23 กุมภาพันธ์ 2552

Field density Test





Field Density Test
การหาความหนาแน่นของลูกรัง ในสนาม


ความเข้าใจง่ายๆ เป็นการทดลองหาความหนาแน่นของลูกรังในสนาม โดยวิธี Sand Cone Method
การหาความหนาแน่นของลูกรัง คือการหาน้ำหนักของลูกรัง ในบริเวณที่บดอัดเรียบร้อย หาร ด้วย ปริมาตรของหลุมที่ขุดลูกรังออกมา และการที่จะหาปริมาตรของหลุมที่กล่าวนี้ จำเป็นจะต้องวัดหรือใช้วัสดุ ที่ทราบความหนาแน่นและความถ่วงจำเพาะที่แน่นอน แล้วไปแทนที่ในหลุมที่ขุดลูกรังขึ้นมา
Sand Cone method คือ วิธี การใช้ทรายช่วยในการหาปริมาตรของหลุม ทรายที่นิยมใช้คือ ทราย Ottawa ซึ่งมีเม็ดของทราย กลมและขนาดเท่ากัน (Uniform) เพื่อให้ได้ความหนาแน่นที่เท่ากันโดยตลอด และไม่เกิดการแยกตัวของเม็ดหยาบและเม็ดเล็ก (Segregation) ขณะทำการทดลอง




เครื่องมือที่ใช้ในการทดลองได้แก่

ขวดรูปทรงกระบอก โปร่งแสง สำหรับบรรจุทราย
กรวยโลหะ มีลิ้นปิด เปิด เพื่อควบคุมการไหลของทราย
แผ่นมาตรฐาน (Base plate) ตรงกลางมีรูกลมเส้นผ่าศูนย์กลาง 152.5 mm
เครื่องชั่งสนาม สามารถชั่งได้ประมาณ 1-10 กก
ทราย Ottawa
เครื่องมือเบ็ดเตล็ด เช่น เตาแก๊ส กระทะ ช้อน ถาด กระป๋อง สมุดบันทึก




จากตารางการบันทึก เรามาทำความเข้าใจกัน ตามลำดับดังนี้

1. การหาความหนาแน่นเปียกของลูกรัง (wet density)
[a] = น้ำหนักของ ( ลูกรังที่ขุดจากหลุม + กระป๋องที่บรรจุลูกรัง)
[b] = น้ำหนักของกระป๋องที่บรรจุลูกรัง
[1] = [a]-[b]= น้ำหนักของลูกรังที่ขุดจากหลุม
[2] = น้ำของ (ขวดบรรจุทราย+ทราย Ottawa+กรวย) ก่อนปล่อยทรายลงหลุม
[3] = น้ำของ (ขวดบรรจุทราย+ทราย Ottawa+กรวย) หลังปล่อยทรายลงหลุม
[4] = [2]-[3] = น้ำหนักของทรายที่อยู่ใน ( กรวย+แผ่นฐาน+หลุม)
[5] = น้ำหนักของทรายที่อยู่ใน ( กรวย+แผ่นฐาน)
[6] = [4]-[5] = น้ำหนักของทรายในหลุม
R sand = ความหนาแน่นของทราย Ottawa จะมีค่ามากับทรายด้วย
[8] = [6]/[7] = ปริมาตรของหลุมที่ขุด
[9] = [1]/[8] = ความหนาแน่นเปียกของลูกรัง

2 การหาปริมาณความชื้นและความหนาแน่นแห้งของลูกรัง




[10] = น้ำหนักของกระป๋องทีบรรจุลูกรังเปียกก่นอคั่ว
[11] = น้ำหนักของ (กระป๋อง + ลูกรังเปียกก่อนคั่ว )
[12] = น้ำหนักของ (กระป๋อง + ลูกรังหลังคั่วแห้ง )
[13] = [12]-[10] = น้ำหนักของ ลูกรังแห้ง
[14] = [11]-[12] = น้ำหนักของ น้ำ
[15] = [14]x100/[13] = ปริมาณความชื้นของลูกรัง

[16] = [9]/{1+[15]/100} = ความหนาแน่นแห้งของลูกรัง




3 ผลของการทดสอบความหนาแน่นของลูกรัง ในสนาม



[17] = ความหนาแน่นแห้งสูงสุดของลูกรัง จากห้องแลป
[18] = สเป็คการบดอัดความหนาแน่นของลูกรัง ในสนาม ปกติ กำหนดที่ 95%
[19] = { [16]/[17] } x 100

ถ้า [19] มากกว่าหรือเท่ากับ [18] แสดงว่าผลการบดอัดลูกรังที่หน้างานได้มาตรฐาน





www.mybuilt.blogspot.com

28 มกราคม 2552

ซานติก้า เปลี่ยนอาคารพานิย์เป็นสถานบริการโดยไม่ได้รับอนุญาติ

มีการปลอมลายเซ็นของวิศวกรผู้ออกแบบ และวิศวกรผู้คุมงานก่อสร้าง
คณะทำงานฯ สรุปสอบซานติก้าผับต่อ รมว.ยุติธรรม ระบุรองผบก.ป.ถือหุ้น เบ่งละเว้นจับ โอละพ่อ เสี่ยสุริยา แค่คนดูลานจอดรถ 5 ปีเลี่ยงภาษี 25 ล้านบาท
เมื่อวันที่ 26 ม.ค. เวลา 14.00 น. คณะทำงานของกระทรวงยุติธรรม ชุดตรวจสอบเสาเหตุเพลิงไหม้ซานติก้าผับ ได้เข้ารายงานคืบหน้าการตรวจสอบสาเหตุเพลิงไหม้อาคารซานติก้าผับ ต่อ นายพีระพันธุ์ สาลีรัฐวิภาค รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม
โดยล่าสุดการตรวจสอบสรุปชัดเจนว่า เกิดจากยิงพลุไฟฉลองปีใหม่ของทีมงานซานติก้าผับ ไม่ใช่การจุดไฟเย็นของลูกค้า ไฟติดฉนวนเก็บเสียงบนเพดานทำให้ลุกไหม้อย่างรวดเร็ว
นอกจากนั้น คณะทำงานฯยังพบประเด็นน่าสงสัยว่า ภายหลัง พ.ต.อ.ประยนต์ ลาเสือ รองผู้บังคับการกองปราบปราม(รอง ผบก.ป.) เข้ามาถือหุ้นในบริษัท ไวท์แอนด์บราเธอร์ จำกัด เมื่อวันที่ 17 ก.ย.2549 ตำรวจก็ไม่เคยเข้าจับกุมซานติก้าผับอีกเลย ทั้งที่ ก่อนหน้านั้นเข้าจับกุมฐานเปิดสถานบริการโดยไม่รับอนุญาต และจำหน่ายสุราในเวลาห้ามจำหน่าย เกือบจะวันเว้นวัน รวมถึง 47 ครั้ง
ยิ่งกว่านั้น คณะทำงานฯ ยังพบว่า นายสุริยา ฤทธิ์ระบือ ระบุเป็นผู้จัดการบริษัทไวท์แอนด์บราเธอร์ จำกัด นั้น เป็นเพียงเด็กรับรถในลานจอดรถยนต์ ซึ่งมีรายงานการตรวจสอบความผิดสืบเนื่องหลายด้านของผู้ประกอบการซานติก้าผับ และเจ้าหน้าที่รัฐหลายฝ่าย มีการหลบเลี่ยงไม่เสียภาษีสถานบริการ ในอัตราร้อยละ 10 ของรายได้ให้กับกรมสรรพสามิต ตลอดระยะเวลา 5 ปีที่เปิดซานติก้าผับ มีรายได้รวม 250 ล้านบาท จึงมีภาระต้องชำระภาษีสรรพสามิต 25 ล้านบาท ในกรณีนี้จึงมีความผิด ทั้งในส่วนของเอกชนและเจ้าหน้าที่สรรพสามิต ทั้งนี้ จะให้มีการตรวจสอบไปยังกรมสรรสามิตว่า ทางซ่านติก้าผับ ได้มีการเสีย-ภาษีอย่างถูกต้องหรือไม่
นอกจากนี้ ยังพบว่า ซานติก้าผับ ไม่ได้เสียภาษีป้ายและภาษีโรงเรือน ให้กับสำนักงานเขตวัฒนา รวมถึงการไม่เสียภาษีเงินได้ให้กับกรมสรรพากรอีกด้วย
รายงาน ยังเปิดเผยด้วยว่า ในส่วนของ นายวิสุทธิ์ เสร็จสวัสดิ์ หรือเสี่ยขาว มีส่วนต้องร่วมรับผิดในหลายข้อกล่าวหา เนื่องจากมีการแก้ไขเปลี่ยนแปลงอาคารซานติก้าผับ จากอาคารพาณิชย์เพื่อพักอาศัยมาเป็นสถานบริการโดยไม่ได้รับอนุญาต และเข้าใช้อาคารโดยไม่ได้รับอนุญาต ไม่ตรวจสอบอาคารให้อยู่ในสภาพปลอดภัย และไม่ทำประกันภัยคุ้มครองให้กับบุคคลภายนอก
นอกจากนี้ ยังพบว่า มีการปลอมลายเซ็นของวิศวกรผู้ออกแบบ และวิศวกรผู้คุมงานก่อสร้าง ซึ่งกรณีดังกล่าวเจ้าหน้าที่ของสำนักงานเขต อาจต้องร่วมรับผิด กับเจ้าของซานติก้าผับ



www.mybuilt.blogspot.com

22 มกราคม 2552

การทำงาน ชั้นใต้ดิน

1. วางแผนกำหนดตำแหน่ง ที่จะต้องฝังเสาเหล็ก KING POST หรือ PREFOUNDED COLUMN เพื่อใช้เป็นเสาชั่วคราวหรือเสาอาคารจริง เพื่อที่จะใช้รองน้ำหนักพื้นคานในขณะที่ยังไม่มีฐานรากจริง โดยตำแหน่ง PREFOUNDED COLUMN จะต้องตรงกับตำแหน่งของเสาเข็มเจาะต้นใดต้นหนึ่ง

2. ทำการเจาะเสาเข็มตามปกติ แต่เมื่อเทคอนกรีตได้ระดับตามต้องการแล้ว ให้หย่อนเสา PREFOUNDED COLUMN ลงไปและฝังในคอนกรีตเสาเข็มที่ดีอย่างเพียงพอ โดยทำเฉพาะต้นที่กำหนดไว้ตามข้อ 1 ส่วนต้นอื่นๆ เป็นเสาเข็มเจาะตามปกติ
หมายเหตุ : ระยะห่างของ PREFOUNDED COLUMN ควรจะอยู่ที่ 8 – 9 เมตร สำหรับช่องว่างให้ BACK HOE ขุดดิน

3. ทำการเทกำแพง DIAPHAGM WALL โดยรอบให้เรียบร้อยโดยรอบโครงการ จนเป็นวงปิด (CLOSED LOOP)

4. เทพื้น (หรือคาน) ที่ระดับชั้น GROUND สูงหรือต่ำกว่าระดับดินเดิมเล็กน้อยก็ได้ โดยใช้พื้นดินเป็นแบบรองรับชั่วคราว แต่จะต้องมี DETAIL รอยต่อของพื้น,คาน เชื่อมกับเสา PREFOUNDED COLUMN เป็นอย่างดี (เพื่อถ่ายน้ำหนักพื้น,คาน ลงสู่เสาเหล็กได้) และจะต้องเว้นพื้นบางช่วงเอาไว้ชั่วคราว เพื่อสำหรับนำดินขึ้นมาจากใต้ดินในภายหลัง

5. เริ่มงานขุดดินโดยใช้รถ BACK HOE ขนาดกลาง (10 – 15 ตัน) มุดลงไปขุดดินใต้พื้นคอนกรีตที่เทไปแล้ว (น้ำหนักพื้นจะเริ่มถ่ายลงสู่เสาเหล็ก PREFOUNDED COLUMN ในขั้นตอนนี้ และแบกน้ำหนักไว้โดยเสาเข็มเจาะ 1 ต้น) งานขุดดินจะดำเนินการไปจนกระทั่งถึงระดับใต้ท้องพื้นชั้นถัดไป (ควรจะลึกจากท้องพื้นคอนกรีตมากกว่า 5 เมตร) ในขั้นตอนนี้พื้นและคานชั้น GROUND จะทำหน้าที่เป็นค้ำยันไปในตัวสำหรับค้ำยันกำแพงกันดินมิให้เอียงเข้ามาในบ่อขุด

6. เทพื้นชั้นใต้ดินแรกนี้ (ถ้ามี) และดำเนินการขุดดินลงไป อีกจนถึงระดับใต้ฐานราก
7. เทฐานราก MAT FOUNDATION
8. เทคอนกรีตหุ้มเสาเหล็กจากชั้นที่ลึกที่สุดขึ้นมาตามลำดับขึ้นสู่ชั้นบน ๆ
9. เก็บงานเทพื้นชั้นใต้ดินที่เว้นว่างไว้
10. ดำเนินการเทชั้นบนๆ ไปตามลำดับปกติ

http://mybuilt.blogspot.com

20 มกราคม 2552

Super Flat floor with floorhardener At RC Site

Step 1 ขั้นตอนการทำงาน เริ่มตั้งแต่ การปรับดินเทลีน คานคอดิน วางแผ่น Prestress จนถึงการเทคอนกรีตเสร็จ

1. ปรับดินเท Lean Concrete หนาประมาณ 5 ซม. เพื่อทำคานคอดินรับพื้น ข้อระวังในการทำคานคอดิน คือการควบคุมระดับหลังคานให้ใด้ระดับตามแบบก่อสร้าง เพื่อการวางแผ่น Prestress ง่ายขึ้นในระหว่างการทำงาน
2. รื้อไม้แบบคานคอดินออก ปรับระดับดินเดิมตามสภาพ แล้ว ฉีดน้ำยากำจัดปลวกลงดิน ให้ได้ตามสเป็คของผู้ออกแบบ ตามด้วยการวางแผ่น Prestress
3. วางแผนและจัดลำดับ การเทคอนกรีตพื้นออกเป็นโซน แต่ละโซนมีขนาด กว้าง x ยาว ประมาณ 20 x50 เมตร แต่โซนออกแบบรอยต่อเป็น pour strip หรือ Expantion joint ทั้งนี้เพื่อควบคุมรอยแตกร้าว ส่วนการเทคอนกรีตแต่ละครั้งควรแบ่ง strip การเทไม่ควรเกิน 6-8 เมตร เพื่อควบคุมค่าระดับของพื้น

4. การวางเหล็กเสริมควรวางให้ได้ตำแหน่ง เหล็กบนต้องอยู่บนจริง ๆ เหล็กล่างต้องอยู่ล่าง และในส่วน
Covering ต้องได้ตามที่กำหนดโดยใช้ลูกปูนและ barchair ช่วยในการจัดตำแหน่งของเหล็กเสริม

5. Construction Joint ของแต่ละ Bay ให้ใช้ตะแกรงกงไก่เป็นแบบ ด้านที่จะตัด Joint ควรยึดตะแกรงให้แน่นด้วย เหล็ก 9 mm. ตลอดแนวที่จะตัด Joint ระวังเวลา จี้คอนกรีต ถ้ายึดตะแกรงไม่ดีจะทำให้คอนกรีตทะลักล้นออกมา การติดตะแกรง ควรวางให้ได้ระนาบฉากเสมอ

5. การใส่เหล็กฉาก กันเหลี่ยมบิ่น หรือ เพื่อให้เหลี่ยมของพื้นในแนวที่ตัด Joint มีคุณภาพควรใช้เหล็กฉากใหม่ ไม่ควรใช้เหล็กเก่าเพราะอาจมีขี้ปูนติดกับเหล็กฉากอยู่ และควรทาเหล็กฉากด้วยน้ำยา หรือจาระบี เพื่อไม่ให้เหล็กฉากยึดติดกับ Concrete ตอนรื้อเหล็กฉากควรใช้เครื่องตัดร่องนำระหว่างแนวเหล็กฉาก กับคอนกรีต เพื่อป้องกันเหลี่ยมแตก การ Set ระดับ ไม่ควรเชื่อมเหล็กฉากติดกับเหล็กเสริม เพราะระดับอาจเคลื่อนได้ ก่อนเทควรให้ Survey Check ระดับให้อีกครั้ง และควรยึดค่าระดับอ้างอิงจุดเดียวกันเสมอ

6. การเสริมเหล็กกันแตกตามบริเวณ Block Out และ Opening รวมทั้งตามมุมเสา มุมหักต่างๆของคอนกรีต ต้องมี อย่างน้อย 3 เส้น โดยใช้ความยาวเท่ากับ 3 d และระยะห่างประมาณ 2.5 - 3 ซม. โดย Aggregated สามารถแทรกตัวลงได้โดยไม่มีการแยกตัว
7. การเท Concrete ควรจะเทเริ่มจาก Bay ตรงมุมออกมาก่อน หรือ ทาง วิศวกร เห็นสมควร และก่อนเท
คอนกรีต ควร Check Slump ก่อนเททุกครั้ง Slump ต้องได้ตามที่ Mix Design ไว้ ( Slump ปกติจะอยู่ที่ 10 + 1 ซม. )
8. การปาดหน้าปูนให้ใช้กล่องอลูมิเนียม หรือโครงถักอลูมิเนียมช่วยในการปาดหน้า และง่ายต่อการ Check ระดับของผิวคอนกรีต

9. การเท Concrete ใน Bay ต่อไปควรสะกัดคอนกรีตที่ล้นออกนอกตะแกรงกงไก่ก่อนเทคอนกรีตใหม่เสมอ

การตรวจสอบก่อนการเทคอนกรีต และระหว่างการเทคอนกรีต
- ตรวจสอบระดับของ lean Concrete และความเรียบร้อยของพลาสติก Sheet
- ตรวจสอบแนววางท่อ และระดับของลวดอัดแรงให้ได้ตามแบบ
- ตรวจสอบงานระบบที่อยู่ใต้พื้นให้ตรงตามแบบ
- ตรวจสอบเหล็กเสริมตามช่องเปิด และ joint รวมทั้งบริเวณสมอยึด (Anchorage)
- ตรวจสอบเหล็กฉาก ว่าได้ระดับเท และได้แนว และมีความแข็งแรง
- ตรวจสอบว่ามีการจี้ปูนสม่ำเสมอ และ slump ในการเทต้องได้ตามกำหนด
- ตรวจสอบการปาดปูน ปรับระดับด้วยโครงถักอลูมิเนียม และเช็คด้วยกล้องระดับ
- ถ้าเหล็กเสริมติดแนว tendon ให้ขยับเหล็กเสริมออกจากแนว tendon ห้ามหักงอ tendon เพื่อหลบเหล็กเสริมซึ่งจะทำให้เกิด
friction loss สูง
- แนวการเทคอนกรีตต้องเป็นแนวเดียวกันตลอดห้ามเทตัดขวางกันเป็นสามแยก
ข้อควรระวัง
1. ไม่ควรให้คนงานเดินบนเหล็กเสริมเพราะอาจทำให้เหล็กคด งอ เสียรูปทรงได้
2. ก่อนเทคอนกรีต ทุกครั้งควรให้ Survey มา Recheck ระดับก่อนเสมอ และใช้ค่าระดับที่จุดเดียวกัน
3. ก่อนเทคอนกรีตควรลดระดับเผื่องาน Finishing ตามแบบไว้ก่อนเสมอ
4. ก่อนเทคอนกรีต ควรลงน้ำยากันปลวกก่อน 1 วัน
5. ต้องทำความสะอาดแบบก่อนเทคอนกรีตทุกครั้ง
6 เพื่อความสวยงามของพื้นคอนกรีตควร Set ตำแหน่งรอยต่อ joint ให้หลบในที่ลับตาหรือบริเวณที่มีสิ่งของมาบังไว้
7 การเก็บน้ำปูนหรือขี้ปูนที่ล้นเข้าไปใน Concrete Bay เก่าและเก็บรอยต่อให้ดี ถ้าเก็บไม่ดีจะเกิดเป็นรอยตะเข็บเกิดขึ้น
8 ในบริเวณจุดตัว Joint ให้เป็นสี่แยกตลอด และไม่ควรตัด Joint ให้เป็นมุมฉากมุม, มุมเว้า
9 ในส่วนพื้นที่โครงสร้างต่างชนิดกันควรตัด Joint แยกจากกันเป็น Slab on ground กับ Slab on beam
10 ตรงส่วนมุมเว้า มุมแหลม ควรเสริมเหล็กกันแตกเสมอ รวมถึงบริเวณ Block out วงกบ โดยใช้ความยาวเท่ากับ 3 d
Step 2 ขั้นตอนการขัดมันด้วยผง FLOOR HARDENER

20 พฤศจิกายน 2551

การทำงานที่ปลอดภัยที่เกี่ยวข้องกับปั้นจั่น

Method statement การทำงานที่เกี่ยวข้องกับปั้นจั่น
1 แต่งกายให้ถูกต้องรัดกุมดังนี้
1.1 กางเกงขายาว เสื้อ รัดกุมไม่รุ่มร่าม
1.2 สวมหมวกนิรภัยพร้อมสายรัดคาง ป้องกันวัสดุหล่น
1.3 รองเท้าหุ้มส้น สวมใส่แล้วคล่องตัว สะดวกต่อการประกอบปั้นจั่น
2 กรณีประกอบปั้นจั่นที่ความสูงมากกว่าสามเมตรขึ้นไป ให้รัดเข็มขัดนิรภัยและคล้องกับโครงปั้นจั่นไว้ตลอดเวลา กรณีปีนขึ้นหรือลง ให้ปีด้วยความระมัดระวัง และมีเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยและควบคุมดูแลอย่างใกล้ชิด
3 เมื่อประกอบแล้วเสร็จ ให้ติดป้ายบอกพิกัดน้ำหนักยกไว้ที่ปั้นจั่น ปิดคำเตือนให้ระวังอันตรายและให้ผู้บังคับปั้นจั่นและรอบข้าง เห็นได้ชัดเจน
4 ในการทำงานเกี่ยวกับปั้นจั่น จัดให้มีการให้สัญญาณการใช้ปั้นจั่นที่เข้าใจในระหว่างผู้เกี่ยวข้อง ในกรณีที่การใช้สัญญาณเป็นการใช้สัญญาณมือ ต้องจัดให้มีรูปภาพหรือคู่มือการใช้สัญญาณมือตามที่กำหนดไว้ที่ปั้นจั่นและบริเวณที่ทำงาน
5 จัดให้มีการตรวจสอบส่วนประกอบและอุปกรณ์ของปั้นจั่นทุก ๆ สามเดือน กรณีโครงการนี้ใช้เวลาตอกไม่ถึงสามเดือน ให้บันทึกเวลาที่ตรวจสอบและผลการตรวจสอบ โดยมีวิศวกรเป็นผู้รับรองไว้เป็นหลักฐาน ก่อนเข้ามาใช้งานในโครงการนี้ เพื่อให้มีการตรวจสอบได้ในระหว่างเวลาทำงาน
6 ในการทำงานเกี่ยวกับปั้นจั่น ห้ามใช้เชือกลวดเหล็กกล้าที่มี ลักษณะ ชำรุด หรือไม่ผ่านตามข้อกำหนดความปลอดภัย
7 จัดทำเครื่องหมายแสดงเขตอันตรายหรือเครื่องกั้นเขตอันตรายในรัศมีส่วนรอบของปั้นจั้นที่หมุนกวาดระหว่างทำงานเพื่อเตือนให้ระวังอันตรายอาจเกิดขึ้นในรัศมีของการทำงานได้
8 จัดติดตั้งเครื่องดับเพลิงชนิดที่เหมาะสมและใช้การได้
9 เก็บและเคลื่อนย้ายเชื้อเพลิงที่ใช้กับปั้นจั่นด้วยความระมัดระวังมิให้เกิดอันตรายได้
10 ถ้ามีการทำงานในเวลากลางคืน จัดให้มีแสงสว่างทั่วบริเวณตลอดเวลาที่ทำงาน

20 ตุลาคม 2551

การสำรวจพื้นที่เพื่อวางแผนการก่อสร้าง




การสำรวจพื้นที่

1 ตรวจสอบแนวเขตที่ดินที่จะทำการก่อสร้าง

2 ทำวงรอบโครงการและค่าระดับ คร่าวๆ

3 หาข้อสรุปกับเจ้าของโครงการว่า งานนี้ต้องถมหรือตัดดิน


4 งานรื้อย้ายต้นไม้และวัชพืช ขยะ ดินเลน ออกจากพื้นที่

5 ปรับบดอัดดินเดิม

6 ตรวจสอบและแก้ไขดินอ่อน (Soft Spot)

7 งานถมดินพร้อมบดอัด ปรับระดับให้ได้ตามสเป็ค

8 การทดสอบดินถม

9. กรณีการถมสระน้ำเก่า
9.1. ทำการสูบน้ำออกจนหมด
9.2. ขุดลอกเอาขี้เลนออกให้หมด จนถึงชั้นดินแข็ง
9.3. ทำการถมด้วยทรายหยาบโดยทำการถมเป็นชั้นๆ ชั้นละ 50 cm. แล้วบดอัดด้วยรถบด
9.4. ทำการทดสอบโดยวิธี ตามหลักวิศวกรรม


การสำรวจสภาพดินเพื่อการออกแบบงานที่เกี่ยวข้อง

งานเสาเข็ม

28 กันยายน 2551

Facility

http://www.mybuilt.blogspot.com/

Facility = สิ่งอำนวยความสะดวก
ความหมายในวงการก่อสร้างคือ How to? จะทำอย่างไรให้ขบวนการก่อสร้าง ในโครงการหนึ่งๆ ตั้งแต่เริ่มจนจบงาน ประสบความสำเร็จโดยมีปัญหา อุปสรรคน้อยที่สุด
ฉะนั้น ผู้บริหารโครงการ ต้องจัดเตรียม Facility สนับสนุน
1 แผนงานก่อสร้าง
2 วัสดุอุปกรณ์ เครื่องมือ เครื่องจักร ทุกชนิด
3 แรงงาน