18 กันยายน 2551
การตรวจสภาพชั้นดิน
Method Statement การตรวจสอบสภาพชั้นดิน
เพื่อหาข้อมูลและรายละเอียดของชั้นดินประกอบการออกแบบฐานรากอาคาร ให้เป็นไปอย่างประหยัด และ ปลอดภัย
ตามหลัก วิศวกรรม โดยเจาะดินและเก็บตัวอย่างทดสอบ ทั้งในสนามและในห้องปฏิบัติการ หาค่าความต้านทาน คุณสมบัติทาง
วิศวกรรมและจำแนกชนิดของชั้นดิน เพื่อทำ SOIL PROFILE การทำทดสอบต่าง ๆ ทั้งในสนามและห้องปฏิบัติการทดลอง ให้ถือตามมาตรฐาน ASTM และในระหว่างที่เจาะสำรวจมี SOIL ENGINEER หรือ TECHNICIAN ที่มีความรู้และความชำนาญด้าน SOIL ENGINEERING โดยเฉพาะควบคุมใกล้ชิดตลอดเวลา
วิธีการเจาะสำรวจ
1. การเจาะในชั้นดินอ่อน ให้ใช้ AUGER เท่านั้น สำหรับในชั้นดิน แข็งมาก หรือชั้นทราย ให้ใช้ WASH BORING ได้
2. จะเจาะสำรวจชั้นดิน เก็บตัวอย่างและทดสอบ SPT ความลึกประมาณ 20 เมตร หรือถึงชั้นดินแน่นมาก ที่มีค่า
SPT มากกว่า 50 ครั้ง / ฟุต ไปแล้ว หนาไม่ต่ำกว่า 4 - 5 เมตร แล้วแต่กรณีไหนจะถึงก่อน หรือหยุดเมื่อพบชั้นหน้าหินหรือกรวดแน่นมาก
การเก็บตัวอย่างและทดสอบในสนาม
1. เก็บตัวอย่างที่ความลึก 1.0 , 5, 2.0, และ 3.0 เมตร และต่อไปทุกช่วง 1.5 เมตร และที่ดินเปลี่ยนชั้น
2. เก็บตัวอย่าง UNDISTURBED ด้วยกระบอกบาง ที่มีเส้นผ่าศูนย์กลาง 21/4 นิ้ว สำหรับชั้นดินอ่อน และแข็งปานกลาง
โดยวิธีการกดกระบอกไฮโดรลิกจากเครื่องเจาะ
3. เก็บตัวอย่าง DISTURBED ด้วยกระบอกผ่า พร้อมทั้งทดสอบ STANDARD PENETRATION TEST (SPT) สำหรับ
ชั้นดินแข็งมาก และชั้นทราย
4. ตัวอย่างดินเหนียวที่ได้ ให้ทดสอบความแข็งด้วย POCKET PENETROMETER เพื่อหาค่า UNDRAINED SHEAR
STRENGTH ทันทีเมื่อได้ตัวอย่างขึ้นมาจากหลุมเจาะ
5. ตัวอย่างดินที่เก็บไม่ติด (NO RECOVERY) ให้ทำการเก็บซ้ำอีกครั้งเพื่อให้ได้ตัวอย่างดิน
6. บรรจุตัวอย่างที่เก็บได้ทั้งหมดไว้ในขวดแก้วใส และปิดให้มิดชิดป้องกันไอน้ำระเหยออก
7. บันทึกและหาความลึกที่ดินเปลี่ยนชั้นทุกครั้ง
8. วัดระดับน้ำในหลุมทุกเช้าก่อนเริ่มงานเจาะต่อไป และภายหลังจากเจาะเสร็จแล้ว 24 ชั่วโมง
9. ประมาณค่าความแตกต่างของระดับผิวดินแต่ละปากหลุม
งานเสาเข็ม
หลักการตัดหัวเข็ม
Method Statement for Pile cut off
1. Check ขนาดของ Footing และระดับของ Pile cut off ก่อนลงมือขุด
2. ให้ทำระดับไว้ที่เสาเข็มก่อนขุด การขุดให้เผื่อระยะการทำงานออกไปข้างละประมาณ 0.50-1.00 เมตร
จากแนวขนาดของ Footing โดยการโรยปูนขาว หรือ Mark ตำแหน่งที่ขุดให้แน่นอน
3. ในขณะขุดห้ามกองดินไว้ที่บริเวณปากหลุมเป็นอันขาด
4. เมื่อขุดแล้วปรากฏว่ามีน้ำใต้ดินไหลออกมา ให้ขุดเผื่อ เครื่องสูบน้ำลงได้ และต้องทำบ่อ Sump
เพื่อให้ง่ายต่อการสูบน้ำออก
5. ในขณะขุดดิน จะต้องระวังไม่ให้เครื่องจักรโดนหัวเสาเข็มเป็นอันขาด " จะต้องคอยชี้บอกตำแหน่งให้
Operator รู้ตำแหน่งของเสาเข็ม " โดย Foreman หน้างานต้องระวังในขณะขุดเสมอ
6. การหาระดับตัดเสาเข็ม ให้ Surveyor เป็นผู้ถ่ายระดับมาฝากไว้ให้ และ Foreman เป็นผู้หาค่าระดับ Pile cut off เอง
7. เมื่อขุดเสร็จถ้าเป็นไปได้ควรเท Lean ให้เร็วที่สุด
8. การตัดเสาเข็ม คนงานต้องมีอุปกรณ์ Safety พร้อม เช่น แว่นตา กัน สะเก็ด Ear Plug สายพ่วงสำหรับต่ออุปกรณ์ไฟฟ้า
และ สายไฟ จะต้องไม่แช่น้ำเด็ดขาด
9. เมื่อตัดเสร็จควรตรวจสอบสภาพของเสาเข็มว่าสมบูรณ์ ดี หรือไม่ ถ้าอยู่ในสภาพไม่สมบูรณ์ ให้แจ้ง
วิศวกร ทราบทันที
งานเสาเข็ม
การสำรวจสภาพดินเพื่อการออกแบบงานที่เกี่ยวข้อง
การป้องกันดินเคลื่อนตัวออกด้านข้าง
Method Statement for Protect soil sliding
ขั้นตอนการป้องกันดินเคลื่อนตัวออกด้านข้าง
1. การเตรียมการ
1.1 ตรวจสอบสภาพพื้นที่ อาคารข้างเคียงที่จะป้องกันความเสียหายจากการตอกเข็ม
1.2 วางแผน Line การขุดล่วงหน้าสำรวจดูว่ามีท่อหรือสิ่งก่อสร้างอยู่ในพื้นที่ หรือ Line ที่จะขุดหรือไม่
1.3 เตรียมเครื่องจักรให้พร้อม Backhoe, รถหกล้อเล็ก
2. วิธีการขุดคูดินป้องกันแรงสั่นสะเทือน
2.1 วาง Line โดยการโรยปูนขาว หรือ ตอกหมุด Peg เป็นช่วง ๆ ตลอดความยาวของอาคารที่จะป้องกัน
2.2 ขุดลอกดินตลอดแนวที่จะป้องกันโดยใช้ Backhoe หรือ JCB ในการขุดถ้าพื้นที่ไม่พอที่จะ Stock ดินควรใช้
รถหกล้อวิ่งดินออกไป Stock ข้างนอก
2.3 ขุดลอกดินให้ลึกประมาณ 1.00 ม. กว้าง ประมาณ 1.00 เมตร ยาวตลอดแนวอาคารที่จะป้องกัน
2.4 เมื่อขุดร่องเสร็จให้ปล่อยน้ำเข้าให้เต็มร่อง เพื่อช่วยลดแรงสั่นสะเทือนในระดับ บน ๆ
หมายเหตุ ป้องกันแรงสั่นสะเทือนได้ในระดับบน ๆ และการเคลื่อนตัวด้านข้างไปยังอาคารข้างเคียง
3. วิธีในการป้องกันความเสียหายจากการสั่นสะเทือนและการแทนที่ดิน
1 วิธีตอก Sheet Pile
2 วิธีตอกเข็มโดยบังคับทิศทางการเคลื่อนตัวของดินออกจากอาคารเดิม
3 วิธีขุดคูโดยรอบ บริเวณอาคารข้างเคียง
4 การเลือกขนาดตุ้มตอกให้เหมาะสมและการยกระดับตุ้มให้พอดี
5 วิธีการเลือกใช้เข็มเหล็กรูปพรรณ
ขั้นตอนการป้องกันดินเคลื่อนตัวออกด้านข้าง
1. การเตรียมการ
1.1 ตรวจสอบสภาพพื้นที่ อาคารข้างเคียงที่จะป้องกันความเสียหายจากการตอกเข็ม
1.2 วางแผน Line การขุดล่วงหน้าสำรวจดูว่ามีท่อหรือสิ่งก่อสร้างอยู่ในพื้นที่ หรือ Line ที่จะขุดหรือไม่
1.3 เตรียมเครื่องจักรให้พร้อม Backhoe, รถหกล้อเล็ก
2. วิธีการขุดคูดินป้องกันแรงสั่นสะเทือน
2.1 วาง Line โดยการโรยปูนขาว หรือ ตอกหมุด Peg เป็นช่วง ๆ ตลอดความยาวของอาคารที่จะป้องกัน
2.2 ขุดลอกดินตลอดแนวที่จะป้องกันโดยใช้ Backhoe หรือ JCB ในการขุดถ้าพื้นที่ไม่พอที่จะ Stock ดินควรใช้
รถหกล้อวิ่งดินออกไป Stock ข้างนอก
2.3 ขุดลอกดินให้ลึกประมาณ 1.00 ม. กว้าง ประมาณ 1.00 เมตร ยาวตลอดแนวอาคารที่จะป้องกัน
2.4 เมื่อขุดร่องเสร็จให้ปล่อยน้ำเข้าให้เต็มร่อง เพื่อช่วยลดแรงสั่นสะเทือนในระดับ บน ๆ
หมายเหตุ ป้องกันแรงสั่นสะเทือนได้ในระดับบน ๆ และการเคลื่อนตัวด้านข้างไปยังอาคารข้างเคียง
3. วิธีในการป้องกันความเสียหายจากการสั่นสะเทือนและการแทนที่ดิน
1 วิธีตอก Sheet Pile
2 วิธีตอกเข็มโดยบังคับทิศทางการเคลื่อนตัวของดินออกจากอาคารเดิม
3 วิธีขุดคูโดยรอบ บริเวณอาคารข้างเคียง
4 การเลือกขนาดตุ้มตอกให้เหมาะสมและการยกระดับตุ้มให้พอดี
5 วิธีการเลือกใช้เข็มเหล็กรูปพรรณ
การตรวจค่ายุบตัวของคอนกรีต
Method Statement of Slump test
อุปกรณ์
1. โคนรูปทรงกรวยตัดเส้นผ่านศูนย์กลางด้านบน 10 ซ.ม. และด้านล่าง 20 ซ.ม. สูง 30 ซ.ม. มีหูจับ
และแผ่นเหล็กยื่นออกมาให้เท้าเหยียบทั้ง 2 ข้าง
2. เหล็กกระทุ้งขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 16 ซ.ม. ยาว 60 ซ.ม. ปลายกลม มน
3. แผ่นเหล็กสำหรับรอง
4. ช้อนตัก เกรียงเหล็ก ตลับเมตร หรือ ไม้วัด
วิธีทดสอบ
1. นำอุปกรณ์จุ่มน้ำให้เปียก
2. วางแผ่นเหล็กลงกับพื้นราบ นำโคนขึ้นวางใช้เท้าเหยียบ หูจับ ทั้ง 2 ข้าง
3. ใช้ช้อนตัก ตักคอนกรีตใส่ลงในโคนโดยแบ่งเป็น 3 ชั้น แต่ละชั้นให้มีปริมาตรเท่า ๆ กัน
ชั้นที่ 1 ใส่คอนกรีต ในโคนสูงประมาณ 6-7 ซ.ม. กระทุ้งด้วยเหล็กกระทุ้งชั้นละ 25 ครั้ง
ให้กระจายทั่วผิวหน้าอย่างสม่ำเสมอ ตัดคอนกรีตใส่ในชั้นที่ 2 ประมาณ 9 ซ.ม. กระทุ้งอีก 25 ครั้ง
ให้ทะลุลงไปชั้นแรกด้วย ชั้นที่ 3 ใส่จนเต็ม กระทุ้งให้ทุละลงชั้นที่ 2 จำนวน 25 ครั้ง ทั่วบริเวณ
ผิวหน้าแล้วปาด ผิวหน้าคอนกรีตให้เรียบร้อย ทั้งทำความสะอาด บริเวณโคน และแผ่นเหล็กรองให้เรียบร้อย
4. ดึงโคนขึ้นตรง ๆ ไม่ต้องหมุน
5. วางโคนลงข้าง ๆ ของกองคอนกรีต แล้ววัดค่าการยุบตัวของคอนกรีต
Remark : ค่ายุบตัว คือค่าระยะ ที่คอนกรีตยุบตัวจากเดิม โดยวัดที่จุดกึ่งกลางของคอนกรีตที่ยุบตัวในการวัด
ให้ละเอียด 0.5 ซม.
การจี้คอนกรีตที่ถูกต้อง
งานติดตั้งโครงหลังคาเหล็ก
Method Statement การติดตั้งโครงหลังคา
1. ให้ตรวจสอบความหนาของสีให้ถูกต้อง ตัวอย่าง
- Sale area Rust paint 50 Microns + Acrylcote Finish 75 Microns + Acrylcote Finish 75 Microns
- Loading area Rust paint 50 Microns + Rust paint 50 Microns
- Office area, Food court, Lease area Rust paint 50 Microns + Rust paint 30 Microns
- Fresh market, Home center Rust paint 50 Microns + Acrylcote Finish 75 Microns + Acrylcote
Finish 75 Microns
2. ให้ตรวจสอบ Dimension ของ Plate ที่จะยึดกับเสา Post ให้ตรงกับหน้างานตามความเป็นจริง ถ้ามีการปรับแก้ให้ปรับแก้
ที่ด้านล่างก่อนยกขึ้น
3. ให้เริ่มการติดตั้ง Truss ที่ Grid line ช่วงกลาง
4. ในการติดตั้ง Truss จะต้องติดตั้งให้เสร็จเป็น Block เลย ห้ามติดตั้งโดยที่ไม่ได้ยึด Truss เป็นรูปสี่เหลี่ยม
5. เมื่อติดตั้ง Truss ผ่านไป 2 Grid line ให้เริ่มทำการติดตั้งแปตาม Truss แล้วทำการใส่ Turn buckle ให้เสร็จ ห้ามติดตั้ง
Truss อย่างเดียว จะต้องทำให้สมบูรณ์
6. ในการติดตั้งแป ห้าม Stock แป ไว้เกินจำนวน และจะต้องทำการผูกรัด แปไว้กับ Truss ให้แน่นหนาทุกครั้ง
7. เมื่อติดตั้งเสร็จสมบูรณ์เป็น Block แล้ว ให้ตรวจสอบดังนี้
7.1 การ Grout ของ Non - Shink จะต้องเติม Plate
7.2 ตรวจสอบการขันน๊อตที่ Anchor bolt (ต้องมีน๊อต 2 ตัว)
7.3 ตรวจสอบการขันน๊อตที่เสา Post
7.4 ตรวจสอบการขันน๊อตที่ Turn Buckle
7.5 ตรวจสอบการขันน๊อตที่แป, Sag rod
7.6 ให้จัดทำ Report ทุกจุดที่ตรวจสอบ
Super flatfloor V.1
Method Statement for flat slab
1. เตรียมพื้นที่สำหรับเท Lean concrete ฉีดน้ำยากันปลวกตลอดพื้นที่ แล้วปูพลาสติก หนา 0.2 mm.
2. เท Lean concrete หนา 5 cm. ปาดระดับให้เรียบพอประมาณ (ระดับของ Lean concrete อยู่ระดับเดียวกับ
Drop - panel)
3. กำหนดแนวการเทพื้น เพื่อจะได้ทำการ Set เหล็กฉากปรับระดับ โดยขนาดของ Bay ในการเทนั้นไม่ควรใหญ่
มากนัก จะทำให้การควบคุมระดับทำได้ยาก วิธีการในการ Set เหล็กฉาก คือ
- กำหนดแนวในการวางเหล็กฉาก ไม่ควรห่างเกิน 6 m. (ความยาวของเหล็กกล่องปาดปูน)
- ใช้เหล็ก DB 12 ยาว ประมาณ 15 cm. เชื่อมกับแผ่น Plate เพื่อวางเป็นแนว ขาไกด์
- เชื่อมเหล็ก L - 30 x30 x 5 mm. เข้ากับ ขาไกด์ เพื่อใช้เป็นเหล็กฉากปรับระดับ
- Joint แนวริมด้านข้าง ใช้ตาข่ายกั้น Joint โดยใช้ลวดผูกกับเหล็กพื้นให้แน่นและได้ดิ่งเพื่อป้องกัน
คอนกรีตล้นออกมาก
4. ก่อนการเทควรทำการตรวจสอบ
- การวางเหล็กพื้น ระยะห่างของเหล็ก การเสริมเหล็กเสริมพิเศษให้ครบถ้วน ระยะ Covering ของปูน
- กรณีของการเท Bay ต่อจาก Bay ที่เทมาแล้วให้ทำการสกัดปูนที่เกินออกมาตามแนว Joint ให้ได้ดิ่ง แล้ว
ราดด้วยน้ำยาประสานก่อนการเท
- ความสะอาดของเหล็ก Lean concrete และ แนว Joint
5. ควรควบคุม Slump ของปูนให้อยู่ระหว่าง 10-12 cm.
6. เริ่มเทคอนกรีตจากด้านในสุดออกมา แล้วควรเทไล่ออกมาให้เป็นหน้าเพื่อป้องกันคอนกรีต Set ตัวไม่พร้อมกัน
ทำให้ปรับระดับได้ยาก
7. ในขณะเทคอนกรีตให้จี้คอนกรีตให้ทั่ว โดยเน้นบริเวณ Drop - panel ซึ่งจะมีเหล็กเสริมหนาแน่น
8. ใช้เหล็กกล่อง อะลูมิเนียม ปาดระดับตามเหล็กฉากที่ Set ไว้ โดยในขณะเดียวกันให้ Survey ทำการตรวจสอบ
เหล็กฉากด้วย เพื่อป้องกันการทรุดตัวของเหล็กฉาก อันจะทำให้คอนกรีตไม่ได้ระดับ หากคลาดเคลื่อนให้ทำการ
เชื่อมแก้ไข
9. ให้ Survey สุ่มจับค่าระดับของคอนกรีตเป็นระยะ ๆ หากสูงหรือต่ำไปให้แก้ไขทันที
ข้อควรระวัง
1. ควรทำการ Recheck เหล็กระดับก่อนการเท และในขณะเทเพื่อให้ได้ระดับที่แน่นอน
2. ในการตั้งกล้องระดับ แต่ละครั้ง ควรจะอ้างอิงมาจากจุดเดิมทุกครั้งเพื่อให้ได้ระดับเดียวกันทั้งอาคาร
3. ในการแกะเหล็กฉากแนว Joint ออก ควรทำด้วยความระมัดระวังไม่ให้เกิดรอยแตก
การทำ Trial Mix for Concrete
Method Statement Trial Mix
1. ตรวจสอบ Strength ของคอนกรีต กับผู้ออกแบบ ใช้ 240 ksc Cy และ 280 ksc Cy ที่ Slump 75+2.5 cm.
2. ให้เก็บตัวอย่าง ที่ 3 วัน 3 ลูก ของ Strength 280 ksc Cy
ให้เก็บตัวอย่าง ที่ 7 วัน 3 ลูก ของ Strength 240 ksc Cy และ 320 ksc Cy
ให้เก็บตัวอย่าง ที่ 14 วัน 3 ลูก ของ Strength 240 ksc Cy และ 320 ksc Cy
3. นัดกับ Plant Concrete เพื่อทำการเก็บตัวอย่าง โดยต้องตรวจสอบ Slump และ Strength ให้ถูกต้อง
4. ให้นำตัวอย่างขึ้นมาจากบ่อก่อน 1 วัน ก่อน ที่จะทำการทดสอบ
5. ทำการ Cab หัวตัวอย่างก่อนการทดสอบ
6. นำผลทดสอบทั้งหมดมาเขียนเป็นกราฟ
การตรวจสอบค่ายุบตัวของคอนกรีต
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)