28 กันยายน 2551

Facility

http://www.mybuilt.blogspot.com/

Facility = สิ่งอำนวยความสะดวก
ความหมายในวงการก่อสร้างคือ How to? จะทำอย่างไรให้ขบวนการก่อสร้าง ในโครงการหนึ่งๆ ตั้งแต่เริ่มจนจบงาน ประสบความสำเร็จโดยมีปัญหา อุปสรรคน้อยที่สุด
ฉะนั้น ผู้บริหารโครงการ ต้องจัดเตรียม Facility สนับสนุน
1 แผนงานก่อสร้าง
2 วัสดุอุปกรณ์ เครื่องมือ เครื่องจักร ทุกชนิด
3 แรงงาน

18 กันยายน 2551

Step 4 การเคลือบผิวมันและป้องกันฝุ่น


Step 4 ขั้นตอนการเคลือบเงาด้วย Converseal

รายละเอียดการปฏิบัติงาน
1ขั้นตอนการล้างทำความสะอาดพื้น
1.1โดยทั่วไป ก่อนจะล้างทำความสะอาดและเคลือยเงาพื้น ควรรอให้คอนกรีตมีกำลังอัดที่ 28 วัน ก่อน
แต่โดยปฏิบัติแล้วทำได้ยากเนื่องจากมีเวลาที่จำกัด
1.2เตรียมพื้นที่ เก็บกวาด เศษขยะ ทำความสะอาดพื้นที่
1.3ขั้นตอนการขัดล้างคราบปูน ใช้น้ำยาล้างคราบปูน ที่มีคุณสมบัติเป็นกลาง ผสมน้ำสะอาดด้วยอัตราส่วน
1:20 หนึ่งแกลลอนใช้ขัดล้างพื้นได้ประมาณ 500 ตรม.
1.4ราดน้ำยาที่ผสมลงบนพื้นที่จะทำการขัดล้างทิ้งไว้ประมาณสิบนาที ใช้เครื่องขัดล้าง ขัดจนกว่าคราบปูน
และสิ่งสกปรกจะออกหมด
1.5ใชน้ำสะอาดล้างและเก็บกวาดน้ำที่เกิดจากการขัดล้างออกให้หมด ทิ้งพื้นให้แห้งหนึ่งวัน
2 ขั้นตอนการเคลือบเงาด้วย Converseal
2.1ปริมาณการใช้ converseal มีรายละเอียดดังนี้
1 ลิตร ต่อพื้นที่ 30 ตรม. ต่อครั้ง
ลง converseal 5 รอบ
1 ลิตร ต่อพื้นที่ 6 ตรม. ต่อ 5 ครั้ง
2.2 วิธีที่ดีที่สุดของการลง converseal เมื่อลงรอบที่หนึ่งให้ทิ้งไว้หนึ่งวัน
ส่วนสี่ครั้งที่เหลือ รอให้ converseal แห้งสามารถลงซ้ำจนครบห้ารอบได้
2.3 ขั้นตอนการปั่นเงา ใช้น้ำยาชนิดบำรุงรักษาพื้น และใช้เครื่อง
3 ข้อระวัง
3.1 ก่อนการลง converseal ชั้นแรกต้องตรวจสอบความสะอาดของผิวพื้นให้ละเอียด ถ้าผิวพื้นบางจุด
ไม่สะอาด จะมองเห็นได้ชัดเจนและต้องทำการล้างใหม่ทำให้เสียเวลา
3.2 หลังการเคลือบผิวชั้นสุดท้าย ภายในเวลา 3 วันไม่ควรเข้าพื้นที่หรือวางสิ่งของ ขณะเดียวกัน
ต้องคอยปั่นเงาตลอด 3 วัน จนกว่าเจ้าของงานจะจัดพนักงานมารับช่วงต่อ
3.3 ปัญหาที่เกิดขึ้นทุกที่คือ จะมีการวาง pallete สินค้าทิ้งไว้บนพื้นที่เคลือบ converseal เกินหนึ่งวัน
หลังจากยก palette ออกจะเกิดคราบขาวบนพื้น ล้างไม่ออก
4 อุปกรณ์และเครื่องมือ
1. เครื่องซักล่าง 175 รอบ/นาที Floor Marter Machines.
2. เครื่องขัด Auto
3. เครื่องขัดเงา (โพลเพลน)
4. ไม้ปากน้ำ
5. ไม้ม็อบ
6. ไม้ดันฝุ่น
5 น้ำยา
1. น้ำยาล้างคราบปูน Line Remover
2. น้ำยาทำความสะอาดทั่วไป (DC)
3. น้ำยาดันฝุ่น Mop Dressing
1) LINE REMOVER. ผลิตขจัดคราบปูน
-สำหรับใช้ในงานอุตสาหกรรม
-ผสมได้กับน้ำเท่านั้น
-เก็บไว้ให้พ้นมือเด็ก
ประโยชน์
ประโยชน์ เป็นผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดชนิดกรดอ่อน เพื่อขจัดคราบปูนและคราบสกปรกต่างๆ เช่น
คราบตะกรันน้ำ เหมาะสำหรับทำความสะอาดพื้นและฝาผนังทั่วไป ยกเว้นที่ไม่ทนต่อกรด
วิธีใช้
ฉีด LINE REMOVER ให้ทั่วหรือใช้แปรงจุ่มถูให้ทั่วบริเวณ ทิ้งไว้ 5 นาที แล้วล้างออกด้วยน้ำสะอาด
คำเตือน
1. ห้ามรับประทาน
2. ระวังให้เข้าตา ถูกผิวหนังหรือสูดดม
3. ขณะใช้ควรสวมถุงมือยาง รองเท้ายาง และภายหลังการใช้หรือการหยิบจับควรล้างถุงมือยางและล้างรองเท้าด้วย
น้ำและสบู่ทุกครั้ง
วิธีเก็บรักษา
เก็บให้มิดชิด ห่างจากเด็ก อาหารและสัตว์เลี้ยง
วิธีแก้พิษเบื้องต้น
1. หากถูกผิวหนังให้ลางออกด้วยน้ำจำนวนมาก หากโดนเสื้อให้รีบถอดออกแล้วชำระล้างร่างกายด้วยน้ำสะอาดและ
สบู่ทุกครั้ง
2. หากเข้าตาให้ล้างด้วยน้ำสะอาด จนอาการเคืองตาทุเลา หากไม่ทุเลาให้ไปพบแพทย์
3. หากกลืนกิน ห้ามทำให้อาเจียน ให้ดื่มน้ำสะอาดหรือนมปริมาณมากๆ แล้วรีบนำผู้ป่วยส่งแพทย์ทันที พร้อมภาชนะ
บรรจุและฉลากผลิตภัณฑ์
2) ผลิตภัณฑ์ทำความสะอาด ดีซีกรุ๊ป
CLEANER-DC GROUP
คุณสมบัติ
ใช้ขจัดความสกปรกบนพื้นบ้าน ห้องครัว เครื่องใช้
วิธีใช้
เทผลิตภัณฑ์ทำความสะอาด ดีซ๊กรุ๊ป เพียงเล็กน้อยลงพื้นหรือบริเวณที่จะต้องทำความสะอาด ใช้ฟองน้ำ
แปรงหรือสก๊อตไปร์ทหรือผ้าเช็ดถูบริเวณที่ต้องทำความสะอาดแล้วล้างออกด้วยน้ำสะอาด
คำเตือน
1. ห้ามรับประทาน
2. ระวังให้เข้าตา ถูกผิวหนังหรือสูดดม
3. ขณะใช้ควรสวมถุงมือยาง รองเท้ายาง และภายหลังการใช้หรือการหยิบจับควรล้างถุงมือยางและล้างรองเท้าด้วย
น้ำและสบู่ทุกครั้ง
วิธีเก็บรักษา
เก็บให้มิดชิด ห่างจากเด็ก อาหารและสัตว์เลี้ยง
วิธีแก้พิษเบื้องต้น
1. หากถูกผิวหนังให้ลางออกด้วยน้ำจำนวนมาก หากโดนเสื้อให้รีบถอดออกแล้วชำระล้างร่างกายด้วยน้ำสะอาดและ
สบู่ทุกครั้ง
2. หากเข้าตาให้ล้างด้วยน้ำสะอาด จนอาการเคืองตาทุเลา หากไม่ทุเลาให้ไปพบแพทย์
3. หากกลืนกิน ห้ามทำให้อาเจียน ให้ดื่มน้ำสะอาดหรือนมปริมาณมากๆ แล้วรีบนำผู้ป่วยส่งแพทย์ทันที พร้อมภาชนะ
บรรจุและฉลากผลิตภัณฑ์
3) MOP DRESSING-A
คุณสมบัติ
บำรุงรักษาพื้น (Floor Maintainer)
-สำหรับใช้ในงานอุตสาหกรรม
-ผสมได้กับน้ำเท่านั้น
-เก็บไว้ให้พ้นมือเด็ก
ประโยชน์
เป็นผลิตภัณฑ์ ช่วยให้ฝุ่นไม่เกาะต่อผิวพื้น ทำความสะอาดได้ง่ายขึ้น และรักษาพื้นผิวให้มีความเงางาม
อยู่เสมอ ช่วยยืดอายุการใช้งานและปลอดภัยต่อพื้นผิวเคลือบเงา ไม่ทิ้งคราบน้ำมันไว้ให้ลื่น เหมาะสำหรับพื้นผิว เช่น
พื้นไม้กระเบื้องยาง คอนกรีต และพื้นหิน รวมถึงเฟอร์นิเจอร์ต่าง ๆ
วิธีการใช้
สำหรับเก็บฝุ่นด้วยไม้ม๊อบ เทใส่กระบอกฉีดและสเปรย์ผลิตภัณฑ์บนผ้าม๊อบที่สะอาดและแห้งให้ระยะ
ฉีดห่างประมาณ 6 นิ้ว จนชื้น อย่าให้เปียกชุ่ม ทิ้งให้แห้งสนิทก่อนนำไปใช้งาน หลังจากการใช้งานแล้วควรทำความ
สะอาดพ้าม๊อบด้วยแปรงและเขย่าฝุ่นออกให้สะอาดก่อนนำไปแขวนเก็บ
คำเตือน
1. ห้ามรับประทาน
2. ระวังให้เข้าตา ถูกผิวหนังหรือสูดดม
3. ขณะใช้ควรสวมถุงมือยาง รองเท้ายาง และภายหลังการใช้หรือการหยิบจับควรล้างถุงมือยางและล้างรองเท้าด้วย
น้ำและสบู่ทุกครั้ง
วิธีเก็บรักษา
เก็บให้มิดชิด ห่างจากเด็ก อาหารและสัตว์เลี้ยง
วิธีแก้พิษเบื้องต้น
1. หากถูกผิวหนังให้ลางออกด้วยน้ำจำนวนมาก หากโดนเสื้อให้รีบถอดออกแล้วชำระล้างร่างกายด้วยน้ำสะอาดและ
สบู่ทุกครั้ง
2. หากเข้าตาให้ล้างด้วยน้ำสะอาด จนอาการเคืองตาทุเลา หากไม่ทุเลาให้ไปพบแพทย์
3. หากกลืนกิน ห้ามทำให้อาเจียน ให้ดื่มน้ำสะอาดหรือนมปริมาณมากๆ แล้วรีบนำผู้ป่วยส่งแพทย์ทันที พร้อมภาชนะ
บรรจุและฉลากผลิตภัณฑ์
6 แผ่นขัดพื้น
1. สีดำใช้ล้างพื้น ขัดเงา
2. สีแดง ขัดเงากระเบื้องยาง
3. สีขาว ใช้ขัดเงากระเบื้องยาง พื้นคอนกรีต
4.สีเขียว ใช้สำหรับเคลือบ Conversil

Step 3 การดึงลวดและอัดน้ำปูน

Step 3 ขั้นตอนการ Stressing and Grouting

อันนี้อาจจะเป็นหลักวิชาการหน่อยนะครับ แต่สำคัญ


ขั้นตอนการ Stressing and
1   มีหลักการและเหตุผล คือ เพื่อลดการแตกร้าวของผิวพื้นคอนกรีต (Shrinkage Crack)  อันเนื่องจากการเทคอนกรีตแบบ Strip ยาว ๆ เช่น 50-60 เมตร


2 วิธีการ STRESSING
2.1 หลังจากการเทคอนกรีตพื้นแต่ละ Strip เวลาไฟประมาณ60 - 72 ชม. (3.0 วัน) ให้ทำการดึงลวดอัดแรงในทิศทางตามยาวของพื้นคอนกรีตแต่ละstrip โดยให้ดึงลวด ดังนี้
 กรณีสมอยึดแบบ 2 เส้นต่อกลุ่ม ให้ดึงลวดเพียงหนึ่งเส้น ด้วยแรง 10 ตันต่อเส้น
 กรณีสมอยึดแบบ 3 เส้นต่อกลุ่ม ให้ดึงลวดเพียงหนึ่่งเส้น ด้วยแรง 15 ตัน ต่อเส้น
ก่อนดึงลวดทุกดครั้ง อย่าลืมต้องพ่นสี Mark ปลายลวดเพื่อเตรียมการสำหรับ การวัด Elongation



2.2 กรณีที่สมอยึดตัวสุดท้ายอยู่ห่างจากขอบ Concreting Joint น้อยกว่า 0.40 เมตร ยังไม่ต้องดึงลวดที่สมอยึดตัวนั้น แต่ ต้องดึงพร้อม การดึงลวดของ Strip ถัดไป

2.3 กรณีที่ดึงลวดตามข้อ 2.1 แล้วเกิดการแตกร้าว หรือเกิดรอยร้าว ที่บริเวณหัวสมอยึดลวด
ให้ลดแรงดึงจาก 10 ตัน เหลือ 8 ตัน



2.4 เมื่อเทคอนกรีตครบทุก Strip แล้ว และเวลาครบ  60 - 72 ชม  แต่กำลังอัดของคอนกรีตยังต่ำกว่า 240 ksc. cylinder ให้ทำการ ดึงลวดอัดแรงในทิศทางตามขวางของ Strip เป็นจำนวนครึ่งหนึ่งของจำนวนเส้นลวดอัดแรงทั้งหมด (เส้นเว้นเส้น ) ด้วยแรง 10 ตัน ต่อเส้น สำหรับกลุมลวดที่สมอยึดแบบสองเส้น
( กรณีสมอยึดแบบ 3 เส้น ให้ดึงลวดแต่ละกลุ่ม เพียงเส้นเดียวด้วยแรง 15 ตัน )


2.5 เมื่อคอนกรีตทั้งผืนมีกำลังอัดได้ 240 ksc.cyl ให้ทำการดึงลวดตามขั้นตอนปกติ เรียงตามลำดับ
โดยเริ่มดึงลวด จากเส้นที่ยังไม่ได้ดึงมาก่อนด้วยแรง 14.07 ตัน
และดึงลวดที่เคยดึงมาก่อนด้วยแรง 10 ตัน เพิ่มเป็น 14.07 ตัน
( กรณีสมอที่ยึด 3 เส้น ให้ดึงลวด ด้วยแรง 15 ตัน )



ทั้งนี้ให้ สังเกตว่า Elongation ของการดึงลวดชุดหลัง ควรเท่ากันหรือใกล้เคียงกับค่า Elongation ของการดึงลวดชุดก่อน  หาก Elongation แตกต่างกันมากหรือมีค่าต่ำกว่า 95% ของค่าที่ออกแบบไว้
ให้เพิ่มแรงดึงเป็น 15 ตัน

2.6 หลังจากดึงลวดเสร็จเรียบร้อย จะทำการวัดระยะยืดจริง โดยวัดระยะจากกิ๊ฟ ถึงตำแหน่งพ่นสีที่ทำไว้
เพื่อนำค่าระยะยืดจริงของลวดเปรียบเทียบกับค่า Elongation ที่ออกแบบไว้

2.7 กรณีที่วัดค่า Elongation จากการดึงลวด ได้ค่าไม่ตรงตามข้อกำหนด จำเป็นจะต้องทำการดึงซ่อม หรือหาทางแก้ไข เป็นกรณีไป ซึ่งต้องได้รับการอนุมัตจากผู้ออกแบบด้วย

2.8 การควบคุมแรงดึงในเส้นลวด
2.8.1 ควบคุมแรงดึงจาก Pressure - Gage ที่เครื่อง Hydraulic Pump
2.8.2 เปรียบเทียบค่าระยะยืด จริงของลวดกับค่า Elongation ที่ได้ออกแบบไว้โดยค่าที่จะแตกต่างกันไม่เกิน 5%
(ตามค่ากำหนด)
2.9 กรณีที่ค่าระยะยืดจริงของลวดกับ Elongation ที่ออกแบบไว้แตกต่างกันเกิน 5% ให้ทำการตรวจสอบและแก้ไข
เป็นกรณีไป

2.9.1 กรณี - 5% (ระยะยืดของลวดน้อยกว่ารายการคำนวณ Elongation)
- ให้เพิ่มแรงดึงแต่ต้องไม่เกิน 80% Fpu.( 15 ตัน) แล้ววัดระยะยืดของลวดที่เพิ่มขึ้น
- กรณีที่เพิ่มแรงดึงถึง 80% Fpu. แล้ว ระยะยืดของลวดเกิน 5% ให้ทำการคำนวณตรวจสอบโครงสร้าง
เฉพาะส่วนนั้น ๆ โดยใช้ค่าแรงดึงลวดที่เกิดขึ้นจริง
2.9.2 กรณี + 5% (ระยะยืดจริงมากกว่ารายการคำนวณ Elongation)
- ตรวจสอบแรงดึง โดย Re-Stressing ด้วยแรง 75% Fpu. (14 ตัน) สังเกตระยะยืดเพิ่มแรงช้า ๆ
สังเกตระยะยืดจนลวดขยับตัวอ่าน Pressure Gage จะได้ค่าแรงในลวดเส้น นั้น ๆ ตรวจสอบว่าเกิน
80% Fpu. หรือไม่ ถ้าไม่เกินถือว่าผ่าน กรณี 50% Fpu. ให้รายงานผู้ออกแบบเพื่อหาทางแก้ไขต่อไป
2.10
เครื่องมือและอุปกรณ์การดึงลวดอัดแรง
- Hydraulic Pump
- Hydraulic Jack
- CCL Mastermatc, Proving Ring
หมายเหตุ การดึงลวดจะกระทำเมื่อกำลังอัดประลัยคอนกรีตรูปทรงกระบอกไม่น้อยกว่า 240 กก. / ตร.ซม.( 75 % Strength design)
และวัดค่า Elongation
3
การอัดน้ำปูน (Grouting Cement)
3.1 เครื่องมือและอุปกรณ์การอัดน้ำปูน
- เครื่องมืออัดน้ำปูน Mono Pump
- เครื่องผสมปูน (Mixer Tank)
3.2 วัสดุ Grouting Cement
วัสดุ Grouting Cement เป็นส่วนผสมของปอร์ดแลนด์ซีเมนต์ชนิดที่ 1 ผสมกับน้ำ และ Admixture
โดยมีอัตราส่วนของน้ำ ต่อ ซีเมนต์ (W/C RATIO) ไม่เกิน 0.45 โดยน้ำหนักดังอัตราส่วนต่อไปนี้
- ปอร์ตแลนด์ซีเมนต์ชนิดที่ 1 =50 kg.
- ADMIXTURE (Aluminum) ส่วนผสมตามสูตรของ Admixture แต่ละชนิด
- น้ำ = 20 - 22 ลิตร
ก่อนจะนำส่วนผสมไปอัดน้ำปูน จะต้องทำการทดสอบการไหล (Test Flow Rate) ของส่วนผสมก่อน
โดยให้ได้อัตราการไหลประมาณ 11 วินาที โดยใช้ปริมาตร 1.7 ลิตร และจะต้องทำการเก็บลูกปูน
ไว้ทดสอบกำลังอัด (151 ksc อายุ 7 วัน),(280 ksc อายุ 28 วัน)
หมายเหตุ ปริมาตร 1.7 ลิตร ใช้เวลาประมาณ 7 - 8 วินาที
3.3 ขั้นตอนการอัดน้ำปูน
- ก่อนการอัดน้ำปูนจะต้องทำการอุดปูนทรายหุ้มสมอยึด เพื่อป้องกันการรั่วของน้ำปูน Grout บริเวณสมอยึด
หมายเหตุ ทำการตัดปลายลวดก่อนทำการอุดปูนทรายหุ้มสมอยึด
- ทำความสะอาดท่อร้อยลวดอัดแรง โดยการอัดน้ำหรือเป่าลมเข้าไปในท่อเพื่อไล่สิ่งสกปรกที่อยู่ภายในท่อออก
และยังเป็นการตรวจสอบว่าท่อตันหรือไม่ ถ้าตันให้ทำการเจาะรูใหม่ เพื่อให้สามารถอัดน้ำปูนได้เต็ม
- ทำการอัดน้ำปูนเข้าไปในท่อร้อยลวดอัดแรง ผ่านท่อ Air vent ด้านหนึ่งให้น้ำปูนไหลผ่านท่อ Air vent ที่ปลาย
สมอยึดอีกด้านหนึ่ง แล้วจึงทำการปิด Air vent ที่ปลายสมอยึดด้านท้าย คงค้างแรงดันอย่างน้อย 50 PSI หรือ
3.5 ksc. เป็นเวลา 5 วินาที ก่อนทำการปิดท่อ Air vent (โดยการพับท่อ Air vent ที่อัดน้ำปูนไว้ เพื่อรักษาความดัน
ภายในท่อไว้)
- ภายหลังจากอัดน้ำปูนทิ้งไว้อย่างน้อย 24 ชั่วโมง จึงค่อยตัดท่อ Air vent โดยสกัดเข้าไปในเนื้อคอนกรีต
ประมาณ 2 - 3 ซม. แล้วจึงทำการ Grout ปูนแต่งผิวคอนกรีต
ข้อระวัง
Bearing plate บางจุดที่ covering น้อยหรือ เหล็กเสริมไม่ถูกต้องตาม spect เวลาดึงลวดอาจทำให้คอนกรีตระเบิดได้
Step 4 ขั้นตอนการเคลือบเงาด้วย Converseal