3 มีนาคม 2553

การสำรวจพื้นที่ เพื่อวางแผนก่อสร้าง

เปิดโครงการใหม่สำหรับ PM,PE,SM และผู้ที่ได้รับมอบหมาย

การสำรวจพื้นที่ เพื่อวางแผนก่อสร้าง

การก่อสร้างอาคารสูงหรืออาคารขนาดใหญ่ ทั่วไป จำเป็นอย่างยิ่ง ที่จะต้องเข้าใจขั้นตอน และเทคนิคการสำรวจที่จำเป็นในการก่อสร้างอาคารอย่างละเอียด ตั้งแต่การรับมอบพื้นที่จากเจ้าของโครงการ การสำรวจหน้างานเบื้องต้น การตรวจสอบและรับมอบแนวอ้างอิง การสำรวจการวางผังอาคาร การกำหนดระดับอ้างอิง การตรวจสอบแนวเสาเข็ม การให้แนวผนังอาคาร การให้แนวดิ่งอาคารสูง การตรวจสอบระดับในแต่ละชั้นอาคาร การตรวจสอบระยะร่น เป็นต้น
การรับมอบพื้นที่ การตรวจรับพื้นที่ถือเป็นขั้นตอนที่สำคัญ เพราะโครงการก่อสร้างบางโครงการ กำหนดวันที่รับมอบพื้นที่เป็นวันเริ่มสัญญา
การตรวจสอบและรับมอบแนวอ้างอิง(Base Line) โดยส่วนมากจะเป็นการตรวจสอบแนว Base Line ที่กำหนดไว้เทียบกับแนวของเสาเข็มอาคาร
การกำหนดระดับอ้างอิง เป็นความต้องการของเจ้าของโครงการหรือฝ่ายออกแบบ โดยส่วนมากจะให้ยึดที่ curb footpath หรือสันถนน เป็นระดับอ้างอิง การกำหนดระดับอ้างอิงถือเป็นเรื่องสำคัญต่อผู้รับเหมาเพราะ ต้องวางแผนเรื่องงานดินถมและดินตัด
การสำรวจหน้างานเบื้องต้น
จดบันทึกและถ่ายภาพ สิ่งที่ได้จากการสำรวจเบื้องต้นได้แก่ Existing Building,ป่ารกทึบ ต้นไม้ใหญ่,เสา สายไฟฟ้าโทรศัพท์,คลองหรือร่องน้ำสาธารณะ ,บ่อน้ำหรือสระ เป็นต้น สิ่งเหล่านี้มีผลต่อการวางแผนงานช่วงเริ่มต้นเป็นอย่างมาก และสิ่งที่ PM,PE,SM ต้องให้ความสำคัญและต้องดำเนินควบคู่กันไป ได้แก่
1 Facility

1.1 Facility for staff คือการจัดเตรียม/จัดหาที่พักสำหรับ staff ที่จะมาเริ่มมาทำงานในโครงการ ที่พัก staff ควรจะสะดวกสบายใกล้ที่ทำงาน ไม่แออัด ใช้แนวคิด ทำงานหนัก ที่พักสบาย วางแผนแก้ปัญหาเรื่องน้ำ,ไฟ หรือรถรับส่งกรณีที่พักอยู่ห่างไกล อันเนื่องมาจากโครงการก่อสร้างอยู่ย่านธุรกิจ


1.2 Facility for Labour ไดแก่การจัดหา บ้านพักคนงาน แบ่งเป็น 2 กรณี
1.2.1 สร้าง Camp กรณีโครงการ มีระยะเวลานานมากกว่า 1 ปี หรือโครงการอยู่ในพื้นที่ทุรกันดาร
1.2.2 เช่า ตึก/ อาคาร กรณีโครงการระยะสั้นหรือมีอาคารขนาดใหญ่ใกล้เคียงพื้นที่ก่อสร้าง
ข้อแนะนำในการจัดหา Labour Camp ปัญหาที่อาจเกิดขึ้น คือ คนงานเยอะ แต่ไม่ได้เตรียมแผนเรื่องน้ำ ,ไฟ ถ้ามีปัญหาเรื่องน้ำ,ไฟ จะก่อให้เกิดปัญหาต่อคนงาน และ ความก้าวหน้าเป็นอย่างมาก
ปัญหาเรื่อง น้ำประปา, ไฟฟ้า ถ้าเป็นบ้านพัก/ หอพัก Staff จะไม่ค่อยมีปัญหาเนื่องจากมีการติดตั้งไว้แล้ว กรณีเป็น Labour Camp คนงานพักอาศัยจำนวนมาก PM,PE,SM ต้องดำเนินการดังนี้
ทำเองหรือมอบหมายให้ผู้ช่วยไปติดต่อส่วนราชการที่เกี่ยวข้อง เช่น

ไฟฟ้าชั่วคราว การดำเนินการคือ ไปแจ้งความประสงค์จะใช้ไฟฟ้า ทางการไฟฟ้าจะตอบกลับมาว่าให้เราเตรียมเอกสารอะไรบ้าง แล้วแจ้งไปยัง Head Office/แผนกที่มีหน้าที่รับผิดชอบ สำหรับส่วนราชการอื่นๆ ก็มีลักษณะที่คล้ายกัน

1.3 Facility อื่นๆ ความหมายคือ การเตรียมการและจัดการความสะดวกสบายให้พนักงานที่จะเข้ามาทำงานในโครงการ ได้แก่วัสดุอุปกรณ์เครื่องมือรวมทั้งสวัสดิการอื่นๆ ที่เหมาะสม ตามกฎของ บริษัท เพื่อให้พนักงานทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ

2. Site Layout
เมื่อ PM,PE,SM ไปสำรวจที่หน้างานครั้งแรก ( ควรจะมีแบบ lay out plan ประกอบด้วย ) PM,PE,SM ต้องตรวจสอบว่า
1. พื้นที่ ที่เป็นส่วนก่อสร้าง ไม่ควรทำเป็น Site Facility
2. ให้ยึดคติที่ว่า Staff ทำงานหนักต้องมีที่นั่งทำงานสะดวกสบาย เพื่อให้สมดุลกับการทำงาน พยายามจัดหา Site Office ให้เร็วทีสุด ทางที่ดีควรติดกับโครงการ ยกเว้นหาไม่ได้ควรตั้ง Site Office ให้อยู่ในเขต green area/land&hard scape นอกจาก Site Office ที่ต้องสร้างในพื้นที่โครงการแล้ว ก็จะมี Temporaryสิ่งปลูกสร้างชั่วคราวดังนี้
store / Maintenance / EE/ Rebar Shop/ Fab Shop และ อื่นๆ สิ่งเหล่านี้ต้องการพื้นที่ในการทำงานทั้งนั้น
: ฉะนั้นให้ PM นำ Lay out plan มาตรวจสอบเพื่อกำหนดตำแหน่งที่จะทำ Temporary
* สำคัญมาก เมื่อเข้าพื้นที่ต้องรีบสร้าง Site Office ให้เสร็จเร็วที่สุด
อุปกรณ์ / สำนักงาน Site Office จะทำงานได้อย่างมีคุณภาพต้องมีน้ำ ไฟฟ้า,แอร์เย็น,อุปกรณ์สำนักงานทั้งหมด
* Site Office ต้องเขียนแบบขึ้นให้เหมาะตามสภาพโครงการ หรือรูปแบบที่มาตรฐาน ( เป็นหน้าที่ของ PM/PE/SM )
ใน Site งาน ไฟฟ้าชั่วคราวในโครงการ ก็ติดต่อเหมือนกับกรณี labour Camp
เปิด Site มาหน้างานยังไม่มีไฟฟ้าใช้ ให้สั่งเครื่องปั่นไฟมาใช้งานก่อน






3. Progress of work
ในส่วนของ Progress of work PM/PE/SM ควรจัด Organization Chart ให้เหมาะสมตามขนาดของโครงการ เช่น

3.1 ทีม admin/site secretary รับผิดชอบ บัญชีการเงิน จักซื้อ ธุรการ ค่าแรง
3.2 ทีม Office engineer และ Draftman รับผิดชอบ งานสำนักงานและแบบก่อสร้าง
3.3 ทีมหน้างาน ได้แก่ PE SM SE FM SV HM รับผิดชอบ ความก้าวหน้าของงาน
3.4 แผนกความปลอดภัยในการทำงาน
3.5 แผนกป้องกันความเสียหายทั้งบุคลากรและทรัพย์สิน
อื่น ๆ



2 พฤศจิกายน 2552

การเตรียมงานเพื่อเทคอนกรีตพื้นให้เป็น super Flat Floor

Step 1 ขั้นตอนการทำงาน เริ่มตั้งแต่ การปรับดินเทลีน คานคอดิน วางแผ่น Prestress จนถึงการเทคอนกรีตเสร็จ

1. ปรับดินเท Lean Concrete หนาประมาณ 5 ซม. เพื่อทำคานคอดินรับพื้น ข้อระวังในการทำคานคอดิน คือการควบคุมระดับหลังคานให้ใด้ระดับตามแบบก่อสร้าง เพื่อการวางแผ่น Prestress ง่ายขึ้นในระหว่างการทำงาน
2. รื้อไม้แบบคานคอดินออก ปรับระดับดินเดิมตามสภาพ แล้ว ฉีดน้ำยากำจัดปลวกลงดิน ให้ได้ตามสเป็คของผู้ออกแบบ ตามด้วยการวางแผ่น Prestress
3. วางแผนและจัดลำดับ การเทคอนกรีตพื้นออกเป็นโซน แต่ละโซนมีขนาด กว้าง x ยาว ประมาณ 20 x50 เมตร แต่โซนออกแบบรอยต่อเป็น pour strip หรือ Expantion joint ทั้งนี้เพื่อควบคุมรอยแตกร้าว ส่วนการเทคอนกรีตแต่ละครั้งควรแบ่ง strip การเทไม่ควรเกิน 6-8 เมตร เพื่อควบคุมค่าระดับของพื้น

4. การวางเหล็กเสริมควรวางให้ได้ตำแหน่ง เหล็กบนต้องอยู่บนจริง ๆ เหล็กล่างต้องอยู่ล่าง และในส่วน
Covering ต้องได้ตามที่กำหนดโดยใช้ลูกปูนและ barchair ช่วยในการจัดตำแหน่งของเหล็กเสริม

5. Construction Joint ของแต่ละ Bay ให้ใช้ตะแกรงกงไก่เป็นแบบ ด้านที่จะตัด Joint ควรยึดตะแกรงให้แน่นด้วย เหล็ก 9 mm. ตลอดแนวที่จะตัด Joint ระวังเวลา จี้คอนกรีต ถ้ายึดตะแกรงไม่ดีจะทำให้คอนกรีตทะลักล้นออกมา การติดตะแกรง ควรวางให้ได้ระนาบฉากเสมอ

5. การใส่เหล็กฉาก กันเหลี่ยมบิ่น หรือ เพื่อให้เหลี่ยมของพื้นในแนวที่ตัด Joint มีคุณภาพควรใช้เหล็กฉากใหม่ ไม่ควรใช้เหล็กเก่าเพราะอาจมีขี้ปูนติดกับเหล็กฉากอยู่ และควรทาเหล็กฉากด้วยน้ำยา หรือจาระบี เพื่อไม่ให้เหล็กฉากยึดติดกับ Concrete ตอนรื้อเหล็กฉากควรใช้เครื่องตัดร่องนำระหว่างแนวเหล็กฉาก กับคอนกรีต เพื่อป้องกันเหลี่ยมแตก การ Set ระดับ ไม่ควรเชื่อมเหล็กฉากติดกับเหล็กเสริม เพราะระดับอาจเคลื่อนได้ ก่อนเทควรให้ Survey Check ระดับให้อีกครั้ง และควรยึดค่าระดับอ้างอิงจุดเดียวกันเสมอ

6. การเสริมเหล็กกันแตกตามบริเวณ Block Out และ Opening รวมทั้งตามมุมเสา มุมหักต่างๆของคอนกรีต ต้องมี อย่างน้อย 3 เส้น โดยใช้ความยาวเท่ากับ 3 d และระยะห่างประมาณ 2.5 - 3 ซม. โดย Aggregated สามารถแทรกตัวลงได้โดยไม่มีการแยกตัว
7. การเท Concrete ควรจะเทเริ่มจาก Bay ตรงมุมออกมาก่อน หรือ ทาง วิศวกร เห็นสมควร และก่อนเท
คอนกรีต ควร Check Slump ก่อนเททุกครั้ง Slump ต้องได้ตามที่ Mix Design ไว้ ( Slump ปกติจะอยู่ที่ 10 + 1 ซม. )
8. การปาดหน้าปูนให้ใช้กล่องอลูมิเนียม หรือโครงถักอลูมิเนียมช่วยในการปาดหน้า และง่ายต่อการ Check ระดับของผิวคอนกรีต

9. การเท Concrete ใน Bay ต่อไปควรสะกัดคอนกรีตที่ล้นออกนอกตะแกรงกงไก่ก่อนเทคอนกรีตใหม่เสมอ

การตรวจสอบก่อนการเทคอนกรีต และระหว่างการเทคอนกรีต
- ตรวจสอบระดับของ lean Concrete และความเรียบร้อยของพลาสติก Sheet
- ตรวจสอบแนววางท่อ และระดับของลวดอัดแรงให้ได้ตามแบบ
- ตรวจสอบงานระบบที่อยู่ใต้พื้นให้ตรงตามแบบ
- ตรวจสอบเหล็กเสริมตามช่องเปิด และ joint รวมทั้งบริเวณสมอยึด (Anchorage)
- ตรวจสอบเหล็กฉาก ว่าได้ระดับเท และได้แนว และมีความแข็งแรง
- ตรวจสอบว่ามีการจี้ปูนสม่ำเสมอ และ slump ในการเทต้องได้ตามกำหนด
- ตรวจสอบการปาดปูน ปรับระดับด้วยโครงถักอลูมิเนียม และเช็คด้วยกล้องระดับ
- ถ้าเหล็กเสริมติดแนว tendon ให้ขยับเหล็กเสริมออกจากแนว tendon ห้ามหักงอ tendon เพื่อหลบเหล็กเสริมซึ่งจะทำให้เกิด
friction loss สูง
- แนวการเทคอนกรีตต้องเป็นแนวเดียวกันตลอดห้ามเทตัดขวางกันเป็นสามแยก
ข้อควรระวัง
1. ไม่ควรให้คนงานเดินบนเหล็กเสริมเพราะอาจทำให้เหล็กคด งอ เสียรูปทรงได้
2. ก่อนเทคอนกรีต ทุกครั้งควรให้ Survey มา Recheck ระดับก่อนเสมอ และใช้ค่าระดับที่จุดเดียวกัน
3. ก่อนเทคอนกรีตควรลดระดับเผื่องาน Finishing ตามแบบไว้ก่อนเสมอ
4. ก่อนเทคอนกรีต ควรลงน้ำยากันปลวกก่อน 1 วัน
5. ต้องทำความสะอาดแบบก่อนเทคอนกรีตทุกครั้ง
6 เพื่อความสวยงามของพื้นคอนกรีตควร Set ตำแหน่งรอยต่อ joint ให้หลบในที่ลับตาหรือบริเวณที่มีสิ่งของมาบังไว้
7 การเก็บน้ำปูนหรือขี้ปูนที่ล้นเข้าไปใน Concrete Bay เก่าและเก็บรอยต่อให้ดี ถ้าเก็บไม่ดีจะเกิดเป็นรอยตะเข็บเกิดขึ้น
8 ในบริเวณจุดตัว Joint ให้เป็นสี่แยกตลอด และไม่ควรตัด Joint ให้เป็นมุมฉากมุม, มุมเว้า
9 ในส่วนพื้นที่โครงสร้างต่างชนิดกันควรตัด Joint แยกจากกันเป็น Slab on ground กับ Slab on beam
10 ตรงส่วนมุมเว้า มุมแหลม ควรเสริมเหล็กกันแตกเสมอ รวมถึงบริเวณ Block out วงกบ โดยใช้ความยาวเท่ากับ 3 d
Step 2 ขั้นตอนการขัดมันด้วยผง FLOOR HARDENER


http://mybuilt.blogspot.com

Tower crane วัสดุและการติดตั้ง










http://mybuilt.blogspot.com

ลิฟท์ขนส่งวัสดุชั่วคราว


ความปลอดภัยในการทำงานก่อสร้างว่าด้วยลิฟท์ขนส่งวัสดุชั่วคราว
ประกาศกระทรวงมหาดไทยเรื่อง ความปลอดภัยในการทํางานก่อสร้างว่าด้วยลิฟท์ขนส่งวัสดุชั่วคราว
อาศัยอํานาจตามความในข้อ 2 (7) แห่งประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 103 ลงวันที่ 16 มีนาคม พ.ศ.2515 กระทรวงมหาดไทยจึงกําหนดการคุมครองแรงงานในสวัสดิการเกี่ยวกับสุขภาพอนามัยและความปลอดภัยสําหรับลูกจ้างไว้ ดังต่อไปนี้



ข้อ 1 ในประกาศนี้“งานก่อสร้าง” หมายความว่า การประกอบการเกี่ยวกับการก่อสร้างอาคาร สนามบิน ทางรถไฟ ทางรถราง ท่าเรือ ทางนํ้า สะพาน ถนน การโทรเลข โทรศัพท์ ไฟฟ้า ก๊าซ หรือการประปา และหมายความรวมถึงการต่อเติม ซ่อมแซม ซ่อมบํารุง ดัดแปลง หรือรื้อถอนอาคาร หรือสิ่งก่อสร้างนั้นๆ ด้วย“อาคาร” หมายความว่า อาคารตามความหมายที่บัญญัติไว้ ในกฎหมายว่าด้วยการควบคุมอาคาร“ลิฟทขนส่งวัสดุชั่วคราว” หมายความว่า เครื่องใช้ในการก่อสร้างเพื่อขนส่งวัสดุในทางดิ่ง ประกอบด้วย หอลิฟท์ หรือปล่องลิฟท์ ตัวลิฟท์ และเครื่องจักร“หอลิฟท์” หมายความว่า โครงสร้างเป็นหอสูงจากพื้นสําหรับเป็นที่ติดตั้งตัวลิฟท์ ในงานก่อสร้างเป็นการชั่วคราว“ปล่องลิฟท์” หมายความว่า ช่องที่อยู่ภายในสิ่งก่อสร้างสําหรับใช้เป็นทางเคลื่อนขึ้นลงของตัวลิฟท์ในงานก่อสร้างเป็นการชั่วคราว“ตัวลิฟท์” หมายความว่า ที่สําหรับรองรับหรือบรรจุวัสดุ สามารถเคลื่อนย้ายขึ้นลงได้โดยใช้เครื่องจักรใน หรือนอกหอลิฟท์ หรือปล่องลิฟท์

หมวด 1การสร้างลิฟท์ขนส่งวัสดุชั่วคราว

ข้อ 2 ลิฟท์ที่มีความสูงเกินเก้าเมตร นายจ้างจะต้องจัดให้มีผู้ที่ได้รับใบอนุญาตเป็นผู้ประกอบวิชาชีพวิศวกรรมควบคุม สาขาวิศวกรรมโยธา จาก ก.ว. เป็นผู้ออกแบบและคํานวณโครงสร้าง พร้อมทั้งกําหนดรายละเอียดของหอลิฟท์ และตัวลิฟท์ อย่างน้อยให้เป็นไปตามข้อกําหนด ดังต่อไปนี้
(1) หอลิฟท์ ต้องสามารถรับนํ้าหนักได้ ไม่น้อยกว่าสองเท่าของนํ้าหนักแห่งการใช้งาน (Working Load)
(2) คานสําหรับติดตั้งรอกและฐานที่รองรับคาน ต้องมีความแข็งแรงพอที่จะรับนํ้าหนักรอก นํ้าหนักตัว ลิฟท์ และนํ้าหนักบรรทุก (Live Load) โดยมีส่วนปลอดภัย (Factor of Safety) ไม่น้อยกว่าห้า
(3) หอลิฟท์ ที่สร้างด้วยไม้ต้องสร้างด้วยไม้ที่มีหน่วยแรงดัดประลัย (Ultimate Bending Stress) ไม่น้อยกว่าแปดร้อยกิโลกรัมต่อตารางเซนติเมตร และมีส่วนปลอดภัยไม่น้อยกว่าแปด
(4) หอลิฟท์ ที่สร้างด้วยโลหะ ต้องเป็นโลหะที่มีจุดคราก (Yield Point) ไม่น้อยกว่าสองพันสี่ร้อยกิโลกรัมต่อตารางเซนติเมตร และมีส่วนปลอดภัยไม่น้อยกว่าสอง
(5) ฐานรองรับหอลิฟท์ ต้องมีความมั่นคง สามารถรับนํ้าหนักได้ไม่น้อยกว่าสองเท่าของนํ้าหนักหอลิฟท์ นํ้าหนักตัวลิฟท์ และนํ้าหนักบรรทุก
(6) ตัวลิฟท์ ต้องมั่นคงแข็งแรง สามารถรับนํ้าหนักบรรทุกได้ไม่น้อยกว่าห้าเท่าของนํ้าหนักแห่งการใช้งาน และต้องมีขอบกันของตกสูงไม่น้อยกว่าเจ็ดเซนติเมตรจากพื้นของตัวลิฟท์ โดยรวมและด้านที่มิใช่ทางขนของเข้าออกต้องมีผนังปิดกั้นด้วยไม้ หรือลวดตาข่าย มีความสูงจากพื้นของตัวลิฟท์ ไม่น้อยกว่าหนึ่งเมตร เว้นแต่ ตัวลิฟท์ที่มีลักษณะเป็นถังโลหะ ไม่ต้องมีผนังปิดกั้นก็ได้ในกรณีที่ติดตั้งลิฟท์อยู่ภายนอกหอลิฟท์ ไม่ต้องมีผนังปิดกั้นตัวลิฟท์ก็ได้
(7) หอลิฟท์ ต้องมีการยึดโยง คํ้ายัน หรือตรึงกับพื้นดินหรือตัวอาคารให้มั่นคงแข็งแรงและปลอดภัย

ข้อ 3 เครื่องจักรและอุปกรณ์อื่น ๆ ที่ใช้ยกตัวลิฟท์ นายจ้างต้องจัดให้เป็นไปตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่องความปลอดภัยในการทํางานเกี่ยวกับเครื่องจักร

ข้อ 4 ในการสร้างลิฟท์ นายจ้างต้องดําเนินการตามแบบและรายละเอียดตามข้อ 2 ข้อ 3 และตามข้อกําหนด ดังต่อไปนี้
(1) ในกรณีติดตั้งตัวลิฟท์ภายในหอลิฟท์ ต้องมีลวดตาข่ายหรือไม้ตีเว้นช่องห่างกันไม่น้อยกว่าสามเซนติเมตร แต่ไม่เกินสิบเซนติเมตร ปิดยึดแน่นกับโครงหอลิฟท์ทุกด้าน สูงไม่น้อยกว่าสองเมตรจากพื้นของหอลิฟท์ เว้นแต่ช่องที่ใช้เป็นทางขนของเข้าออก
(2) ในกรณี ติดตั้งตัวลิฟท์ภายนอกหอลิฟท์ ต้องมีรั้วกั้นป้องกันมิให้บุคคลเข้าไปในบริเวณที่อาจเป็นอันตรายเนื่องจากของตกใต้ตัวลิฟท์นั้น
(3) ทางเดินระหว่างลิฟท์กับสิ่งก่อสร้าง ต้อง
(ก) มีราวกันตกสูงไม่น้อยกว่าเก้าสิบเซนติเมตร และไม่เกินหนึ่งเมตรสิบเซนติเมตรจากพื้นทางเดิน
(ข) มีขอบกันของตกสูงไม่น้อยกว่าเจ็ดเซนติเมตรจากพื้นทางเดิน
(ค) มีไม้ หรือโลหะขวางกั้นที่สามารถปิดเปิดได้ มีความสูงไม่น้อยกว่าเก้าสิบเซนติเมตรแต่ไม่เกินหนึ่งเมตรสิบเซนติเมตร จากพื้นทางเดิน อยู่ห่างจากลิฟท์ ไม่น้อยกว่าหกสิบเซนติเมตร บนทางเดินนั้น
(4) ในกรณีที่ปล่องลิฟท์ไม่มีผนังกั้น ต้องมีรั้วที่มีความมั่นคงแข็งแรงปิดกั้นทุกด้านสูงไม่น้อยกว่าสองเมตรจากพื้นแต่ละชั้นเว้นแต่ทางเข้าออกต้องมีไม้ หรือโลหะขวางกั้นที่สามารถปิดเปิดได้ มีความสูงไม่น้อยกว่าเก้าสิบเซนติเมตร และไม่เกินหนึ่งเมตรสิบเซนติเมตรจากพื้น

ข้อ 5 เมื่อนายจ้างได้สร้างลิฟท์แล้วต้องให้วิศวกรผู้ออกแบบตามข้อ 2 หรือวิศวกรผู้ควบคุมงาน ตรวจรับรองว่าได้สร้างถูกต้องตามแบบรายละเอียดและข้อกําหนดตามข้อ 4 แล้วจึงจะใช้ลิฟท์นั้นได้ และใบรับรองของวิศวกรดังกล่าวนายจ้างจะต้องเก็บรักษาไว้ เพื่อให้พนักงานเจ้าหน้าที่กรมแรงงานตรวจดูได้ตลอดเวลาการใช้ลิฟท์นั้น

ข้อ 6 การใช้ลิฟท์ นายจ้างต้องปฏิบัติ ดังนี้
(1) ให้มีผู้ที่ได้รับการฝึกอบรมการใช้ลิฟท์มาแล้วทําหน้าที่บังคับลิฟท์ ประจําตลอดเวลาที่ใช้ลิฟท
(2) ให้มีข้อบังคับการใช้ลิฟท์ติดไว้ให้เห็นชัดเจนในบริเวณลิฟท์ และผู้ทําหน้าที่บังคับลิฟท์ตาม (1) ต้องปฏิบัติตามข้อบังคับนั้นโดยเคร่งครัด
(3) ให้มีการตรวจสอบลิฟท์ทุกวัน ถ้ามีส่วนใดชํารุดเสียหาย ต้องซ่อมให้เรียบร้อยก่อนที่จะใช้
(4) ติดป้าย “ห้ามใช้ลิฟท์” ให้ลูกจ้างทราบในกรณีที่ลิฟท์ไม่อยู่ในสภาพพร้อมใช้งาน หรือไม่มีผู้ทําหน้าที่บังคับลิฟท์ตาม (1)
(5) ห้ามมิให้บุคคลใดใช้ลิฟท์ขึ้นลงอย่างเด็ดขาด เว้นแต่ ในกรณีตรวจสอบหรือซ่อมแซมลิฟท์
(6) ติดป้ายบอกพิกัดนํ้าหนักบรรทุกไว้ที่ลิฟท์ให้เห็นได้ชัดเจน
(7) ต้องจัดวางและป้องกันมิให้วัสดุตกหรือยื่นออกมาขัดกับโครงหอลิฟท์
(8) ในการใช้ลิฟท์ขนรถขนของหรือเครื่องมือที่มีล้อ ต้องป้องกันมิให้รถหรือเครื่องมือนั้นเคลื่อนที่ได้

ข้อ 7 ในกรณีที่นายจ้างใช้ลิฟท์ในการทํางานก่อสร้าง ห้ามมิให้ใช้ลิฟท์ที่มีลักษณะใช้กระป๋องหรือภาชนะอื่นที่คล้ายกัน เกี่ยวหรือเกาะเคลื่อนย้ายพร้อมกับสายพาน ลวดหรือเชือกแทนตัวลิฟท์ในงานก่อสร้าง

หมวด 2การคุ้มครองความปลอดภัยส่วนบุคคล

ข้อ 8 ให้นายจ้างจัดให้ลูกจ้างซึ่งทํางานเกี่ยวกับการประกอบหรือติดตั้งโครงลิฟท์ ซ่อมบํารุงลิฟท์ หรือการขน ยก แบก หาบ หาม สิ่งของหรือวัสดุขึ้นลงลิฟท์ สวมหมวกแข็ง ถุงมือหนัง รองเท้าหนังหัวโลหะ ตลอดเวลาที่ลูกจ้างทํางาน

ข้อ 9 ให้นายจ้างจัดให้ลูกจ้างซึ่งทํางานเกี่ยวกับการควบคุมบังคับลิฟท์ สวมหมวกแข็ง และรองเท้าพื้นยางหุ้มส้นตลอดเวลาที่ลูกจ้างทํางาน
ข้อ 10 ให้นายจ้างจัดให้ลูกจ้างซึ่งทํางานมีลักษณะโดดเดี่ยวในที่สูงเกินสี่เมตร และไม่มีเครื่องป้องกันอันตรายหรือการป้องกันอันตรายอย่างอื่น สวมเข็มขัดนิรภัยและเชือกนิรภัยตลอดเวลาที่ลูกจ้างทํางาน
ข้อ 11 อุปกรณ์คุ้มครองความปลอดภัยส่วนบุคคล ต้องเป็นไปตามมาตรฐาน ดังต่อไปนี้
(1) หมวกแข็ง ต้องมีนํ้าหนักไม่เกินสี่ร้อยยี่สิบสี่กรัม ทําด้วยวัตถุที่ไม่ใช่โลหะและมีความต้านทานสามารถทนแรงกระแทกได้ไม่น้อยกว่าสามร้อยแปดสิบห้ากิโลกรัม ภายในหมวกต้องมีรองในหมวกทําด้วยหนัง พลาสติก ผ้า หรือวัตถุอื่นที่คล้ายกัน อยู่ห่างผนังหมวกไม่น้อยกว่าหนึ่งเซนติเมตร ซึ่งสามารถปรับระยะได้ ตามขนาดศีรษะของผู้ใช้เพื่อป้องกันศีรษะกระทบกับผนังหมวก
(2) ถุงมือหนัง ต้องมีความยาวหุ้มถึงข้อมือ มีลักษณะใช้สวมกับนิ้วมือได้ทุกนิ้ว
(3) รองเท้าหนังหัวโลหะปลายรองเท้าต้องมีโลหะแข็งหุ้ม สามารถทนแรงกดได้ไม่น้อยกว่าสี่ร้อยสี่สิบหกกิโลกรัม
(4) เข็มขัดนิรภัยและเชือกนิรภัย ต้องทําด้วยหนัง ไนล่อน ผ้าฝ้ายถัก หรือวัตถุอื่นที่คล้ายกัน และสามารถทนแรงดึงได้ไม่น้อยกว่าหนึ่งพันหนึ่งร้อยห้าสิบกิโลกรัม สําหรับเข็มขัดนิรภัยต้องมีความกว้างไม่น้อยกว่าห้าเซนติเมตร

ข้อ 12 ข้อกําหนดตามประกาศนี้ ถือเป็นมาตรฐานขั้นตํ่าที่ต้องปฏิบัติเท่านั้น
ข้อ 13 ให้นายจ้างเป็นผู้ออกค่าใช้จ่ายตามประกาศนี้
ข้อ 14 ประกาศกระทรวงมหาดไทยนี้ให้ใช้บังคับเมื่อพ้นกําหนดเก้าสิบวันนับแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป

ประกาศ ณ วันที่ 29 มกราคม พ.ศ. 2524

ประเทือง กีรติบุตรรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย

ประกาศในราชกิจจานุเบกษา เล่ม 98 ตอนที่ 28 วันที่ 20 กุมภาพันธ์ 2524

http://mybuilt.blogspot.com

Placing Boom




Lift core Method statement
















เสาคอนกรีต อาคารสูง