30 มิถุนายน 2555

Tips การควบคุมงานสถาปัตยกรรม

http://mybuilt.blogspot.com/

1 ตีLine

1.1 ในการตีlineต้องใช้แบบที่เป็นShop Drawingที่ได้รับapproveจากconsultก่อน

1.2 ก่อนตีlineต้องตรวจสอบวัสดุและสรุปวัสดุที่จะใช่ก่อสร้างให้สอดคล้องกับlineเช่น

-ขนาดของอิฐ

-ขนาดวงกบไม้

-ขนาดเฟรมอลูมิเนียม

1.3 การตีlineต้องอ้างจาก Base line ของงานโครงสร้าง

1.4 ต้องตรวจสอบช่องเปิดและระยะขอบตึกทั้งหมด ก่อนตี line

1.5 line ของเส้นระดับ +1.00 m. FFL (floor finish level) ควรตรวจสอบระดับพื้นโครงสร้างก่อนแล้วAdjustใหม่ จะช่วยประหยัดค่างาน Topping หรือลดค่าสกัดพื้น

2 งานระบบติดตั้งท่อใหญ่+inspection

2.1 ต้องระวังตำแหน่งของท่องานระบบ ถ้าหลุดจากlineไม่ควรก่อ เพื่อลดค่าเสียหายจากการทุบรื้อ

2.2 ก่อนการก่อต้องผ่านการ Inspection ของ Consul tงานระบบก่อน

3 งานก่ออิฐ

3.1 ต้องตรวจเช็คขนาดอิฐก่อนก่อเนื่องจากถ้าอิบเล็กกว่าจะทำให้สิ้นเปลืองปูนฉาบ

3.2 ก่อนก่ออิฐต้องตรวจสอบดิ่ง line

4 งานติดตั้งวงกบ

4.1 ต้องศึกาชนิดของไม้ที่จะทำวงกบว่าเหมาะกับงานแบบไหน งานเกรดไหน

4.2 ชนิดของไม้ที่ทำวงกบมีผลกับงานสี

4.3 ตำหนิต่างๆของไม้เช่นตามด เสี้ยน มอด มีผลกับงานสี โดยเฉพาะไม่เหมาะกับแต่งสีธรรมชาติ

5 งานเทเสาเอ็นทับหลัง

5.1 ต้องระวังเรื่องขนาด รูปร่าง ระดับ

5.2 ต้องระวังการเข้าแบบ และการเทแบบต้องไม่บวมแตก

5.3 อัตราส่วนผสมของปูนต้องถูกต้องตามสัดส่วน

6 งานหล่อเคาน์เตอร์

6.1 ขนาด รูปร่าง ระดับ ต้องได้ตามแบบ โดยเฉพาะช่องเปิด

6.2 ท้องเคาน์เตอร์ต้องใช้ไม้แบบที่เรียบสภาพดี เพื่อประหยัดค่าแต่งปูนท้องเคาน์เตอร์

7 งานติดตั้งราวระเบียง

7.1 ขนาด รูปแบบ ระดับ ต้องได้ตามแบบ

8 งานระบบติดตั้งท่อเล็ก+inspection

8.1 บล็อกสวิทย์ต้องได้ตำแหน่งและเสมอผิวฉาบ

8.2 ตำแหน่ง Out Letต้องได้ระดับและตำแหน่ง

9 งานเซี้ยมและติดตาข่าย

9.1ต้องระวังเรื่องดิ่ง โดยเฉพาะช่องอลูมิเนียม เซี้ยมต้องได้ขนาด

10 งานฉาบ

10.1 ผิวฉาบต้องเรียบได้ระนาบ ไม่มีเม็ดทราย

10.2 ผนังฉาบต้องได้ฉากได้มุม

10.3 บริเวณระดับฝ้าและบัวต้องระวังเรื่องระนาบฉาบ

11 งานเทTopping

11.1 ต้องตรวจสอบระดับก่อนเทและหลังเท

11.2 ต้องตรวจเช็คผิวหลังเทเสร็จ

12 งานติดตั้งบานประตูและอุปกรณ์Lock set

12.1 เช็คตำแหน่งบานพับ ตาแมว ตำแหน่งLock set

12.2 เช็คระยะช่องวงกบต้องได้ก่อนติดบาน

12.3 ต้องระวังเรื่องระดับตีนบาน

12.4 บานมีลายไม้แนวขวางต้องระวังว่าจะติดลายขวางหรือลายหงาย

13 งานกระเบื้องผนังห้องน้ำ

13.1 มุมห้องจะต้องได้ฉากได้ดิ่ง

13.2 การเข้า45หรือปากกบจะต้องได้ดิ่งและร่องจะต้องเท่ากัน

13.3 มุมและร่องของกาะเบื้องจะต้องเท่ากันโดยใช้SPACER

13.4 รอยต่อกระเบื้องต้องไม่กระเดิด ต้องให้ความสำคัญกับการคัดแยกกระเบื้องก่อนรับและนำไปใช้งาน

13.5 การตัดกระเบื้องบริเวณที่เป็นช่องอุปกรณ์งานระบบจะต้องได้ขนาดและเรียบร้อย

13.6 การจบกระเบื้องแผ่นสุดท้ายกับฝ้าต้องเช็คระดับให้ดี

13.7 ก่อนปูกระเบื้องต้องเช็คเรื่องSlopeก่อนทุกครั้ง

13.8 ตรวจline และขนาดของห้องให้ตรงกับแบบก่อสร้าง

13.9 เช็คดิ่งวงกบและขนาดข่องเปิดให้ได้ก่อนปุกระเบื้อง

13.10 เช็คตำแหน่งFDและชักโครก

14 งานกระเบื้องพื้นห้องน้ำ

14.1 ตรวจเช็คเรื่องSlopeก่อนปู

14.2 ตรวจตำแหน่งFD,ตำปหน่งชักโครก

14.3 ร่องกระเบื้องต้องเท่ากัน

15 งานปูหินเคาน์เคอร์

15.1 ระวังเรื่องSlope

15.2 ตรวจสอบคุณภาพหิน ถ้าไม่ได้คุณภาพต้องแจ้งเจ้าของงานหาข้อสรุปก่อนปู

15.3 ระวังเรื่องคุณสมบัติหิน มีผลต่อน้ำยาทำความสะอาดและงานแก้ไข

16 งานกระเบื้องห้องครัว

16.1 เน้นเรื่องระดับเนื่องจากจะจบกับไม้ลามิเนต

16.2 ระวังเรื่องการProtectionพื้นหลังปู

17 งานฉาบแต่งฝ้าระเบียง,บัวหยดน้ำ

17.1ผิวฉาบต้องเรียบ ได้ระดับ ได้ระนาบ

18 งานกระเบื้องระเบียง

18.1 ต้องระวังเรื่องSlope

18.2 ระดับและตำแหน่งFD

19 งานระบบเหนือฝ้า+inspection

19.1 งานระบบเหนือฝ้าต้องได้รับการInspectionจากconsultงานระบบก่อนดำเนินการส่วนอื่น

20 งานติดตั้งหน้าต่างอลูมิเนียม

20.1ช่องเปิดงานจับเซี๊ยมปูนต้องได้ขนาด ได้ดิ่ง ได้ระดับ

21 งานติดตั้งโครงฝ้า

21.1 ต้องตรวจสอบวัสดุ เช็คspectฝ้าก่อน

21.2 ศึกษาวิธีการติดตั้ง

21.3 ระดับฝ้าต้องได้ระดับเดียวกันทั้งหมด

21.4 เช็คตำแหน่งท่องานระบบที่กระทบกับโครงmainฝ้า

22 งานยิงแผ่นฝ้า

22.1 ก่อนติดตั้งแผ่นฝ้าต้องได้รับเอกสารการInspectionจากconsultงานระบบก่อน

งานฉาบฝ้า

22.2 ต้องเน้นการฉาบรอยต่อฝ้า

22.3 การเดินผ้าฉาบต้องต่อเนื่อง

22.4 ตรวจสอบจุดที่ฉาบบางแบหนา

22.5 ตรวจสอบคุณภาพปูนฉาบฝ้าและแผ่นฝ้าที่นำมาใช้

23 งานทาสีรองพื้นฝ้าและผนัง

23.1 เช็คผิวผนัง ฝ้า ผ่านการขัดที่เรียบร้อยก่อน

24 งานติดตั้งสุขภัณฑ์

24.1 เช็คตำแหน่ง ระดับ Out Let ,ระยะเกลียวก่อนติดตั้ง

24.2 สุขภัณฑ์ส่วนที่ถูกขโมยงานต้องติดตั้งภายหลัง

25 งานทาสีจริง

25.1 ต้องระวังสีรอยต่อฝ้ากับผนัง

25.2 การกลิ้งสีฝ้าต้องไปทางเดียวกัน

26 งานทาสีบานประตู วงกบ ซับวงกบ

26.1 กรณีเป็นสีธรรมชาติ บานต้องลงแป้งย้อมเสี้ยน

26.2 ต้องทาสีขอบบน ขอบล่างบานก่อนติดบาน

27 งานระบบติดตั้งSecond Fix

27.1 ต้องระวังไม่ให้เปื้อนสีฝ้า,ผนัง

27.2 ช่องเจาะDown light ต้องไม่ใหญ่กว่าขอบDown light

28 ตรวจDefect +เก็บงานแก้ไข

28.1 ระวังวิธีการทำงานก่อนหลัง

28.2 ระวังเรื่องค่าใช้จ่าย ต้องวางแผนและกำหนดเวลาจบ

28.3 เก็บงานส่วนหนึ่งต้องไม่ลามงานส่วนอื่น

29 งานเก็บรายละเอียดสีจริงเที่ยวสุดท้าย

29.1 ต้องระวังสีรอยต่อฝ้ากับผนัง

29.2 การกลิ้งสีฝ้าต้องไปทางเดียวกัน

30 ตรวจDefect Consult+เก็บงานแก้ไข

30.1 ระวังวิธีการทำงานก่อนหลัง

30.2 ระวังเรื่องค่าใช้จ่าย ต้องวางแผนและกำหนดเวลาจบ

30.3 เก็บงานส่วนหนึ่งต้องไม่ลามงานส่วนอื่น

31 งานติดตั้งพื้นไม้ลามิเนต

31.1 ตรวจเช็คระดับconsultเซนต์รับการตรวจสอบ

31.2 ตรวจเช็คความชื้นมีการเซนต์ตรวจสอบร่วมกันก่อนปู

31.3 หลังจากปูพื้นไม้แล้วเสร็จให้ระวังการตรวจรับของconsult ทางCoctractorต้องร่วมตรวจDefect ตำหนิของไม้

ให้ถ่ายรูปเป็นหลักฐานอย่างละเอียดร่วมกับconsultก่อนรับพื้นที่คืน

32 งานตกแต่งภายใดย Furniture contractor

32.1 หลังจากงานตกแต่งภายในแล้วเสร็จให้ระวังการตรวจรับของconsult ต้องร่วมตรวจDefect

ให้ถ่ายรูปเป็นหลักฐานอย่างละเอียดร่วมกับconsultก่อนรับพื้นที่คืน

33 Final inspection

33.1 ระวังวิธีการทำงานก่อนหลัง

33.2 ระวังเรื่องค่าใช้จ่าย ต้องวางแผนและกำหนดเวลาจบ

33.3 เก็บงานส่วนหนึ่งต้องไม่ลามงานส่วนอื่น

34 เก็บรายละเอียดสุดท้าย+Cleaning


35 ส่งมอบแก่โครงการ

29 สิงหาคม 2554

Blog Master

Story before 2009-04-dd  http://mybuilt.blogspot.com


B.ENGINEERING (CIVIL ENGINEER)
EXPERIENCE

Siamese Asset  Co.,ltd.
March 2011 – Present

Project Manager Siamese SRW/Queen


Construction Line  Co.,ltd.
July 2008 – 2011

Project Manager:
Central Plaza Udonthani
At Udonthani
For . CPN.
Project cost 900,000,000 Baht
July 2009 – 2011
:
Project Manager:
RHYTHMratchada II
At Huai Khwang,Bangkok
For . Asian Property Development PLC.
Project cost 275,000,000 Baht
2008-2009
:
Ritta Co.,ltd.
1998 –  2008

Project Manager:
Recall Thailand Phase II
At Samutprakarn Province
For . Recall Thailand Co.,Ltd.
Project cost 177,000,000 Baht
April – August 2008
:
Project Manager:
Tesco Lotus Hypermarket Pranburi
At Pranburi Prajuabkirikhan Province
For . Ek-Chai Distribution Co.,Ltd.
Project cost 163,710,000 Baht
Nov 2007 – Mar 2008
:
Project Manager:
Tesco Lotus Hypermarket Sena
At SENA Ayuttaya Province
For . Ek-Chai Distribution Co.,Ltd.
Project cost 139,100,000 Baht
July-October 2007
:
Project Manager:
Tesco Lotus Value Store Mae Chan
At Mae Chan Chiangrai Province
For . Ek-Chai Distribution Co.,Ltd.
Project cost 115,934,500 Baht
Jan -June 2007
:
Project Manager:
Tesco Lotus Compack Hyper Fang
At Fang Chiangmai Province
For . Ek-Chai Distribution Co.,Ltd.
Project cost 235,593,670 Baht
April -December 2006
Project Manager:
Tesco Lotus Distribution Bangbuathong
At Bangbuathong Nonthaburi Province
For . Ek-Chai Distribution Co.,Ltd.
Project cost 360,000,000 Baht
Dec 2005- March 2006
:
Project Manager:
Tesco Lotus Value Store Sattahip
At Sattahip Chonburi Province
For . Ek-Chai Distribution Co.,Ltd.
Project cost 54,000,000 Baht
April -Nov 2005
:
Project Manager:
Tesco Lotus Value Store Maesai
At Maesai Chringrai Province
For . Ek-Chai Distribution Co.,Ltd.
Project cost 154,000,000 Baht
Dec 2004 – March 2005
:
Project Engineer for :-
Ban Zaan Fresh Market
At Patong,Katoo District,Phuket Provine
For Kaewmaneepichai
Project cost 145,000,000 Baht
Sep -Nov 2004
:
Project Engineer for :-
Sweet Corn Factory
At Wangmung,Saraburi Province
For Siam Food Product Public Co.,Ltd.
Project cost 250,000,000 Baht
April-August 2004
:
Project Manager for:
Tesco Lotus Value Store Nakornpanom
At Nakorn Panom Province
For . Ek-Chai Distribution Co.,Ltd.
Project cost 74,880,000 Baht
Sep 2003 – March2004
:
Project Engineer for :
Tesco Lotus Value Store Mukdaharn
At Mukdaharn Province
For Ek-Chai Distribution Co.,Ltd.
Project cost 115,600,000 Baht
Mar 2003 – Aug 2003
:
Project Engineer for :
Bio Plant Phukiow
At Phukiow District,Chaiyapoom Province
Project cost 50,000,000 Baht
Mar 2002 – Feb 2003
:
Site Civil Engineer :-
DAVID DISTRIBUTION ( THAILAND ) LTD.
New Distribution Center Project Wangnoi,
Ayutaya Province
Project cost 275,000,000 Baht
Jul 2001 – Feb 2002
:
Site Civil Engineer :-
BEER THAI ( 1991 ) PCL
BTCL – KP Project ( Bid -6 ) Kampangphet Province
Project cost 226,000,000 Baht
Feb 2000 – Jun 2001
:
Site Civil Engineer :-
BEER THAI ( 1991 ) LTD.
BTCL – KP Project ( Bid – 1) Kamphangphet Province
Project cost 285,000,000 Baht
21 Jul 1999 – Jan 2000
:
Site Civil Engineer :-
Start work at Ritta
DISCOUNT STORE PROJECT ( MAKRO SATHORN )
Project cost 300,000,000 Baht
1998 – 1999
:
Work at Mar Engineering Co.,ltd ,Position Civil Engineer
WORK AT LAO PDR

Irrigation Project
1995 – 1998
:
Work at Waltzen Enterprize Co.,ltd ,Position site Civil Engineer
National Housing Authority
KEHA RAMKUMHANG
Project cost 900,000,000 Baht
1992– 1994

M Junrapoo

22 สิงหาคม 2553

การก่อสร้าง อาคารห้างสรรพสินค้าประเภท discount store



จุดขายของผู้รับเหมาก่อสร้าง อาคารห้างสรรพสินค้า คือการทำให้ พื้นที่ขาย sale area ของอาคารต้องได้ระนาบสูงสุด ทั้งนี้เพื่อให้การติดตั้ง ชั้นวางสินค้า ไม่ต้องมาแก้ปัญหาระหว่างการติดตั้ง

ส่วนการทำให้พื้น ได้ระนาบสูงสุดหาดูได้ที่



Step 1 ขั้นตอนการทำงาน เริ่มตั้งแต่ การปรับดินเทลีน คานคอดิน วางแผ่น Prestress จนถึงการเทคอนกรีตเสร็จ

1. ปรับดินเท Lean Concrete หนาประมาณ 5 ซม. เพื่อทำคานคอดินรับพื้น ข้อระวังในการทำคานคอดิน คือการควบคุมระดับหลังคานให้ใด้ระดับตามแบบก่อสร้าง เพื่อการวางแผ่น Prestress ง่ายขึ้นในระหว่างการทำงาน
2. รื้อไม้แบบคานคอดินออก ปรับระดับดินเดิมตามสภาพ แล้ว ฉีดน้ำยากำจัดปลวกลงดิน ให้ได้ตามสเป็คของผู้ออกแบบ ตามด้วยการวางแผ่น Prestress
3. วางแผนและจัดลำดับ การเทคอนกรีตพื้นออกเป็นโซน แต่ละโซนมีขนาด กว้าง x ยาว ประมาณ 20 x50 เมตร แต่โซนออกแบบรอยต่อเป็น pour strip หรือ Expantion joint ทั้งนี้เพื่อควบคุมรอยแตกร้าว ส่วนการเทคอนกรีตแต่ละครั้งควรแบ่ง strip การเทไม่ควรเกิน 6-8 เมตร เพื่อควบคุมค่าระดับของพื้น


4. การวางเหล็กเสริมควรวางให้ได้ตำแหน่ง เหล็กบนต้องอยู่บนจริง ๆ เหล็กล่างต้องอยู่ล่าง และในส่วน
Covering ต้องได้ตามที่กำหนดโดยใช้ลูกปูนและ barchair ช่วยในการจัดตำแหน่งของเหล็กเสริม


5. Construction Joint ของแต่ละ Bay ให้ใช้ตะแกรงกงไก่เป็นแบบ ด้านที่จะตัด Joint ควรยึดตะแกรงให้แน่นด้วย เหล็ก 9 mm. ตลอดแนวที่จะตัด Joint ระวังเวลา จี้คอนกรีต ถ้ายึดตะแกรงไม่ดีจะทำให้คอนกรีตทะลักล้นออกมา การติดตะแกรง ควรวางให้ได้ระนาบฉากเสมอ


6. การใส่เหล็กฉาก กันเหลี่ยมบิ่น หรือ เพื่อให้เหลี่ยมของพื้นในแนวที่ตัด Joint มีคุณภาพควรใช้เหล็กฉากใหม่ ไม่ควรใช้เหล็กเก่าเพราะอาจมีขี้ปูนติดกับเหล็กฉากอยู่ และควรทาเหล็กฉากด้วยน้ำยา หรือจาระบี เพื่อไม่ให้เหล็กฉากยึดติดกับ Concrete ตอนรื้อเหล็กฉากควรใช้เครื่องตัดร่องนำระหว่างแนวเหล็กฉาก กับคอนกรีต เพื่อป้องกันเหลี่ยมแตก การ Set ระดับ ไม่ควรเชื่อมเหล็กฉากติดกับเหล็กเสริม เพราะระดับอาจเคลื่อนได้ ก่อนเทควรให้ Survey Check ระดับให้อีกครั้ง และควรยึดค่าระดับอ้างอิงจุดเดียวกันเสมอ


7. การเสริมเหล็กกันแตกตามบริเวณ Block Out และ Opening รวมทั้งตามมุมเสา มุมหักต่างๆของคอนกรีต ต้องมี อย่างน้อย 3 เส้น โดยใช้ความยาวเท่ากับ 3 d และระยะห่างประมาณ 2.5 - 3 ซม. โดย Aggregated สามารถแทรกตัวลงได้โดยไม่มีการแยกตัว

8. การเท Concrete ควรจะเทเริ่มจาก Bay ตรงมุมออกมาก่อน หรือ ทาง วิศวกร เห็นสมควร และก่อนเท
คอนกรีต ควร Check Slump ก่อนเททุกครั้ง Slump ต้องได้ตามที่ Mix Design ไว้ ( Slump ปกติจะอยู่ที่ 10 + 1 ซม. )

9. การปาดหน้าปูนให้ใช้กล่องอลูมิเนียม หรือโครงถักอลูมิเนียมช่วยในการปาดหน้า และง่ายต่อการ Check ระดับของผิวคอนกรีต


10. การเท Concrete ใน Bay ต่อไปควรสะกัดคอนกรีตที่ล้นออกนอกตะแกรงกงไก่ก่อนเทคอนกรีตใหม่เสมอ

การตรวจสอบก่อนการเทคอนกรีต และระหว่างการเทคอนกรีต
- ตรวจสอบระดับของ lean Concrete และความเรียบร้อยของพลาสติก Sheet
- ตรวจสอบแนววางท่อ และระดับของลวดอัดแรงให้ได้ตามแบบ
- ตรวจสอบงานระบบที่อยู่ใต้พื้นให้ตรงตามแบบ
- ตรวจสอบเหล็กเสริมตามช่องเปิด และ joint รวมทั้งบริเวณสมอยึด (Anchorage)
- ตรวจสอบเหล็กฉาก ว่าได้ระดับเท และได้แนว และมีความแข็งแรง
- ตรวจสอบว่ามีการจี้ปูนสม่ำเสมอ และ slump ในการเทต้องได้ตามกำหนด
- ตรวจสอบการปาดปูน ปรับระดับด้วยโครงถักอลูมิเนียม และเช็คด้วยกล้องระดับ
- ถ้าเหล็กเสริมติดแนว tendon ให้ขยับเหล็กเสริมออกจากแนว tendon ห้ามหักงอ tendon เพื่อหลบเหล็กเสริมซึ่งจะทำให้เกิด
friction loss สูง
- แนวการเทคอนกรีตต้องเป็นแนวเดียวกันตลอดห้ามเทตัดขวางกันเป็นสามแยก

ข้อควรระวัง

1. ไม่ควรให้คนงานเดินบนเหล็กเสริมเพราะอาจทำให้เหล็กคด งอ เสียรูปทรงได้
2. ก่อนเทคอนกรีต ทุกครั้งควรให้ Survey มา Recheck ระดับก่อนเสมอ และใช้ค่าระดับที่จุดเดียวกัน
3. ก่อนเทคอนกรีตควรลดระดับเผื่องาน Finishing ตามแบบไว้ก่อนเสมอ
4. ก่อนเทคอนกรีต ควรลงน้ำยากันปลวกก่อน 1 วัน
5. ต้องทำความสะอาดแบบก่อนเทคอนกรีตทุกครั้ง
6 เพื่อความสวยงามของพื้นคอนกรีตควร Set ตำแหน่งรอยต่อ joint ให้หลบในที่ลับตาหรือบริเวณที่มีสิ่งของมาบังไว้
7 การเก็บน้ำปูนหรือขี้ปูนที่ล้นเข้าไปใน Concrete Bay เก่าและเก็บรอยต่อให้ดี ถ้าเก็บไม่ดีจะเกิดเป็นรอยตะเข็บเกิดขึ้น
8 ในบริเวณจุดตัว Joint ให้เป็นสี่แยกตลอด และไม่ควรตัด Joint ให้เป็นมุมฉากมุม, มุมเว้า
9 ในส่วนพื้นที่โครงสร้างต่างชนิดกันควรตัด Joint แยกจากกันเป็น Slab on ground กับ Slab on beam
10 ตรงส่วนมุมเว้า มุมแหลม ควรเสริมเหล็กกันแตกเสมอ รวมถึงบริเวณ Block out วงกบ โดยใช้ความยาวเท่ากับ 3 d

Step 2 ขั้นตอนการขัดมันด้วยผง FLOOR HARDENER

การก่อสร้าง โรงงานอุตสาหกรรม ทั่วๆไป

http://mybuilt.blogspot.com