2 พฤศจิกายน 2552

Tower crane วัสดุและการติดตั้ง










http://mybuilt.blogspot.com

ลิฟท์ขนส่งวัสดุชั่วคราว


ความปลอดภัยในการทำงานก่อสร้างว่าด้วยลิฟท์ขนส่งวัสดุชั่วคราว
ประกาศกระทรวงมหาดไทยเรื่อง ความปลอดภัยในการทํางานก่อสร้างว่าด้วยลิฟท์ขนส่งวัสดุชั่วคราว
อาศัยอํานาจตามความในข้อ 2 (7) แห่งประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 103 ลงวันที่ 16 มีนาคม พ.ศ.2515 กระทรวงมหาดไทยจึงกําหนดการคุมครองแรงงานในสวัสดิการเกี่ยวกับสุขภาพอนามัยและความปลอดภัยสําหรับลูกจ้างไว้ ดังต่อไปนี้



ข้อ 1 ในประกาศนี้“งานก่อสร้าง” หมายความว่า การประกอบการเกี่ยวกับการก่อสร้างอาคาร สนามบิน ทางรถไฟ ทางรถราง ท่าเรือ ทางนํ้า สะพาน ถนน การโทรเลข โทรศัพท์ ไฟฟ้า ก๊าซ หรือการประปา และหมายความรวมถึงการต่อเติม ซ่อมแซม ซ่อมบํารุง ดัดแปลง หรือรื้อถอนอาคาร หรือสิ่งก่อสร้างนั้นๆ ด้วย“อาคาร” หมายความว่า อาคารตามความหมายที่บัญญัติไว้ ในกฎหมายว่าด้วยการควบคุมอาคาร“ลิฟทขนส่งวัสดุชั่วคราว” หมายความว่า เครื่องใช้ในการก่อสร้างเพื่อขนส่งวัสดุในทางดิ่ง ประกอบด้วย หอลิฟท์ หรือปล่องลิฟท์ ตัวลิฟท์ และเครื่องจักร“หอลิฟท์” หมายความว่า โครงสร้างเป็นหอสูงจากพื้นสําหรับเป็นที่ติดตั้งตัวลิฟท์ ในงานก่อสร้างเป็นการชั่วคราว“ปล่องลิฟท์” หมายความว่า ช่องที่อยู่ภายในสิ่งก่อสร้างสําหรับใช้เป็นทางเคลื่อนขึ้นลงของตัวลิฟท์ในงานก่อสร้างเป็นการชั่วคราว“ตัวลิฟท์” หมายความว่า ที่สําหรับรองรับหรือบรรจุวัสดุ สามารถเคลื่อนย้ายขึ้นลงได้โดยใช้เครื่องจักรใน หรือนอกหอลิฟท์ หรือปล่องลิฟท์

หมวด 1การสร้างลิฟท์ขนส่งวัสดุชั่วคราว

ข้อ 2 ลิฟท์ที่มีความสูงเกินเก้าเมตร นายจ้างจะต้องจัดให้มีผู้ที่ได้รับใบอนุญาตเป็นผู้ประกอบวิชาชีพวิศวกรรมควบคุม สาขาวิศวกรรมโยธา จาก ก.ว. เป็นผู้ออกแบบและคํานวณโครงสร้าง พร้อมทั้งกําหนดรายละเอียดของหอลิฟท์ และตัวลิฟท์ อย่างน้อยให้เป็นไปตามข้อกําหนด ดังต่อไปนี้
(1) หอลิฟท์ ต้องสามารถรับนํ้าหนักได้ ไม่น้อยกว่าสองเท่าของนํ้าหนักแห่งการใช้งาน (Working Load)
(2) คานสําหรับติดตั้งรอกและฐานที่รองรับคาน ต้องมีความแข็งแรงพอที่จะรับนํ้าหนักรอก นํ้าหนักตัว ลิฟท์ และนํ้าหนักบรรทุก (Live Load) โดยมีส่วนปลอดภัย (Factor of Safety) ไม่น้อยกว่าห้า
(3) หอลิฟท์ ที่สร้างด้วยไม้ต้องสร้างด้วยไม้ที่มีหน่วยแรงดัดประลัย (Ultimate Bending Stress) ไม่น้อยกว่าแปดร้อยกิโลกรัมต่อตารางเซนติเมตร และมีส่วนปลอดภัยไม่น้อยกว่าแปด
(4) หอลิฟท์ ที่สร้างด้วยโลหะ ต้องเป็นโลหะที่มีจุดคราก (Yield Point) ไม่น้อยกว่าสองพันสี่ร้อยกิโลกรัมต่อตารางเซนติเมตร และมีส่วนปลอดภัยไม่น้อยกว่าสอง
(5) ฐานรองรับหอลิฟท์ ต้องมีความมั่นคง สามารถรับนํ้าหนักได้ไม่น้อยกว่าสองเท่าของนํ้าหนักหอลิฟท์ นํ้าหนักตัวลิฟท์ และนํ้าหนักบรรทุก
(6) ตัวลิฟท์ ต้องมั่นคงแข็งแรง สามารถรับนํ้าหนักบรรทุกได้ไม่น้อยกว่าห้าเท่าของนํ้าหนักแห่งการใช้งาน และต้องมีขอบกันของตกสูงไม่น้อยกว่าเจ็ดเซนติเมตรจากพื้นของตัวลิฟท์ โดยรวมและด้านที่มิใช่ทางขนของเข้าออกต้องมีผนังปิดกั้นด้วยไม้ หรือลวดตาข่าย มีความสูงจากพื้นของตัวลิฟท์ ไม่น้อยกว่าหนึ่งเมตร เว้นแต่ ตัวลิฟท์ที่มีลักษณะเป็นถังโลหะ ไม่ต้องมีผนังปิดกั้นก็ได้ในกรณีที่ติดตั้งลิฟท์อยู่ภายนอกหอลิฟท์ ไม่ต้องมีผนังปิดกั้นตัวลิฟท์ก็ได้
(7) หอลิฟท์ ต้องมีการยึดโยง คํ้ายัน หรือตรึงกับพื้นดินหรือตัวอาคารให้มั่นคงแข็งแรงและปลอดภัย

ข้อ 3 เครื่องจักรและอุปกรณ์อื่น ๆ ที่ใช้ยกตัวลิฟท์ นายจ้างต้องจัดให้เป็นไปตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่องความปลอดภัยในการทํางานเกี่ยวกับเครื่องจักร

ข้อ 4 ในการสร้างลิฟท์ นายจ้างต้องดําเนินการตามแบบและรายละเอียดตามข้อ 2 ข้อ 3 และตามข้อกําหนด ดังต่อไปนี้
(1) ในกรณีติดตั้งตัวลิฟท์ภายในหอลิฟท์ ต้องมีลวดตาข่ายหรือไม้ตีเว้นช่องห่างกันไม่น้อยกว่าสามเซนติเมตร แต่ไม่เกินสิบเซนติเมตร ปิดยึดแน่นกับโครงหอลิฟท์ทุกด้าน สูงไม่น้อยกว่าสองเมตรจากพื้นของหอลิฟท์ เว้นแต่ช่องที่ใช้เป็นทางขนของเข้าออก
(2) ในกรณี ติดตั้งตัวลิฟท์ภายนอกหอลิฟท์ ต้องมีรั้วกั้นป้องกันมิให้บุคคลเข้าไปในบริเวณที่อาจเป็นอันตรายเนื่องจากของตกใต้ตัวลิฟท์นั้น
(3) ทางเดินระหว่างลิฟท์กับสิ่งก่อสร้าง ต้อง
(ก) มีราวกันตกสูงไม่น้อยกว่าเก้าสิบเซนติเมตร และไม่เกินหนึ่งเมตรสิบเซนติเมตรจากพื้นทางเดิน
(ข) มีขอบกันของตกสูงไม่น้อยกว่าเจ็ดเซนติเมตรจากพื้นทางเดิน
(ค) มีไม้ หรือโลหะขวางกั้นที่สามารถปิดเปิดได้ มีความสูงไม่น้อยกว่าเก้าสิบเซนติเมตรแต่ไม่เกินหนึ่งเมตรสิบเซนติเมตร จากพื้นทางเดิน อยู่ห่างจากลิฟท์ ไม่น้อยกว่าหกสิบเซนติเมตร บนทางเดินนั้น
(4) ในกรณีที่ปล่องลิฟท์ไม่มีผนังกั้น ต้องมีรั้วที่มีความมั่นคงแข็งแรงปิดกั้นทุกด้านสูงไม่น้อยกว่าสองเมตรจากพื้นแต่ละชั้นเว้นแต่ทางเข้าออกต้องมีไม้ หรือโลหะขวางกั้นที่สามารถปิดเปิดได้ มีความสูงไม่น้อยกว่าเก้าสิบเซนติเมตร และไม่เกินหนึ่งเมตรสิบเซนติเมตรจากพื้น

ข้อ 5 เมื่อนายจ้างได้สร้างลิฟท์แล้วต้องให้วิศวกรผู้ออกแบบตามข้อ 2 หรือวิศวกรผู้ควบคุมงาน ตรวจรับรองว่าได้สร้างถูกต้องตามแบบรายละเอียดและข้อกําหนดตามข้อ 4 แล้วจึงจะใช้ลิฟท์นั้นได้ และใบรับรองของวิศวกรดังกล่าวนายจ้างจะต้องเก็บรักษาไว้ เพื่อให้พนักงานเจ้าหน้าที่กรมแรงงานตรวจดูได้ตลอดเวลาการใช้ลิฟท์นั้น

ข้อ 6 การใช้ลิฟท์ นายจ้างต้องปฏิบัติ ดังนี้
(1) ให้มีผู้ที่ได้รับการฝึกอบรมการใช้ลิฟท์มาแล้วทําหน้าที่บังคับลิฟท์ ประจําตลอดเวลาที่ใช้ลิฟท
(2) ให้มีข้อบังคับการใช้ลิฟท์ติดไว้ให้เห็นชัดเจนในบริเวณลิฟท์ และผู้ทําหน้าที่บังคับลิฟท์ตาม (1) ต้องปฏิบัติตามข้อบังคับนั้นโดยเคร่งครัด
(3) ให้มีการตรวจสอบลิฟท์ทุกวัน ถ้ามีส่วนใดชํารุดเสียหาย ต้องซ่อมให้เรียบร้อยก่อนที่จะใช้
(4) ติดป้าย “ห้ามใช้ลิฟท์” ให้ลูกจ้างทราบในกรณีที่ลิฟท์ไม่อยู่ในสภาพพร้อมใช้งาน หรือไม่มีผู้ทําหน้าที่บังคับลิฟท์ตาม (1)
(5) ห้ามมิให้บุคคลใดใช้ลิฟท์ขึ้นลงอย่างเด็ดขาด เว้นแต่ ในกรณีตรวจสอบหรือซ่อมแซมลิฟท์
(6) ติดป้ายบอกพิกัดนํ้าหนักบรรทุกไว้ที่ลิฟท์ให้เห็นได้ชัดเจน
(7) ต้องจัดวางและป้องกันมิให้วัสดุตกหรือยื่นออกมาขัดกับโครงหอลิฟท์
(8) ในการใช้ลิฟท์ขนรถขนของหรือเครื่องมือที่มีล้อ ต้องป้องกันมิให้รถหรือเครื่องมือนั้นเคลื่อนที่ได้

ข้อ 7 ในกรณีที่นายจ้างใช้ลิฟท์ในการทํางานก่อสร้าง ห้ามมิให้ใช้ลิฟท์ที่มีลักษณะใช้กระป๋องหรือภาชนะอื่นที่คล้ายกัน เกี่ยวหรือเกาะเคลื่อนย้ายพร้อมกับสายพาน ลวดหรือเชือกแทนตัวลิฟท์ในงานก่อสร้าง

หมวด 2การคุ้มครองความปลอดภัยส่วนบุคคล

ข้อ 8 ให้นายจ้างจัดให้ลูกจ้างซึ่งทํางานเกี่ยวกับการประกอบหรือติดตั้งโครงลิฟท์ ซ่อมบํารุงลิฟท์ หรือการขน ยก แบก หาบ หาม สิ่งของหรือวัสดุขึ้นลงลิฟท์ สวมหมวกแข็ง ถุงมือหนัง รองเท้าหนังหัวโลหะ ตลอดเวลาที่ลูกจ้างทํางาน

ข้อ 9 ให้นายจ้างจัดให้ลูกจ้างซึ่งทํางานเกี่ยวกับการควบคุมบังคับลิฟท์ สวมหมวกแข็ง และรองเท้าพื้นยางหุ้มส้นตลอดเวลาที่ลูกจ้างทํางาน
ข้อ 10 ให้นายจ้างจัดให้ลูกจ้างซึ่งทํางานมีลักษณะโดดเดี่ยวในที่สูงเกินสี่เมตร และไม่มีเครื่องป้องกันอันตรายหรือการป้องกันอันตรายอย่างอื่น สวมเข็มขัดนิรภัยและเชือกนิรภัยตลอดเวลาที่ลูกจ้างทํางาน
ข้อ 11 อุปกรณ์คุ้มครองความปลอดภัยส่วนบุคคล ต้องเป็นไปตามมาตรฐาน ดังต่อไปนี้
(1) หมวกแข็ง ต้องมีนํ้าหนักไม่เกินสี่ร้อยยี่สิบสี่กรัม ทําด้วยวัตถุที่ไม่ใช่โลหะและมีความต้านทานสามารถทนแรงกระแทกได้ไม่น้อยกว่าสามร้อยแปดสิบห้ากิโลกรัม ภายในหมวกต้องมีรองในหมวกทําด้วยหนัง พลาสติก ผ้า หรือวัตถุอื่นที่คล้ายกัน อยู่ห่างผนังหมวกไม่น้อยกว่าหนึ่งเซนติเมตร ซึ่งสามารถปรับระยะได้ ตามขนาดศีรษะของผู้ใช้เพื่อป้องกันศีรษะกระทบกับผนังหมวก
(2) ถุงมือหนัง ต้องมีความยาวหุ้มถึงข้อมือ มีลักษณะใช้สวมกับนิ้วมือได้ทุกนิ้ว
(3) รองเท้าหนังหัวโลหะปลายรองเท้าต้องมีโลหะแข็งหุ้ม สามารถทนแรงกดได้ไม่น้อยกว่าสี่ร้อยสี่สิบหกกิโลกรัม
(4) เข็มขัดนิรภัยและเชือกนิรภัย ต้องทําด้วยหนัง ไนล่อน ผ้าฝ้ายถัก หรือวัตถุอื่นที่คล้ายกัน และสามารถทนแรงดึงได้ไม่น้อยกว่าหนึ่งพันหนึ่งร้อยห้าสิบกิโลกรัม สําหรับเข็มขัดนิรภัยต้องมีความกว้างไม่น้อยกว่าห้าเซนติเมตร

ข้อ 12 ข้อกําหนดตามประกาศนี้ ถือเป็นมาตรฐานขั้นตํ่าที่ต้องปฏิบัติเท่านั้น
ข้อ 13 ให้นายจ้างเป็นผู้ออกค่าใช้จ่ายตามประกาศนี้
ข้อ 14 ประกาศกระทรวงมหาดไทยนี้ให้ใช้บังคับเมื่อพ้นกําหนดเก้าสิบวันนับแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป

ประกาศ ณ วันที่ 29 มกราคม พ.ศ. 2524

ประเทือง กีรติบุตรรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย

ประกาศในราชกิจจานุเบกษา เล่ม 98 ตอนที่ 28 วันที่ 20 กุมภาพันธ์ 2524

http://mybuilt.blogspot.com

Placing Boom




Lift core Method statement
















เสาคอนกรีต อาคารสูง




ขั้นตอนอย่างละเอียด การก่อสร้างลิฟท์อาคารสูง




9 ตุลาคม 2552

เทคนิคการขัดมันผิวพื้นด้วยผง Floorhardener

ขั้นตอนการขัดมันด้วยผง FLOOR HARDENER

หลังจากเทคอนกรีนแล้วเสร็๗ จัดช่างปูนทำความสะอาดตามแนวรอยต่อระหว่างคอนกรีตเก่าและใหม่
ก่อนที่คอนกรีตใหม่จะเริ่มเซ็ตตัว



1. เมื่อปูนเริ่มเซ็ทตัว (ทดสอบโดยการเหยียบด้วยเท้า) ให้ทำการเปิดหน้าปูนด้วย ถาดหยาบ
2. ลากกล่องอลูมิเนียม ปรับระดับแบบหยาบ ก่อนลงผง Floorhardener
3 การโรย Floor Hardener ให้แบ่งเป็น 2 ส่วน ส่วนแรก ประมาณ 60 – 70 % ( เช่น 5 กก./ถุง ก็ใช้ 3.5 กก. )
ขัดด้วยถาดหยาบ ลากกล่องอลูมิเนียมควมคุมระดับ แล้วโรยผงส่วนที่เหลือ
4. เสร็จแล้วขัดหน้าด้วยถาดขัดหยาบ
5. เช็คระรับแบบละเอียดครั้งสุดท้าย คอนกรีตเริ่มเซ็ตตัว
6. ก่อนคอนกรีตเซ็ตตัว ต้องคอยเก็บเศษปูน และทำความสะอาดรอยต่อคอนกรีต
7 อาศัยประสบการณ์ของ นายช่าง โฟรแมนและช่างปูน หลังจากใช้ถาดขัดหยาบขัดผิวจนรู้สึกได้ว่า
ผิวคอนกรีตไม่มีการยุบหรือยุบตัวน้อยมาก ให้เริ่มใช้เครื่องขัดสองใบพัด (คอปเตอร์)
8 หลังจากนั้นให้ลงเครื่องขัดแมงปอขนาด 5 แรง

10. ให้สังเกตว่าผิวพื้นว่าแห้ง พอที่จะเก็บเกรียง (ด้วยมือ) หรือยัง ปัจจุบันไม่นิยมเพราะผิวมันจะเป็นรอยเกรียง
แต่จะจบด้วยเครื่องขัดมัน 4 แรง ที่นำเข้าจากต่างประเทศ

จาก construction 09
11. หลังจากขัดมันเสร็จ โดยประมาณ 3 ชม. ให้บ่มน้ำยา Cureseal type F ของ Samson และหลังจากนั้นล้างออกด้วย
น้ำยา Degreaser type A หรือจะลดค่าใช้จ่ายด้วยการบ่มน้ำแทน ขึ้นอยู่กับความต้องการของเจ้าของงาน
4. การควบคุมผิว
- การควบคุม Slump ของ Concrete ต้องให้ได้ตามที่ Design และมีความสม่ำเสมอ
- การควบคุมเวลาในการเทคอนกรีตควรให้ต่อเนื่องกัน และการเทคอนกรีตในแต่ละ Bay ควรเป็นหน้าและเป็นแนวเดียวกัน
หรือการหยุดรอคอนกรีตควรหยุดให้เป็นแนวตั้งฉากกับ Joint ไม่ควรหยุดในลักษณะเว้าๆ แหว่งๆ
- การโปรยผง Hardener ควรโปรยด้วยความสม่ำเสมอ
- การเก็บเกรียงด้วยมือควรใช้น้ำหนักกดเกรียงให้สม่ำเสมอ และช่วงระยะห่างของการเก็บเกรียงด้วยมือควรมีช่วงระยะ
ที่สม่ำเสมอ การเก็บรอยเกรียงควรทำไปพร้อมกับการเก็บเกรียงด้วยมือโดยใช้ไฟส่องดูว่าเป็นคลื่นหรือไม่และควรเก็บ
แต่งก่อนผิวหน้าจะ set ตัว
จากประสบการณ์ การเก็บเกรียงขั้นตอนสุดท้ายของการขัดมันด้วยเกรียงมือ จะทำให้เห็นรอยเกรียงโค้งเป็นใบพัด
แต่ถ้าขั้นตอนสุดท้ายขัดมันด้วย เครื่องขัดแมงปอชนิดนำเข้าจากต่างประเทศ จะทำให้ผิวเรียบเป็นระเบียบมากกว่า
ข้อควรระวัง
- เพื่อความสวยงามของพื้นคอนกรีตควร Set ตำแหน่งรอยต่อ joint ให้หลบในที่ลับตาหรือบริเวณที่มีสิ่งของมาบังไว้
- การเก็บน้ำปูนหรือขี้ปูนที่ล้นเข้าไปใน Concrete Bay เก่าและเก็บรอยต่อให้ดี ถ้าเก็บไม่ดีจะเกิดเป็นรอยตะเข็บเกิดขึ้น
- ในบริเวณจุดตัว Joint ให้เป็นสี่แยกตลอด และไม่ควรตัด Joint ให้เป็นมุมฉากมุม, มุมเว้า
- ในส่วนพื้นที่โครงสร้างต่างชนิดกันควรตัด Joint แยกจากกันเป็น Slab on ground กับ Slab on beam
- ตรงส่วนมุมเว้า มุมแหลม ควรเสริมเหล็กกันแตกเสมอ รวมถึงบริเวณ Block out วงกบ โดยใช้ความยาวเท่ากับ 3 d
การขัดมันด้วยผง Floor hardener การขัดมันด้วยผง Floor hardener การขัดมันด้วยผง Floor hardener


แนะนำ ขั้นตอนการ Stressing and Grouting

Main Equipment for High Building


Tower crane
Placing Boom
Pump Boom
Passenger Lift

8 ตุลาคม 2552

Underground water tank and Waste water treatment.


Method Statement For. Underground water tank and Waste water treatment.

1. When Shop dwg. for construction old revision and revise1 WWT approved
2. Material Approve for all waterproof approved
แถบยางกันซึม ชนิด PVC Waterstops
วัสดุกันซึมภายใน WWT ชนิด water base epoxy
วัสดุกันซึมผนังภายนอก UWT&WWT ชนิด Self adhesive membrane ,cold applied self 1.5 mm thk.
วัสดุกันซึมผนังภายใน UWT ชนิด Cement Base waterproofing

3. ลำดับของงานหลังจากงานฐานรากแล้วเสร็จ บริเวณ Sump pump เตรียมงานเพื่อเทคอนกรีต ถึงระดับใต้พื้น -1.70 m. เนื่องจาก sump pump และพื้นระดับ -1.70 เทไม่ต่อเนื่องกัน ดังนั้นจะต้องติดตั้ง PVC waterstops ที่รอยต่อคอนกรีตบริเวณนี้
4. การติดตั้ง water stop ต้องติดตั้งให้ถูกวิธี หากไม่ถูกวิธี เมื่อเทคอนกรีต waterstops อาจถูกคอนกรีตทับ เท่ากับเปิดทางให้น้ำซึมผ่านผนังคอนกรีตได้ง่าย วิธีป้องกันควรใช้ลวดเหล็กหรืออื่น ๆ ช่วยยึดระยะทุก ๆ 20 cm. การต่อ PVC waterstops ควรกระทำตามข้อแนะนำของผู้ผลิต
5. บริเวณหลุม drop cylo กับพื้นของบ่อบำบัด ให้ทำการเทคอนกรีตครั้งเดียว โดยติดตั้ง ไม้แบบลอย ดังนั้น จึงไม่ต้อง ติดตั้ง
PVC waterstops
6. การเตรียมงานไม้แบบ งานเหล็ก ,วัสดุกันซึม เพื่อการเทคอนกรีต
6.1 ปรับดินเทคอนกรีตหยาบ
6.2 ปู membrane กันซึมพื้นทั้งหมด โดยเผื่อระยะทาบ แนวตั้งของผนัง 30 cm.









6.3 กรณีปูชนฐานราก ให้ทำตามรูปด้านล่าง









6.4 ลงเหล็กพื้นทาบตามแบบที่กำหนด

6.5 ลงเหล็กผนังตามแบบที่กำหนด

6.6 ติดตั้ง PVC waterstops ระหว่างพื้นและผนังดังรูป








6.7 ติดตั้ง PVC waterstops ของผนังที่เทคอนกรีต ก่อนและหลัง ดังรูป









7. ผนังที่สัมผัสดินและน้ำใต้ดิน ทำกันซึมด้วยวิธีติดตั้ง membrane เพื่อป้องกันน้ำซึมด้านข้าง ก่อนถมดินให้ติดตั้งแผ่นวีวี่บอร์ดประกบ membrane เพื่อป้องกันความเสียหายที่จะเกิดกับแผ่น membrane
8. ลำดับการเทผนัง ให้เทผนังรอบนอกทั้งหมดก่อน หลังจากนั้นให้เทผนังภายในตามลำดับ
9. เมื่อเทคอนกรีตแล้วเสร็จ สำหรับ UWT ให้ทำกันซึมภายใน โดยระบบ Cement Base waterproofing
สำหรับ WWT ให้ทำกันซึมภายใน โดยระบบ water base epoxy
10. วิธีการทดสอบการรั่วซึมของ ถังน้ำดี และบ่อบำบัดน้ำเสีย
8.1 กรณีเป็นถังน้ำบนดิน จะทำการทดสอบโดยวิธีขังน้ำ
8.2 กรณี ถังน้ำใต้ดิน จะทำการตรวจสอบการรั่วซึมของผนัง / พื้นก่อนทำกันซึม หากพบว่ามีการรั่วซึมการแก้ไขปัญหา
เบื้องต้นจะใช้วัสดุอุด water plug หากยังเกิดการรั่วซึมอีก ให้ทำการ ยิงโฟม (INJECTION PU FOAM) การยิงน้ำยานั้น จะทำการเจาะบริเวณที่เกิดการรั่วซึม แล้วฝังหัว (PACKER) เป็นหัวที่ใช้ในการเสียบสายต่อจากเครื่องยิงน้ำยา แล้วทำการยิงน้ำยา เมื่อยิงน้ำยาแล้วนั้น น้ำยาที่ยิงเข้าไปจะวิ่งเข้าไปยังรอยต่อ ช่องว่างต่าง ๆ ภายในตัวคอนกรีต ซึ่งน้ำสามารถรั่วซึมออกไปได้นั้น จะทำปฏิกิริยากับน้ำ หรืออากาศ สร้างตัวเป็นแผ่นโฟมยาง ปิดกั้นทางเดินของน้ำไม่ให้น้ำนั้นไหลซึมผ่านออกไปได้อีก