18 กันยายน 2551

Super flatfloor V.1


Method Statement for flat slab
1. เตรียมพื้นที่สำหรับเท Lean concrete ฉีดน้ำยากันปลวกตลอดพื้นที่ แล้วปูพลาสติก หนา 0.2 mm.
2. เท Lean concrete หนา 5 cm. ปาดระดับให้เรียบพอประมาณ (ระดับของ Lean concrete อยู่ระดับเดียวกับ
Drop - panel)

3. กำหนดแนวการเทพื้น เพื่อจะได้ทำการ Set เหล็กฉากปรับระดับ โดยขนาดของ Bay ในการเทนั้นไม่ควรใหญ่
มากนัก จะทำให้การควบคุมระดับทำได้ยาก วิธีการในการ Set เหล็กฉาก คือ
- กำหนดแนวในการวางเหล็กฉาก ไม่ควรห่างเกิน 6 m. (ความยาวของเหล็กกล่องปาดปูน)
- ใช้เหล็ก DB 12 ยาว ประมาณ 15 cm. เชื่อมกับแผ่น Plate เพื่อวางเป็นแนว ขาไกด์
- เชื่อมเหล็ก L - 30 x30 x 5 mm. เข้ากับ ขาไกด์ เพื่อใช้เป็นเหล็กฉากปรับระดับ

- Joint แนวริมด้านข้าง ใช้ตาข่ายกั้น Joint โดยใช้ลวดผูกกับเหล็กพื้นให้แน่นและได้ดิ่งเพื่อป้องกัน
คอนกรีตล้นออกมาก
4. ก่อนการเทควรทำการตรวจสอบ
- การวางเหล็กพื้น ระยะห่างของเหล็ก การเสริมเหล็กเสริมพิเศษให้ครบถ้วน ระยะ Covering ของปูน
- กรณีของการเท Bay ต่อจาก Bay ที่เทมาแล้วให้ทำการสกัดปูนที่เกินออกมาตามแนว Joint ให้ได้ดิ่ง แล้ว
ราดด้วยน้ำยาประสานก่อนการเท
- ความสะอาดของเหล็ก Lean concrete และ แนว Joint
5. ควรควบคุม Slump ของปูนให้อยู่ระหว่าง 10-12 cm.
6. เริ่มเทคอนกรีตจากด้านในสุดออกมา แล้วควรเทไล่ออกมาให้เป็นหน้าเพื่อป้องกันคอนกรีต Set ตัวไม่พร้อมกัน
ทำให้ปรับระดับได้ยาก
7. ในขณะเทคอนกรีตให้จี้คอนกรีตให้ทั่ว โดยเน้นบริเวณ Drop - panel ซึ่งจะมีเหล็กเสริมหนาแน่น
8. ใช้เหล็กกล่อง อะลูมิเนียม ปาดระดับตามเหล็กฉากที่ Set ไว้ โดยในขณะเดียวกันให้ Survey ทำการตรวจสอบ
เหล็กฉากด้วย เพื่อป้องกันการทรุดตัวของเหล็กฉาก อันจะทำให้คอนกรีตไม่ได้ระดับ หากคลาดเคลื่อนให้ทำการ
เชื่อมแก้ไข
9. ให้ Survey สุ่มจับค่าระดับของคอนกรีตเป็นระยะ ๆ หากสูงหรือต่ำไปให้แก้ไขทันที

ข้อควรระวัง
1. ควรทำการ Recheck เหล็กระดับก่อนการเท และในขณะเทเพื่อให้ได้ระดับที่แน่นอน
2. ในการตั้งกล้องระดับ แต่ละครั้ง ควรจะอ้างอิงมาจากจุดเดิมทุกครั้งเพื่อให้ได้ระดับเดียวกันทั้งอาคาร
3. ในการแกะเหล็กฉากแนว Joint ออก ควรทำด้วยความระมัดระวังไม่ให้เกิดรอยแตก

การทำ Trial Mix for Concrete


Method Statement Trial Mix

1. ตรวจสอบ Strength ของคอนกรีต กับผู้ออกแบบ ใช้ 240 ksc Cy และ 280 ksc Cy ที่ Slump 75+2.5 cm.
2. ให้เก็บตัวอย่าง ที่ 3 วัน 3 ลูก ของ Strength 280 ksc Cy
ให้เก็บตัวอย่าง ที่ 7 วัน 3 ลูก ของ Strength 240 ksc Cy และ 320 ksc Cy
ให้เก็บตัวอย่าง ที่ 14 วัน 3 ลูก ของ Strength 240 ksc Cy และ 320 ksc Cy
3. นัดกับ Plant Concrete เพื่อทำการเก็บตัวอย่าง โดยต้องตรวจสอบ Slump และ Strength ให้ถูกต้อง
4. ให้นำตัวอย่างขึ้นมาจากบ่อก่อน 1 วัน ก่อน ที่จะทำการทดสอบ
5. ทำการ Cab หัวตัวอย่างก่อนการทดสอบ
6. นำผลทดสอบทั้งหมดมาเขียนเป็นกราฟ


การตรวจสอบค่ายุบตัวของคอนกรีต

การจี้คอนกรีต ที่ถูกต้อง


Method Statement of Vibrators. (Internal Vibrators Type)

1. ต้องจุ่มหัวจี้ลงไปตลอด ความลึกของคอนกรีตสด แล้วจี้ไปถึงชั้นล่างด้วย
2. การจี้เขย่าต้องให้ทั่วบริเวณคอนกรีต โดยต้องกำหนดระยะการจี้ที่ถูกต้องเพื่อให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด
ในการอัดแน่น
3. เมื่อจี้เขย่าเสร็จแล้ว ควรดึงหัวจี้ขึ้นอย่างช้า ๆ เพื่อให้ช่องเปิดที่เกิดจากหัวจี้ปิดตัวเองเข้าสนิท ไม่มีฟองอากาศขังอยู่

งานฐานรากอาคาร


Method Statement Of Footing

1. Surveyor เป็นผู้หา Grid line ให้ แล้ว Foreman เป็นผู้หาตำแหน่งของ Footing เอง
2. ถ้าพบว่าตำแหน่งของ Center line ไม่ถูกต้องหรือแปลก ๆ ไป ให้ตาม Surveyor มาช่วย
Recheck อีกครั้ง แต่ ถ้ายังไม่ถูกต้องให้แจ้งวิศวกรทราบ
3. Foreman จะต้องเป็นผู้หาระยะเสาเข็มหนีศูนย์ Pile Deviation เผื่อส่งเป็น Record ให้ วิศวกร



เส้น Grid line

เส้นทิศทาง Pile Deviation


4. เมื่อได้ตำแหน่งของ Center line แล้วให้ทำการหาขนาดของ Footing โดยการตีเส้นบอกขนาดให้ชัดเจน
แล้วทำการประกอบแบบและลงเหล็กเสริม

งานเท Concrete

1. เมื่อเข้าแบบและลงเหล็กเสร็จเรียบร้อยแล้วให้ตรวจสอบ ดังนี้
- เหล็กของ Footing ครบหรือไม่, Covering ได้ตามแบบหรือไม่
- ตรวจสอบขนาดของแบบ กว้าง, ยาว, สูง ว่าถูกต้องหรือไม่ และจะต้องได้ดิ่งและแนวที่ถูกต้อง
- ตรวจสอบจำนวนเหล็กเสริมของเสา, ขนาดเหล็กปลอก ว่าถูกต้องหรือไม่
- ให้ Survey ตรวจสอบตำแหน่งของเหล็กเสาอีกครั้งก่อนที่จะตีล๊อกเหล็กเสา
- ตรวจสอบ การค้ำยันและรอยต่อของแบบ ว่าแข็งแรงหรือไม่ โดยเฉพาะตรงมุมของแบบ
- ให้ทำระดับของ Concrete ที่จะเทให้เรียบร้อย และตรวจสอบความสะอาดของแบบที่จะเท
2. เมื่อทำตามขั้นตอนในข้อที่ 1 เสร็จเรียบร้อยแล้ว ให้ตามนายช่างมาตรวจ แล้วค่อยตาม Consult มา Check
ก่อนเท Concrete โดย Foreman จะต้องตาม Headman ชุดที่ทำมาเดินด้วยตอนตรวจแบบ
3. เมื่อ Consult อนุญาตให้เท Concrete แล้วให้แจ้งยอด Concrete ให้นายช่างทราบและทำตามดังต่อไปนี้
- ต้องเตรียมเครื่องมือในการเท Concrete ให้เพียงพอ เครื่องจี้, สาย Wire และให้ตรวจสอบเครื่องมือว่า
อยู่ในสภาพการใช้งานได้หรือไม่, ตรวจสอบน้ำมัน, น้ำมันเครื่อง, ให้เต็มอยู่ตลอด และให้ Check ว่ามีเครื่อง
Spare อยู่ที่ไหนเครื่องเสียจะได้วิ่งไปเอามาโดยด่วน
- ให้ Check เครื่องจักรที่จะเทว่าอยู่ในสภาพพร้อมใช้งานหรือไม่ ถ้าพร้อมให้จัดเครื่องจักรเข้าประจำที่ และให้
Check เส้นทางของรถขนส่ง Concrete ว่าสามารถส่ง Concrete ได้ถึงจุดหรือไม่ ถ้าไม่ได้ให้รับจัดการ
4. เมื่อพร้อมแล้วให้จัดคนมารอรถปูน โดยในการเท Concrete นั้น นายช่างจะต้องเป็นผู้จัดให้ว่าใครเท Concrete
ก่อนหลัง ห้ามลัดคิวโดยเด็ดขาด
5. ในขณะที่เท Concrete นั้น นายช่างและ Foreman จะต้องอยู่ดูจนจบห้ามปล่อยให้คนงานเทกันเอง และต้องปฏิบัติดังนี้
- ในการจี้ปูนจะต้องมีการจี้ที่สมาเสมอและทั่วถึง
- จะต้องตรวจสอบไม้แบบ, ค้ำยัน ว่าแข็งแรงพอหรือไม่ ในขณะที่เท ถ้ารั่วให้รับซ่อมโดยเร็ว

6. เมื่อเท Concrete เสร็จแล้ว จะต้องปฏิบัติดังนี้
- ผิวหน้าคอนกรีตทีเทเสร็จแล้วจะต้อง Check ว่าต้องเตรียมผิวอย่างไร เช่น Footing จะต้อง ปั่นหยาบ เพื่อไม่ให้
ผิวหน้าแตกลายงา และ Foreman และ Headman จะต้องอยู่ดูจนเสร็จขั้นตอนนี้
- ต้องตรวจสอบระดับว่าถูกต้องหรือไม่
- ต้องตรวจสอบตำแหน่งของเหล็กเสาว่าคลาดเคลื่อนหรือไม่ ถ้าคลาดเคลื่อนให้รับแก้ไขโดยด่วน
- ต้องทำความสะอาดเครื่องมือทุกชิ้นให้สะอาดเหมือเดิมก่อนคืน Store โดย Foreman และ Headman จะต้อง
เป็นผู้ดูแล ห้ามอ้างถึงกันและกันว่าไม่ใช่หน้าที่
- ต้องจัดให้เครื่องจักรเข้าที่ ห้ามจอดไว้หน้างานโดยเด็ดขาด Foreman และนายช่างต้องเป็นผู้ดูแล
7. เมื่อ Concrete Set เป็นที่เรียบร้อยแล้ว และพร้อมจะรื้อแบบข้างนั้นให้ Foreman คุยกับนายช่าง ทุกครั้งก่อนรื้อแบบ
และเมื่อรื้อเสร็จแล้วจะต้องตามนายช่างไปตรวจดูสภาพของผิว Concrete และใช้น้ำยาบ่มคอนกรีต Spare ผิวคอนกรีต
ก่อนที่จะกลบดิน


งานคานคอดิน

งานตอกเสาเข็ม


Method Statement of Pile Driving work


1. การเตรียมการ
1.1 แบบแปลนและผังของโครงการ
1.2 การวางแผนการตอกเสาเข็ม (Piling Sequence) แบบฟอร์มที่ใช้ในการตอกเข็ม (Daily piling record , Pile driving record)
1.3 วิธีการตรวจสอบเข็ม (Pile load test , Static test)
1.4 การทำ Pilot test pile , จำนวน Pilot pile คิดตามสัดส่วนของพื้นที่โครงการ
1.5 เอกสารรายการคำนวณเสาเข็ม , รายการคำนวณ Blow count

2. การดำเนินงานตอกเสาเข็ม (Pilot Pile Test)
2.1 วางผังโครงการโดยใช้พิกัดค่า Coordinate ตามแบบแปลนที่กำหนด โดยอ้างอิงจากหมุด BM เดิม (from existing building )
2.2 ตำแหน่งเข็มอ้างอิงตามค่า Coordinate ของโครงการและแบบแปลน ที่จัดขึ้นโดย Designer (Recheck By Consultant)
2.3 ทำการตอกเข็มตัวอย่าง (Pilot test pile) เพื่อหาขนาด และ ความยาวของเสาเข็ม เพื่อเสนอขออนุมัติ จากเจ้าของโครงการ 2.4 เมื่อ Owner อนุมัติเรื่อง ขนาดความยาวพร้อมรายการคำนวณ Blow count ของเข็มเรียบร้อยจึงเริ่มดำเนินการตอกเสาเข็ม

3. ขั้นตอนการตอกเข็ม
3.1 วางแผนการ Start ตอกเสาเข็มต้นแรกและแนวทางการเดิน ปั้นจั่น (Piling Sequence) โดย Engineer
3.2 เมื่อ Survey ทำการวางหมุดเสร็จแล้วให้ Foreman Recheck ระยะก่อนว่าถูกต้องหรือคลาดเคลื่อนจากแบบแปลนหรือไม่
3.3 ก่อนที่ปั้นจั่นจะยกเสาเข็มขึ้นตอกให้ ทำ off set ตำแหน่งของเข็ม ทั้ง 2 แกน ก่อนยกเสาเข็มขึ้นและ Recheck off set โดย Foreman อีกครั้งเพื่อให้เข็มได้ตำแหน่งที่ถูกต้อง
3.4 ก่อนทำการ Check ดิ่ง ควรตอกเข็มให้จมลงไปก่อน ประมาณ 30 – 50 cm. แล้ว Recheck off set อีกครั้งว่าคลาดเคลื่อนหรือไม่ แล้วทำการ Check ดิ่ง โดย Foreman ต้องตรวจสอบด้วยเสมอ ซึ่งการตรวจสอบต้องตรวจสอบทั้ง 2 แกน คือ ด้านหน้าและด้านข้าง โดยค่าการดิ่งไม่ควรเกิน 1 : 500 หรือ 0.1%
3.5 ในการตอกเข็มให้ Foreman ตรวจสอบน้ำหนักของตุ้มตอก และระยะยกของลูกตุ้มให้ได้ตามที่คำนวณไว้

4. การ Check Blow Count
4.1 Mark ระยะที่ปลายของเสาเข็มแต่ละต้นเป็นช่วงๆละ 30 cm. จำนวน 10 ช่วง หรือประมาณ 3 เมตร
4.2 ทำการตอกเสาเข็มจนถึงตำแหน่งที่ Mark ไว้ (3 m.) เริ่มทำการนับจำนวน Blow ในแต่ละช่วง (30 cm.) ทำการบันทึกค่าไว้ของแต่ละช่วงว่าได้ Blow เท่าไหร่ จนกระทั่งถึงช่วงๆหนึ่ง จำนวน Blow จะเพิ่มขึ้นมาก แต่ระยะที่เสาเข็มจมลงน้อยมาก จึงทำการนับ Blow ที่ตอก 10 ครั้งสุดท้าย (Last ten blow) แล้ววัดระยะที่เข็มจมลงในการตอก 10 ครั้งสุดท้าย แล้วบันทึกค่าไว้ (ทำ 2 ครั้ง) (Last ten Blow ต้องไม่เกินจากค่าที่คำนวณไว้)
4.3 Foreman recheck ทิศทางการเยื้องศูนย์ของเข็ม บันทึกการเยื้องศูนย์

หมายเหตุ :
- Foreman ควรดูแลและควบคุมอย่างไกล้ชิด กรณีเข็มหัก หัวระเบิด หรือ มีสิ่งผิดปกติให้แจ้ง Engineer ทราบทันที
- การใช้ตุ้มต้องมีน้ำหนักตามที่คำนวณ
- การยกตุ้มและปล่อยตุ้มต้องตามระยะที่คำนวณ
- ปั้นจั่นต้องอยู่ในสภาพที่แข็งแรง ตะเกียบต้องตรงไม่บิดเบี้ยว
- ระยะหนีศูนย์ในแนวราบไม่ควรเกิน 5 ซม
- ระยะหนีศูนย์ในแนวดิ่งไม่ควรเกิน 0.1% ของความยาวเข็ม
ในขณะที่ตอกนั้น จะต้องทำตามดังนี้
- การยกตุ้มปั้นจั่นตามความสูงที่ได้คำนวณมา
- การตรวจสอบเสาเข็มให้อยู่แนวดิ่งตลอดการตอก
- ระยะหนีศูนย์ในแนวราบไม่เกิน 5 ซ.ม.
- ระยะหนีศูนย์ในขณะดิ่งไม่เกิน 0.1 % ของความยาวเข็ม


หลักการตัดหัวเข็ม

หลักการง่ายๆในการเปิดหน่วยงานก่อสร้างใหม่ ของ Project Manager


เปิดโครงการใหม่
สิ่งที่ Project Manager ต้องให้ความสำคัญและต้องทำ
1 Faclity
2 Site Office
3 Progress of work
สามสิ่งที่ต้องทำควบคู่กัน
Facility

1.1 Facility for staff จัดหาที่พักสำหรับ staff ถ้า staff ที่ย้ายมาเริ่มงาน ควรมีที่พักสะดวกสบายใกล้ที่ทำงาน ไม่แออัด วางแผนแก้ปัญหาเรื่องน้ำ,ไฟ และรถรับส่ง
1.2 Facility for Labour จัดหา Labour Camp แบ่งเป็น 2 กรณี
1.2.1 สร้าง Camp เองกรณีโครงการยาวนานมากกว่า 1 ปี หรือโครงการอยู่ในพื้นที่ทุรกันดาร
1.2.2 เช่า ตึก/ อาคาร กรณีโครงการระยะสั้นหรือมีอาคารขนาดใหญ่ใกล้เคียงพื้นที่ก่อสร้าง
ข้อแนะนำในการจัดหา Labour Camp ปัญหาที่อาจเกิดขึ้น คือ คนงานเยอะ แต่ไม่ได้เตรียมแผนเรื่องน้ำ ,ไฟ ถ้ามีปัญหาเรื่องน้ำ,ไฟ จะก่อให้เกิดปัญหาต่อคนงาน และ Progress of work อย่างมาก เรื่อง น้ำประปา, ไฟฟ้า ถ้าเป็นบ้านพัก/ หอพัก Staff จะไม่ค่อยมีปัญหาเนื่องจากมีการติดตั้งไว้แล้ว กรณีเป็น Labour Camp คนงานพักอาศัยจำนวนมาก Project Manager ต้องดำเนินการดังนี้
ทำเองหรือมอบหมายให้ Safety ไปติดต่อส่วนราชการที่เกี่ยวข้อง เช่น
การไฟฟ้าส่วนภูมิภาคสาขา..............การดำเนินการคือ ไปแจ้งความประสงค์จะใช้ไฟฟ้า ทางการไฟฟ้าจะตอบกลับมาว่าให้เราเตรียมเอกสารอะไรบ้าง แล้วแจ้งไปยัง Head Office สำหรับส่วนราชการอื่นๆ ก็เหมือนกัน
1.3 Facility อื่น ความหมายคือ จัดการความสะดวกสบายให้พนักงานที่จะเข้ามาทำงาน รวมทั้งสวัสดิการอื่นๆ ที่เหมาะสม ตามกฎของ บริษัท

2. Site Office ให้ยึดคติที่ว่า Staff ที่ทำงานหน้างานต้องมีที่นั่งทำงานสะดวกสบายเพื่อ balance กับการทำงานหนัก เมื่อ Project Manager ไปถึงหน้างานโครงการครั้งแรก ( มี แบบ lay out plan ประกอบด้วย ) Project manager ต้องตรวจสอบว่า
1. พื้นที่ ที่เป็นสิ่งก่อสร้าง ต้องห้ามทำเป็น Site Facility
2. พยายามหา Site Office ที่อยู่ใกล้โครงการที่สุด ทางที่ดีควรติดกับโครงการ ยกเว้นหาไม่ได้ควรตั้ง Site Office ให้อยู่ในเขต green area
นอกจาก Site Office ที่ต้องสร้างในพื้นที่โครงการแล้ว
ก็จะมี Temporaryสิ่งปลูกสร้างชั่วคราวดังนี้
store / Maintenare / EE
Rebar Shop
Fab Shop และ อื่นๆ สิ่งเหล่านี้ต้องการพื้นที่ในการทำงานทั้งนั้น
: ฉะนั้นให้ PM นำ Lay out plan มาตรวจสอบเพื่อกำหนดตำแหน่งที่จะทำ Temporary
* สำคัญมาก เมื่อเข้าพื้นที่ต้องรีบสร้าง Site Office ให้เสร็จเร็วที่สุด
อุปกรณ์ / สำนักงาน Site Office จะทำงานได้อย่างมีคุณภาพต้องมีน้ำใช้ไฟฟ้า,แอร์เย็น,อุปกรณ์สำนักงานทั้งหมด
* Site Office ต้องเขียนแบบขึ้นให้เหมาะตามสภาพโครงการ หรือรูปแบบที่มาตรฐาน ( เป็นหน้าที่ของ PM )

3. Progress of work

ในส่วนของ Progress of work PM ควรจัดการดังนี้
1 ทีม admin ได้แก่ บัญชีการเงิน จักซื้อ ธุรการ ค่าแรง
2 ทีม Office engineer และ Draftman
3 ทีมหน้างาน ได้แก่ PE SE FM SV HM
4 แผนกความปลอดภัยในการทำงาน
5 แผนกป้องกันความเสียหายทั้งบุคลากรและทรัพย์สิน
อื่น ๆ
ใน Site งาน ไฟฟ้าชั่วคราวในโครงการ ก็ติดต่อเหมือนกับกรณี labour Camp
เปิด Site มาหน้างานยังไม่มีไฟฟ้าใช้ ให้สั่งเครื่องปั่นไฟมาใช้งานก่อน
การจัด Organization Chart ให้เหมาะสมตามขนาดของโครงการ




Loading...

This service isn't available right now. Please try again later.
Manat Junrapoo

ชีวิต คนเดินทาง
ความรู้ทั่วไป ใช่ว่าใส่บ่าแบกหาม
ต้อลม สาเหตุของต้อเนื้อ
ต้อลม สาเหตุของต้อเนื้อ
Spersallerg® เป็นยาหยอดตาที่มีส่วนประกอบของยาแก้แพ้ (antihistamine) คือ antazoline 0.05% และยาหดหลอดเลือด (vasoconstric
See all new items

View space
Send a message
Invite as friend
View friends list
View profile
Receive contact updates
Manat Junrapoo5/30/2008 12:54 PM
(http://junrapoo.spaces.live.com/)

วันที่ห้าของการเดินทาง 17 เม.ย. 51 นาริตะ - กรุงเทพฯ
เช้า รับประทานอาหารเช้า ที่ห้องอาหารของโรงแรม
(ตรวจสอบสัมภาระให้เรียบร้อย เพื่อเตรียมเดินทางไปสนามบิน)
เดินทางสู่ “นาริตะซัน” วัดที่ดังที่สุดในแถบชิบะ ... กราบนมัสการขอพรพระ พร้อมเลือกชมและซื้อเครื่องรางของขลังและสินค้าพื้นเมือง ... จากนั้น เดินทางสู่ “เอออน พลาซ่า” ศูนย์รวมสินค้าชั้นนำต่างๆ มากมาย อาทิ นาฬิกา, กล้อง, กระเป๋า, รองเท้า, เสื้อผ้า เป็นต้น รวมทั้ง “ร้าน 100 เยน” สินค้าคุณภาพดีราคาแสนถูก.... อิสระให้ท่านได้เพลินเพลินกับการ “เลือกชมและซื้อ” สินค้าถูกใจฝากคนทางบ้านตามอัธยาศัย อิสระให้ เลือกช้อปปิ้งต่ออย่างจุใจ...สมควรแก่เวลา เดินทางสู่ “สนามบินนาริตะ”
18.45 น. เดินทางจาก นาริตะ 23.50 น. ถึง กรุงเทพฯ โดยสวัสดิภาพ พร้อมความประทับใจมิรู้ลืม



Manat Junrapoo5/30/2008 12:53 PM
(http://junrapoo.spaces.live.com/)

วันที่ 16 เม.ย. 51 โตเกียว - วัดอาซะกุซ่า – โตเกียวดิสนีย์แลนด์
เช้า รับประทานอาหารเช้า ณ ห้องอาหารของโรงแรม
จากนั้นเดินทางสู่ “วัดอาซะกุซ่าคันนอน”วัดเก่าแก่ที่สุดในโตเกียว....กราบนมัสการขอพรจาก “องค์เจ้าแม่กวนอิม” ที่เป็นทองสัมฤทธิ์ มีขนาดเล็กเพียง 5.5 เซนติเมตร พร้อมถ่ายภาพความประทับใจกับ“โคมไฟขนาดยักษ์” ที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในโลก สูง 4.5 เมตร เลือก “ชมและเช่า” เครื่องรางของขลังอันศักดิ์สิทธิ์ของวัดแห่งนี้…. หรือจะเลือก เดินที่ “ถนนนาคามิเซะ” จะได้ “ชมและซื้อ” สินค้าของฝากของที่ระลึกที่เป็นสินค้าพื้นเมือง “Made In Japan” แท้ๆ รวมทั้งข้าวของเครื่องใช้คุณภาพดี มากมาย อาทิ ร่ม, หมวก, รองเท้า, กระเป๋า, เสื้อผ้า เป็นต้น หรือจะเลือกชิม “ขนมอร่อย” สไตล์ญี่ปุ่นตามอัธยาศัย …แล้วเดินทางสู่ “โตเกียวดิสนีย์แลนด์” ดินแดนหรรษาสำหรับคนทุกเพศทุกวัยทุ่มทุนสร้างกว่า 600 ล้านบาทโดยการถมทะเล.... สัมผัสกับความอลังการจากจินตนาการอันหลากหลาย....ตื่นตากับดินแดนตะวันตก “Western Land” ตื่นเต้นกับการล่องเรือผจญภัยผ่านเหล่า “โจรสลัด” ที่แสนน่ากลัวใน “Pirates of the Caribbean”...สนุกสนานกับการนั่งเรือบุกป่าที่ “Jungle Cruise” จะได้พบกับเหล่าสัตว์ป่านานาชนิด.... แล้วพักผ่อนอิริยาบถด้วยการนั่ง “รถไฟ” ชมความหลากหลายภายในดีสนีย์แลนด์ ....ต่อด้วยการสนุกเร้าใจที่ “Big Thunder Mountain” นั่งรถไฟขนถ่านตะลุยความมันส์ในเหมืองแร่โบราณ
เที่ยง
ตื่นเต้นสะพรึงกลัวที่ “ปราสาทผีสิง” (Hunted Mansion) ที่เป็นที่มาของภาพยนตร์แนวสยองขวัญเรื่องดังแห่งปี…. แล้วสนุกสนานต่อกับ “Splash Mountain” ที่ท้าทายความกล้า, แล้วสนุกกับเครื่องเล่นมากมายที่ เข้าไปท้าทายกัน...ชม “ขบวนพาเหรด” จากเหล่าการ์ตูนดังมากมาย อาทิ มิกกี้เม้าส์, มินนี่เม้าส์, โดนัลดักส์ เป็นต้น...อิสระที่ได้สนุกสนานเพลิดเพลินกับเครื่องเล่นอีกมากมายค่ำ รับประทานอาหารค่ำ ณ ภัตตาคาร พักที่ HILTON NARITA HOTEL



Manat Junrapoo5/30/2008 12:53 PM
(http://junrapoo.spaces.live.com/)

วันที่ 15 เม.ย. 51 คาวาคูจิโกะ – มินาโต มิไร – พิพิธภัณฑ์ราเมน – ชินจูกุ
เช้า รับประทานอาหารเช้า ณ ห้องอาหารของโรงแรม
แล้วเดินทาง สู่เมือง Yokohama (โยโกะฮามะ) เป็นเมืองท่าที่สำคัญที่สุดแห่งหนึ่งของญี่ปุ่น ชมสวนหย่อม "โอกุระยามะโคเอ็ง" เป็นเนินเขาแบบไม่สูงมาก ในช่วงฤดูใบไม้ผลิมีดอกไม้นานาพันธ์ผลิบาน แข่งกันอวดความงาน เมื่อเดินชมสวนกันอย่างจุใจแล้ว เราก็มุ่งหน้าไปย่าน “มินาโตะมิไร” แปลความหมายตรงตัวได้ว่า มินาโตะ=ท่า(ท่าเรือ) , มิไร=อนาคต ท่าเรือแห่งอนาคตถ้าจะแปลอีกนัยหนึ่งอาจหมายถึงอนาคตและพวกเรา ศูนย์ความเจริญแห่งใหม่ที่ตั้งอยู่บริเวณ “อ่าวโยโกฮาม่า” ที่เพิ่งจะเริ่มทำโปรเจ็คนี้เมื่อ 2 ทศวรรษที่ผ่านมา ... โดยมีความมุ่งมั่นที่จะพัฒนาบริเวณนี้เป็นศูนย์กลางความเจริญ - ศูนย์นันทนาการครบครันทันสมัย และแหล่งที่อยู่อาศัยต่อจากมหานครโตเกียว ... ตื่นตากับความอลังการของ “แลนด์มาร์ค ทาวเวอร์” ตึกที่มีความสูงที่สุดในญี่ปุ่น, หรือจะเลือกเพลิดเพลินกับการ “นั่งกินลมชมวิว” บน “ชิงช้าสวรรค์ยักษ์” ที่มีชื่อเรียกว่า “Cosmo Clock 21” ... หรือจะสนุกสนานกับการ “เลือกชมและซื้อ” สินค้ามากมายจากร้านค้าภายใน “ควีน สแควร์” แหล่งช้อปปิ้งชั้นนำของย่าน ... และไม่ลืมบันทึกภาพความงามเป็นที่ระลึก (ไม่รวมค่าเข้า / เครื่องเล่นต่างๆ) ...
...เดินตามรอย “ทีวีแชมป์เปี้ยน” (T.V. Champion) รายการยอดฮิตติดอันดับที่ “พิพิธภัณฑ์ราเม็ง” ศูนย์รวมร้านราเม็งที่ขึ้นชื่อจากทั่วทุกมุมของประเทศญี่ปุ่น ลิ้มรสราเม็ง อย่างอร่อย

เที่ยง รับประทานอาหารกลางวัน ณ พิพิธภัณฑ์ราเม็ง
จากนั้น เดินทางสู่ “ชินจูกุ” หรือ “ศูนย์กลางที่สองแห่งนคร” ย่านความเจริญอันดับหนึ่งของนครโตเกียวในปัจจุบัน.... เลือก “ชมและซื้อ” สินค้ามากมาย อาทิเช่น เครื่องใช้ไฟฟ้า, กล้องถ่ายรูป, วอร์คแมน, MP-3, เกมส์, นาฬิกา, เครื่องสำอาง, เสื้อผ้า หรือจะเลือก สนุกสนานกับ “เกมส์เซ็นเตอร์” ที่มีให้ได้เลือกเล่นมากมายตามอัธยาศัย...
จนได้เวลาอันสมควรเดินทางสู่โรงแรมที่พัก
ค่ำ รับประทานอาหารค่ำ ณ ภัตตาคารพักที่ LE MERIDIAN GRAND PACIFIC TOKYO



Manat Junrapoo5/30/2008 12:52 PM
(http://junrapoo.spaces.live.com/)
วันที่ 13 เม.ย. 51 กรุงเทพฯ – นาริตะ (ญี่ปุ่น)
สนามบินสุวรรณภูมิ อาคาร ออกเดินทางจาก กรุงเทพฯ (ใช้เวลาเดินทางประมาณ 6 ชั่วโมง …. เวลาท้องถิ่นต่างจากเวลาประเทศไทย 2 ชั่วโมง)

วันที่ 14 เม.ย. 51 นาริตะ – วนอุทยานฮาโกเน่ – ล่องเรือทะเลสาบอาชิ - สวนสันติภาพ – ภูเขาไฟฟูจิ - คาวากูจิโกะ
06.15 น. ถึงสนามบินนาริตะ ประเทศญี่ปุ่น ดินแดนอาทิตย์อุทัย…. ผ่านพิธีการศุลกากรและตรวจคนเข้าเมือง พร้อมตรวจเช็คสัมภาระ เดินทางสู่ “วนอุทยานแห่งชาติฮาโกเน่” สถานที่พักผ่อนหย่อนใจที่มีชื่อเสียงและได้รับความนิยมมากสุดแห่งหนึ่งของญี่ปุ่น...แล้วเปลี่ยนอิริยาบถเป็นการ “ล่องเรือโจรสลัด” สัมผัสความงามราวกับภาพวาดของทิวทัศน์ของ “ทะเลสาบอาชิ”

เที่ยง รับประทานอาหารกลางวัน ณ ภัตตาคาร
ชมความงามของพันธุ์ไม้นานาพันธุ์มากมายที่ “สวนสันติภาพ” หรือ “เฮวะโคเอน” อนุสรณ์สถานสงครามเกาหลี โดยภายในสวนแห่งนี้มีรูปปั้นสิงโต 7 ตัว ซึ่งเป็นสัญลักษณ์ของเหล่าประเทศที่เข้าร่วมในสงครามในครั้งนั้นด้วย.... สิงโต 1 ใน 7 ตัวนั้นเป็นสิงโตที่เป็นตัวแทนของประเทศไทย ... อิสระที่ได้ชื่นชมความงามพร้อมบันทึกภาพความประทับใจ… จากนั้น เดินทางสู่ “ภูเขาไฟฟูจิ” สัญลักษณ์ของแดนอาทิตย์อุทัยแห่งนี้ และยังเป็นภูเขาไฟที่มีลักษณะที่งดงามที่สุดในโลกแห่งหนึ่งที่มีความสูงประมาณ 3,776 เมตร ซึ่งมีหิมะปกคลุมบนยอดเขาตลอดทั้งปี.... ขึ้นไปสัมผัสบรรยากาศและกลิ่นอายอย่างใกล้ชิดที่ “สถานีที่ 5” บนระดับความสูงที่ 2,500 เมตร (ในกรณีที่อากาศเอื้ออำนวย) อิสระกับการ บันทึกภาพความงามภูเขาไฟแห่งนี้พร้อมทั้งเลือกชมและซื้อ “สินค้าพื้นและขนมอร่อย” มากมาย…สมควรแก่เวลา เดินทางเข้าสู่ “คาวาคูจิโกะ” 1 ใน 5 ทะเลสาบที่ล้อมรอบภูเขาไฟฟูจิ อันเกิดจากการก่อตัวของลาวาจากภูเขาไฟฟูจิ ทำให้ปิดทางออกของน้ำในทะเลสาบที่พักสไตล์ญี่ปุ่นแท้
ค่ำ รับประทานอาหารค่ำ ณ ห้องอาหารของโรงแรม ... ด้วยบุฟเฟ่ต์ขาปูยักษ์ อิ่มอร่อยกับขาปู ยักษ์ในแบบไม่อั้นจนจุใจ ในบรรยากาศแบบญี่ปุ่นด้วยชุดยูกาตะ พักที่ KASUGAI VIEW HOTEL

17 กันยายน 2551

ข้อปฏิบัติ การทำงานระบบ Safety

ข้อปฏิบัติ การทำงานระบบ Safety ทั่วไปของงานหลังคาและการระมัดระวังความเสียหาย

1. การแต่งกาย
ชุดที่สวมใส่ขึ้นทำงานบนหลังคา ต้องเป็นชุดที่กระชับไม่มีการสะพายกระเป๋าหรือสิ่งอื่นใดขึ้นบนหลังคา จะต้องมีการสวมหมวกนิรภัยทุกครั้งพร้อมสายรัดคาง หากขึ้นทำงานในเวลากลางวันควรจะมีการใส่แว่นตากันแดดทุกครั้ง
รองเท้าควรจะเป็นรองเท้ายางพื้นเรียบหุ้มส้น
สำหรับช่างติดตั้งต้องมีการสวมถุงมือผ้ากันแผ่นบาดด้วยทุกครั้ง
* สำหรับการทำงานในหน่วยงานที่ยังติดตั้งไม่แล้วเสร็จจะต้องมีการสวม Safety Belt ด้วยทุกครั้ง *

2. การปฏิบัติทั่วไป
สุขภาพของผู้ปฏิบัติงานหน้างาน จะต้องไม่เป็นโรคความดันต่ำ (หรือหน้ามืดง่าย)
การขึ้นทำงานบนหลังคาจะต้องไม่ขึ้นเพียงลำพัง
หากไม่มีประสบการณ์ ให้ขึ้นในเวลากลางวันเท่านั้น
(และการขออนุญาตผู้ที่รับผิดชอบหน่วยงานนั้น ๆ ก่อน)
การเดินบนแผ่นหลังคา จะต้องเดินบนแนวของแปเหล็กเท่านั้นและต้องเหยียบบริเวณท้องลอนหลังคาเท่านั้น ห้ามเหยียบบริเวณระหว่างแปหรือสันลอนเป็นอันขาด
การเดินบนแผ่นหลังคา ห้ามเหยียบบนแผ่นใสหรือครอบ (Facing Sheet เป็นอันขาด)

3. การป้องกันอุบัติเหตุ
หากเป็นงานที่อยู่ในระหว่างงานติดตั้ง จะต้องขึ้น Safety Net ครอบคลุมพื้นที่การทำงานเพื่อป้องกันมิให้วัสดุใด ๆ ตกหล่นไปข้างล่างรวมถึงผู้คนที่ทำงานด้วย
การเก็บสิ่งของบนหลังคาจะต้องทำการมัดให้แน่น พร้อมถ่วงน้ำหนักวัสดุนั้น ๆ เสมอในระหว่างและหลังการทำงาน

4. วัสดุที่เข้ากันได้
ควรใช้วัสดุที่ทำจากเหล็กเคลือบสังกะสีหรือทาสีป้องกันสนิม นอกจากนี้วัสดุที่ทำจากตะกั่วและทองแดง ห้ามนำมาใช้ร่วมกับแผ่นหลังคา และผนังเหล็กเคลือบ ZINCALUME เพราะจะทำให้เกิดการผุกร่อน และเป็นสนิมบนตัวแผ่น

5. การทำความสะอาด
หลังเสร็จงานติดตั้งในทุกๆวัน ควรกวาดเศษโลหะ, คอนกรีต และเศษวัสดุต่างๆ ที่เกิดจากการตัดเจาะ จากการทำงานอื่นๆ ออกไปจากบริเวณหลังคาโดยทันที

6. การบำรุงรักษา
การล้างคราบฝุ่นบนหลังคา ควรล้างด้วยน้ำสะอาด หรือน้ำยาทำความสะอาดชนิดอ่อน
7 การระวังความเสียหาย ระหว่างการขึ้นไปทำงานบนหลังคา หลังจากมุงหลังคาแล้วเสร็จ
- แต่งการกระชับ
- เวลาเดินให้เดินบนร่อง ห้ามเดินสัน Metal sheet
- กรณีมีแผ่นหลังคาใส ห้ามเหยียบหลังคาใสทุกกรณี
- All Accessary Metalsheet ได้แก่ ครอบหลังคา ครอบมุม ห้ามเหยียบทุกกรณี
- เดินด้วยความระมัดระวัง

Marblex floor

METHOD STATEMENT OF MARBLEX

วิธีการติดตั้งกระเบื้องหินขัดสำเร็จรูป MARBLEX
ขั้นตอนการเตรียมพื้นที่
1. เตียมผังและระดับสูงต่ำด้วยด้ายเบอร์ 8
2. เตรียมปูนซีเมนต์ดำ 1 ส่วน ทราย 3 ส่วน ผสมด้วยน้ำอย่าให้เหลวเป็นตัวเชื่อม
3. วางแผ่น MARBLEX บนตัวเชื่อมทุกแผ่นให้ได้ระดับเสมอกัน และเว้นแนวตามเส้นด้ายที่เตรียมผังไว้ให้
แห้ง ประมาณ 1 - 2 วัน ( ในระหว่างที่ตัวเชื่อมยังไม่แห้งห้ามเหยียบย่ำหรือวางสิ่งของใด ๆ เด็ดขาด )
4. เมื่อพื้นแห้งแล้ว ใช้ปูนซีเมนต์ขาวยาแนวให้ทั่วทุกแผ่น หากกระเบื้องมีสีต่างกัน การยาแนวจะต้องผสม
สีกันฝุ่นกับปูนซีเมนต์ขาวให้คล้ายคลึงกับสีของกระเบื้องนั้น ๆ ทุกครั้ง

ขั้นตอนการขัดเงา
เมื่อเสร็จขั้นตอนการปูพื้นแล้ว ถ้ามีงานอื่นที่จะมีผลกระทบกับกระเบื้องหินขัด ควรติดตั้งงานดัง
กล่าวให้เสร็จก่อน
1. ใช้เครื่อง่ขัดโดยให้เริ่มจากหินขัดชนิดหยาบ เพื่อลบรอยต่อระหว่างแผ่น ระหว่างนี้หากปูนซีเมนต์ขาวที่
ยาแนวไว้หลุดให้ทำการยาแนวใหม่ก่อนทุกครั้ง
2. เมื่อขัดจนรอยต่อระหว่างแผ่นหมดไป จึงเปลี่ยนไปใช้หินขัดชนิดละเอียด ให้สังเกตว่าพื้นเรียบเสมอกัน
ทั้งหมดแล้ว (ไม่มีรอยขีดข่วนเนื่องจากการขัดหยาบ)
3. หลังจากนั้น ให้ใช้หินขัดเงา เพื่อให้พื้นมีความเงามากขึ้น
* การขัดหยาบ ขัดละเอียดและขัดเงาให้ใช้น้ำหล่อลื่นทุกครั้ง *
4. เมื่อเสร็จขั้นตอนข้างต้นแล้ว ให้ล้างทำความสะอาดพื้นแล้วทิ้งให้แห้งก่อนลงน้ำมันแว๊กซ์ และใช้เครื่อง
ปัดเงาให้ทั่วถึงทุกแผ่น พื้นที่ปูด้วย MARBLEX ก็จะเรียบเงาตามมารฐานทันที
วิธีการบำรุงรักษา
1. กวาดเศษผงฝุ่นละอองหรือเม็ดทราย ซึ่งเกาะอยู่ตามพื้นอาคารให้สะอาดก่อน หรือจะใช้เครื่องดูดฝุ่นก็ทำ
ให้พื้นสะอาดยิ่งขึ้น
2. ใช้ผ้าหรือม๊อบชุบน้ำหมาด ๆ เช็ดบริเวณพื้นอาคารก่อน 1 ครั้ง (ในกรณีที่พบคราบสกปรกมา ๆ ควรจะใช้
ผ้าชุบน้ำผสมผงซักฟอกทำความสะดาดก่อนทุกครั้ง) ถ้ายังไม่ออก ให้ใช้สก๊ตไบร์ทชุบผงซักฟอกขัด
บริเวณดังกล่าวอีกครั้ง จนคราบต่าง ๆ ออกาจนหมดแล้วใช้ผ้าชุบน้ำเช็ดให้สะอาด และเช็ดให้แห้งอีกครั้ง
3. เมื่อเสร็จชั้นตอนตามข้อ 2 แล้ว สังเกตว่าพื้นแห้งสนิทหรือยัง (ระยะเวลาที่พื้นแห้งขึ้นอยู่กับพื้นที่ที่จะทำ
ความสะอาดเสียก่อน จึงที่จะปฎิบัติตามคำแนะนำตั้งแต่ข้อ 1 ถึงข้อ 3 ให้เสร็จสิ้นเรียบร้อยทุกครั้ง จึงจะ
เปิดพื้นดังกล่าวตามปกติต่อไป

งานมุงหลังคาอาคารขาดใหญ่

All step Postension Super flatfloor surface finish with floorhardener

Method Statement for Post tension slab (Bonded System)

ขั้นตอนการทำระบบพื้น Post Tension (CCL Bonded System)
1. ติดตั้งค้ำยัน, แบบพื้น และแบบข้าง
2. วางเหล็กเสริมล่าง
3. วางลวดอัดแรง และติดตั้ง ANCHORAGE ตามแบบ SHOP DRAWING
4. วางเหล็กเสริมบนบริเวณหัวเสา
5. เทคอนกรีต
6. ดึงลวดอัดแรงเมื่อกำลังอัดของคอนกรีตรูปทรงกระบอกไม่น้อยกว่า 240 ksc
7. อัดน้ำปูนเข้าท่อร้อยลวดอัดแรง

การดึงลวดอัดแรง (STRESSING)
1. เครื่องมือและอุปกรณ์การดึงลวดอัดแรง
- Hydraulic Pump
- Hydraulic Jack
- CCL Mastermatc, Proving Ring
2. การดึงลวดอัดแรง
การดึงลวดจะกระทำเมื่อกำลังอัดประลัยคอนกรีตรูปทรงกระบอกไม่น้อยกว่า 240 กก. / ตร.ซม.
โดยจะทำตามลำดับดังนี้

2.1 ก่อนดึงลวด ทำการ Calibrate เครื่องดึงลวดและทำเครื่องหมาย โดยการพ่นสีไว้ที่ปลายลวด
ที่จะดึง เพื่อเป็นระยะอ้างอิงในการวัดหาค่าระยะยืดของลวด (โดยทั่วไปจะพ่นสีห่างจากกิ๊ฟ
จับลวดประมาณ 10 ซม.)
2.2 ทำการดึงลวด 50 % ของจำนวนลวดทั้งหมดในแนว Main Tendon หรือ ดึงกลุ่มเว้นกลุ่ม
2.3 ทำการดึงลวด 50 % ของจำนวนลวดทั้งหมดในแนว Distribute Tendon
2.4 ดึงลวดที่เหลือทั้งหมดในแนว Main Tendon
2.5 ดึงลวดที่เหลือทั้งหมดในแนว Distribute Tendon
2.6 หลังจากดึงลวดเสร็จเรียบร้อย จะทำการวัดระยะยืดจริง โดยวัดระยะจากกิ๊ฟ ถึงตำแหน่งพ่นสีที่ทำไว้
เพื่อนำค่าระยะยืดจริงของลวดเปรียบเทียบกับค่า Elongation ที่ออกแบบไว้
2.7 กรณีที่วัดค่า Elongation จากการดึงลวด ได้ค่าไม่ตรงตามข้อกำหนด จะต้องทำการดึงซ่อม หรือ
หาทางแก้ไขเป็นกรณีไป
3. การควบคุมแรงดึงในเส้นลวด
3.1 ควบคุมแรงดึงจาก Pressure - Gage ที่เครื่อง Hydraulic Pump ซึ่งได้รับการ Calibrate
จาก Load Cell หรือ Proving Ring ที่ได้รับการเทียบแรงจากสถาบันที่เชื่อถือได้ทุก ๆ 6 เดือน
โดยใช้แรงดึง 75 % Eup. ซึ่งเท่ากับ 14 ตัน
3.2 เปรียบเทียบค่าระยะยืด จริงของลวดกับค่า Elongation ที่ได้ออกแบบไว้ โดยค่าที่ได้จะแตกต่างกัน
ไม่เกิน 5 % (ตามข้อกำหนด)

4. กรณีที่ค่าระยะยืดจริงของลวดกับ Elongation ที่ออกแบบไว้แตกต่างกันเกิน 5 % ให้ทำการตรวจสอบ และ
แก้ไขเป็นกรณี คือ
4.1 กรณีเกิน -5% (ระยะยืดของลวดน้อยกว่ารายการคำนวณ Elongation)
- ให้เพิ่มแรงดึงแต่ต้องไม่เกิน 80 % Fpu. (15 ตัน ) แล้ววัดระยะยืดของลวดที่เพิ่มขึ้น
- กรณีที่เพิ่มแรงดึงถึง 80 % Fpu. แล้ว ระยะยืดของลวดเกิน -5% ให้ทำการคำนวณตรวจสอบโครงสร้าง
เฉพาะส่วนนั้น ๆ โดยใช้ค่าแรงดึงลวดที่เกิดขึ้นจริงกับลวดนั้น ๆ ส่งวิศวกรที่ควบคุมงานเพื่อตรวจสอบ
พิจารณาต่อไป
4.2 กรณี +5 % (ระยะยึดจริงมากกว่ารายการคำนวณ Elongation)
- ตรวจสอบแรงดึง โดย Re-Stressing ด้วยแรง 75 % Fpu. (14 ตัน) สังเกตระยะยืดเพิ่มแรงช้า ๆ
สังเกตระยะยืดจนลวดขยับตัวอ่าน Pressure Gage จะได้ค่าแรงในลวดเส้น นั้น ๆ ตรวจสอบว่าเกิน 80 %/ Fpu.
หรือไม่ ถ้าไม่เกินถือว่าผ่าน กรณี 50 % Fpu. ให้รายงานผู้ออกแบบเพื่อหาทางแก้ไขต่อไป
5. การอัดน้ำปูน ( Grouting Cement )
5.1 เครื่องมือและอุปกรณ์การอัดน้ำปูน
- เครื่องมืออัดน้ำปูน Mono Pump
- เครื่องผสมปูน (Mixer Tank)


5.2 วัสดุ Grouting Cement
วัสดุ Grouting Cement เป็นส่วนผสมของบอร์ดแลนด์ซีเมนต์ชนิดที่ 1 ผสมกับน้ำและ Admixture
โดยมีอัตราส่วนของน้ำ ต่อ ซีเมนต์ (W/C RATIO) ไม่เกิน 0.45 โดยน้ำหนักดังอัตราส่วนต่อไปนี้
- ปอร์ตแลนด์ซีเมนต์ชนิดที่ 1 = 50 kg.
- ADMIXTURE (Aluminum) ส่วนผสมตามสูตรของ Admixture แต่ละชนิด
- น้ำ = 20 - 22 ลิตร
ก่อนจะนำส่วนผสมไปอัดน้ำปูน จะต้องทำการทดสอบการไหล (Test Flow Rate) ของส่วนผสมก่อน โดย
ให้ได้ค่าอัตราการไหลประมาณ 11 วินาที โดยใช้ปริมาตร 1.7 ลิตร และ จะต้องทำการเก็บลูกปูนไว้ทดสอบกำลังอัด
(151 ksc อายุ 7 วัน), (280 ksc อายุ 28 วัน)
หมายเหตุ น้ำปริมาตร 1.7 ลิตร ใช้เวลาประมาณ 7-8 วินาที
5.3 ขั้นตอนการอัดน้ำปูน
- ก่อนการอัดน้ำปูนจะต้องทำการอุดปูนทรายหุ้มสมอยึด เพื่อป้องกันการรั่วของน้ำปูน Grout บริเวณสมอยึด
หมายเหตุ ทำการตัดปลายลวดก่อนทำการอุดปูนทราบหุ้มสมอยืด
- ทำความสะอาดท่อร้อยลวดอัดแรง โดยการอัดน้ำหรือเป่าลมเข้าไปในท่อเพื่อไล่สิ่งสกปรกที่อยู่ภายในท่อออก
และยังเป็นการตรวจสอบว่าท่อตันหรือไม่ ถ้าตันให้ทำการเจาะรูใหม่ เพื่อให้สามารถอัดน้ำปูนได้เต็ม
- ทำการอัดน้ำปูนเข้าไปในท่อร้อยลวดอัดแรง ผ่านรูทีสมอยืดด้สนหนึ่งให้น้ำปูนไหลผ่านออกที่ปลายสมอยึดอีกด้านหนึ่ง แล้วจึงทำการปิดรูปที่ปลายสมอยึดด้านท้าย คงค้างแรงดันอย่างน้อย 50 PSI หรือ 3.5 ksc. เป็นเวลา 5 วินาที
ก่อนทำการปิดรูที่ Grouting End
- ทำการต่อท่า Air Vent ภายหลังจากการอัดน้ำปูนอย่างน้อย 24 ชั่วโมง