22 มกราคม 2552

การทำงาน ชั้นใต้ดิน

1. วางแผนกำหนดตำแหน่ง ที่จะต้องฝังเสาเหล็ก KING POST หรือ PREFOUNDED COLUMN เพื่อใช้เป็นเสาชั่วคราวหรือเสาอาคารจริง เพื่อที่จะใช้รองน้ำหนักพื้นคานในขณะที่ยังไม่มีฐานรากจริง โดยตำแหน่ง PREFOUNDED COLUMN จะต้องตรงกับตำแหน่งของเสาเข็มเจาะต้นใดต้นหนึ่ง

2. ทำการเจาะเสาเข็มตามปกติ แต่เมื่อเทคอนกรีตได้ระดับตามต้องการแล้ว ให้หย่อนเสา PREFOUNDED COLUMN ลงไปและฝังในคอนกรีตเสาเข็มที่ดีอย่างเพียงพอ โดยทำเฉพาะต้นที่กำหนดไว้ตามข้อ 1 ส่วนต้นอื่นๆ เป็นเสาเข็มเจาะตามปกติ
หมายเหตุ : ระยะห่างของ PREFOUNDED COLUMN ควรจะอยู่ที่ 8 – 9 เมตร สำหรับช่องว่างให้ BACK HOE ขุดดิน

3. ทำการเทกำแพง DIAPHAGM WALL โดยรอบให้เรียบร้อยโดยรอบโครงการ จนเป็นวงปิด (CLOSED LOOP)

4. เทพื้น (หรือคาน) ที่ระดับชั้น GROUND สูงหรือต่ำกว่าระดับดินเดิมเล็กน้อยก็ได้ โดยใช้พื้นดินเป็นแบบรองรับชั่วคราว แต่จะต้องมี DETAIL รอยต่อของพื้น,คาน เชื่อมกับเสา PREFOUNDED COLUMN เป็นอย่างดี (เพื่อถ่ายน้ำหนักพื้น,คาน ลงสู่เสาเหล็กได้) และจะต้องเว้นพื้นบางช่วงเอาไว้ชั่วคราว เพื่อสำหรับนำดินขึ้นมาจากใต้ดินในภายหลัง

5. เริ่มงานขุดดินโดยใช้รถ BACK HOE ขนาดกลาง (10 – 15 ตัน) มุดลงไปขุดดินใต้พื้นคอนกรีตที่เทไปแล้ว (น้ำหนักพื้นจะเริ่มถ่ายลงสู่เสาเหล็ก PREFOUNDED COLUMN ในขั้นตอนนี้ และแบกน้ำหนักไว้โดยเสาเข็มเจาะ 1 ต้น) งานขุดดินจะดำเนินการไปจนกระทั่งถึงระดับใต้ท้องพื้นชั้นถัดไป (ควรจะลึกจากท้องพื้นคอนกรีตมากกว่า 5 เมตร) ในขั้นตอนนี้พื้นและคานชั้น GROUND จะทำหน้าที่เป็นค้ำยันไปในตัวสำหรับค้ำยันกำแพงกันดินมิให้เอียงเข้ามาในบ่อขุด

6. เทพื้นชั้นใต้ดินแรกนี้ (ถ้ามี) และดำเนินการขุดดินลงไป อีกจนถึงระดับใต้ฐานราก
7. เทฐานราก MAT FOUNDATION
8. เทคอนกรีตหุ้มเสาเหล็กจากชั้นที่ลึกที่สุดขึ้นมาตามลำดับขึ้นสู่ชั้นบน ๆ
9. เก็บงานเทพื้นชั้นใต้ดินที่เว้นว่างไว้
10. ดำเนินการเทชั้นบนๆ ไปตามลำดับปกติ

http://mybuilt.blogspot.com

20 มกราคม 2552

Super Flat floor with floorhardener At RC Site

Step 1 ขั้นตอนการทำงาน เริ่มตั้งแต่ การปรับดินเทลีน คานคอดิน วางแผ่น Prestress จนถึงการเทคอนกรีตเสร็จ

1. ปรับดินเท Lean Concrete หนาประมาณ 5 ซม. เพื่อทำคานคอดินรับพื้น ข้อระวังในการทำคานคอดิน คือการควบคุมระดับหลังคานให้ใด้ระดับตามแบบก่อสร้าง เพื่อการวางแผ่น Prestress ง่ายขึ้นในระหว่างการทำงาน
2. รื้อไม้แบบคานคอดินออก ปรับระดับดินเดิมตามสภาพ แล้ว ฉีดน้ำยากำจัดปลวกลงดิน ให้ได้ตามสเป็คของผู้ออกแบบ ตามด้วยการวางแผ่น Prestress
3. วางแผนและจัดลำดับ การเทคอนกรีตพื้นออกเป็นโซน แต่ละโซนมีขนาด กว้าง x ยาว ประมาณ 20 x50 เมตร แต่โซนออกแบบรอยต่อเป็น pour strip หรือ Expantion joint ทั้งนี้เพื่อควบคุมรอยแตกร้าว ส่วนการเทคอนกรีตแต่ละครั้งควรแบ่ง strip การเทไม่ควรเกิน 6-8 เมตร เพื่อควบคุมค่าระดับของพื้น

4. การวางเหล็กเสริมควรวางให้ได้ตำแหน่ง เหล็กบนต้องอยู่บนจริง ๆ เหล็กล่างต้องอยู่ล่าง และในส่วน
Covering ต้องได้ตามที่กำหนดโดยใช้ลูกปูนและ barchair ช่วยในการจัดตำแหน่งของเหล็กเสริม

5. Construction Joint ของแต่ละ Bay ให้ใช้ตะแกรงกงไก่เป็นแบบ ด้านที่จะตัด Joint ควรยึดตะแกรงให้แน่นด้วย เหล็ก 9 mm. ตลอดแนวที่จะตัด Joint ระวังเวลา จี้คอนกรีต ถ้ายึดตะแกรงไม่ดีจะทำให้คอนกรีตทะลักล้นออกมา การติดตะแกรง ควรวางให้ได้ระนาบฉากเสมอ

5. การใส่เหล็กฉาก กันเหลี่ยมบิ่น หรือ เพื่อให้เหลี่ยมของพื้นในแนวที่ตัด Joint มีคุณภาพควรใช้เหล็กฉากใหม่ ไม่ควรใช้เหล็กเก่าเพราะอาจมีขี้ปูนติดกับเหล็กฉากอยู่ และควรทาเหล็กฉากด้วยน้ำยา หรือจาระบี เพื่อไม่ให้เหล็กฉากยึดติดกับ Concrete ตอนรื้อเหล็กฉากควรใช้เครื่องตัดร่องนำระหว่างแนวเหล็กฉาก กับคอนกรีต เพื่อป้องกันเหลี่ยมแตก การ Set ระดับ ไม่ควรเชื่อมเหล็กฉากติดกับเหล็กเสริม เพราะระดับอาจเคลื่อนได้ ก่อนเทควรให้ Survey Check ระดับให้อีกครั้ง และควรยึดค่าระดับอ้างอิงจุดเดียวกันเสมอ

6. การเสริมเหล็กกันแตกตามบริเวณ Block Out และ Opening รวมทั้งตามมุมเสา มุมหักต่างๆของคอนกรีต ต้องมี อย่างน้อย 3 เส้น โดยใช้ความยาวเท่ากับ 3 d และระยะห่างประมาณ 2.5 - 3 ซม. โดย Aggregated สามารถแทรกตัวลงได้โดยไม่มีการแยกตัว
7. การเท Concrete ควรจะเทเริ่มจาก Bay ตรงมุมออกมาก่อน หรือ ทาง วิศวกร เห็นสมควร และก่อนเท
คอนกรีต ควร Check Slump ก่อนเททุกครั้ง Slump ต้องได้ตามที่ Mix Design ไว้ ( Slump ปกติจะอยู่ที่ 10 + 1 ซม. )
8. การปาดหน้าปูนให้ใช้กล่องอลูมิเนียม หรือโครงถักอลูมิเนียมช่วยในการปาดหน้า และง่ายต่อการ Check ระดับของผิวคอนกรีต

9. การเท Concrete ใน Bay ต่อไปควรสะกัดคอนกรีตที่ล้นออกนอกตะแกรงกงไก่ก่อนเทคอนกรีตใหม่เสมอ

การตรวจสอบก่อนการเทคอนกรีต และระหว่างการเทคอนกรีต
- ตรวจสอบระดับของ lean Concrete และความเรียบร้อยของพลาสติก Sheet
- ตรวจสอบแนววางท่อ และระดับของลวดอัดแรงให้ได้ตามแบบ
- ตรวจสอบงานระบบที่อยู่ใต้พื้นให้ตรงตามแบบ
- ตรวจสอบเหล็กเสริมตามช่องเปิด และ joint รวมทั้งบริเวณสมอยึด (Anchorage)
- ตรวจสอบเหล็กฉาก ว่าได้ระดับเท และได้แนว และมีความแข็งแรง
- ตรวจสอบว่ามีการจี้ปูนสม่ำเสมอ และ slump ในการเทต้องได้ตามกำหนด
- ตรวจสอบการปาดปูน ปรับระดับด้วยโครงถักอลูมิเนียม และเช็คด้วยกล้องระดับ
- ถ้าเหล็กเสริมติดแนว tendon ให้ขยับเหล็กเสริมออกจากแนว tendon ห้ามหักงอ tendon เพื่อหลบเหล็กเสริมซึ่งจะทำให้เกิด
friction loss สูง
- แนวการเทคอนกรีตต้องเป็นแนวเดียวกันตลอดห้ามเทตัดขวางกันเป็นสามแยก
ข้อควรระวัง
1. ไม่ควรให้คนงานเดินบนเหล็กเสริมเพราะอาจทำให้เหล็กคด งอ เสียรูปทรงได้
2. ก่อนเทคอนกรีต ทุกครั้งควรให้ Survey มา Recheck ระดับก่อนเสมอ และใช้ค่าระดับที่จุดเดียวกัน
3. ก่อนเทคอนกรีตควรลดระดับเผื่องาน Finishing ตามแบบไว้ก่อนเสมอ
4. ก่อนเทคอนกรีต ควรลงน้ำยากันปลวกก่อน 1 วัน
5. ต้องทำความสะอาดแบบก่อนเทคอนกรีตทุกครั้ง
6 เพื่อความสวยงามของพื้นคอนกรีตควร Set ตำแหน่งรอยต่อ joint ให้หลบในที่ลับตาหรือบริเวณที่มีสิ่งของมาบังไว้
7 การเก็บน้ำปูนหรือขี้ปูนที่ล้นเข้าไปใน Concrete Bay เก่าและเก็บรอยต่อให้ดี ถ้าเก็บไม่ดีจะเกิดเป็นรอยตะเข็บเกิดขึ้น
8 ในบริเวณจุดตัว Joint ให้เป็นสี่แยกตลอด และไม่ควรตัด Joint ให้เป็นมุมฉากมุม, มุมเว้า
9 ในส่วนพื้นที่โครงสร้างต่างชนิดกันควรตัด Joint แยกจากกันเป็น Slab on ground กับ Slab on beam
10 ตรงส่วนมุมเว้า มุมแหลม ควรเสริมเหล็กกันแตกเสมอ รวมถึงบริเวณ Block out วงกบ โดยใช้ความยาวเท่ากับ 3 d
Step 2 ขั้นตอนการขัดมันด้วยผง FLOOR HARDENER