช้สามเหลี่ยมหรือ
อลูมิเนียมกล่อง ทาบดูโดยทาบจากปุ่มไปหาปุ่มว่ามีจุดไหนที่ติดบ้างถ้าติด
จะต้องสกัดให้ได้ตามความหนาที่ระบุในเอกสาร เมื่อความหนาไม่ได้อาจ
เกิดปัญหารอยร้าวตามมาภายหลังได้

5. กระบวนการจบงาน
5.1 ตรวจสอบหลังการฉาบหรือเมื่อปูนแห้งแล้ว ว่ามีรอยร้าว ร่อน เซี้ยมบิ่น ตาข่าย
โผล่ ฉาบไม่ชนเพดานหรือไม่ ถ้ามีให้ทาการแก้ไขทันที รวมไปถึงความสะอาดไม่
ว่าจะเป็นน้าปูนที่เลอะวงกบ ขี้ปูนที่ติดบริเวณพื้น ขยะต่างๆ ที่เกิดจากการฉาบ
จะต้องเก็บทาความสะอาดให้เรียบร้อย จึงจะส่งมองให้กับงานอื่นต่อไป
5.2 ตรวจสอบเพื่อรับมอบพื้นที่กับงานอื่นต่อไป

6. ปัญหาที่ควรระวังในการการทางานทุกขั้นตอน
6.1 การเตรียมพื้นที่การฉาบ
6.1.1 จะต้องไม่ให้มีช่องว่างระหว่างอิฐเพราะจะทาให้เกิดการยุบตัวและ
ร้าวในเวลาต่อมา ถ้าเกิดมีช่องว่างให้ใช่ปูนก่ออุดทุกครั้งก่อนทาการฉาบ
6.2 การติดตาข่าย
6.2.1 จะต้องติดทุกจุดที่มีเสาเอ็นทับหลังหรือบริเวณที่เชื่อมกับแผงคอนกรีต
6.2.2 ตาข่ายจะต้องติดให้แนบชิดกับผนังอิฐเสมอ เพราะถ้าไม่ติดจะทาให้
ตาข่ายโผล่ ออกมาเวลาทาสีจะเกิดสนิมขึ้นบริเวณนั้น
6.2.3 ขนาดตาข่ายที่ใช้ ผนังอิฐมวลเบาควรใช้ที่ 3/8 นิ้ว ผนังอิฐมอญควรใช้
ที่ . นิ้ว หรือขึ้นอยู่กับผู้ออกแบบ
6.3 การราดน้าก่อนฉาบ
6.3.1 ควรราดน้าทิ้งไว้ก่อนฉาบประมาณ 1 คืน(ราดตอนเย็นตอนเช้าฉาบ)
6.3.2 การราดน้าก่อนฉาบนั้นต้องขึ้นอยู่กับสภาพอากาศและสิ่งแวดล้อม
ด้วย เพราะถ้าราดน้าน้อยเกินไป ก็จะทาให้ผนังก่อดึงเอาน้าจากปูนฉาบไป
เร็วเกินไปซึ่งจะทาให้ผนังเกิดการร้าวในเวลาต่อมาได้ หรือถ้าราดน้าเยอะ
เกินไป ก็จะทาให้ขั้นตอนการทางานช้าลงเพราะต้องรอให้ปูนหมาดก่อนถึง
จะทางานขั้นต่อไปได้
6.4 การกดเม็ดทรายด้วยเกรียงขัดมัน
6.4.1 เกรียงขัดมันจะต้องเรียบไม่โก่ง งอ หรือเว้า เพราะจะทาให้ผนังเป็น
คลื่นและไม่เรียบไปด้วย
6.4.2 การขัดจะต้องขัดด้วยแรงกดที่สม่าเสมอ
6.5 การบ่มน้าหลังจากฉาบปูนเสร็จ
6.5.1 ควรที่จะทาหรือไม่นั้นควรสังเกตจากสภาพอากาศและพื้นที่การฉาบ
ถ้าอากาศร้อนหรือผนังฉาบที่สัมผัสความร้อนโดยตรงเช่นผนังรอบนอกอาคาร ก็
ควรที่จะบ่มเพราะความร้อนจะทาให้ผนังคายน้าเร็วเกินไปทาให้เกิดรอยแตกร้าว
ได้ ดังนั้นจึงต้องมีการฉีดน้าบ่ม หรือถ้าผนังอยู่ในบริเวณที่ชื้นและผนังไม่สัมผัส
ความร้อนโดยตรง ก็ไม่จาเป็นต้องบ่มก็ได้ เพราะผนังจะคายน้าตามกระบวนการ
ตามปกติของมันเอง

13 เมษายน 2553

ข้อระวังงานสถาปัตย์ระหว่างก่อสร้างจนถึงส่งมอบงาน

ตีLine
1.1 ในการตีlineต้องใช้แบบที่เป็นShop Drawingที่ได้รับapproveจากconsultก่อน
1.2 ก่อนตีlineต้องตรวจสอบวัสดุและสรุปวัสดุที่จะใช่ก่อสร้างให้สอดคล้องกับlineเช่น
-ขนาดของอิฐ
-ขนาดวงกบไม้
-ขนาดเฟรมอลูมิเนียม
1.3 การตีlineต้องอ้างจาก Base line ของงานโครงสร้าง
1.4 ต้องตรวจสอบช่องเปิดและระยะขอบตึกทั้งหมด ก่อนตี line
1.5 line ของเส้นระดับ +1.00 m. FFL (floor finish level) ควรตรวจสอบระดับพื้นโครงสร้างก่อนแล้วAdjustใหม่ จะช่วยประหยัดค่างาน Topping หรือลดค่าสกัดพื้น

2 งานระบบติดตั้งท่อใหญ่+inspection
2.1 ต้องระวังตำแหน่งของท่องานระบบ ถ้าหลุดจากlineไม่ควรก่อ เพื่อลดค่าเสียหายจากการทุบรื้อ
2.2 ก่อนการก่อต้องผ่านการ Inspection ของ Consul tงานระบบก่อน

3 งานก่ออิฐ
3.1 ต้องตรวจเช็คขนาดอิฐก่อนก่อเนื่องจากถ้าอิบเล็กกว่าจะทำให้สิ้นเปลืองปูนฉาบ
3.2 ก่อนก่ออิฐต้องตรวจสอบดิ่ง line

4 งานติดตั้งวงกบ
4.1 ต้องศึกาชนิดของไม้ที่จะทำวงกบว่าเหมาะกับงานแบบไหน งานเกรดไหน
4.2 ชนิดของไม้ที่ทำวงกบมีผลกับงานสี
4.3 ตำหนิต่างๆของไม้เช่นตามด เสี้ยน มอด มีผลกับงานสี โดยเฉพาะไม่เหมาะกับแต่งสีธรรมชาติ

5 งานเทเสาเอ็นทับหลัง
5.1 ต้องระวังเรื่องขนาด รูปร่าง ระดับ
5.2 ต้องระวังการเข้าแบบ และการเทแบบต้องไม่บวมแตก
5.3 อัตราส่วนผสมของปูนต้องถูกต้องตามสัดส่วน

6 งานหล่อเคาน์เตอร์
6.1 ขนาด รูปร่าง ระดับ ต้องได้ตามแบบ โดยเฉพาะช่องเปิด
6.2 ท้องเคาน์เตอร์ต้องใช้ไม้แบบที่เรียบสภาพดี เพื่อประหยัดค่าแต่งปูนท้องเคาน์เตอร์


7 งานติดตั้งราวระเบียง
7.1 ขนาด รูปแบบ ระดับ ต้องได้ตามแบบ

8 งานระบบติดตั้งท่อเล็ก+inspection
8.1 บล็อกสวิทย์ต้องได้ตำแหน่งและเสมอผิวฉาบ
8.2 ตำแหน่ง Out Letต้องได้ระดับและตำแหน่ง

9 งานเซี้ยมและติดตาข่าย
9.1ต้องระวังเรื่องดิ่ง โดยเฉพาะช่องอลูมิเนียม เซี้ยมต้องได้ขนาด

10 งานฉาบ
10.1 ผิวฉาบต้องเรียบได้ระนาบ ไม่มีเม็ดทราย
10.2 ผนังฉาบต้องได้ฉากได้มุม
10.3 บริเวณระดับฝ้าและบัวต้องระวังเรื่องระนาบฉาบ

11 งานเทTopping
11.1 ต้องตรวจสอบระดับก่อนเทและหลังเท
11.2 ต้องตรวจเช็คผิวหลังเทเสร็จ


12 งานติดตั้งบานประตูและอุปกรณ์Lock set
12.1 เช็คตำแหน่งบานพับ ตาแมว ตำแหน่งLock set
12.2 เช็คระยะช่องวงกบต้องได้ก่อนติดบาน
12.3 ต้องระวังเรื่องระดับตีนบาน
12.4 บานมีลายไม้แนวขวางต้องระวังว่าจะติดลายขวางหรือลายหงาย

13 งานกระเบื้องผนังห้องน้ำ
13.1 มุมห้องจะต้องได้ฉากได้ดิ่ง
13.2 การเข้า45หรือปากกบจะต้องได้ดิ่งและร่องจะต้องเท่ากัน
13.3 มุมและร่องของกาะเบื้องจะต้องเท่ากันโดยใช้SPACER
13.4 รอยต่อกระเบื้องต้องไม่กระเดิด ต้องให้ความสำคัญกับการคัดแยกกระเบื้องก่อนรับและนำไปใช้งาน
13.5 การตัดกระเบื้องบริเวณที่เป็นช่องอุปกรณ์งานระบบจะต้องได้ขนาดและเรียบร้อย
13.6 การจบกระเบื้องแผ่นสุดท้ายกับฝ้าต้องเช็คระดับให้ดี
13.7 ก่อนปูกระเบื้องต้องเช็คเรื่องSlopeก่อนทุกครั้ง
13.8 ตรวจline และขนาดของห้องให้ตรงกับแบบก่อสร้าง
13.9 เช็คดิ่งวงกบและขนาดข่องเปิดให้ได้ก่อนปุกระเบื้อง
13.10 เช็คตำแหน่งFDและชักโครก

14 งานกระเบื้องพื้นห้องน้ำ
14.1 ตรวจเช็คเรื่องSlopeก่อนปู
14.2 ตรวจตำแหน่งFD,ตำปหน่งชักโครก
14.3 ร่องกระเบื้องต้องเท่ากัน

15 งานปูหินเคาน์เคอร์
15.1 ระวังเรื่องSlope
15.2 ตรวจสอบคุณภาพหิน ถ้าไม่ได้คุณภาพต้องแจ้งเจ้าของงานหาข้อสรุปก่อนปู
15.3 ระวังเรื่องคุณสมบัติหิน มีผลต่อน้ำยาทำความสะอาดและงานแก้ไข

16 งานกระเบื้องห้องครัว
16.1 เน้นเรื่องระดับเนื่องจากจะจบกับไม้ลามิเนต
16.2 ระวังเรื่องการProtectionพื้นหลังปู

17 งานฉาบแต่งฝ้าระเบียง,บัวหยดน้ำ
17.1ผิวฉาบต้องเรียบ ได้ระดับ ได้ระนาบ

18 งานกระเบื้องระเบียง
18.1 ต้องระวังเรื่องSlope
18.2 ระดับและตำแหน่งFD

19 งานระบบเหนือฝ้า+inspection
19.1 งานระบบเหนือฝ้าต้องได้รับการInspectionจากconsultงานระบบก่อนดำเนินการส่วนอื่น

20 งานติดตั้งหน้าต่างอลูมิเนียม
20.1ช่องเปิดงานจับเซี๊ยมปูนต้องได้ขนาด ได้ดิ่ง ได้ระดับ

21 งานติดตั้งโครงฝ้า
21.1 ต้องตรวจสอบวัสดุ เช็คspectฝ้าก่อน
21.2 ศึกษาวิธีการติดตั้ง
21.3 ระดับฝ้าต้องได้ระดับเดียวกันทั้งหมด
21.4 เช็คตำแหน่งท่องานระบบที่กระทบกับโครงmainฝ้า

22 งานยิงแผ่นฝ้า
22.1 ก่อนติดตั้งแผ่นฝ้าต้องได้รับเอกสารการInspectionจากconsultงานระบบก่อน

งานฉาบฝ้า
22.2 ต้องเน้นการฉาบรอยต่อฝ้า
22.3 การเดินผ้าฉาบต้องต่อเนื่อง
22.4 ตรวจสอบจุดที่ฉาบบางแบหนา
22.5 ตรวจสอบคุณภาพปูนฉาบฝ้าและแผ่นฝ้าที่นำมาใช้

23 งานทาสีรองพื้นฝ้าและผนัง
23.1 เช็คผิวผนัง ฝ้า ผ่านการขัดที่เรียบร้อยก่อน

24 งานติดตั้งสุขภัณฑ์
24.1 เช็คตำแหน่ง ระดับ Out Let ,ระยะเกลียวก่อนติดตั้ง
24.2 สุขภัณฑ์ส่วนที่ถูกขโมยงานต้องติดตั้งภายหลัง

25 งานทาสีจริง
25.1 ต้องระวังสีรอยต่อฝ้ากับผนัง
25.2 การกลิ้งสีฝ้าต้องไปทางเดียวกัน

26 งานทาสีบานประตู วงกบ ซับวงกบ
26.1 กรณีเป็นสีธรรมชาติ บานต้องลงแป้งย้อมเสี้ยน
26.2 ต้องทาสีขอบบน ขอบล่างบานก่อนติดบาน

27 งานระบบติดตั้งSecond Fix
27.1 ต้องระวังไม่ให้เปื้อนสีฝ้า,ผนัง
27.2 ช่องเจาะDown light ต้องไม่ใหญ่กว่าขอบDown light

28 ตรวจDefect +เก็บงานแก้ไข
28.1 ระวังวิธีการทำงานก่อนหลัง
28.2 ระวังเรื่องค่าใช้จ่าย ต้องวางแผนและกำหนดเวลาจบ
28.3 เก็บงานส่วนหนึ่งต้องไม่ลามงานส่วนอื่น

29 งานเก็บรายละเอียดสีจริงเที่ยวสุดท้าย
29.1 ต้องระวังสีรอยต่อฝ้ากับผนัง
29.2 การกลิ้งสีฝ้าต้องไปทางเดียวกัน


30 ตรวจDefect Consult+เก็บงานแก้ไข
30.1 ระวังวิธีการทำงานก่อนหลัง
30.2 ระวังเรื่องค่าใช้จ่าย ต้องวางแผนและกำหนดเวลาจบ
30.3 เก็บงานส่วนหนึ่งต้องไม่ลามงานส่วนอื่น

31 งานติดตั้งพื้นไม้ลามิเนต
31.1 ตรวจเช็คระดับconsultเซนต์รับการตรวจสอบ
31.2 ตรวจเช็คความชื้นมีการเซนต์ตรวจสอบร่วมกันก่อนปู
31.3 หลังจากปูพื้นไม้แล้วเสร็จให้ระวังการตรวจรับของconsult ทางCoctractorต้องร่วมตรวจDefect ตำหนิของไม้
ให้ถ่ายรูปเป็นหลักฐานอย่างละเอียดร่วมกับconsultก่อนรับพื้นที่คืน

32 งานตกแต่งภายใดย Furniture contractor
32.1 หลังจากงานตกแต่งภายในแล้วเสร็จให้ระวังการตรวจรับของconsult ทางCLต้องร่วมตรวจDefect
ให้ถ่ายรูปเป็นหลักฐานอย่างละเอียดร่วมกับconsultก่อนรับพื้นที่คืน

33 Final inspection
33.1 ระวังวิธีการทำงานก่อนหลัง
33.2 ระวังเรื่องค่าใช้จ่าย ต้องวางแผนและกำหนดเวลาจบ
33.3 เก็บงานส่วนหนึ่งต้องไม่ลามงานส่วนอื่น

34 เก็บรายละเอียดสุดท้าย+Cleaning

35 ส่งมอบแก่โครงการ

3 มีนาคม 2553

การสำรวจพื้นที่ เพื่อวางแผนก่อสร้าง

เปิดโครงการใหม่สำหรับ PM,PE,SM และผู้ที่ได้รับมอบหมาย

การสำรวจพื้นที่ เพื่อวางแผนก่อสร้าง

การก่อสร้างอาคารสูงหรืออาคารขนาดใหญ่ ทั่วไป จำเป็นอย่างยิ่ง ที่จะต้องเข้าใจขั้นตอน และเทคนิคการสำรวจที่จำเป็นในการก่อสร้างอาคารอย่างละเอียด ตั้งแต่การรับมอบพื้นที่จากเจ้าของโครงการ การสำรวจหน้างานเบื้องต้น การตรวจสอบและรับมอบแนวอ้างอิง การสำรวจการวางผังอาคาร การกำหนดระดับอ้างอิง การตรวจสอบแนวเสาเข็ม การให้แนวผนังอาคาร การให้แนวดิ่งอาคารสูง การตรวจสอบระดับในแต่ละชั้นอาคาร การตรวจสอบระยะร่น เป็นต้น
การรับมอบพื้นที่ การตรวจรับพื้นที่ถือเป็นขั้นตอนที่สำคัญ เพราะโครงการก่อสร้างบางโครงการ กำหนดวันที่รับมอบพื้นที่เป็นวันเริ่มสัญญา
การตรวจสอบและรับมอบแนวอ้างอิง(Base Line) โดยส่วนมากจะเป็นการตรวจสอบแนว Base Line ที่กำหนดไว้เทียบกับแนวของเสาเข็มอาคาร
การกำหนดระดับอ้างอิง เป็นความต้องการของเจ้าของโครงการหรือฝ่ายออกแบบ โดยส่วนมากจะให้ยึดที่ curb footpath หรือสันถนน เป็นระดับอ้างอิง การกำหนดระดับอ้างอิงถือเป็นเรื่องสำคัญต่อผู้รับเหมาเพราะ ต้องวางแผนเรื่องงานดินถมและดินตัด
การสำรวจหน้างานเบื้องต้น
จดบันทึกและถ่ายภาพ สิ่งที่ได้จากการสำรวจเบื้องต้นได้แก่ Existing Building,ป่ารกทึบ ต้นไม้ใหญ่,เสา สายไฟฟ้าโทรศัพท์,คลองหรือร่องน้ำสาธารณะ ,บ่อน้ำหรือสระ เป็นต้น สิ่งเหล่านี้มีผลต่อการวางแผนงานช่วงเริ่มต้นเป็นอย่างมาก และสิ่งที่ PM,PE,SM ต้องให้ความสำคัญและต้องดำเนินควบคู่กันไป ได้แก่
1 Facility

1.1 Facility for staff คือการจัดเตรียม/จัดหาที่พักสำหรับ staff ที่จะมาเริ่มมาทำงานในโครงการ ที่พัก staff ควรจะสะดวกสบายใกล้ที่ทำงาน ไม่แออัด ใช้แนวคิด ทำงานหนัก ที่พักสบาย วางแผนแก้ปัญหาเรื่องน้ำ,ไฟ หรือรถรับส่งกรณีที่พักอยู่ห่างไกล อันเนื่องมาจากโครงการก่อสร้างอยู่ย่านธุรกิจ


1.2 Facility for Labour ไดแก่การจัดหา บ้านพักคนงาน แบ่งเป็น 2 กรณี
1.2.1 สร้าง Camp กรณีโครงการ มีระยะเวลานานมากกว่า 1 ปี หรือโครงการอยู่ในพื้นที่ทุรกันดาร
1.2.2 เช่า ตึก/ อาคาร กรณีโครงการระยะสั้นหรือมีอาคารขนาดใหญ่ใกล้เคียงพื้นที่ก่อสร้าง
ข้อแนะนำในการจัดหา Labour Camp ปัญหาที่อาจเกิดขึ้น คือ คนงานเยอะ แต่ไม่ได้เตรียมแผนเรื่องน้ำ ,ไฟ ถ้ามีปัญหาเรื่องน้ำ,ไฟ จะก่อให้เกิดปัญหาต่อคนงาน และ ความก้าวหน้าเป็นอย่างมาก
ปัญหาเรื่อง น้ำประปา, ไฟฟ้า ถ้าเป็นบ้านพัก/ หอพัก Staff จะไม่ค่อยมีปัญหาเนื่องจากมีการติดตั้งไว้แล้ว กรณีเป็น Labour Camp คนงานพักอาศัยจำนวนมาก PM,PE,SM ต้องดำเนินการดังนี้
ทำเองหรือมอบหมายให้ผู้ช่วยไปติดต่อส่วนราชการที่เกี่ยวข้อง เช่น

ไฟฟ้าชั่วคราว การดำเนินการคือ ไปแจ้งความประสงค์จะใช้ไฟฟ้า ทางการไฟฟ้าจะตอบกลับมาว่าให้เราเตรียมเอกสารอะไรบ้าง แล้วแจ้งไปยัง Head Office/แผนกที่มีหน้าที่รับผิดชอบ สำหรับส่วนราชการอื่นๆ ก็มีลักษณะที่คล้ายกัน

1.3 Facility อื่นๆ ความหมายคือ การเตรียมการและจัดการความสะดวกสบายให้พนักงานที่จะเข้ามาทำงานในโครงการ ได้แก่วัสดุอุปกรณ์เครื่องมือรวมทั้งสวัสดิการอื่นๆ ที่เหมาะสม ตามกฎของ บริษัท เพื่อให้พนักงานทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ

2. Site Layout
เมื่อ PM,PE,SM ไปสำรวจที่หน้างานครั้งแรก ( ควรจะมีแบบ lay out plan ประกอบด้วย ) PM,PE,SM ต้องตรวจสอบว่า
1. พื้นที่ ที่เป็นส่วนก่อสร้าง ไม่ควรทำเป็น Site Facility
2. ให้ยึดคติที่ว่า Staff ทำงานหนักต้องมีที่นั่งทำงานสะดวกสบาย เพื่อให้สมดุลกับการทำงาน พยายามจัดหา Site Office ให้เร็วทีสุด ทางที่ดีควรติดกับโครงการ ยกเว้นหาไม่ได้ควรตั้ง Site Office ให้อยู่ในเขต green area/land&hard scape นอกจาก Site Office ที่ต้องสร้างในพื้นที่โครงการแล้ว ก็จะมี Temporaryสิ่งปลูกสร้างชั่วคราวดังนี้
store / Maintenance / EE/ Rebar Shop/ Fab Shop และ อื่นๆ สิ่งเหล่านี้ต้องการพื้นที่ในการทำงานทั้งนั้น
: ฉะนั้นให้ PM นำ Lay out plan มาตรวจสอบเพื่อกำหนดตำแหน่งที่จะทำ Temporary
* สำคัญมาก เมื่อเข้าพื้นที่ต้องรีบสร้าง Site Office ให้เสร็จเร็วที่สุด
อุปกรณ์ / สำนักงาน Site Office จะทำงานได้อย่างมีคุณภาพต้องมีน้ำ ไฟฟ้า,แอร์เย็น,อุปกรณ์สำนักงานทั้งหมด
* Site Office ต้องเขียนแบบขึ้นให้เหมาะตามสภาพโครงการ หรือรูปแบบที่มาตรฐาน ( เป็นหน้าที่ของ PM/PE/SM )
ใน Site งาน ไฟฟ้าชั่วคราวในโครงการ ก็ติดต่อเหมือนกับกรณี labour Camp
เปิด Site มาหน้างานยังไม่มีไฟฟ้าใช้ ให้สั่งเครื่องปั่นไฟมาใช้งานก่อน






3. Progress of work
ในส่วนของ Progress of work PM/PE/SM ควรจัด Organization Chart ให้เหมาะสมตามขนาดของโครงการ เช่น

3.1 ทีม admin/site secretary รับผิดชอบ บัญชีการเงิน จักซื้อ ธุรการ ค่าแรง
3.2 ทีม Office engineer และ Draftman รับผิดชอบ งานสำนักงานและแบบก่อสร้าง
3.3 ทีมหน้างาน ได้แก่ PE SM SE FM SV HM รับผิดชอบ ความก้าวหน้าของงาน
3.4 แผนกความปลอดภัยในการทำงาน
3.5 แผนกป้องกันความเสียหายทั้งบุคลากรและทรัพย์สิน
อื่น ๆ