18 กันยายน 2551
งานติดตั้งโครงหลังคาเหล็ก
Method Statement การติดตั้งโครงหลังคา
1. ให้ตรวจสอบความหนาของสีให้ถูกต้อง ตัวอย่าง
- Sale area Rust paint 50 Microns + Acrylcote Finish 75 Microns + Acrylcote Finish 75 Microns
- Loading area Rust paint 50 Microns + Rust paint 50 Microns
- Office area, Food court, Lease area Rust paint 50 Microns + Rust paint 30 Microns
- Fresh market, Home center Rust paint 50 Microns + Acrylcote Finish 75 Microns + Acrylcote
Finish 75 Microns
2. ให้ตรวจสอบ Dimension ของ Plate ที่จะยึดกับเสา Post ให้ตรงกับหน้างานตามความเป็นจริง ถ้ามีการปรับแก้ให้ปรับแก้
ที่ด้านล่างก่อนยกขึ้น
3. ให้เริ่มการติดตั้ง Truss ที่ Grid line ช่วงกลาง
4. ในการติดตั้ง Truss จะต้องติดตั้งให้เสร็จเป็น Block เลย ห้ามติดตั้งโดยที่ไม่ได้ยึด Truss เป็นรูปสี่เหลี่ยม
5. เมื่อติดตั้ง Truss ผ่านไป 2 Grid line ให้เริ่มทำการติดตั้งแปตาม Truss แล้วทำการใส่ Turn buckle ให้เสร็จ ห้ามติดตั้ง
Truss อย่างเดียว จะต้องทำให้สมบูรณ์
6. ในการติดตั้งแป ห้าม Stock แป ไว้เกินจำนวน และจะต้องทำการผูกรัด แปไว้กับ Truss ให้แน่นหนาทุกครั้ง
7. เมื่อติดตั้งเสร็จสมบูรณ์เป็น Block แล้ว ให้ตรวจสอบดังนี้
7.1 การ Grout ของ Non - Shink จะต้องเติม Plate
7.2 ตรวจสอบการขันน๊อตที่ Anchor bolt (ต้องมีน๊อต 2 ตัว)
7.3 ตรวจสอบการขันน๊อตที่เสา Post
7.4 ตรวจสอบการขันน๊อตที่ Turn Buckle
7.5 ตรวจสอบการขันน๊อตที่แป, Sag rod
7.6 ให้จัดทำ Report ทุกจุดที่ตรวจสอบ
Super flatfloor V.1
Method Statement for flat slab
1. เตรียมพื้นที่สำหรับเท Lean concrete ฉีดน้ำยากันปลวกตลอดพื้นที่ แล้วปูพลาสติก หนา 0.2 mm.
2. เท Lean concrete หนา 5 cm. ปาดระดับให้เรียบพอประมาณ (ระดับของ Lean concrete อยู่ระดับเดียวกับ
Drop - panel)
3. กำหนดแนวการเทพื้น เพื่อจะได้ทำการ Set เหล็กฉากปรับระดับ โดยขนาดของ Bay ในการเทนั้นไม่ควรใหญ่
มากนัก จะทำให้การควบคุมระดับทำได้ยาก วิธีการในการ Set เหล็กฉาก คือ
- กำหนดแนวในการวางเหล็กฉาก ไม่ควรห่างเกิน 6 m. (ความยาวของเหล็กกล่องปาดปูน)
- ใช้เหล็ก DB 12 ยาว ประมาณ 15 cm. เชื่อมกับแผ่น Plate เพื่อวางเป็นแนว ขาไกด์
- เชื่อมเหล็ก L - 30 x30 x 5 mm. เข้ากับ ขาไกด์ เพื่อใช้เป็นเหล็กฉากปรับระดับ
- Joint แนวริมด้านข้าง ใช้ตาข่ายกั้น Joint โดยใช้ลวดผูกกับเหล็กพื้นให้แน่นและได้ดิ่งเพื่อป้องกัน
คอนกรีตล้นออกมาก
4. ก่อนการเทควรทำการตรวจสอบ
- การวางเหล็กพื้น ระยะห่างของเหล็ก การเสริมเหล็กเสริมพิเศษให้ครบถ้วน ระยะ Covering ของปูน
- กรณีของการเท Bay ต่อจาก Bay ที่เทมาแล้วให้ทำการสกัดปูนที่เกินออกมาตามแนว Joint ให้ได้ดิ่ง แล้ว
ราดด้วยน้ำยาประสานก่อนการเท
- ความสะอาดของเหล็ก Lean concrete และ แนว Joint
5. ควรควบคุม Slump ของปูนให้อยู่ระหว่าง 10-12 cm.
6. เริ่มเทคอนกรีตจากด้านในสุดออกมา แล้วควรเทไล่ออกมาให้เป็นหน้าเพื่อป้องกันคอนกรีต Set ตัวไม่พร้อมกัน
ทำให้ปรับระดับได้ยาก
7. ในขณะเทคอนกรีตให้จี้คอนกรีตให้ทั่ว โดยเน้นบริเวณ Drop - panel ซึ่งจะมีเหล็กเสริมหนาแน่น
8. ใช้เหล็กกล่อง อะลูมิเนียม ปาดระดับตามเหล็กฉากที่ Set ไว้ โดยในขณะเดียวกันให้ Survey ทำการตรวจสอบ
เหล็กฉากด้วย เพื่อป้องกันการทรุดตัวของเหล็กฉาก อันจะทำให้คอนกรีตไม่ได้ระดับ หากคลาดเคลื่อนให้ทำการ
เชื่อมแก้ไข
9. ให้ Survey สุ่มจับค่าระดับของคอนกรีตเป็นระยะ ๆ หากสูงหรือต่ำไปให้แก้ไขทันที
ข้อควรระวัง
1. ควรทำการ Recheck เหล็กระดับก่อนการเท และในขณะเทเพื่อให้ได้ระดับที่แน่นอน
2. ในการตั้งกล้องระดับ แต่ละครั้ง ควรจะอ้างอิงมาจากจุดเดิมทุกครั้งเพื่อให้ได้ระดับเดียวกันทั้งอาคาร
3. ในการแกะเหล็กฉากแนว Joint ออก ควรทำด้วยความระมัดระวังไม่ให้เกิดรอยแตก
การทำ Trial Mix for Concrete
Method Statement Trial Mix
1. ตรวจสอบ Strength ของคอนกรีต กับผู้ออกแบบ ใช้ 240 ksc Cy และ 280 ksc Cy ที่ Slump 75+2.5 cm.
2. ให้เก็บตัวอย่าง ที่ 3 วัน 3 ลูก ของ Strength 280 ksc Cy
ให้เก็บตัวอย่าง ที่ 7 วัน 3 ลูก ของ Strength 240 ksc Cy และ 320 ksc Cy
ให้เก็บตัวอย่าง ที่ 14 วัน 3 ลูก ของ Strength 240 ksc Cy และ 320 ksc Cy
3. นัดกับ Plant Concrete เพื่อทำการเก็บตัวอย่าง โดยต้องตรวจสอบ Slump และ Strength ให้ถูกต้อง
4. ให้นำตัวอย่างขึ้นมาจากบ่อก่อน 1 วัน ก่อน ที่จะทำการทดสอบ
5. ทำการ Cab หัวตัวอย่างก่อนการทดสอบ
6. นำผลทดสอบทั้งหมดมาเขียนเป็นกราฟ
การตรวจสอบค่ายุบตัวของคอนกรีต
การจี้คอนกรีต ที่ถูกต้อง
Method Statement of Vibrators. (Internal Vibrators Type)
1. ต้องจุ่มหัวจี้ลงไปตลอด ความลึกของคอนกรีตสด แล้วจี้ไปถึงชั้นล่างด้วย
2. การจี้เขย่าต้องให้ทั่วบริเวณคอนกรีต โดยต้องกำหนดระยะการจี้ที่ถูกต้องเพื่อให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด
ในการอัดแน่น
3. เมื่อจี้เขย่าเสร็จแล้ว ควรดึงหัวจี้ขึ้นอย่างช้า ๆ เพื่อให้ช่องเปิดที่เกิดจากหัวจี้ปิดตัวเองเข้าสนิท ไม่มีฟองอากาศขังอยู่
งานฐานรากอาคาร
Method Statement Of Footing
1. Surveyor เป็นผู้หา Grid line ให้ แล้ว Foreman เป็นผู้หาตำแหน่งของ Footing เอง
2. ถ้าพบว่าตำแหน่งของ Center line ไม่ถูกต้องหรือแปลก ๆ ไป ให้ตาม Surveyor มาช่วย
Recheck อีกครั้ง แต่ ถ้ายังไม่ถูกต้องให้แจ้งวิศวกรทราบ
3. Foreman จะต้องเป็นผู้หาระยะเสาเข็มหนีศูนย์ Pile Deviation เผื่อส่งเป็น Record ให้ วิศวกร
เส้น Grid line
เส้นทิศทาง Pile Deviation
4. เมื่อได้ตำแหน่งของ Center line แล้วให้ทำการหาขนาดของ Footing โดยการตีเส้นบอกขนาดให้ชัดเจน
แล้วทำการประกอบแบบและลงเหล็กเสริม
งานเท Concrete
1. เมื่อเข้าแบบและลงเหล็กเสร็จเรียบร้อยแล้วให้ตรวจสอบ ดังนี้
- เหล็กของ Footing ครบหรือไม่, Covering ได้ตามแบบหรือไม่
- ตรวจสอบขนาดของแบบ กว้าง, ยาว, สูง ว่าถูกต้องหรือไม่ และจะต้องได้ดิ่งและแนวที่ถูกต้อง
- ตรวจสอบจำนวนเหล็กเสริมของเสา, ขนาดเหล็กปลอก ว่าถูกต้องหรือไม่
- ให้ Survey ตรวจสอบตำแหน่งของเหล็กเสาอีกครั้งก่อนที่จะตีล๊อกเหล็กเสา
- ตรวจสอบ การค้ำยันและรอยต่อของแบบ ว่าแข็งแรงหรือไม่ โดยเฉพาะตรงมุมของแบบ
- ให้ทำระดับของ Concrete ที่จะเทให้เรียบร้อย และตรวจสอบความสะอาดของแบบที่จะเท
2. เมื่อทำตามขั้นตอนในข้อที่ 1 เสร็จเรียบร้อยแล้ว ให้ตามนายช่างมาตรวจ แล้วค่อยตาม Consult มา Check
ก่อนเท Concrete โดย Foreman จะต้องตาม Headman ชุดที่ทำมาเดินด้วยตอนตรวจแบบ
3. เมื่อ Consult อนุญาตให้เท Concrete แล้วให้แจ้งยอด Concrete ให้นายช่างทราบและทำตามดังต่อไปนี้
- ต้องเตรียมเครื่องมือในการเท Concrete ให้เพียงพอ เครื่องจี้, สาย Wire และให้ตรวจสอบเครื่องมือว่า
อยู่ในสภาพการใช้งานได้หรือไม่, ตรวจสอบน้ำมัน, น้ำมันเครื่อง, ให้เต็มอยู่ตลอด และให้ Check ว่ามีเครื่อง
Spare อยู่ที่ไหนเครื่องเสียจะได้วิ่งไปเอามาโดยด่วน
- ให้ Check เครื่องจักรที่จะเทว่าอยู่ในสภาพพร้อมใช้งานหรือไม่ ถ้าพร้อมให้จัดเครื่องจักรเข้าประจำที่ และให้
Check เส้นทางของรถขนส่ง Concrete ว่าสามารถส่ง Concrete ได้ถึงจุดหรือไม่ ถ้าไม่ได้ให้รับจัดการ
4. เมื่อพร้อมแล้วให้จัดคนมารอรถปูน โดยในการเท Concrete นั้น นายช่างจะต้องเป็นผู้จัดให้ว่าใครเท Concrete
ก่อนหลัง ห้ามลัดคิวโดยเด็ดขาด
5. ในขณะที่เท Concrete นั้น นายช่างและ Foreman จะต้องอยู่ดูจนจบห้ามปล่อยให้คนงานเทกันเอง และต้องปฏิบัติดังนี้
- ในการจี้ปูนจะต้องมีการจี้ที่สมาเสมอและทั่วถึง
- จะต้องตรวจสอบไม้แบบ, ค้ำยัน ว่าแข็งแรงพอหรือไม่ ในขณะที่เท ถ้ารั่วให้รับซ่อมโดยเร็ว
6. เมื่อเท Concrete เสร็จแล้ว จะต้องปฏิบัติดังนี้
- ผิวหน้าคอนกรีตทีเทเสร็จแล้วจะต้อง Check ว่าต้องเตรียมผิวอย่างไร เช่น Footing จะต้อง ปั่นหยาบ เพื่อไม่ให้
ผิวหน้าแตกลายงา และ Foreman และ Headman จะต้องอยู่ดูจนเสร็จขั้นตอนนี้
- ต้องตรวจสอบระดับว่าถูกต้องหรือไม่
- ต้องตรวจสอบตำแหน่งของเหล็กเสาว่าคลาดเคลื่อนหรือไม่ ถ้าคลาดเคลื่อนให้รับแก้ไขโดยด่วน
- ต้องทำความสะอาดเครื่องมือทุกชิ้นให้สะอาดเหมือเดิมก่อนคืน Store โดย Foreman และ Headman จะต้อง
เป็นผู้ดูแล ห้ามอ้างถึงกันและกันว่าไม่ใช่หน้าที่
- ต้องจัดให้เครื่องจักรเข้าที่ ห้ามจอดไว้หน้างานโดยเด็ดขาด Foreman และนายช่างต้องเป็นผู้ดูแล
7. เมื่อ Concrete Set เป็นที่เรียบร้อยแล้ว และพร้อมจะรื้อแบบข้างนั้นให้ Foreman คุยกับนายช่าง ทุกครั้งก่อนรื้อแบบ
และเมื่อรื้อเสร็จแล้วจะต้องตามนายช่างไปตรวจดูสภาพของผิว Concrete และใช้น้ำยาบ่มคอนกรีต Spare ผิวคอนกรีต
ก่อนที่จะกลบดิน
งานคานคอดิน
งานตอกเสาเข็ม
Method Statement of Pile Driving work
1. การเตรียมการ
1.1 แบบแปลนและผังของโครงการ
1.2 การวางแผนการตอกเสาเข็ม (Piling Sequence) แบบฟอร์มที่ใช้ในการตอกเข็ม (Daily piling record , Pile driving record)
1.3 วิธีการตรวจสอบเข็ม (Pile load test , Static test)
1.4 การทำ Pilot test pile , จำนวน Pilot pile คิดตามสัดส่วนของพื้นที่โครงการ
1.5 เอกสารรายการคำนวณเสาเข็ม , รายการคำนวณ Blow count
2. การดำเนินงานตอกเสาเข็ม (Pilot Pile Test)
2.1 วางผังโครงการโดยใช้พิกัดค่า Coordinate ตามแบบแปลนที่กำหนด โดยอ้างอิงจากหมุด BM เดิม (from existing building )
2.2 ตำแหน่งเข็มอ้างอิงตามค่า Coordinate ของโครงการและแบบแปลน ที่จัดขึ้นโดย Designer (Recheck By Consultant)
2.3 ทำการตอกเข็มตัวอย่าง (Pilot test pile) เพื่อหาขนาด และ ความยาวของเสาเข็ม เพื่อเสนอขออนุมัติ จากเจ้าของโครงการ 2.4 เมื่อ Owner อนุมัติเรื่อง ขนาดความยาวพร้อมรายการคำนวณ Blow count ของเข็มเรียบร้อยจึงเริ่มดำเนินการตอกเสาเข็ม
3. ขั้นตอนการตอกเข็ม
3.1 วางแผนการ Start ตอกเสาเข็มต้นแรกและแนวทางการเดิน ปั้นจั่น (Piling Sequence) โดย Engineer
3.2 เมื่อ Survey ทำการวางหมุดเสร็จแล้วให้ Foreman Recheck ระยะก่อนว่าถูกต้องหรือคลาดเคลื่อนจากแบบแปลนหรือไม่
3.3 ก่อนที่ปั้นจั่นจะยกเสาเข็มขึ้นตอกให้ ทำ off set ตำแหน่งของเข็ม ทั้ง 2 แกน ก่อนยกเสาเข็มขึ้นและ Recheck off set โดย Foreman อีกครั้งเพื่อให้เข็มได้ตำแหน่งที่ถูกต้อง
3.4 ก่อนทำการ Check ดิ่ง ควรตอกเข็มให้จมลงไปก่อน ประมาณ 30 – 50 cm. แล้ว Recheck off set อีกครั้งว่าคลาดเคลื่อนหรือไม่ แล้วทำการ Check ดิ่ง โดย Foreman ต้องตรวจสอบด้วยเสมอ ซึ่งการตรวจสอบต้องตรวจสอบทั้ง 2 แกน คือ ด้านหน้าและด้านข้าง โดยค่าการดิ่งไม่ควรเกิน 1 : 500 หรือ 0.1%
3.5 ในการตอกเข็มให้ Foreman ตรวจสอบน้ำหนักของตุ้มตอก และระยะยกของลูกตุ้มให้ได้ตามที่คำนวณไว้
4. การ Check Blow Count
4.1 Mark ระยะที่ปลายของเสาเข็มแต่ละต้นเป็นช่วงๆละ 30 cm. จำนวน 10 ช่วง หรือประมาณ 3 เมตร
4.2 ทำการตอกเสาเข็มจนถึงตำแหน่งที่ Mark ไว้ (3 m.) เริ่มทำการนับจำนวน Blow ในแต่ละช่วง (30 cm.) ทำการบันทึกค่าไว้ของแต่ละช่วงว่าได้ Blow เท่าไหร่ จนกระทั่งถึงช่วงๆหนึ่ง จำนวน Blow จะเพิ่มขึ้นมาก แต่ระยะที่เสาเข็มจมลงน้อยมาก จึงทำการนับ Blow ที่ตอก 10 ครั้งสุดท้าย (Last ten blow) แล้ววัดระยะที่เข็มจมลงในการตอก 10 ครั้งสุดท้าย แล้วบันทึกค่าไว้ (ทำ 2 ครั้ง) (Last ten Blow ต้องไม่เกินจากค่าที่คำนวณไว้)
4.3 Foreman recheck ทิศทางการเยื้องศูนย์ของเข็ม บันทึกการเยื้องศูนย์
หมายเหตุ :
- Foreman ควรดูแลและควบคุมอย่างไกล้ชิด กรณีเข็มหัก หัวระเบิด หรือ มีสิ่งผิดปกติให้แจ้ง Engineer ทราบทันที
- การใช้ตุ้มต้องมีน้ำหนักตามที่คำนวณ
- การยกตุ้มและปล่อยตุ้มต้องตามระยะที่คำนวณ
- ปั้นจั่นต้องอยู่ในสภาพที่แข็งแรง ตะเกียบต้องตรงไม่บิดเบี้ยว
- ระยะหนีศูนย์ในแนวราบไม่ควรเกิน 5 ซม
- ระยะหนีศูนย์ในแนวดิ่งไม่ควรเกิน 0.1% ของความยาวเข็ม
ในขณะที่ตอกนั้น จะต้องทำตามดังนี้
- การยกตุ้มปั้นจั่นตามความสูงที่ได้คำนวณมา
- การตรวจสอบเสาเข็มให้อยู่แนวดิ่งตลอดการตอก
- ระยะหนีศูนย์ในแนวราบไม่เกิน 5 ซ.ม.
- ระยะหนีศูนย์ในขณะดิ่งไม่เกิน 0.1 % ของความยาวเข็ม
หลักการตัดหัวเข็ม
หลักการง่ายๆในการเปิดหน่วยงานก่อสร้างใหม่ ของ Project Manager
เปิดโครงการใหม่
สิ่งที่ Project Manager ต้องให้ความสำคัญและต้องทำ
1 Faclity
2 Site Office
3 Progress of work
สามสิ่งที่ต้องทำควบคู่กัน
Facility
1 Faclity
2 Site Office
3 Progress of work
สามสิ่งที่ต้องทำควบคู่กัน
Facility
1.1 Facility for staff จัดหาที่พักสำหรับ staff ถ้า staff ที่ย้ายมาเริ่มงาน ควรมีที่พักสะดวกสบายใกล้ที่ทำงาน ไม่แออัด วางแผนแก้ปัญหาเรื่องน้ำ,ไฟ และรถรับส่ง
1.2 Facility for Labour จัดหา Labour Camp แบ่งเป็น 2 กรณี
1.2.1 สร้าง Camp เองกรณีโครงการยาวนานมากกว่า 1 ปี หรือโครงการอยู่ในพื้นที่ทุรกันดาร
1.2.2 เช่า ตึก/ อาคาร กรณีโครงการระยะสั้นหรือมีอาคารขนาดใหญ่ใกล้เคียงพื้นที่ก่อสร้าง
ข้อแนะนำในการจัดหา Labour Camp ปัญหาที่อาจเกิดขึ้น คือ คนงานเยอะ แต่ไม่ได้เตรียมแผนเรื่องน้ำ ,ไฟ ถ้ามีปัญหาเรื่องน้ำ,ไฟ จะก่อให้เกิดปัญหาต่อคนงาน และ Progress of work อย่างมาก เรื่อง น้ำประปา, ไฟฟ้า ถ้าเป็นบ้านพัก/ หอพัก Staff จะไม่ค่อยมีปัญหาเนื่องจากมีการติดตั้งไว้แล้ว กรณีเป็น Labour Camp คนงานพักอาศัยจำนวนมาก Project Manager ต้องดำเนินการดังนี้
ทำเองหรือมอบหมายให้ Safety ไปติดต่อส่วนราชการที่เกี่ยวข้อง เช่น
การไฟฟ้าส่วนภูมิภาคสาขา..............การดำเนินการคือ ไปแจ้งความประสงค์จะใช้ไฟฟ้า ทางการไฟฟ้าจะตอบกลับมาว่าให้เราเตรียมเอกสารอะไรบ้าง แล้วแจ้งไปยัง Head Office สำหรับส่วนราชการอื่นๆ ก็เหมือนกัน
1.3 Facility อื่น ความหมายคือ จัดการความสะดวกสบายให้พนักงานที่จะเข้ามาทำงาน รวมทั้งสวัสดิการอื่นๆ ที่เหมาะสม ตามกฎของ บริษัท
2. Site Office ให้ยึดคติที่ว่า Staff ที่ทำงานหน้างานต้องมีที่นั่งทำงานสะดวกสบายเพื่อ balance กับการทำงานหนัก เมื่อ Project Manager ไปถึงหน้างานโครงการครั้งแรก ( มี แบบ lay out plan ประกอบด้วย ) Project manager ต้องตรวจสอบว่า
1. พื้นที่ ที่เป็นสิ่งก่อสร้าง ต้องห้ามทำเป็น Site Facility
2. พยายามหา Site Office ที่อยู่ใกล้โครงการที่สุด ทางที่ดีควรติดกับโครงการ ยกเว้นหาไม่ได้ควรตั้ง Site Office ให้อยู่ในเขต green area
นอกจาก Site Office ที่ต้องสร้างในพื้นที่โครงการแล้ว
ก็จะมี Temporaryสิ่งปลูกสร้างชั่วคราวดังนี้
store / Maintenare / EE
Rebar Shop
Fab Shop และ อื่นๆ สิ่งเหล่านี้ต้องการพื้นที่ในการทำงานทั้งนั้น
: ฉะนั้นให้ PM นำ Lay out plan มาตรวจสอบเพื่อกำหนดตำแหน่งที่จะทำ Temporary
* สำคัญมาก เมื่อเข้าพื้นที่ต้องรีบสร้าง Site Office ให้เสร็จเร็วที่สุด
อุปกรณ์ / สำนักงาน Site Office จะทำงานได้อย่างมีคุณภาพต้องมีน้ำใช้ไฟฟ้า,แอร์เย็น,อุปกรณ์สำนักงานทั้งหมด
* Site Office ต้องเขียนแบบขึ้นให้เหมาะตามสภาพโครงการ หรือรูปแบบที่มาตรฐาน ( เป็นหน้าที่ของ PM )
3. Progress of work
ในส่วนของ Progress of work PM ควรจัดการดังนี้
1 ทีม admin ได้แก่ บัญชีการเงิน จักซื้อ ธุรการ ค่าแรง
2 ทีม Office engineer และ Draftman
3 ทีมหน้างาน ได้แก่ PE SE FM SV HM
4 แผนกความปลอดภัยในการทำงาน
5 แผนกป้องกันความเสียหายทั้งบุคลากรและทรัพย์สิน
อื่น ๆ
ใน Site งาน ไฟฟ้าชั่วคราวในโครงการ ก็ติดต่อเหมือนกับกรณี labour Camp
เปิด Site มาหน้างานยังไม่มีไฟฟ้าใช้ ให้สั่งเครื่องปั่นไฟมาใช้งานก่อน
การจัด Organization Chart ให้เหมาะสมตามขนาดของโครงการ
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)