20 สิงหาคม 2553

งานโครงสร้างเสาสูง


บ่อน้ำใต้ดิน



งานฐานราก


งานระบบป้องกันดินพัง


เมื่อสำรวจสภาพดินแล้ว หากมั่นใจในความแน่นของดิน หรือขุดหลุมไม่ลึกมาก และอาจถูกควบคุมด้วย budget control จำเป็นต้อง hole zink ต้องดำเนินการด้วยความระมัดระวัง โดยปกติจะตัดดินที่ความลาดเอียง ในอัตรส่วน 1:2
ระบบเข็มพืดหรือ Sheet pile
by http://mybuilt.blogspot.com

2 สิงหาคม 2553

Flat floor with floorhardener by Mybuilt

Step 1 ขั้นตอนการทำงาน เริ่มตั้งแต่ การปรับดินเทลีน คานคอดิน วางแผ่น Prestress จนถึงการเทคอนกรีตเสร็จ

1. ปรับดินเท Lean Concrete หนาประมาณ 5 ซม. เพื่อทำคานคอดินรับพื้น ข้อระวังในการทำคานคอดิน คือการควบคุมระดับหลังคานให้ใด้ระดับตามแบบก่อสร้าง เพื่อการวางแผ่น Prestress ง่ายขึ้นในระหว่างการทำงาน
2. รื้อไม้แบบคานคอดินออก ปรับระดับดินเดิมตามสภาพ แล้ว ฉีดน้ำยากำจัดปลวกลงดิน ให้ได้ตามสเป็คของผู้ออกแบบ ตามด้วยการวางแผ่น Prestress
3. วางแผนและจัดลำดับ การเทคอนกรีตพื้นออกเป็นโซน แต่ละโซนมีขนาด กว้าง x ยาว ประมาณ 20 x50 เมตร แต่โซนออกแบบรอยต่อเป็น pour strip หรือ Expantion joint ทั้งนี้เพื่อควบคุมรอยแตกร้าว ส่วนการเทคอนกรีตแต่ละครั้งควรแบ่ง strip การเทไม่ควรเกิน 6-8 เมตร เพื่อควบคุมค่าระดับของพื้น

4. การวางเหล็กเสริมควรวางให้ได้ตำแหน่ง เหล็กบนต้องอยู่บนจริง ๆ เหล็กล่างต้องอยู่ล่าง และในส่วน
Covering ต้องได้ตามที่กำหนดโดยใช้ลูกปูนและ barchair ช่วยในการจัดตำแหน่งของเหล็กเสริม

5. Construction Joint ของแต่ละ Bay ให้ใช้ตะแกรงกงไก่เป็นแบบ ด้านที่จะตัด Joint ควรยึดตะแกรงให้แน่นด้วย เหล็ก 9 mm. ตลอดแนวที่จะตัด Joint ระวังเวลา จี้คอนกรีต ถ้ายึดตะแกรงไม่ดีจะทำให้คอนกรีตทะลักล้นออกมา การติดตะแกรง ควรวางให้ได้ระนาบฉากเสมอ

5. การใส่เหล็กฉาก กันเหลี่ยมบิ่น หรือ เพื่อให้เหลี่ยมของพื้นในแนวที่ตัด Joint มีคุณภาพควรใช้เหล็กฉากใหม่ ไม่ควรใช้เหล็กเก่าเพราะอาจมีขี้ปูนติดกับเหล็กฉากอยู่ และควรทาเหล็กฉากด้วยน้ำยา หรือจาระบี เพื่อไม่ให้เหล็กฉากยึดติดกับ Concrete ตอนรื้อเหล็กฉากควรใช้เครื่องตัดร่องนำระหว่างแนวเหล็กฉาก กับคอนกรีต เพื่อป้องกันเหลี่ยมแตก การ Set ระดับ ไม่ควรเชื่อมเหล็กฉากติดกับเหล็กเสริม เพราะระดับอาจเคลื่อนได้ ก่อนเทควรให้ Survey Check ระดับให้อีกครั้ง และควรยึดค่าระดับอ้างอิงจุดเดียวกันเสมอ

6. การเสริมเหล็กกันแตกตามบริเวณ Block Out และ Opening รวมทั้งตามมุมเสา มุมหักต่างๆของคอนกรีต ต้องมี อย่างน้อย 3 เส้น โดยใช้ความยาวเท่ากับ 3 d และระยะห่างประมาณ 2.5 - 3 ซม. โดย Aggregated สามารถแทรกตัวลงได้โดยไม่มีการแยกตัว
7. การเท Concrete ควรจะเทเริ่มจาก Bay ตรงมุมออกมาก่อน หรือ ทาง วิศวกร เห็นสมควร และก่อนเท
คอนกรีต ควร Check Slump ก่อนเททุกครั้ง Slump ต้องได้ตามที่ Mix Design ไว้ ( Slump ปกติจะอยู่ที่ 10 + 1 ซม. )
8. การปาดหน้าปูนให้ใช้กล่องอลูมิเนียม หรือโครงถักอลูมิเนียมช่วยในการปาดหน้า และง่ายต่อการ Check ระดับของผิวคอนกรีต

9. การเท Concrete ใน Bay ต่อไปควรสะกัดคอนกรีตที่ล้นออกนอกตะแกรงกงไก่ก่อนเทคอนกรีตใหม่เสมอ

การตรวจสอบก่อนการเทคอนกรีต และระหว่างการเทคอนกรีต
- ตรวจสอบระดับของ lean Concrete และความเรียบร้อยของพลาสติก Sheet
- ตรวจสอบแนววางท่อ และระดับของลวดอัดแรงให้ได้ตามแบบ
- ตรวจสอบงานระบบที่อยู่ใต้พื้นให้ตรงตามแบบ
- ตรวจสอบเหล็กเสริมตามช่องเปิด และ joint รวมทั้งบริเวณสมอยึด (Anchorage)
- ตรวจสอบเหล็กฉาก ว่าได้ระดับเท และได้แนว และมีความแข็งแรง
- ตรวจสอบว่ามีการจี้ปูนสม่ำเสมอ และ slump ในการเทต้องได้ตามกำหนด
- ตรวจสอบการปาดปูน ปรับระดับด้วยโครงถักอลูมิเนียม และเช็คด้วยกล้องระดับ
- ถ้าเหล็กเสริมติดแนว tendon ให้ขยับเหล็กเสริมออกจากแนว tendon ห้ามหักงอ tendon เพื่อหลบเหล็กเสริมซึ่งจะทำให้เกิด
friction loss สูง
- แนวการเทคอนกรีตต้องเป็นแนวเดียวกันตลอดห้ามเทตัดขวางกันเป็นสามแยก
ข้อควรระวัง
1. ไม่ควรให้คนงานเดินบนเหล็กเสริมเพราะอาจทำให้เหล็กคด งอ เสียรูปทรงได้
2. ก่อนเทคอนกรีต ทุกครั้งควรให้ Survey มา Recheck ระดับก่อนเสมอ และใช้ค่าระดับที่จุดเดียวกัน
3. ก่อนเทคอนกรีตควรลดระดับเผื่องาน Finishing ตามแบบไว้ก่อนเสมอ
4. ก่อนเทคอนกรีต ควรลงน้ำยากันปลวกก่อน 1 วัน
5. ต้องทำความสะอาดแบบก่อนเทคอนกรีตทุกครั้ง
6 เพื่อความสวยงามของพื้นคอนกรีตควร Set ตำแหน่งรอยต่อ joint ให้หลบในที่ลับตาหรือบริเวณที่มีสิ่งของมาบังไว้
7 การเก็บน้ำปูนหรือขี้ปูนที่ล้นเข้าไปใน Concrete Bay เก่าและเก็บรอยต่อให้ดี ถ้าเก็บไม่ดีจะเกิดเป็นรอยตะเข็บเกิดขึ้น
8 ในบริเวณจุดตัว Joint ให้เป็นสี่แยกตลอด และไม่ควรตัด Joint ให้เป็นมุมฉากมุม, มุมเว้า
9 ในส่วนพื้นที่โครงสร้างต่างชนิดกันควรตัด Joint แยกจากกันเป็น Slab on ground กับ Slab on beam
10 ตรงส่วนมุมเว้า มุมแหลม ควรเสริมเหล็กกันแตกเสมอ รวมถึงบริเวณ Block out วงกบ โดยใช้ความยาวเท่ากับ 3 d
Step 2 ขั้นตอนการขัดมันด้วยผง FLOOR HARDENER

8 กรกฎาคม 2553

การควบคุมคุณภาพงานผนัง

วิธีการฉาบปูนแบบกดเม็ดทรายของแผงก่ออิฐมวลเบาโดยใช้ปูนฉาบสาเร็จรูป
1. การวางแผนงาน
2. การเตรียมการก่อนเริ่มงาน
3. ขั้นตอนการทางาน
4. วิธีการตรวจสอบ
5. กระบวนการจบงาน
6. ปัญหาที่ควรระวัง

1. การวางแผนงาน
1.1 จัดเตรียมแบบ ศึกษารายละเอียดต่างๆ
1.2 ศึกษารายละเอียดของวัสดุที่จะใช้ในโครงการ
1.3 ทาการเลือกวัสดุที่จะใช้ในโครงการ
1.4 จัดทาแผงตัวอย่าง เพื่อให้ทางบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนที่จะใช้วัสดุนั้นมาสาธิต
วิธีการทางานเพื่อนามาวิเคราะห์ถึง เทคนิค ปัญหา และข้อควรระวังระหว่างการ
ทางาน รวมไปถึงปริมาณที่ใช้จริงว่าเป็นไปตามข้อมูลเอกสารประกอบหรือไม่ แต่
ส่วนใหญ่จะไม่ตรงเพราะใช้จริงจะมากกว่าเสมอ ดังนั้นเพื่อสอดคล้องกับการ
ทางานจริง หัวข้อนี้ถือว่ามีความสาคัญระดับต้นๆ ก่อนลงมือทางานเสมอ
1.5 ศึกษาแผนงานหลักของโครงการระยะเวลาที่จะต้องใช้
1.6 เมื่อได้วัสดุและระยะเวลาแล้วจะต้องนามาวิเคราะห์ถึงแรงงานที่จะต้องใช้
เพื่อให้ทันตามแผนงานหลักที่วางไว้
1.7 เมื่อได้ วัสดุและแรงงานแล้วจากนั้นนามาวิเคราะห์ว่าในแต่ละวันใช้วัสดุ
เท่าไหร่ เพื่อวางแผนการนาวัสดุเข้าโครงการ เพราะเมื่อไม่มีการแผนก็จะเกิดความ
เสียหายกับวัสดุที่เข้ามา ปัญหาที่พบบ่อยที่สุดคือ วัสดุเข้ามาเยอะเกินไปทาให้ไม่มี
ที่จัดวางที่ดี ตากแดดตากฝน หรือไม่ก็วัสดุขาดจึงต้องหยุดการทางาน ดังนั้นจึงต้อง
มีการวางแผนเข้าโครงการในแต่ละวันไว้เสมอ
1.8 กาหนดแผนงานให้สอดคล้องกับงานที่เกี่ยวข้อง ไม่ว่าจะเป็นงานระบบไฟฟ้า
ประปา และอื่นๆ


2. การเตรียมการก่อนเริ่มงาน
2.1 จัดเตรียมแบบและศึกษาว่าแผงก่อที่จะทาการฉาบนั้นมีอะไรที่เกี่ยวเนื่องด้วย
ไม่ว่าจะเป็นช่องเปิด งานระบบไฟฟ้า ประปาและอื่นๆ
2.2 จัดเตรียมวัสดุที่จะใช้
2.2.1 ปูนฉาบอิฐมวลเบาตราเสือคู่ หรือเทียบเท่า
2.2.2 ตาข่ายขนาด 3/8 นิ้ว
2.2.3 ตะปูสาหรับติดตาข่าย และติดปุ่ม
2.3 จัดเตรียมแรงงาน
2.3.1 สาหรับพื้นที่ประมาณ 25 ตร.ม. ใช้แรงงานประมาณ 4 คนแบ่งได้ยังนี้
- ช่างปูน 2 คน
- กรรมกร 2 คน (ผสมปูนและเก็บขยะ)
2.4 จัดเตรียมเครื่องมือ
2.4.1 เกรียงไม้
2.4.2 เกรียงพลาสติก
2.4.2 เกรียงขัดมัน
2.4.3 สามเหลี่ยม
2.4.4 ถังปูน
2.4.5 กะบะปูน
2.4.6 สายยางฉีดน้า
2.4.7 ลูกดิ่ง
2.4.8 สายเอ็น
2.4.9 แปรงสลัดน้า
2.4.10 ไม้กวาดอ่อน
2.4.11 ฟองน้า
หมายเหตุ* อุปกรณ์ที่แตกต่างจากการฉาบธรรมดาก็คือ เกรียงขัดมัน เกรียงขัดมัน
ในที่นี้ ควรจะมีคุณภาพที่ดีกว่าเกรียงขัดมันธรรมดา กล่าวคือ จะต้องไม่อ่อน
เกินไป ไม่เว้า ไม่โก่ง เพราะจะทาให้ผนังที่ทาการฉาบนั้นเป็นไปตามเกรียงที่ใช้
เมื่อเกรียงไม่มีคุณภาพ คุณภาพผนังก็ไม่มีคุณภาพตามไปด้วย

3. ขั้นตอนการทางาน
วิธีการฉาบปูนแบบกดเม็ดทรายของแผงก่ออิฐมวลเบาโดยใช้ปูนฉาบสาเร็จรูป
3.1 การเตรียมพื้นที่การฉาบ
3.2 การติดตาข่ายสี่เหลี่ยม
3.3 การราดน้ำก่อนฉาบ
3.4 การติดปุ่มหาระดับและแนวฉากก่อนการฉาบ
3.5 การขึ้นปูนฉาบรอบแรก
3.6 การขึ้นปูนฉาบรอบแรกให้เต็มพื้นที่
3.7 การปรับผิวโดยใช้สามเหลี่ยมปาดให้เรียบตามปุ่มที่ติดไว้
3.8 การเสริมปูนบริเวณที่ปูนไม่เต็มโดยดูจากช่องว่างที่สามเหลี่ยม
3.9 การขึ้นปูนรอบที่ 2 ให้ความหนาของปูนอยู่ที่ประมาณ 2-3 มิลลิเมตร โดยทิ้ง
ระยะห่างจากรอบแรก จากการสังเกตรอยนิ้วมือที่กดลงไป ถ้ากดแล้วมีรอบบุ๋มประมาณ
1-2 มิลลิเมตรถือว่าใช้ได้จึงจะขึ้นปูนรอบ 2
3.10 การปั่นผิวหน้าให้เรียบสังเกตโดยการปั่นดู ถ้ามีปูนติดออกมามากหรือเกรียง
ติดแสดงว่ายังใช้ไม่ได้ แต่ถ้าปั่นแล้วลื่นไม่ติดและมีแต่เม็ดทรายหลุดออกมาถือว่าใช้ได้
3.11 การลงฟองน้าเพื่อให้เม็ดทรายหลุดออกให้เหลือแต่เนื้อปูนบริเวณผิวหน้า
3.12 การกดเม็ดทรายด้วยเกรียงขัดมันโดยทาหลังจากการปั่นเรียบลงฟองทันที
3.13 การขัดควรขัดในแนวดิ่งตรงเพราะแรงที่กดจะสม่าเสมอกว่าการขัดแบบใบพัด
3.14 การบ่มด้วยการฉีดน้า ควรทาหลังจากที่ฉาบเสร็จแล้ว 1 คืน

4 วิธีการตรวจสอบ
4.1 วิธีการตรวจสอบก่อนการฉาบปูน
4.1.1 การตรวจสอบผนังก่อ เช็คแนวฉาบรวมไปถึงระยะว่าเป็นไปตามแบบ
หรือไม่
4.1.2 การตรวจสอบแนวดิ่งผนังว่าได้ดิ่งหรือไม่ ถ้าผนังไม่ได้ดิ่งให้แก้ไข
ก่อนการฉาบทันที
4.1.3 การตรวจสอบตาแหน่งช่องเปิด บล็อกไฟฟ้า ประปา ว่าตรงตามแบบ
หรือไม่ เพราะจะได้ไม่ต้องมาสกัดแล้วฉาบใหม่ภายหลัง
4.1.4 ตรวจสอบความหนาของปูนฉาบ โดยการใช้สามเหลี่ยมหรือ
อลูมิเนียมกล่อง ทาบดูโดยทาบจากปุ่มไปหาปุ่มว่ามีจุดไหนที่ติดบ้างถ้าติด
จะต้องสกัดให้ได้ตามความหนาที่ระบุในเอกสาร เมื่อความหนาไม่ได้อาจ
เกิดปัญหารอยร้าวตามมาภายหลังได้

5. กระบวนการจบงาน
5.1 ตรวจสอบหลังการฉาบหรือเมื่อปูนแห้งแล้ว ว่ามีรอยร้าว ร่อน เซี้ยมบิ่น ตาข่าย
โผล่ ฉาบไม่ชนเพดานหรือไม่ ถ้ามีให้ทาการแก้ไขทันที รวมไปถึงความสะอาดไม่
ว่าจะเป็นน้าปูนที่เลอะวงกบ ขี้ปูนที่ติดบริเวณพื้น ขยะต่างๆ ที่เกิดจากการฉาบ
จะต้องเก็บทาความสะอาดให้เรียบร้อย จึงจะส่งมองให้กับงานอื่นต่อไป
5.2 ตรวจสอบเพื่อรับมอบพื้นที่กับงานอื่นต่อไป

6. ปัญหาที่ควรระวังในการการทางานทุกขั้นตอน
6.1 การเตรียมพื้นที่การฉาบ
6.1.1 จะต้องไม่ให้มีช่องว่างระหว่างอิฐเพราะจะทาให้เกิดการยุบตัวและ
ร้าวในเวลาต่อมา ถ้าเกิดมีช่องว่างให้ใช่ปูนก่ออุดทุกครั้งก่อนทาการฉาบ
6.2 การติดตาข่าย
6.2.1 จะต้องติดทุกจุดที่มีเสาเอ็นทับหลังหรือบริเวณที่เชื่อมกับแผงคอนกรีต
6.2.2 ตาข่ายจะต้องติดให้แนบชิดกับผนังอิฐเสมอ เพราะถ้าไม่ติดจะทาให้
ตาข่ายโผล่ ออกมาเวลาทาสีจะเกิดสนิมขึ้นบริเวณนั้น
6.2.3 ขนาดตาข่ายที่ใช้ ผนังอิฐมวลเบาควรใช้ที่ 3/8 นิ้ว ผนังอิฐมอญควรใช้
ที่ . นิ้ว หรือขึ้นอยู่กับผู้ออกแบบ
6.3 การราดน้าก่อนฉาบ
6.3.1 ควรราดน้าทิ้งไว้ก่อนฉาบประมาณ 1 คืน(ราดตอนเย็นตอนเช้าฉาบ)
6.3.2 การราดน้าก่อนฉาบนั้นต้องขึ้นอยู่กับสภาพอากาศและสิ่งแวดล้อม
ด้วย เพราะถ้าราดน้าน้อยเกินไป ก็จะทาให้ผนังก่อดึงเอาน้าจากปูนฉาบไป
เร็วเกินไปซึ่งจะทาให้ผนังเกิดการร้าวในเวลาต่อมาได้ หรือถ้าราดน้าเยอะ
เกินไป ก็จะทาให้ขั้นตอนการทางานช้าลงเพราะต้องรอให้ปูนหมาดก่อนถึง
จะทางานขั้นต่อไปได้
6.4 การกดเม็ดทรายด้วยเกรียงขัดมัน
6.4.1 เกรียงขัดมันจะต้องเรียบไม่โก่ง งอ หรือเว้า เพราะจะทาให้ผนังเป็น
คลื่นและไม่เรียบไปด้วย
6.4.2 การขัดจะต้องขัดด้วยแรงกดที่สม่าเสมอ
6.5 การบ่มน้าหลังจากฉาบปูนเสร็จ
6.5.1 ควรที่จะทาหรือไม่นั้นควรสังเกตจากสภาพอากาศและพื้นที่การฉาบ
ถ้าอากาศร้อนหรือผนังฉาบที่สัมผัสความร้อนโดยตรงเช่นผนังรอบนอกอาคาร ก็
ควรที่จะบ่มเพราะความร้อนจะทาให้ผนังคายน้าเร็วเกินไปทาให้เกิดรอยแตกร้าว
ได้ ดังนั้นจึงต้องมีการฉีดน้าบ่ม หรือถ้าผนังอยู่ในบริเวณที่ชื้นและผนังไม่สัมผัส
ความร้อนโดยตรง ก็ไม่จาเป็นต้องบ่มก็ได้ เพราะผนังจะคายน้าตามกระบวนการ
ตามปกติของมันเอง