27 เมษายน 2563
25 เมษายน 2563
ลิฟท์ขนส่งวัสดุชั่วคราว
ความปลอดภัยในการทำงานก่อสร้างว่าด้วยลิฟท์ขนส่งวัสดุชั่วคราว
อาศัยอํานาจตามความในข้อ 2 (7) แห่งประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 103 ลงวันที่ 16 มีนาคม พ.ศ.2515 กระทรวงมหาดไทยจึงกําหนดการคุมครองแรงงานในสวัสดิการเกี่ยวกับสุขภาพอนามัยและความปลอดภัยสําหรับลูกจ้างไว้ ดังต่อไปนี้
ข้อ 1 ในประกาศนี้“งานก่อสร้าง” หมายความว่า การประกอบการเกี่ยวกับการก่อสร้างอาคาร สนามบิน ทางรถไฟ ทางรถราง ท่าเรือ ทางนํ้า สะพาน ถนน การโทรเลข โทรศัพท์ ไฟฟ้า ก๊าซ หรือการประปา และหมายความรวมถึงการต่อเติม ซ่อมแซม ซ่อมบํารุง ดัดแปลง หรือรื้อถอนอาคาร หรือสิ่งก่อสร้างนั้นๆ ด้วย“อาคาร” หมายความว่า อาคารตามความหมายที่บัญญัติไว้ ในกฎหมายว่าด้วยการควบคุมอาคาร“ลิฟทขนส่งวัสดุชั่วคราว” หมายความว่า เครื่องใช้ในการก่อสร้างเพื่อขนส่งวัสดุในทางดิ่ง ประกอบด้วย หอลิฟท์ หรือปล่องลิฟท์ ตัวลิฟท์ และเครื่องจักร“หอลิฟท์” หมายความว่า โครงสร้างเป็นหอสูงจากพื้นสําหรับเป็นที่ติดตั้งตัวลิฟท์ ในงานก่อสร้างเป็นการชั่วคราว“ปล่องลิฟท์” หมายความว่า ช่องที่อยู่ภายในสิ่งก่อสร้างสําหรับใช้เป็นทางเคลื่อนขึ้นลงของตัวลิฟท์ในงานก่อสร้างเป็นการชั่วคราว“ตัวลิฟท์” หมายความว่า ที่สําหรับรองรับหรือบรรจุวัสดุ สามารถเคลื่อนย้ายขึ้นลงได้โดยใช้เครื่องจักรใน หรือนอกหอลิฟท์ หรือปล่องลิฟท์
หมวด 1การสร้างลิฟท์ขนส่งวัสดุชั่วคราว
ข้อ 2 ลิฟท์ที่มีความสูงเกินเก้าเมตร นายจ้างจะต้องจัดให้มีผู้ที่ได้รับใบอนุญาตเป็นผู้ประกอบวิชาชีพวิศวกรรมควบคุม สาขาวิศวกรรมโยธา จาก ก.ว. เป็นผู้ออกแบบและคํานวณโครงสร้าง พร้อมทั้งกําหนดรายละเอียดของหอลิฟท์ และตัวลิฟท์ อย่างน้อยให้เป็นไปตามข้อกําหนด ดังต่อไปนี้
(1) หอลิฟท์ ต้องสามารถรับนํ้าหนักได้ ไม่น้อยกว่าสองเท่าของนํ้าหนักแห่งการใช้งาน (Working Load)(2) คานสําหรับติดตั้งรอกและฐานที่รองรับคาน ต้องมีความแข็งแรงพอที่จะรับนํ้าหนักรอก นํ้าหนักตัว ลิฟท์ และนํ้าหนักบรรทุก (Live Load) โดยมีส่วนปลอดภัย (Factor of Safety) ไม่น้อยกว่าห้า
(3) หอลิฟท์ ที่สร้างด้วยไม้ต้องสร้างด้วยไม้ที่มีหน่วยแรงดัดประลัย (Ultimate Bending Stress) ไม่น้อยกว่าแปดร้อยกิโลกรัมต่อตารางเซนติเมตร และมีส่วนปลอดภัยไม่น้อยกว่าแปด
(4) หอลิฟท์ ที่สร้างด้วยโลหะ ต้องเป็นโลหะที่มีจุดคราก (Yield Point) ไม่น้อยกว่าสองพันสี่ร้อยกิโลกรัมต่อตารางเซนติเมตร และมีส่วนปลอดภัยไม่น้อยกว่าสอง
(5) ฐานรองรับหอลิฟท์ ต้องมีความมั่นคง สามารถรับนํ้าหนักได้ไม่น้อยกว่าสองเท่าของนํ้าหนักหอลิฟท์ นํ้าหนักตัวลิฟท์ และนํ้าหนักบรรทุก
(6) ตัวลิฟท์ ต้องมั่นคงแข็งแรง สามารถรับนํ้าหนักบรรทุกได้ไม่น้อยกว่าห้าเท่าของนํ้าหนักแห่งการใช้งาน และต้องมีขอบกันของตกสูงไม่น้อยกว่าเจ็ดเซนติเมตรจากพื้นของตัวลิฟท์ โดยรวมและด้านที่มิใช่ทางขนของเข้าออกต้องมีผนังปิดกั้นด้วยไม้ หรือลวดตาข่าย มีความสูงจากพื้นของตัวลิฟท์ ไม่น้อยกว่าหนึ่งเมตร เว้นแต่ ตัวลิฟท์ที่มีลักษณะเป็นถังโลหะ ไม่ต้องมีผนังปิดกั้นก็ได้ในกรณีที่ติดตั้งลิฟท์อยู่ภายนอกหอลิฟท์ ไม่ต้องมีผนังปิดกั้นตัวลิฟท์ก็ได้
(7) หอลิฟท์ ต้องมีการยึดโยง คํ้ายัน หรือตรึงกับพื้นดินหรือตัวอาคารให้มั่นคงแข็งแรงและปลอดภัย
ข้อ 3 เครื่องจักรและอุปกรณ์อื่น ๆ ที่ใช้ยกตัวลิฟท์ นายจ้างต้องจัดให้เป็นไปตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่องความปลอดภัยในการทํางานเกี่ยวกับเครื่องจักร
ข้อ 4 ในการสร้างลิฟท์ นายจ้างต้องดําเนินการตามแบบและรายละเอียดตามข้อ 2 ข้อ 3 และตามข้อกําหนด ดังต่อไปนี้
(1) ในกรณีติดตั้งตัวลิฟท์ภายในหอลิฟท์ ต้องมีลวดตาข่ายหรือไม้ตีเว้นช่องห่างกันไม่น้อยกว่าสามเซนติเมตร แต่ไม่เกินสิบเซนติเมตร ปิดยึดแน่นกับโครงหอลิฟท์ทุกด้าน สูงไม่น้อยกว่าสองเมตรจากพื้นของหอลิฟท์ เว้นแต่ช่องที่ใช้เป็นทางขนของเข้าออก
(2) ในกรณี ติดตั้งตัวลิฟท์ภายนอกหอลิฟท์ ต้องมีรั้วกั้นป้องกันมิให้บุคคลเข้าไปในบริเวณที่อาจเป็นอันตรายเนื่องจากของตกใต้ตัวลิฟท์นั้น
(3) ทางเดินระหว่างลิฟท์กับสิ่งก่อสร้าง ต้อง(ก) มีราวกันตกสูงไม่น้อยกว่าเก้าสิบเซนติเมตร และไม่เกินหนึ่งเมตรสิบเซนติเมตรจากพื้นทางเดิน(ข) มีขอบกันของตกสูงไม่น้อยกว่าเจ็ดเซนติเมตรจากพื้นทางเดิน(ค) มีไม้ หรือโลหะขวางกั้นที่สามารถปิดเปิดได้ มีความสูงไม่น้อยกว่าเก้าสิบเซนติเมตรแต่ไม่เกินหนึ่งเมตรสิบเซนติเมตร จากพื้นทางเดิน อยู่ห่างจากลิฟท์ ไม่น้อยกว่าหกสิบเซนติเมตร บนทางเดินนั้น
(4) ในกรณีที่ปล่องลิฟท์ไม่มีผนังกั้น ต้องมีรั้วที่มีความมั่นคงแข็งแรงปิดกั้นทุกด้านสูงไม่น้อยกว่าสองเมตรจากพื้นแต่ละชั้นเว้นแต่ทางเข้าออกต้องมีไม้ หรือโลหะขวางกั้นที่สามารถปิดเปิดได้ มีความสูงไม่น้อยกว่าเก้าสิบเซนติเมตร และไม่เกินหนึ่งเมตรสิบเซนติเมตรจากพื้น
ข้อ 5 เมื่อนายจ้างได้สร้างลิฟท์แล้วต้องให้วิศวกรผู้ออกแบบตามข้อ 2 หรือวิศวกรผู้ควบคุมงาน ตรวจรับรองว่าได้สร้างถูกต้องตามแบบรายละเอียดและข้อกําหนดตามข้อ 4 แล้วจึงจะใช้ลิฟท์นั้นได้ และใบรับรองของวิศวกรดังกล่าวนายจ้างจะต้องเก็บรักษาไว้ เพื่อให้พนักงานเจ้าหน้าที่กรมแรงงานตรวจดูได้ตลอดเวลาการใช้ลิฟท์นั้น
ข้อ 6 การใช้ลิฟท์ นายจ้างต้องปฏิบัติ ดังนี้
(1) ให้มีผู้ที่ได้รับการฝึกอบรมการใช้ลิฟท์มาแล้วทําหน้าที่บังคับลิฟท์ ประจําตลอดเวลาที่ใช้ลิฟท
(2) ให้มีข้อบังคับการใช้ลิฟท์ติดไว้ให้เห็นชัดเจนในบริเวณลิฟท์ และผู้ทําหน้าที่บังคับลิฟท์ตาม (1) ต้องปฏิบัติตามข้อบังคับนั้นโดยเคร่งครัด
(3) ให้มีการตรวจสอบลิฟท์ทุกวัน ถ้ามีส่วนใดชํารุดเสียหาย ต้องซ่อมให้เรียบร้อยก่อนที่จะใช้
(4) ติดป้าย “ห้ามใช้ลิฟท์” ให้ลูกจ้างทราบในกรณีที่ลิฟท์ไม่อยู่ในสภาพพร้อมใช้งาน หรือไม่มีผู้ทําหน้าที่บังคับลิฟท์ตาม (1)
(5) ห้ามมิให้บุคคลใดใช้ลิฟท์ขึ้นลงอย่างเด็ดขาด เว้นแต่ ในกรณีตรวจสอบหรือซ่อมแซมลิฟท์
(6) ติดป้ายบอกพิกัดนํ้าหนักบรรทุกไว้ที่ลิฟท์ให้เห็นได้ชัดเจน
(7) ต้องจัดวางและป้องกันมิให้วัสดุตกหรือยื่นออกมาขัดกับโครงหอลิฟท์
(8) ในการใช้ลิฟท์ขนรถขนของหรือเครื่องมือที่มีล้อ ต้องป้องกันมิให้รถหรือเครื่องมือนั้นเคลื่อนที่ได้
ข้อ 7 ในกรณีที่นายจ้างใช้ลิฟท์ในการทํางานก่อสร้าง ห้ามมิให้ใช้ลิฟท์ที่มีลักษณะใช้กระป๋องหรือภาชนะอื่นที่คล้ายกัน เกี่ยวหรือเกาะเคลื่อนย้ายพร้อมกับสายพาน ลวดหรือเชือกแทนตัวลิฟท์ในงานก่อสร้าง
หมวด 2การคุ้มครองความปลอดภัยส่วนบุคคล
ข้อ 8 ให้นายจ้างจัดให้ลูกจ้างซึ่งทํางานเกี่ยวกับการประกอบหรือติดตั้งโครงลิฟท์ ซ่อมบํารุงลิฟท์ หรือการขน ยก แบก หาบ หาม สิ่งของหรือวัสดุขึ้นลงลิฟท์ สวมหมวกแข็ง ถุงมือหนัง รองเท้าหนังหัวโลหะ ตลอดเวลาที่ลูกจ้างทํางาน
ข้อ 9 ให้นายจ้างจัดให้ลูกจ้างซึ่งทํางานเกี่ยวกับการควบคุมบังคับลิฟท์ สวมหมวกแข็ง และรองเท้าพื้นยางหุ้มส้นตลอดเวลาที่ลูกจ้างทํางาน
ข้อ 10 ให้นายจ้างจัดให้ลูกจ้างซึ่งทํางานมีลักษณะโดดเดี่ยวในที่สูงเกินสี่เมตร และไม่มีเครื่องป้องกันอันตรายหรือการป้องกันอันตรายอย่างอื่น สวมเข็มขัดนิรภัยและเชือกนิรภัยตลอดเวลาที่ลูกจ้างทํางาน
ข้อ 11 อุปกรณ์คุ้มครองความปลอดภัยส่วนบุคคล ต้องเป็นไปตามมาตรฐาน ดังต่อไปนี้
(1) หมวกแข็ง ต้องมีนํ้าหนักไม่เกินสี่ร้อยยี่สิบสี่กรัม ทําด้วยวัตถุที่ไม่ใช่โลหะและมีความต้านทานสามารถทนแรงกระแทกได้ไม่น้อยกว่าสามร้อยแปดสิบห้ากิโลกรัม ภายในหมวกต้องมีรองในหมวกทําด้วยหนัง พลาสติก ผ้า หรือวัตถุอื่นที่คล้ายกัน อยู่ห่างผนังหมวกไม่น้อยกว่าหนึ่งเซนติเมตร ซึ่งสามารถปรับระยะได้ ตามขนาดศีรษะของผู้ใช้เพื่อป้องกันศีรษะกระทบกับผนังหมวก
(2) ถุงมือหนัง ต้องมีความยาวหุ้มถึงข้อมือ มีลักษณะใช้สวมกับนิ้วมือได้ทุกนิ้ว
(3) รองเท้าหนังหัวโลหะปลายรองเท้าต้องมีโลหะแข็งหุ้ม สามารถทนแรงกดได้ไม่น้อยกว่าสี่ร้อยสี่สิบหกกิโลกรัม
(4) เข็มขัดนิรภัยและเชือกนิรภัย ต้องทําด้วยหนัง ไนล่อน ผ้าฝ้ายถัก หรือวัตถุอื่นที่คล้ายกัน และสามารถทนแรงดึงได้ไม่น้อยกว่าหนึ่งพันหนึ่งร้อยห้าสิบกิโลกรัม สําหรับเข็มขัดนิรภัยต้องมีความกว้างไม่น้อยกว่าห้าเซนติเมตร
ข้อ 12 ข้อกําหนดตามประกาศนี้ ถือเป็นมาตรฐานขั้นตํ่าที่ต้องปฏิบัติเท่านั้น
ข้อ 13 ให้นายจ้างเป็นผู้ออกค่าใช้จ่ายตามประกาศนี้
ข้อ 14 ประกาศกระทรวงมหาดไทยนี้ให้ใช้บังคับเมื่อพ้นกําหนดเก้าสิบวันนับแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
ประกาศ ณ วันที่ 29 มกราคม พ.ศ. 2524ประเทือง กีรติบุตรรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยประกาศในราชกิจจานุเบกษา เล่ม 98 ตอนที่ 28 วันที่ 20 กุมภาพันธ์ 2524
http://mybuilt.blogspot.com
อยากเป็นผู้จัดการขั้นเทพ ต้องทำอย่างไร EP01 : กลยุทธ์
http://mybuilt.blogspot.com
อยากเป็นผู้จัดการขั้น ต้องทำอย่างไร EP01- กลยุทธ์
การกำหนดเป้าหมาย (goal setting)
เป็นกระบวนการ กำหนดจุดมุ่งหมายที่ท่านวางแผนที่จะบรรลุมัน เป็นหนึ่งในงานที่สำคัญของการบริหารจัดการโครงการ
เมื่อท่านกำหนดเป้าหมาย ท่านก็ต้องยึดมั่นต่อผลลัพธ์ว่า ท่านจะสามารถบรรลุมันได้จากการกระทำของท่านเองหรือโดยลูกน้องของท่าน
การกำหนดเป้าหมาย จะทำให้เกิดความเป็นไปได้ ที่จะทุ่มเททรัพยากรและเวลาที่จำกัด ไปในสิ่งที่มีความสำคัญสูงสุด
รวมทั้งเป็นตัวกำหนดแนวทางในการปฏิบัติ
เรามาเริ่มต้นด้วยคำว่ากลยุทธ์ เป้าหมายของโครงการ
(goal) ต้องเกิดมาจากคำว่า กลยุทธ์ (strategy) ของการบริหารจัดการโครงการ
ถ้ากลยุทธ์คือ การเป็นผู้นำตลาดการก่อสร้าง ด้วย TCQ : Time+Cost+Quality ดังนั้นเป้าหมายของพนักงานหน่วยงานและองค์กรของท่าน
ก็ต้องสนับสนุนกลยุทธ์นั้น อันที่จริงแล้ควรมีป้าหมายที่เชื่อมโยงกัน และเป็นไปในแนวทางเดียวกันตั้งแต่ระดับบนลงล่าง
ดังเช่นที่อธิบายไว้ใน
ภาพที่ 1-1
ในภาพนี้ เป้าหมายเชิงกลยุทธ์ (strategic goal) ของ บริหารจัดการโครงการก่อสร้างจะอยู่ในระดับสูงสุด
แต่ละหน่วยงานจะมีเป้าหมายของตัวเอง ที่สนับสนุนเป้าหมายเชิงกลยุทธ์โดยตรง
ภายในแต่ละหน่วยงานนั้น ทีมงานและบุคคลแต่ละคนล้วนมีเป้าหมายที่ได้รับมอบหมาย
ซึ่งจะสนับสนุนเป้าหมายของหน่วยงานของพวกเขาเช่นกัน พลังที่แท้จริง ของเป้าหมายที่ถ่ายทอดต่อลงมาในระดับต่างๆ
ก็คือ การเป็นไปในแนวทางเดียวกันกับจุดมุ่งหมายสูงสุดขององค์กร
ในเชิงทฤษฎีแล้ว พนักงานทุกคนควรจะเข้าใจเป้าหมายของพวกเขาเอง
ว่ามันจะช่วยสนับสนุนเป้าหมายของหน่วยงานได้อย่างไร และกิจกรรมของหน่วยงานนั้น จะมีผลอย่างไร
ต่อวัตถุประสงค์ทางกลยุทธ์ (strategic objec-tives) ของบริหารจัดการโครงการก่อสร้าง
เป้าหมายของบริหารจัดการโครงการก่อสร้าง ควรจะจัดระดับ จากบนลงล่างหรือล่างขึ้นบน
?
วิธีการทั่วไป 2
วิธีที่ใช้ในการกำหนดเป้าหมายก็คือ การกำหนดจากระดับบนลงล่าง (Top-down) และจากล่างขึ้นบน
(bottom-up)
ในการกำหนดเป้าหมายจากระดับบนลงล่างนั้น
ผู้บริหารจะเป็นคนกำหนดเป้าหมายกว้างๆ ไว้
และพนักงานแต่ละคนจะได้รับมอบหมายแผนงานและวัตถุประสงค์ที่สอดคล้องสนับสนุนเป้าหมายกว้างๆ
เหล่านั้น วิธีนี้เหมาะสมที่สุด เมื่อพนักงานต้องการได้รับการกำกับดูแลอย่างใกล้ชิด
หรืออาจจะยังใหม่กับองค์กร หรือไม่คุ้นเคยกับแผนงานเป้าหมายของหน่วยงานและของบริษัท
ส่วนการกำหนดแผนงานเป้าหมายจากระดับล่างขึ้นบนนั้น
พนักงานจะตั้งเป้าหมายของตนเองขึ้นมา
และผู้จัดการโครงการของพวกเขาก็จะรวมเป้าหมายเหล่านี้เข้าไปในแผนงานเป้าหมายระดับที่สูงขึ้นไป
วิธีการกำหนดจาก ล่างขึ้นบนนี้เหมาะสมที่สุดเมื่อพนักงานควบคุมดูแลตัวเองได้ และเมื่อพวกเขาเข้าใจทั้งกลยุทธ์ของการบริหารจัดการโครงการ
ความต้องการของลูกค้า และบทบาทของพวกเขาในกระบวนการเหล่านี้เป็นอย่างดีแล้ว ซึ่งการกำหนดแผนงานเป้าหมายทั้งสองวิธีนี้
จะได้ผลมากที่สุดก็ต่อ เมื่อพนักงานมีส่วนร่วมหรือเกี่ยวข้องในกระบวนการนี้
การมีส่วนร่วมนั้นจะเป็นตัวช่วยเพิ่มความทุ่มเทของพนักงาน แต่ก็ต้องแน่ใจว่า วัตถุประสงค์นั้นเป็นที่เข้าใจ
และสามารถสร้างความรับผิดชอบ ที่ตรวจสอบได้ลงไปในทุกระดับ ทั้งนี้ ผู้จัดการโครงการ
จะเป็นคนเลือกเป้าหมายและแจกจ่ายมันออกไป อย่างไรก็ตาม ความเชื่อถือย่อมเป็นสิ่งที่คงอยู่ได้
ถ้าผู้จัดการโครงการ สื่อสารเกี่ยวกับแผนงานเป้าหมายที่พนักงานแต่ละคนได้รับด้วยการเน้นย้ำให้พวกเขารู้ว่า
ทำไมมันจึงมีความสำคัญ และพวกเขาจะจัดมันเข้าไปรวมอยู่ในกลยุทธ์ของหน่วยงานได้อย่างไร
โดยส่วนใหญ่แล้ว เป้าหมายของโครงการ จะถูกกำหนดจากกระบวนการที่ใช้ทั้ง 2
วิธีข้างตันนี้ร่วมกัน ผู้บริหารจะไม่ตั้งวัตถุประสงค์ขึ้นมาโดยไม่ปรึกษาใครเลย
หรือพนักงานเองก็ไม่ได้มีอิสระในการกำหนดแผนงานเป้าหมายของตัวเองมากนัก แต่แผนงานเป้าหมายของหน่วยงานและบุคคล
จะถูกกำหนดจากกระบวนการเจรจาและประชุมปรึกษาหารือร่วมกันด้วยเหตุด้วยผล ระหว่างผู้บริหารและพนักงาน
ว่าอะไรเป็นประเด็นที่สำคัญและมีความเป็นไปได้มากที่สุด
อยากเป็นผู้จัดการขั้นเทพ จังเลย ต้องทำอย่างไร EP00
http://mybuilt.blogspot.com
อยากเป็นผู้จัดการขั้นเทพ จังเลย
ต้องทำอย่างไร
ถ้าคุณเป็นผู้จัดการ ก็เป็นไปได้ว่า ที่คุณได้ตำแหน่งนี้มา
ก็เพราะคุณเป็นคนที่ทำงานได้อย่างยอดเยี่ยม และในฐานะที่เป็นคนทำงานได้ยอดเยี่ยม ก็แสดงว่าคุณได้พัฒนาทักษะที่เป็นประโยชน์ขึ้นมาแล้ว
คุณทำงานได้ดีและตรงตามเวลาที่กำหนด ในฐานะของผู้จัดการโครงการ
คุณจะถูกขอให้รับบทบทที่กว้างขวางขึ้น ในขณะที่คุณสมบัติ
และความรู้บางอย่างที่ทำให้คุณประสบความสำเร็จในช่วงแรกเริ่มนั้น
จะเป็นประโยชน์ต่อคุณน้อยมาก เมื่อคุณต้องรับบทบาทใหม่ ความ
เชี่ยวชาญเฉพาะทางและทักษะในการทำงาน
ซึ่งคุณได้มาก่อนหน้านี้แม้จะยังคงมีความสำคัญ
แต่มันก็ไม่ได้เป็นสิ่งที่กำหนดบทบาทของ
คุณอีกต่อไป
งานของคุณในฐานะที่เป็นผู้จัดการโครงการ ก็คือ การทำให้ได้ผลลัพธ์ที่ต้องการ
ทั้งจากการใช้ความคิดสร้างสรรค์ ความเชี่ยวชาญและจากความพยายามของผู้อื่น
ตัวอย่างเช่น ทักษะด้านการมอบหมายงาน การสอนงาน
หรือการติดตามงาน อาจทำให้คุณได้เลื่อนตำแหน่งเป็น SN ผู้จัดการ แน่นอนว่า
ทักษะเหล่านั้นช่วยให้คุณสามารถสอนงานลูกน้องของคุณได้
แต่ความสำเร็จของคุณในฐานะที่เป็นผู้จัดการกลับถูกกำหนด โดยความสามารถอื่นๆ
นั่นก็คือ ความสามารถของคุณในการจ้างและรักษาคนที่ดีเอาไว้
ในการกระตุ้นและพัฒนาศักยภาพของสมาชิกแต่ละคนในทีมของคุณ ในการสร้างแผนงานที่ประสบความสำเร็จในการควบคุมงบประมาณ
ในการตัดสินใจที่ดีของคุณ ในการไล่คนที่ไม่สามารถทำงานได้หรือไม่ยอมทำงานออกไป
ในการช่วยเลื่อนตำแหน่งให้กับคนที่สมควรได้รับ และอื่นๆ อีกมากมาย มันเป็นเกม
ใหม่ที่มีตัววัดความสำเร็จที่ต่างออกไปจากเดิม
และมันก็ต้องอาศัยทักษะใหม่ๆ อย่างแน่นอนไม่ว่าคุณจะใหม่ต่อตำแหน่งทางการบริหาร
หรือผ่านประสบการณ์มาอย่างโชกโชน Mybuilt channel
จะช่วยให้คุณเรียนรู้และพัฒนาทักษะที่จำเป็น
13 ประการ ซึ่งผู้จัดการที่มีประสิทธิผลจำเป็นต้องมีโดยในแต่ละ EP จะเป็นข้อมูลจากแหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือ ผนวกกับการนำเสนอคำแนะนำที่ใช้ประโยชน์จริง
ได้อย่างดียิ่ง รวมทั้งการฝึกสอนส่วนบุคคล
และข้อมูลพื้นฐานที่คุณสามารถนำไปประยุกต์ใช้ได้ในชีวิตประจำวัน
24 เมษายน 2563
17 เมษายน 2563
11 เมษายน 2563
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)