30 มิถุนายน 2552

รถไฟฟ้ามหานคร


การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) เดิมชื่อองค์การรถไฟฟ้ามหานคร เป็นรัฐวิสาหกิจในสังกัดกระทรวงคมนาคม จัดตั้งขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2535 มีภาระหน้าที่ในการจัดให้มี และให้บริการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนในกรุงเทพมหานครและปริมณฑล และจังหวัดอื่นๆ รวมทั้งดำเนินธุรกิจที่เกี่ยวเนื่องเพื่อประโยชน์แก่ รฟม. และประชาชนในการใช้บริการรถไฟฟ้า ตามพระราชบัญญัติการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย พ.ศ. 2543
ขณะนี้ รฟม. ได้เปิดบริการเดินรถ เมื่อวันที่ 3 กรกฎาคม 2547 ซึ่งเป็นรถไฟฟ้าใต้ดินสายแรกของประเทศไทย ระยะทาง 20 กม. ช่วงหัวลำโพง-ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์-บางซื่อ สำหรับในอนาคต รฟม. ได้รับมอบหมายให้ดำเนินงานโครงการส่วนต่อขยายและสายใหม่ เป็นระยะทาง 94 กม. ประกอบด้วย โครงการรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน ช่วงบางซื่อ-ท่าพระ และช่วงหัวลำโพง-บางแค โครงการรถไฟฟ้าสายสีส้ม ช่วงบางกะปิ-บางบำหรุ และโครงการรถไฟฟ้าสายสีม่วง ช่วงบางใหญ่-ราษฎร์บูรณ ในกลางปี 2548 จะเริ่มก่อสร้าง โครงการรถไฟฟ้าสายสีม่วง บางใหญ่ - ราษฎร์บูรณะ ช่วงบางใหญ่ - บางซื่อ (พ.ศ. 2548-2551) ซึ่งขณะนี้อยู่ระหว่างการเร่งรัดดำเนินงานโครงการตามนโยบายของรัฐบาล

โครงการรถไฟฟ้าสาย สีน้ำเงิน

ลักษณะโครงการ
โครงสร้าง
ช่วงบางซื่อ-ท่าพระ มีระยะทาง 13 กม. เป็นเส้นทางยกระดับทั้งหมด แนวเส้นทางเริ่มต้นจากสถานีบางซื่อ ผ่านถนนประชาราษฎร์สาย 2 สีแยกบางโพ ข้ามแม่น้ำเจ้าพระยา ถนนจรัญสนิทวงศ์ สิ้นสุดที่สี่แยกถนนจรัญสนิทวงศ ์-ถนนเพชรเกษม

--------------------------------------------------------------------------------

สถานี เป็นสถานียกระดับ 10 สถานี ได้แก่ สถานีเตาปูน (เป็นสถานีร่วมกับรถไฟฟ้าสายสีม่วง ช่วงบางใหญ่-บางซื่อ) สถานีบางโพ สถานีบางอ้อ สถานีบางพลัด สถานีสิริธร (เป็นสถานีร่วมกับรถไฟฟ้าสายสีส้ม ช่วงบางกะปิ-บางบำหรุ) สถานีบางยี่ขัน สถานีบางขุนนนท์ สถานีแยกไฟฉาย สถานีจรัญสนิทวงศ์ 13 สถานีท่าพระ (เป็นสถานีร่วมกับรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน ช่วงหัวลำโพง-บางแค)
--------------------------------------------------------------------------------
โครงสร้าง
ช่วงหัวลำโพ-บางแค มีระยะทาง 14 กม. แบ่งเป็นเส้นทางวิ่งใต้ดินในช่วงหัวลำโพง-ท่าพระ ระยะทาง 5 กิโลเมตร ผ่านถนน เจริญกรุง วังบูรพา ถนนสนามไชย พระบรมมหาราชวัง ลอดใต้แม่น้ำเจ้าพระยาที่ปากคลองตลาด คลองบางกอกใหญ่ ถนนอิสรภาพ แล้วเปลี่ยนเป็นเส้นทางยกระดับ ระยะทาง 9 กิโลเมตร เข้าสู่สี่แยกท่าพระ ถนนเพชรเกษม สิ้นสุดที่วงแหวนรอบนอก
--------------------------------------------------------------------------------
สถานี
สถานีจำนวน 11 สถานี เป็นสถานีใด้ดิน 4 สถานี ได้แก่ สถานีวัดมังกร สถานีวังบูรพา (เป็นสถานีใต้ดินร่วมกับรถไฟฟ้าสายสีม่วง บางใหญ่-ราษฎร์บูรณะ) สถานีสนามไชย สถานีอิสรภาพ สถานียกระดับ 7 สถานี ได้แก่ สถานีท่าพระ (เป็นสถานีร่วมกับรถไฟฟ้า สายสีน้ำเงิน ช่วงบางซื่อ-ท่าพระ) สถานีบางไผ่ สถานีบางหว้า สถานีเพชรเกษม 48 สถานีภาษีเจริญ สถานีบางแค สถานีหลักสอง
--------------------------------------------------------------------------------
ระบบรถ
ใช้ระบบรถไฟ้าขนาดใหญ่ (Heavy rail transit system) ที่มีความจุสูง สามารถขนส่งผู้โดยสารได้มากกว่า 50,000 คน ต่อชั่วโมงต่อทิศทาง เช่นเดียวกับรถไฟฟ้ามหานคร สายเฉลิมรัชมงคล
--------------------------------------------------------------------------------
จำนวนผู้โดยสาร
ผลการวิเคราะห์คาดการณ์จำนวนผู้โดยสารในกรณีพื้นฐาน ซึ่งคิดค่าโดยสารในอัตราแรกเข้า 12 บาท และคิดค่าโดยสารเพิ่มขึ้นสถานีละ 2 บาท ไม่คิดค่าเปลี่ยนถ่ายระบบ และมีอัตราค่าโดยสารสูงสุดไม่เกิน 50 บาท
--------------------------------------------------------------------------------
ผลตอบแทนด้านการเงินและเศรษฐกิจของโครงการ
เนื่องจากผลตอบแทนทางด้านการเงินของโครงการ (firr) อยู่ในเกณฑ์ต่ำ โดยโครงการรถไฟฟ้าสายสีม่วง ช่วงบางใหญ่-บางซื่อ ให้ผลตอบแทน -0.87 % และโครงการรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน ช่วงหัวลำโพง-บางแค และช่วงบางซื่อ-ท่าพระ ให้ผลตอบแทน-2.41 % แต่อย่างไรก็ตาม เนื่องจากทั้งสองโครงการให้ผลตอบแทนด้านเศรษฐกิจในรูปแบบของการประหยัดเวลาในการเดินทางและ การประหยัดค่าใช้จ่ายการใช้

โครงการรถไฟฟ้าสาย สีม่วง
ลักษณะโครงการ
โครงสร้าง
ช่วงบางใหญ่-บางซื่อ มีระยะทางประมาณ 23 กม. เป็นทางยกระดับทั้งหมด แนวเส้นทางเริ่มจากบริเวณสถานีรถไฟฟ้าใต้ดิน บางซื่อ ต่อจากโครงสร้างอุโมงค์ที่ปัจจุบัน สิ้นสุดอยู่บริเวณระดับดินหน้าบริษัท ปูนซิเมนต์ไทย จำกัด (มหาชน) เป็นโครงกสร้าง ทางวิ่งยกระดับไปทางสะพานสูงบางซื่อ วิ่งข้ามคลองเปรมประชากร ผ่านถนนประชาราษฎร์สาย 2 สามแยกเตาปูน ถนนกรุงเทพ-นนทบุรี ถนนติวานนท์ ถนนรัตนาธิเบศร์ ข้ามแม่น้ำเจ้าพระยา แยกท่าอิฐ แยกบางพลู ถนนวงแหวนรอบนอก สิ้นสุดที่คลองบางไผ่ (มีศูนยซ่อมบำรุงและอาคารจอดรถ)
--------------------------------------------------------------------------------
สถานี
เป็นสถานียกระดับ 16 สถานี ได้แก่ สถานีเตาปูน สถานีบางซ่อน สถานีวงศ์สว่าง สถานีแยกติวานนท์สถานี กระทรวงสาธารณสุข สถานีศูนย์ราชการนนทบุรี สถานีศรีพรสวรรค์ สถานีแยกนนทบุรี 1 สถานีสะพานพระนั่งเกล้า สถานีไทรม้า สถานีท่าอิฐ สถานีบางรักใหญ่ สถานีบางพลู สถานีสามแยกบางใหญ่ สถานีตลาดบางใหญ่ สถานีคลองบางไผ่
ระบบรถ
ใช้ระบบรถไฟ้าขนาดใหญ่ (Heavy rail transit system) ที่มีความจุสูง สามารถขนส่งผู้โดยสารได้มากกว่า 50,000 คน ต่อชั่วโมงต่อทิศทาง เช่นเดียวกับรถไฟฟ้ามหานคร สายเฉลิมรัชมงคล
--------------------------------------------------------------------------------
จำนวนผู้โดยสาร
ผลการวิเคราะห์คาดการณ์จำนวนผู้โดยสารในกรณีพื้นฐาน ซึ่งคิดค่าโดยสารในอัตราแรกเข้า 12 บาท และคิดค่าโดยสารเพิ่มขึ้นสถานีละ 2 บาท ไม่คิดค่าเปลี่ยนถ่ายระบบ และมีอัตราค่าโดยสารสูงสุดไม่เกิน 50 บาท
--------------------------------------------------------------------------------
ผลตอบแทนด้านการเงินและเศรษฐกิจของโครงการ
เนื่องจากผลตอบแทนทางด้านการเงินของโครงการ (firr) อยู่ในเกณฑ์ต่ำ โดยโครงการรถไฟฟ้าสายสีม่วง ช่วงบางใหญ่-บางซื่อ ให้ผลตอบแทน -0.87 % และโครงการรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน ช่วงหัวลำโพง-บางแค และช่วงบางซื่อ-ท่าพระ ให้ผลตอบแทน-2.41 % แต่อย่างไรก็ตาม เนื่องจากทั้งสองโครงการให้ผลตอบแทนด้านเศรษฐกิจในรูปแบบของการประหยัดเวลาในการเดินทางและ การประหยัดค่าใช้จ่ายการใช้รถยนต์สูง
--------------------------------------------------------------------------------

ประมวลภาพการตัดพื้น Postension slab


รถไฟฟ้า BTS


กรุงเทพมหานครได้ทดลองวิ่งรถไฟฟ้าส่วนต่อขยายสายสีลมจากสะพานตากสิน - แยกตากสิน ระยะทาง 2.2 กม.

ซึ่ง ผู้โดยสารสามารถเดินทางฟรี 3 สถานี ตั้งแต่วันที่ 15 พ.ค. - 12 ส.ค. 52
S6 สถานีสะพานตากสิน
S7 สถานีกรุงธนบุรี
S8 สถานีวงเวียนใหญ่
โดยใช้ตั๋วโดยสารเที่ยวเดียวที่กดออกจากเครื่องจำหน่ายตั๋วโดยสารอัตโนมัติ หรือใช้บัตรโดยสารประเภทเติมเงิน (SKY SmartPass)
สำหรับผู้ที่ใช้บัตรโดยสารประเภท 30 วัน ทุกประเภท ให้กดตั๋วโดยสารเที่ยวเดียวจากเครื่องจำหน่ายตั๋วโดยสารอัตโนมัติ เพื่อเดินทางฟรีเท่านั้น

16 มิถุนายน 2552

ข่าวเด่นประจำสัปดาห์ที่ 2009-06-15

เหล็กเส้นเสียบสาวคนงานก่อสร้างชาวลาวหวิดดับ

ศูนย์ข่าวศรีราชา - เกิดอุบัติเหตุรอกส่งของหลุดร่วงกระแทกเหล็กเส้นที่พื้น ดีดปลายอีกด้านงัดขึ้นเสียบทะลุแขนคนงานก่อสร้างสาวชาวลาว เกือบโดนหัวใจ อาการสาหัส

วันนี้ (15 มิ.ย.) เจ้าหน้าที่หน่วยกู้ภัยสว่างประทีปธรรมสถานศรีราชา อ.ศรีราชา จ.ชลบุรี ได้รับแจ้งว่ามีคนถูกเหล็กเสียบที่ร่างกายได้รับบาดเจ็บอาการสาหัส ซึ่งเหตุเกิดบริเวณสถานที่ก่อสร้าง มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตสิรินธร ราชวิทยาลัย ในพระราชูปถัมภ์ (วัดศรีมหาราชา) ถ.สุรศักดิ์สงวน ต.ศรีราชา อ.ศรีราชา จ.ชลบุรี จากนั้นจึงได้เดินทางไปตรวจสอบที่เกิดเหตุพบ น.ส.วรรณา สุทธิ อายุ 21 ปี ชาวลาว ซึ่งเป็นคนงานก่อสร้างได้ถูกเหล็กเส้น ขนาด 2 หุน เกือบ 10 เมตร เสียบที่ต้นแขนด้านซ้ายทะลุเข้าลำตัวได้รับบาดเจ็บอาการสาหัส

จากนั้นเจ้าหน้าที่หน่วยกู้ภัยฯ ได้ทำการช่วยเหลือปฐมพยาบาลเบื้องต้นผู้บาดเจ็บก่อน ที่จะใช้กรรไกรตัดเหล็กที่เสียบแขนและชายโครงให้สั้นลง ก่อนประสานไปยังเจ้าหน้าที่พยาบาลโรงพยาบาลสมเด็จพระบรมราชเทวี ณ ศรีราชา ให้มาทำการเคลื่อนย้ายผู้ได้รับบาดเจ็บ นำไปรักษาตัวที่โรงพยาบาลเพื่อให้แพทย์ทำการช่วยเหลือและทำการผ่าตัดเป็นการด่วน

จากการสอบถามนายสมบัติ เรียงเงิน ผู้เห็นเหตุการณ์ทราบว่า ขณะที่ตนได้ชักลอกนำหินขึ้นไปชั้นบนของอาคาร โดยมี น.ส.วรรณาผู้บาดเจ็บทำหน้าที่คอยตักหินทรายใส่กระบะอยู่ด้านล่าง จังหวะที่กำลังชักลอกหิยขึ้นไปถึงชั้นที่ 2 สายสลิงที่ชักลอกได้เกิดขาด จึงทำให้กระบะที่บรรจุหินล่วงลงมากระแทรกกับเหล็กเส้นที่กองอยู่กับพื้น กระเด็นมาเสียบร่างนางสาววรรณาได้รับบาดเจ็บสาหัสดังกล่าว
From ASTVผู้จัดการออนไลน์

09-06-14 สั่งปิดไซด์ก่อสร้างหลังเครนใหญ่ทับคนงานดับ

สั่งปิดไซด์ก่อสร้างหลังเครนใหญ่ทับคนงานดับ

กรณีเครนก่อสร้างขนาดใหญ่ล้มทับคนงานเสียชีวิตและได้รับบาดเจ็บ บริเวณไซต์งานก่อสร้างภายในวัดเทวราชกุญชรวรวิหาร ถนนศรีอยุธยา แขวงวชิระ เขตดุสิต กทม. เหตุ เมื่อ 13 มิถุนายน ที่ผ่านมา ความคืบหน้าล่าสุด พ.ต.อ.สรเสริญ ใช้สถิต ผกก.สน.สามเสน เปิดเผยว่า ทางสำนักงานเขตดุสิตและสน.สามเสน ได้สั่งปิดการก่อสร้างบริเวณโครงการที่เกิดเหตุแล้ว และพรุ่งนี้(15 มิ.ย.)จะให้ทางพนักงานสอบสวนประสานงาน ขอคำปรึกษาจากผู้เชี่ยวชาญ จากสมาคมวิศวะกรรมฯแห่งประเทศไทย เพื่อขอข้อมูลมาตรฐานความปลอดภัย และวิธีการขนย้ายและดำเนินการก่อสร้าง
"หลังจากนั้นจะได้นำข้อมูลที่ได้มาตรวจสอบว่าเหตุการณ์ดังกล่าวใครเป็นผู้คนผิด เบื้องต้นจะแจ้งข้อหากระทำการประมาทเป็นเหตุให้ผู้อื่นถึงแก่ความตาย กับวิศวกรคุมงาน และอาจพิจารณายึดใบอนุญาตประกอบวิชาชีพด้วย ส่วนคนบังคับเครนยกเหล็ก หรือคนงานผูกสายสลิงกับท่อเหล็กต้องสอบปากคำว่าใครเป็นคนกระทำผิดด้วย ขณะนี้ได้สอบพยานซึ่งเป็นคนงานในที่เกิดเหตุไปแล้ว 5-6 ปาก ขณะที่คนเจ็บ ขาหักยังคงพักรักษาตัวที่ วชิระพยาบาล" ผกก.สน.สามเสน กล่าว

From เนชั่นทันข่าว
http://mybuilt.blogspot.com

09-06-13 เครนสร้างตึกเทคโนฯพระนครถล่มทับคนงานดับ

เครนสร้างตึกเทคโนฯพระนครถล่มทับคนงานดับ 1

เครนก่อสร้างอาคาร ม.เทคโนโลยีราชมงคลพระนคร หักทับช่างไฟเสียชีวิต 1 คน ขณะเดินสายไฟ ส่วนคนขับรถเครนได้รับบาดเจ็บ ตร.สน.สามเสนเตรียมเรียกวิศวกรและสถาปนิกดำเนินคดีร่วมกันประมาททำให้ผู้อื่นถึงแก่ความตาย

วันนี้ (13 มิ.ย.)เมื่อเวลาประมาณ 11.00 น.ร.ต.ท.สมชาย เชาวนะ ร้อยเวร สน.สามเสน รับแจ้งเหตุเครนก่อสร้างถล่มบริเวณวัดเทวราชกุญชร วรวิหาร จุดรุดไปตรวจสอบที่เกิดเหตุพบเครนก่อสร้างขนาดใหญ่หล่นพาดทับรถบรรทุก เจดีย์ หลังคาและทางเดินพระอุโบสถได้รับความเสียหายแตกหักเศษอิฐกระจายเกลื่อนกลาด พบผู้เสียชีวิตทราบชื่อคือนายตะวัน พลเยี่ยม เจ้าหน้าที่ไฟฟ้า ขณะเกิดเหตุกำลังเดินสายไฟภายในอาคาร และผู้ได้รับบาดเจ็บ 1 ราย คือนายสุริยะ แสนสุข คนขับรถเครน เจ้าหน้าที่หน่วยกู้ภัยจึงรีบนำตัวส่งโรงพยาบาล ส่วนบริเวณที่เกิดเหตุได้นำเชือกมากั้นไม่ให้บุคคลที่ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องเข้าไปภายในเนื่องจากอาจได้รับอันตราย

พล.ต.ต.วิชัย สังข์ประไพ ผบก.น.1เปิดเผยภายหลังเดินทางตรวจสอบที่เกิดเหตุว่า บริเวณดังกล่าวบริษัทสแตนดาร์ดเพอร์ฟอร์แม้นซ์ จำกัด เป็นผู้รับเหมาก่อสร้างอาคารอเนกประสงค์คณะเทคโนโลยีคหกรรมศาสตร์ ม.เทคโนโลยีราชมงคลพระนคร ขณะเกิดเหตุคนงานก่อสร้างได้เกี่ยวเหล็กกับรถเครนเพื่อทำการก่อสร้าง ระหว่างที่เครนกำลังยกเหล็กขึ้นไป ตัวเกี่ยวครูดทำให้เหล็กเคลื่อน เครนแกว่งเสียหลักจนเหล็กหล่นลงมาจนเครนเสียหลักหักลงมาทับทำให้มีผู้เสียชีวิต 1 คน บาดเจ็บอีก 1 คน รถยนต์เสียหายทั้งสิ้น 3 คัน พระอุโบสถและเจดีย์เสียหาย เบื้องต้นได้นำตัวนายอภิชัย ลาภทอง ชาวยโสธร คนขับรถบรรทุกที่เครนหล่นลงมาทับ และนายทองสุข เทพาขัน คนงานที่ทำหน้าที่เกี่ยวเหล็กกับเครน ไปสอบปากคำเพิ่มเติม พร้อมกันนี้จะได้เรียกตัวนายปฐมพงศ์ คุ้มผล วิศวกรโยธา และ น.ส.รัฏฐกรณ์ ภักดี สถาปนิก มาสอบปากคำและดำเนินคดีในข้อหาร่วมกันประมาททำให้ผู้อื่นถึงแก่ความตายต่อไป

สำหรับโครงการก่อสร้างดังกล่าวมีนายสังคม นำสุข เป็นผู้จัดการโครงการ น.ส.ศรีสุดา สานิ เป็นเจ้าหน้าที่ความปลอดภัย และนายธวัชชัย นวเลิศปัญญา เป็นหนัวหน้าผู้คุมงาน กำหนดเริ่มสัญญาก่อสร้างเมื่อวันที่ 4 มิ.ย.2551 และสิ้นสุดโครงการในวันที่ 3 มิ.ย. 2553 งบประมาณก่อสร้างทั้งสิ้น 146,300,000 บาท



โดย ทีมข่าวอาชญากรรม ASTVผู้จัดการ
http://mybuilt.blogspot.com

09-06-10 ก.ค.นี้ เริ่มเจาะอุโมงค์ราชพฤกษ์-นครอินทร์

คาด ก.ค.นี้ เริ่มเจาะอุโมงค์ราชพฤกษ์-นครอินทร์

ทางหลวงชนบทเผย ก.ค.เริ่มก่อสร้างอุโมงค์ ราชพฤกษ์-นครอินทร์ได้ ช่วยลดปัญหาจราจรติดขัด ก่อสร้าง 3 ปี พร้อมเตรียมต่อขยายโครงข่ายทาง รองรับการใช้งานสนามบินสุวรรณภูมิ

นายวิชาญ คุณากูลสวัสดิ์ อธิบดีกรมทางหลวงชนบท (ทช.) เปิดเผยว่า ขณะนี้ทช.อยู่ระหว่างการประกวดราคาคัดเลือกผู้รับเหมาก่อสร้างอุโมงค์ลอดบริเวณวงเวียนถนนราชพฤกษ์-ถนนนครอินทร์ และทางคู่ขนานถนนราชพฤกษ์ ช่วง กม.15+660 ถึง 17+800 สะพานคู่ขนานข้ามคลองบางกอกน้อย จังหวัดนนทบุรี ซึ่งคาดว่าจะลงนามสัญญาและเริ่มงานก่อสร้างได้ในเดือนก.ค. 2552 โดยใช้เวลาในการก่อสร้าง 3 ปี

ทั้งนี้โครงการดังกล่าวจะแก้ปัญหาจราจรบริเวณ วงเวียนจุดตัดถนนราชพฤกษ์-ถนนนครอินทร์โดยเฉพาะในชั่วโมงเร่งด่วน ซึ่งมักจะเกิดอุบัติเหตุในบริเวณดังกล่าวค่อนข้างบ่อย ซึ่งโครงการจะทำให้ขีดความสามารถในการรองรับการจราจรเพิ่มมากขึ้น และปรับปรุงประสิทธิภาพ ถนนราชพฤกษ์-ถนนนครอินทร์ ให้สมบูรณ์ยิ่งขึ้น โดยรูปแบบจะเป็นการก่อสร้างอุโมงค์ขนาด 6 ช่องจราจร ความยาวประมาณ 650 เมตร บนถนนราชพฤกษ์ลอดใต้วงเวียนจุดตัดถนนราชพฤกษ์-ถนนนครอินทร์ เมื่อก่อสร้างแล้วเสร็จ ในบริเวณทางแยกดังกล่าว จะมีลักษณะเป็นอุโมงค์ทางลอดในการเดินทางแนวเหนือ-ใต้ สะพานลอยข้ามแยกในการเดินทางแนวตะวันออก-ตะวันตกโดยวงเวียนยังคงสามารถใช้งานได้สำหรับรถที่จะเลี้ยวซ้ายและขวาในการเดินทาง

นอกจากนี้ ทช.ยังได้มอบหมายให้สำนักก่อสร้างทาง เร่งดำเนินการศึกษาออกแบบส่วนต่อขยายถนนสายแยก ทล.34 (กม.ที่ 26) เชื่อมกับทางหลวงชนบทสาย ฉช. 3001 พร้อมทางต่างระดับ เพื่อรองรับปริมาณการจราจรบริเวณโดยรอบสนามบินสุวรรณภูมิ และรองรับการเจริญเติบโตในพื้นที่ และพัฒนาโครงข่ายการคมนาคมให้สมบูรณ์มากขึ้น ตามนโยบายของนายประจักษ์ แกล้วกล้าหาญรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม

อย่างไรก็ตามการต่อขยายถนนสายแยกทางหลวงหมายเลข 34 (กม.ที่ 26) ถึงทางหลวงพิเศษหมายเลข 7 โดยต่อขยายจาก กม.8+900 ข้ามทางหลวงพิเศษหมายเลข 7 และคลองพระองค์เจ้าไชยานุชิต ไปเชื่อมกับทางหลวงชนบทสาย ฉช.3001 (ถนนหลวงแพ่ง หรือ ถนนเทพราช-ลาดกระบัง) โดยมีเขตทางกว้างประมาณ 30 เมตร จำนวน 4 ช่องจราจร 2 ทิศทาง มีเกาะกลางแบ่งแยกทิศทางการจราจร ซึ่งเมื่อก่อสร้างแล้วเสร็จจะช่วยเพิ่มความสะดวกสบายและความปลอดภัยในการเดินทาง ลดอุบัติเหตุทางด้านการจราจร รวมถึงลดเวลา ค่าใช้จ่ายในการเดินทางและการขนส่งสินค้าให้น้อยลงด้วย นอกจากนี้กรมยังมีแผนที่จะปรับปรุงถนนช่วงระหว่าง กม.5+000 ถึง กม.8+900 ซึ่งมีปัญหาสภาพดินอ่อนใต้คันทางในบางบริเวณ ให้มีความมั่นคงแข็งแรงมากขึ้นเพื่อเพิ่มอายุการใช้งานของถนนและสร้างความปลอดภัยของผู้ใช้รถใช้ถนน


โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์
http://mybuilt.blogspot.com