18 กันยายน 2551

การ่ติดตั้งเสาคอนกรีตสำเร็จรูป


Method Statement การติดตั้งเสา Pre - Cast

1. ก่อนการติดตั้งจะต้องตรวจสอบความสมบูรณ์ของเสา
2. ในการยกและขนส่ง จะต้องทำอย่างระมัดระวัง
3. ในขณะที่ติดตั้งเสาจะต้องตรวจสอบตำแหน่งของเสา โดยการทำ Center line ไว้ที่ฐานราก
4. ให้ตรวจสอบการได้ดิ่งของเสา โดยต้องตรวจสอบทั้งสองแกน
5. ให้ตรวจสอบตำแหน่งของปลั๊ก ว่าหันหน้าไปใน ทิศทางที่ถูกต้องหรือไม่
6. ในการเชื่อม Plate ที่เสา Pre - Cast กับ Plate ที่ฐานราก จะต้องเชื่อมเฉพาะที่ได้รับการอนุมัติแล้วเท่านั้น
7. ในการเชื่อม Plate ให้เว้นที่มุมทั้งสี่ด้านไว้ประมาณ 1 ชั่วโมง เพื่อทำการ Epoxy Injet
8. ในการทำ Epoxy Injet ด้วย Sikadur 752 ไว้ดังนี้
8.1 ติดตั้งท่อ Injet ไว้ที่มุมทั้งสี่ด้าน แล้วทำการปิดช่องว่างที่เหลือด้วย Epoxy Injet
8.2 เมื่อ Epoxy Grout แห้งตัวดีแล้ว ให้ทำการ Injet Epoxy ด้วยเครื่อง Injet
8.3 ทำการ Injet Epoxy ไป จนกว่า Epoxy จะไหลออกมาจากท่อ ทั้ง 3 ด้าน แสดงว่า Epoxy ได้เข้าไปเต็มที่ใต้ Plate แล้ว
8.4 ให้ระวังเครื่องจักรจะไปรบกวนเสา Pre - Cast ในขณะที่รอ Epoxy Set ตัว
9. ให้ทำการตัดท่อ Injet ออก แล้วทำการเชื่อมให้เต็ม
10. ให้ทำการเจาะเสียบเหล็ก Dia 6 mm. ระยะห่าง 20 cm. แล้วทำการเทปิด Plate ส่วนที่เหลือด้วย Lean Concrete

การหล่อเสาคอนกรีตสำเร็จรูป


Method Statement Pre - Cast column

1. การเตรียมการ
ตรวจสอบขนาดของแบบที่จะหล่อ ให้ถูกต้องตาม Shop Drawing
ตรวจสอบเหล็กเสริม และสิ่งที่ต้องฝังไว้ในเสาให้ถูกต้องตาม Shop drawing
ตรวจสอบขนาดแผ่นเหล็ก และ dowel ที่จะฝังในคอนกรีต ให้ถูกต้องตามแบบ
ตรวจสอบการเก็บลูกปูน
ตรวจสอบ Strength ของคอนกรีต ที่จะใช้ต้องไม่น้อยกว่า 240 KSC ทรงกระบอก

2. การทำงาน
ตรวจสอบการจี้คอนกรีตให้สม่ำเสมอและเพียงพอ
ตรวจสอบตำแหน่งของแผ่นเหล็ก และสิ่งที่ต้องฝังในคอนกรีต ให้ได้ตำแหน่งตาม Shop drawing

3. หลังการทำงาน
ตรวจสอบการแต่งผิวให้ถูกต้อง
ตรวจสอบตำแหน่งของแผ่นเหล็กและสิ่งที่ต้องฝังในคอนกรีตให้ได้ตำแหน่งตาม Shop drawing


การติดตั้งเสาคอนกรีตสำเร็จรูป

การหล่อเสาคอนกรีตเสริมเหล็กในที่



Method Statement for Column Rebar and Form work

ขั้นตอนการผูกเหล็กและเข้าแบบเสา

1. หลังจากเทฐานรกหรือพื้นแล้ว Surveyor จะเป็นผู้มาให้ Line เสา โดยจะให้เป็น Center Line ของเสา ทั้งสองแกน หรือให้เป็น Offset Line ก็ได้

2. การหาตำแหน่งเสาจริงเพื่อตั้งแบบ นายช่าง / Foreman ผู้รับผิดชอบจะเป็นคนหา Line และตีเต๊าเองแล้วจึงตีกรอบ
ไม้ตีนแบบ โดยใช้ไม้ 1 1/2" x 3"
3. ติดตั้งเหล็กเสา มีข้อสังเกต คือ
- ถ้าเหล็กยื่นออกนอกแนวเสาให้แจ้งนายช่างผู้รับผิดชอบทัน
- ถ้ามีปั้นจั่นใช้งาน จะต้องผูกเสาเป็นโครง แล้วใช้ปั้นจั่นยกขึ้นติดตั้งจะประหยัดค่าแรงมากกว่า การผูกเหล็กเส้นในที่
- ถ้าเหล็กเสาสูงมากทำให้เอียงจะต้องใช้สลิงดึงไว้หรือใช้ไม้ค้ำ
- การโผล่เหล็กตอกเสา ( Starter Bar ) เพื่อทาบเหล็กต้องเช็คจากแบบหรือ Spec ว่าต้องต่อเยื้องระยะทาบ 50 % หรือไม่
- เช็คขนาดจำนวนของเหล็กยื่น และระยะห่างเหล็กปลอกให้ตรงตามแบบ
หมายเหตุ ตรวจสอบเหล็กก่อนเข้าแบบเสา
- ผูกลูกปูน Covering ไว้ที่เหล็กยืนเสา

4. ประกอบแบบเสาเป็นโครงตาม Form work Assembly โดยนายช่าง / Foreman จะต้องตรวจสอบแบบ
ตามรายการดังกล่าวก่อนยกขึ้นติดตั้ง ได้แก่
- จำนวนโครงคร่าว
- ความหนาไม้อัดสำหรับทำแบบต้อง = 15 ซม. เท่านั้น
- ต้องทำความสะอาดผิวไม้แบบ และทาด้วยน้ำมันทาแบบทุกครั้ง
5. ยกแบบเสาขึ้นติดตั้งและยึดตีนเสาไว้กับไม้ตีนแบบ
6. ติดตั้งโซ่ หรือสลิงยึดรั้งปากแบบ 4 มุม พร้อมกับ Turn Buckle เพื่อจัดดิ่งเสา
หมายเหตุ - โซ่ / สลิง = 3 หุน
- Turn Buckle = 5 หุน
- เช็คดิ่ง > 1/400
7. ติดตั้งเหล็กรัดเสาระยะห่างตาม Form work Assembly ขัดให้แน่น
8. เช็คดิ่งเสาโดยใช้ลูกดิ่งอย่างน้อย 2 ด้าน โดยเช็คที่ตำแหน่งใกล้ปากแบบและตีนเสา
9. อุดรูที่ตีนเสาและรอยต่อแบบ


ขั้นตอนการเทเสาคอนกรีต

1. ช่วงก่อนเทคอนกรีต
- เทน้ำปูน - ทรายลงไปในเสา ประมาณ 1-2 กระป๋อง ตอนที่รถปูนมาถึงหน้างาน (ห้ามเททิ้งไว้ก่อน)
- หย่อนสายไว้เบรเตอร์ลงไปให้ถึงตีนเสาโดยยังไม่ต้องติดเครื่อง ขนาดหัวไวเบรเตอร์ 1 1/2 x 2"
2. ช่วงระหว่างเทคอนกรีต
- การเทคอนกรีตให้เปิดเทครั้งละ 1/4 ของ Bucket กรณีขนาดของ Bucket = 0.5 คิว แล้วจี้ไวเบรเตอร์ พร้อมกับใช้
ฆ้อนยางเคาะที่ข้างแบบทุกครั้ง
หมายเหตุ ความสูงของคอนกรีตแต่ละชั้น > 1/400 0.75 m.
- กรณี Load คอนกรีตลง Bucket จะต้อง Check Slump ปูนก่อนทุกคัน Slump 7.5 + 2.5 ซ.ม. Slump ไม่ได้ให้สั่ง
รถปูนกลับทันที ห้ามเติมน้ำ
- การสั่งปูนเพื่อมาเทเสาคอนกรีต ไม่ควรสั่งมากกว่า 2 คิว เพราะจะทำให้ปูนข้นโม่ไม่ได้ Slump ตามที่ต้องการ
- เมื่อเทคอนกรีตใกล้เคียงระดับที่ต้องการแล้ว ควรเทต่อด้วยการใช้ถังปูนรับปูนจาก Bucket ก่อนแทนการเท
Bucket ลงเสาโดยตรง เพื่อให้สามารถควบคุมระดับหัวเสาได้เพื่อไม่ต้องไปสกัดหัวเสาทีหลัง
3. ช่วงหลังเทคอนกรีต
- เช็คดิ่งเสาอีกครั้งทันทีหลังเทคอนกรีตเสร็จใหม่ ๆ ถ้า เสาล้ม > 1/400 ต้องรีบปรับดิ่งเสาใหม่ทันที
ขณะที่คอนกรีตยังไม่ Set ตัว
- ทำความสะอาดเหล็กเสริมเสาชั้นต่อไปทุกครั้งก่อนเสร็จงาน
หมายเหตุ 1. ถ้าเสาเป็นโพรง (Honey Comp) จนต้องตัดทิ้ง จะหักค่าใช้จ่ายจากผลงานผู้รับเหมา
2. ถ้าเทเสาสูงกว่าระดับที่ต้องการ ค่าแรง + ค่าเช่า Jackhammer จะหักค่าใช้จ่ายจากผลงาน
ผู้รับเหมา


การหล่อเสาสำเร็จรูป

การตรวจสภาพชั้นดิน


Method Statement การตรวจสอบสภาพชั้นดิน

เพื่อหาข้อมูลและรายละเอียดของชั้นดินประกอบการออกแบบฐานรากอาคาร ให้เป็นไปอย่างประหยัด และ ปลอดภัย
ตามหลัก วิศวกรรม โดยเจาะดินและเก็บตัวอย่างทดสอบ ทั้งในสนามและในห้องปฏิบัติการ หาค่าความต้านทาน คุณสมบัติทาง
วิศวกรรมและจำแนกชนิดของชั้นดิน เพื่อทำ SOIL PROFILE การทำทดสอบต่าง ๆ ทั้งในสนามและห้องปฏิบัติการทดลอง ให้ถือตามมาตรฐาน ASTM และในระหว่างที่เจาะสำรวจมี SOIL ENGINEER หรือ TECHNICIAN ที่มีความรู้และความชำนาญด้าน SOIL ENGINEERING โดยเฉพาะควบคุมใกล้ชิดตลอดเวลา

วิธีการเจาะสำรวจ
1. การเจาะในชั้นดินอ่อน ให้ใช้ AUGER เท่านั้น สำหรับในชั้นดิน แข็งมาก หรือชั้นทราย ให้ใช้ WASH BORING ได้
2. จะเจาะสำรวจชั้นดิน เก็บตัวอย่างและทดสอบ SPT ความลึกประมาณ 20 เมตร หรือถึงชั้นดินแน่นมาก ที่มีค่า
SPT มากกว่า 50 ครั้ง / ฟุต ไปแล้ว หนาไม่ต่ำกว่า 4 - 5 เมตร แล้วแต่กรณีไหนจะถึงก่อน หรือหยุดเมื่อพบชั้นหน้าหินหรือกรวดแน่นมาก

การเก็บตัวอย่างและทดสอบในสนาม
1. เก็บตัวอย่างที่ความลึก 1.0 , 5, 2.0, และ 3.0 เมตร และต่อไปทุกช่วง 1.5 เมตร และที่ดินเปลี่ยนชั้น
2. เก็บตัวอย่าง UNDISTURBED ด้วยกระบอกบาง ที่มีเส้นผ่าศูนย์กลาง 21/4 นิ้ว สำหรับชั้นดินอ่อน และแข็งปานกลาง
โดยวิธีการกดกระบอกไฮโดรลิกจากเครื่องเจาะ
3. เก็บตัวอย่าง DISTURBED ด้วยกระบอกผ่า พร้อมทั้งทดสอบ STANDARD PENETRATION TEST (SPT) สำหรับ
ชั้นดินแข็งมาก และชั้นทราย
4. ตัวอย่างดินเหนียวที่ได้ ให้ทดสอบความแข็งด้วย POCKET PENETROMETER เพื่อหาค่า UNDRAINED SHEAR
STRENGTH ทันทีเมื่อได้ตัวอย่างขึ้นมาจากหลุมเจาะ
5. ตัวอย่างดินที่เก็บไม่ติด (NO RECOVERY) ให้ทำการเก็บซ้ำอีกครั้งเพื่อให้ได้ตัวอย่างดิน
6. บรรจุตัวอย่างที่เก็บได้ทั้งหมดไว้ในขวดแก้วใส และปิดให้มิดชิดป้องกันไอน้ำระเหยออก
7. บันทึกและหาความลึกที่ดินเปลี่ยนชั้นทุกครั้ง
8. วัดระดับน้ำในหลุมทุกเช้าก่อนเริ่มงานเจาะต่อไป และภายหลังจากเจาะเสร็จแล้ว 24 ชั่วโมง
9. ประมาณค่าความแตกต่างของระดับผิวดินแต่ละปากหลุม

งานเสาเข็ม

หลักการตัดหัวเข็ม


Method Statement for Pile cut off

1. Check ขนาดของ Footing และระดับของ Pile cut off ก่อนลงมือขุด
2. ให้ทำระดับไว้ที่เสาเข็มก่อนขุด การขุดให้เผื่อระยะการทำงานออกไปข้างละประมาณ 0.50-1.00 เมตร
จากแนวขนาดของ Footing โดยการโรยปูนขาว หรือ Mark ตำแหน่งที่ขุดให้แน่นอน
3. ในขณะขุดห้ามกองดินไว้ที่บริเวณปากหลุมเป็นอันขาด
4. เมื่อขุดแล้วปรากฏว่ามีน้ำใต้ดินไหลออกมา ให้ขุดเผื่อ เครื่องสูบน้ำลงได้ และต้องทำบ่อ Sump
เพื่อให้ง่ายต่อการสูบน้ำออก
5. ในขณะขุดดิน จะต้องระวังไม่ให้เครื่องจักรโดนหัวเสาเข็มเป็นอันขาด " จะต้องคอยชี้บอกตำแหน่งให้
Operator รู้ตำแหน่งของเสาเข็ม " โดย Foreman หน้างานต้องระวังในขณะขุดเสมอ
6. การหาระดับตัดเสาเข็ม ให้ Surveyor เป็นผู้ถ่ายระดับมาฝากไว้ให้ และ Foreman เป็นผู้หาค่าระดับ Pile cut off เอง
7. เมื่อขุดเสร็จถ้าเป็นไปได้ควรเท Lean ให้เร็วที่สุด
8. การตัดเสาเข็ม คนงานต้องมีอุปกรณ์ Safety พร้อม เช่น แว่นตา กัน สะเก็ด Ear Plug สายพ่วงสำหรับต่ออุปกรณ์ไฟฟ้า
และ สายไฟ จะต้องไม่แช่น้ำเด็ดขาด
9. เมื่อตัดเสร็จควรตรวจสอบสภาพของเสาเข็มว่าสมบูรณ์ ดี หรือไม่ ถ้าอยู่ในสภาพไม่สมบูรณ์ ให้แจ้ง
วิศวกร ทราบทันที


งานเสาเข็ม

การสำรวจสภาพดินเพื่อการออกแบบงานที่เกี่ยวข้อง

การป้องกันดินเคลื่อนตัวออกด้านข้าง

Method Statement for Protect soil sliding

ขั้นตอนการป้องกันดินเคลื่อนตัวออกด้านข้าง

1. การเตรียมการ
1.1 ตรวจสอบสภาพพื้นที่ อาคารข้างเคียงที่จะป้องกันความเสียหายจากการตอกเข็ม
1.2 วางแผน Line การขุดล่วงหน้าสำรวจดูว่ามีท่อหรือสิ่งก่อสร้างอยู่ในพื้นที่ หรือ Line ที่จะขุดหรือไม่
1.3 เตรียมเครื่องจักรให้พร้อม Backhoe, รถหกล้อเล็ก

2. วิธีการขุดคูดินป้องกันแรงสั่นสะเทือน
2.1 วาง Line โดยการโรยปูนขาว หรือ ตอกหมุด Peg เป็นช่วง ๆ ตลอดความยาวของอาคารที่จะป้องกัน
2.2 ขุดลอกดินตลอดแนวที่จะป้องกันโดยใช้ Backhoe หรือ JCB ในการขุดถ้าพื้นที่ไม่พอที่จะ Stock ดินควรใช้
รถหกล้อวิ่งดินออกไป Stock ข้างนอก
2.3 ขุดลอกดินให้ลึกประมาณ 1.00 ม. กว้าง ประมาณ 1.00 เมตร ยาวตลอดแนวอาคารที่จะป้องกัน
2.4 เมื่อขุดร่องเสร็จให้ปล่อยน้ำเข้าให้เต็มร่อง เพื่อช่วยลดแรงสั่นสะเทือนในระดับ บน ๆ
หมายเหตุ ป้องกันแรงสั่นสะเทือนได้ในระดับบน ๆ และการเคลื่อนตัวด้านข้างไปยังอาคารข้างเคียง

3. วิธีในการป้องกันความเสียหายจากการสั่นสะเทือนและการแทนที่ดิน
1 วิธีตอก Sheet Pile
2 วิธีตอกเข็มโดยบังคับทิศทางการเคลื่อนตัวของดินออกจากอาคารเดิม
3 วิธีขุดคูโดยรอบ บริเวณอาคารข้างเคียง
4 การเลือกขนาดตุ้มตอกให้เหมาะสมและการยกระดับตุ้มให้พอดี
5 วิธีการเลือกใช้เข็มเหล็กรูปพรรณ

การตรวจค่ายุบตัวของคอนกรีต


Method Statement of Slump test

อุปกรณ์

1. โคนรูปทรงกรวยตัดเส้นผ่านศูนย์กลางด้านบน 10 ซ.ม. และด้านล่าง 20 ซ.ม. สูง 30 ซ.ม. มีหูจับ
และแผ่นเหล็กยื่นออกมาให้เท้าเหยียบทั้ง 2 ข้าง
2. เหล็กกระทุ้งขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 16 ซ.ม. ยาว 60 ซ.ม. ปลายกลม มน
3. แผ่นเหล็กสำหรับรอง
4. ช้อนตัก เกรียงเหล็ก ตลับเมตร หรือ ไม้วัด

วิธีทดสอบ
1. นำอุปกรณ์จุ่มน้ำให้เปียก
2. วางแผ่นเหล็กลงกับพื้นราบ นำโคนขึ้นวางใช้เท้าเหยียบ หูจับ ทั้ง 2 ข้าง
3. ใช้ช้อนตัก ตักคอนกรีตใส่ลงในโคนโดยแบ่งเป็น 3 ชั้น แต่ละชั้นให้มีปริมาตรเท่า ๆ กัน
ชั้นที่ 1 ใส่คอนกรีต ในโคนสูงประมาณ 6-7 ซ.ม. กระทุ้งด้วยเหล็กกระทุ้งชั้นละ 25 ครั้ง
ให้กระจายทั่วผิวหน้าอย่างสม่ำเสมอ ตัดคอนกรีตใส่ในชั้นที่ 2 ประมาณ 9 ซ.ม. กระทุ้งอีก 25 ครั้ง
ให้ทะลุลงไปชั้นแรกด้วย ชั้นที่ 3 ใส่จนเต็ม กระทุ้งให้ทุละลงชั้นที่ 2 จำนวน 25 ครั้ง ทั่วบริเวณ
ผิวหน้าแล้วปาด ผิวหน้าคอนกรีตให้เรียบร้อย ทั้งทำความสะอาด บริเวณโคน และแผ่นเหล็กรองให้เรียบร้อย
4. ดึงโคนขึ้นตรง ๆ ไม่ต้องหมุน
5. วางโคนลงข้าง ๆ ของกองคอนกรีต แล้ววัดค่าการยุบตัวของคอนกรีต

Remark : ค่ายุบตัว คือค่าระยะ ที่คอนกรีตยุบตัวจากเดิม โดยวัดที่จุดกึ่งกลางของคอนกรีตที่ยุบตัวในการวัด
ให้ละเอียด 0.5 ซม.

การจี้คอนกรีตที่ถูกต้อง