23 กุมภาพันธ์ 2552

Field density Test





Field Density Test
การหาความหนาแน่นของลูกรัง ในสนาม


ความเข้าใจง่ายๆ เป็นการทดลองหาความหนาแน่นของลูกรังในสนาม โดยวิธี Sand Cone Method
การหาความหนาแน่นของลูกรัง คือการหาน้ำหนักของลูกรัง ในบริเวณที่บดอัดเรียบร้อย หาร ด้วย ปริมาตรของหลุมที่ขุดลูกรังออกมา และการที่จะหาปริมาตรของหลุมที่กล่าวนี้ จำเป็นจะต้องวัดหรือใช้วัสดุ ที่ทราบความหนาแน่นและความถ่วงจำเพาะที่แน่นอน แล้วไปแทนที่ในหลุมที่ขุดลูกรังขึ้นมา
Sand Cone method คือ วิธี การใช้ทรายช่วยในการหาปริมาตรของหลุม ทรายที่นิยมใช้คือ ทราย Ottawa ซึ่งมีเม็ดของทราย กลมและขนาดเท่ากัน (Uniform) เพื่อให้ได้ความหนาแน่นที่เท่ากันโดยตลอด และไม่เกิดการแยกตัวของเม็ดหยาบและเม็ดเล็ก (Segregation) ขณะทำการทดลอง




เครื่องมือที่ใช้ในการทดลองได้แก่

ขวดรูปทรงกระบอก โปร่งแสง สำหรับบรรจุทราย
กรวยโลหะ มีลิ้นปิด เปิด เพื่อควบคุมการไหลของทราย
แผ่นมาตรฐาน (Base plate) ตรงกลางมีรูกลมเส้นผ่าศูนย์กลาง 152.5 mm
เครื่องชั่งสนาม สามารถชั่งได้ประมาณ 1-10 กก
ทราย Ottawa
เครื่องมือเบ็ดเตล็ด เช่น เตาแก๊ส กระทะ ช้อน ถาด กระป๋อง สมุดบันทึก




จากตารางการบันทึก เรามาทำความเข้าใจกัน ตามลำดับดังนี้

1. การหาความหนาแน่นเปียกของลูกรัง (wet density)
[a] = น้ำหนักของ ( ลูกรังที่ขุดจากหลุม + กระป๋องที่บรรจุลูกรัง)
[b] = น้ำหนักของกระป๋องที่บรรจุลูกรัง
[1] = [a]-[b]= น้ำหนักของลูกรังที่ขุดจากหลุม
[2] = น้ำของ (ขวดบรรจุทราย+ทราย Ottawa+กรวย) ก่อนปล่อยทรายลงหลุม
[3] = น้ำของ (ขวดบรรจุทราย+ทราย Ottawa+กรวย) หลังปล่อยทรายลงหลุม
[4] = [2]-[3] = น้ำหนักของทรายที่อยู่ใน ( กรวย+แผ่นฐาน+หลุม)
[5] = น้ำหนักของทรายที่อยู่ใน ( กรวย+แผ่นฐาน)
[6] = [4]-[5] = น้ำหนักของทรายในหลุม
R sand = ความหนาแน่นของทราย Ottawa จะมีค่ามากับทรายด้วย
[8] = [6]/[7] = ปริมาตรของหลุมที่ขุด
[9] = [1]/[8] = ความหนาแน่นเปียกของลูกรัง

2 การหาปริมาณความชื้นและความหนาแน่นแห้งของลูกรัง




[10] = น้ำหนักของกระป๋องทีบรรจุลูกรังเปียกก่นอคั่ว
[11] = น้ำหนักของ (กระป๋อง + ลูกรังเปียกก่อนคั่ว )
[12] = น้ำหนักของ (กระป๋อง + ลูกรังหลังคั่วแห้ง )
[13] = [12]-[10] = น้ำหนักของ ลูกรังแห้ง
[14] = [11]-[12] = น้ำหนักของ น้ำ
[15] = [14]x100/[13] = ปริมาณความชื้นของลูกรัง

[16] = [9]/{1+[15]/100} = ความหนาแน่นแห้งของลูกรัง




3 ผลของการทดสอบความหนาแน่นของลูกรัง ในสนาม



[17] = ความหนาแน่นแห้งสูงสุดของลูกรัง จากห้องแลป
[18] = สเป็คการบดอัดความหนาแน่นของลูกรัง ในสนาม ปกติ กำหนดที่ 95%
[19] = { [16]/[17] } x 100

ถ้า [19] มากกว่าหรือเท่ากับ [18] แสดงว่าผลการบดอัดลูกรังที่หน้างานได้มาตรฐาน





www.mybuilt.blogspot.com

28 มกราคม 2552

ซานติก้า เปลี่ยนอาคารพานิย์เป็นสถานบริการโดยไม่ได้รับอนุญาติ

มีการปลอมลายเซ็นของวิศวกรผู้ออกแบบ และวิศวกรผู้คุมงานก่อสร้าง
คณะทำงานฯ สรุปสอบซานติก้าผับต่อ รมว.ยุติธรรม ระบุรองผบก.ป.ถือหุ้น เบ่งละเว้นจับ โอละพ่อ เสี่ยสุริยา แค่คนดูลานจอดรถ 5 ปีเลี่ยงภาษี 25 ล้านบาท
เมื่อวันที่ 26 ม.ค. เวลา 14.00 น. คณะทำงานของกระทรวงยุติธรรม ชุดตรวจสอบเสาเหตุเพลิงไหม้ซานติก้าผับ ได้เข้ารายงานคืบหน้าการตรวจสอบสาเหตุเพลิงไหม้อาคารซานติก้าผับ ต่อ นายพีระพันธุ์ สาลีรัฐวิภาค รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม
โดยล่าสุดการตรวจสอบสรุปชัดเจนว่า เกิดจากยิงพลุไฟฉลองปีใหม่ของทีมงานซานติก้าผับ ไม่ใช่การจุดไฟเย็นของลูกค้า ไฟติดฉนวนเก็บเสียงบนเพดานทำให้ลุกไหม้อย่างรวดเร็ว
นอกจากนั้น คณะทำงานฯยังพบประเด็นน่าสงสัยว่า ภายหลัง พ.ต.อ.ประยนต์ ลาเสือ รองผู้บังคับการกองปราบปราม(รอง ผบก.ป.) เข้ามาถือหุ้นในบริษัท ไวท์แอนด์บราเธอร์ จำกัด เมื่อวันที่ 17 ก.ย.2549 ตำรวจก็ไม่เคยเข้าจับกุมซานติก้าผับอีกเลย ทั้งที่ ก่อนหน้านั้นเข้าจับกุมฐานเปิดสถานบริการโดยไม่รับอนุญาต และจำหน่ายสุราในเวลาห้ามจำหน่าย เกือบจะวันเว้นวัน รวมถึง 47 ครั้ง
ยิ่งกว่านั้น คณะทำงานฯ ยังพบว่า นายสุริยา ฤทธิ์ระบือ ระบุเป็นผู้จัดการบริษัทไวท์แอนด์บราเธอร์ จำกัด นั้น เป็นเพียงเด็กรับรถในลานจอดรถยนต์ ซึ่งมีรายงานการตรวจสอบความผิดสืบเนื่องหลายด้านของผู้ประกอบการซานติก้าผับ และเจ้าหน้าที่รัฐหลายฝ่าย มีการหลบเลี่ยงไม่เสียภาษีสถานบริการ ในอัตราร้อยละ 10 ของรายได้ให้กับกรมสรรพสามิต ตลอดระยะเวลา 5 ปีที่เปิดซานติก้าผับ มีรายได้รวม 250 ล้านบาท จึงมีภาระต้องชำระภาษีสรรพสามิต 25 ล้านบาท ในกรณีนี้จึงมีความผิด ทั้งในส่วนของเอกชนและเจ้าหน้าที่สรรพสามิต ทั้งนี้ จะให้มีการตรวจสอบไปยังกรมสรรสามิตว่า ทางซ่านติก้าผับ ได้มีการเสีย-ภาษีอย่างถูกต้องหรือไม่
นอกจากนี้ ยังพบว่า ซานติก้าผับ ไม่ได้เสียภาษีป้ายและภาษีโรงเรือน ให้กับสำนักงานเขตวัฒนา รวมถึงการไม่เสียภาษีเงินได้ให้กับกรมสรรพากรอีกด้วย
รายงาน ยังเปิดเผยด้วยว่า ในส่วนของ นายวิสุทธิ์ เสร็จสวัสดิ์ หรือเสี่ยขาว มีส่วนต้องร่วมรับผิดในหลายข้อกล่าวหา เนื่องจากมีการแก้ไขเปลี่ยนแปลงอาคารซานติก้าผับ จากอาคารพาณิชย์เพื่อพักอาศัยมาเป็นสถานบริการโดยไม่ได้รับอนุญาต และเข้าใช้อาคารโดยไม่ได้รับอนุญาต ไม่ตรวจสอบอาคารให้อยู่ในสภาพปลอดภัย และไม่ทำประกันภัยคุ้มครองให้กับบุคคลภายนอก
นอกจากนี้ ยังพบว่า มีการปลอมลายเซ็นของวิศวกรผู้ออกแบบ และวิศวกรผู้คุมงานก่อสร้าง ซึ่งกรณีดังกล่าวเจ้าหน้าที่ของสำนักงานเขต อาจต้องร่วมรับผิด กับเจ้าของซานติก้าผับ



www.mybuilt.blogspot.com

22 มกราคม 2552

การทำงาน ชั้นใต้ดิน

1. วางแผนกำหนดตำแหน่ง ที่จะต้องฝังเสาเหล็ก KING POST หรือ PREFOUNDED COLUMN เพื่อใช้เป็นเสาชั่วคราวหรือเสาอาคารจริง เพื่อที่จะใช้รองน้ำหนักพื้นคานในขณะที่ยังไม่มีฐานรากจริง โดยตำแหน่ง PREFOUNDED COLUMN จะต้องตรงกับตำแหน่งของเสาเข็มเจาะต้นใดต้นหนึ่ง

2. ทำการเจาะเสาเข็มตามปกติ แต่เมื่อเทคอนกรีตได้ระดับตามต้องการแล้ว ให้หย่อนเสา PREFOUNDED COLUMN ลงไปและฝังในคอนกรีตเสาเข็มที่ดีอย่างเพียงพอ โดยทำเฉพาะต้นที่กำหนดไว้ตามข้อ 1 ส่วนต้นอื่นๆ เป็นเสาเข็มเจาะตามปกติ
หมายเหตุ : ระยะห่างของ PREFOUNDED COLUMN ควรจะอยู่ที่ 8 – 9 เมตร สำหรับช่องว่างให้ BACK HOE ขุดดิน

3. ทำการเทกำแพง DIAPHAGM WALL โดยรอบให้เรียบร้อยโดยรอบโครงการ จนเป็นวงปิด (CLOSED LOOP)

4. เทพื้น (หรือคาน) ที่ระดับชั้น GROUND สูงหรือต่ำกว่าระดับดินเดิมเล็กน้อยก็ได้ โดยใช้พื้นดินเป็นแบบรองรับชั่วคราว แต่จะต้องมี DETAIL รอยต่อของพื้น,คาน เชื่อมกับเสา PREFOUNDED COLUMN เป็นอย่างดี (เพื่อถ่ายน้ำหนักพื้น,คาน ลงสู่เสาเหล็กได้) และจะต้องเว้นพื้นบางช่วงเอาไว้ชั่วคราว เพื่อสำหรับนำดินขึ้นมาจากใต้ดินในภายหลัง

5. เริ่มงานขุดดินโดยใช้รถ BACK HOE ขนาดกลาง (10 – 15 ตัน) มุดลงไปขุดดินใต้พื้นคอนกรีตที่เทไปแล้ว (น้ำหนักพื้นจะเริ่มถ่ายลงสู่เสาเหล็ก PREFOUNDED COLUMN ในขั้นตอนนี้ และแบกน้ำหนักไว้โดยเสาเข็มเจาะ 1 ต้น) งานขุดดินจะดำเนินการไปจนกระทั่งถึงระดับใต้ท้องพื้นชั้นถัดไป (ควรจะลึกจากท้องพื้นคอนกรีตมากกว่า 5 เมตร) ในขั้นตอนนี้พื้นและคานชั้น GROUND จะทำหน้าที่เป็นค้ำยันไปในตัวสำหรับค้ำยันกำแพงกันดินมิให้เอียงเข้ามาในบ่อขุด

6. เทพื้นชั้นใต้ดินแรกนี้ (ถ้ามี) และดำเนินการขุดดินลงไป อีกจนถึงระดับใต้ฐานราก
7. เทฐานราก MAT FOUNDATION
8. เทคอนกรีตหุ้มเสาเหล็กจากชั้นที่ลึกที่สุดขึ้นมาตามลำดับขึ้นสู่ชั้นบน ๆ
9. เก็บงานเทพื้นชั้นใต้ดินที่เว้นว่างไว้
10. ดำเนินการเทชั้นบนๆ ไปตามลำดับปกติ

http://mybuilt.blogspot.com