30 มิถุนายน 2552
รถไฟฟ้ามหานคร
การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) เดิมชื่อองค์การรถไฟฟ้ามหานคร เป็นรัฐวิสาหกิจในสังกัดกระทรวงคมนาคม จัดตั้งขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2535 มีภาระหน้าที่ในการจัดให้มี และให้บริการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนในกรุงเทพมหานครและปริมณฑล และจังหวัดอื่นๆ รวมทั้งดำเนินธุรกิจที่เกี่ยวเนื่องเพื่อประโยชน์แก่ รฟม. และประชาชนในการใช้บริการรถไฟฟ้า ตามพระราชบัญญัติการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย พ.ศ. 2543
ขณะนี้ รฟม. ได้เปิดบริการเดินรถ เมื่อวันที่ 3 กรกฎาคม 2547 ซึ่งเป็นรถไฟฟ้าใต้ดินสายแรกของประเทศไทย ระยะทาง 20 กม. ช่วงหัวลำโพง-ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์-บางซื่อ สำหรับในอนาคต รฟม. ได้รับมอบหมายให้ดำเนินงานโครงการส่วนต่อขยายและสายใหม่ เป็นระยะทาง 94 กม. ประกอบด้วย โครงการรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน ช่วงบางซื่อ-ท่าพระ และช่วงหัวลำโพง-บางแค โครงการรถไฟฟ้าสายสีส้ม ช่วงบางกะปิ-บางบำหรุ และโครงการรถไฟฟ้าสายสีม่วง ช่วงบางใหญ่-ราษฎร์บูรณ ในกลางปี 2548 จะเริ่มก่อสร้าง โครงการรถไฟฟ้าสายสีม่วง บางใหญ่ - ราษฎร์บูรณะ ช่วงบางใหญ่ - บางซื่อ (พ.ศ. 2548-2551) ซึ่งขณะนี้อยู่ระหว่างการเร่งรัดดำเนินงานโครงการตามนโยบายของรัฐบาล
โครงการรถไฟฟ้าสาย สีน้ำเงิน
ลักษณะโครงการ
โครงสร้าง
ช่วงบางซื่อ-ท่าพระ มีระยะทาง 13 กม. เป็นเส้นทางยกระดับทั้งหมด แนวเส้นทางเริ่มต้นจากสถานีบางซื่อ ผ่านถนนประชาราษฎร์สาย 2 สีแยกบางโพ ข้ามแม่น้ำเจ้าพระยา ถนนจรัญสนิทวงศ์ สิ้นสุดที่สี่แยกถนนจรัญสนิทวงศ ์-ถนนเพชรเกษม
--------------------------------------------------------------------------------
สถานี เป็นสถานียกระดับ 10 สถานี ได้แก่ สถานีเตาปูน (เป็นสถานีร่วมกับรถไฟฟ้าสายสีม่วง ช่วงบางใหญ่-บางซื่อ) สถานีบางโพ สถานีบางอ้อ สถานีบางพลัด สถานีสิริธร (เป็นสถานีร่วมกับรถไฟฟ้าสายสีส้ม ช่วงบางกะปิ-บางบำหรุ) สถานีบางยี่ขัน สถานีบางขุนนนท์ สถานีแยกไฟฉาย สถานีจรัญสนิทวงศ์ 13 สถานีท่าพระ (เป็นสถานีร่วมกับรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน ช่วงหัวลำโพง-บางแค)
--------------------------------------------------------------------------------
โครงสร้าง
ช่วงหัวลำโพ-บางแค มีระยะทาง 14 กม. แบ่งเป็นเส้นทางวิ่งใต้ดินในช่วงหัวลำโพง-ท่าพระ ระยะทาง 5 กิโลเมตร ผ่านถนน เจริญกรุง วังบูรพา ถนนสนามไชย พระบรมมหาราชวัง ลอดใต้แม่น้ำเจ้าพระยาที่ปากคลองตลาด คลองบางกอกใหญ่ ถนนอิสรภาพ แล้วเปลี่ยนเป็นเส้นทางยกระดับ ระยะทาง 9 กิโลเมตร เข้าสู่สี่แยกท่าพระ ถนนเพชรเกษม สิ้นสุดที่วงแหวนรอบนอก
--------------------------------------------------------------------------------
สถานี
สถานีจำนวน 11 สถานี เป็นสถานีใด้ดิน 4 สถานี ได้แก่ สถานีวัดมังกร สถานีวังบูรพา (เป็นสถานีใต้ดินร่วมกับรถไฟฟ้าสายสีม่วง บางใหญ่-ราษฎร์บูรณะ) สถานีสนามไชย สถานีอิสรภาพ สถานียกระดับ 7 สถานี ได้แก่ สถานีท่าพระ (เป็นสถานีร่วมกับรถไฟฟ้า สายสีน้ำเงิน ช่วงบางซื่อ-ท่าพระ) สถานีบางไผ่ สถานีบางหว้า สถานีเพชรเกษม 48 สถานีภาษีเจริญ สถานีบางแค สถานีหลักสอง
--------------------------------------------------------------------------------
ระบบรถ
ใช้ระบบรถไฟ้าขนาดใหญ่ (Heavy rail transit system) ที่มีความจุสูง สามารถขนส่งผู้โดยสารได้มากกว่า 50,000 คน ต่อชั่วโมงต่อทิศทาง เช่นเดียวกับรถไฟฟ้ามหานคร สายเฉลิมรัชมงคล
--------------------------------------------------------------------------------
จำนวนผู้โดยสาร
ผลการวิเคราะห์คาดการณ์จำนวนผู้โดยสารในกรณีพื้นฐาน ซึ่งคิดค่าโดยสารในอัตราแรกเข้า 12 บาท และคิดค่าโดยสารเพิ่มขึ้นสถานีละ 2 บาท ไม่คิดค่าเปลี่ยนถ่ายระบบ และมีอัตราค่าโดยสารสูงสุดไม่เกิน 50 บาท
--------------------------------------------------------------------------------
ผลตอบแทนด้านการเงินและเศรษฐกิจของโครงการ
เนื่องจากผลตอบแทนทางด้านการเงินของโครงการ (firr) อยู่ในเกณฑ์ต่ำ โดยโครงการรถไฟฟ้าสายสีม่วง ช่วงบางใหญ่-บางซื่อ ให้ผลตอบแทน -0.87 % และโครงการรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน ช่วงหัวลำโพง-บางแค และช่วงบางซื่อ-ท่าพระ ให้ผลตอบแทน-2.41 % แต่อย่างไรก็ตาม เนื่องจากทั้งสองโครงการให้ผลตอบแทนด้านเศรษฐกิจในรูปแบบของการประหยัดเวลาในการเดินทางและ การประหยัดค่าใช้จ่ายการใช้
โครงการรถไฟฟ้าสาย สีม่วง
ลักษณะโครงการ
โครงสร้าง
ช่วงบางใหญ่-บางซื่อ มีระยะทางประมาณ 23 กม. เป็นทางยกระดับทั้งหมด แนวเส้นทางเริ่มจากบริเวณสถานีรถไฟฟ้าใต้ดิน บางซื่อ ต่อจากโครงสร้างอุโมงค์ที่ปัจจุบัน สิ้นสุดอยู่บริเวณระดับดินหน้าบริษัท ปูนซิเมนต์ไทย จำกัด (มหาชน) เป็นโครงกสร้าง ทางวิ่งยกระดับไปทางสะพานสูงบางซื่อ วิ่งข้ามคลองเปรมประชากร ผ่านถนนประชาราษฎร์สาย 2 สามแยกเตาปูน ถนนกรุงเทพ-นนทบุรี ถนนติวานนท์ ถนนรัตนาธิเบศร์ ข้ามแม่น้ำเจ้าพระยา แยกท่าอิฐ แยกบางพลู ถนนวงแหวนรอบนอก สิ้นสุดที่คลองบางไผ่ (มีศูนยซ่อมบำรุงและอาคารจอดรถ)
--------------------------------------------------------------------------------
สถานี
เป็นสถานียกระดับ 16 สถานี ได้แก่ สถานีเตาปูน สถานีบางซ่อน สถานีวงศ์สว่าง สถานีแยกติวานนท์สถานี กระทรวงสาธารณสุข สถานีศูนย์ราชการนนทบุรี สถานีศรีพรสวรรค์ สถานีแยกนนทบุรี 1 สถานีสะพานพระนั่งเกล้า สถานีไทรม้า สถานีท่าอิฐ สถานีบางรักใหญ่ สถานีบางพลู สถานีสามแยกบางใหญ่ สถานีตลาดบางใหญ่ สถานีคลองบางไผ่
ระบบรถ
ใช้ระบบรถไฟ้าขนาดใหญ่ (Heavy rail transit system) ที่มีความจุสูง สามารถขนส่งผู้โดยสารได้มากกว่า 50,000 คน ต่อชั่วโมงต่อทิศทาง เช่นเดียวกับรถไฟฟ้ามหานคร สายเฉลิมรัชมงคล
--------------------------------------------------------------------------------
จำนวนผู้โดยสาร
ผลการวิเคราะห์คาดการณ์จำนวนผู้โดยสารในกรณีพื้นฐาน ซึ่งคิดค่าโดยสารในอัตราแรกเข้า 12 บาท และคิดค่าโดยสารเพิ่มขึ้นสถานีละ 2 บาท ไม่คิดค่าเปลี่ยนถ่ายระบบ และมีอัตราค่าโดยสารสูงสุดไม่เกิน 50 บาท
--------------------------------------------------------------------------------
ผลตอบแทนด้านการเงินและเศรษฐกิจของโครงการ
เนื่องจากผลตอบแทนทางด้านการเงินของโครงการ (firr) อยู่ในเกณฑ์ต่ำ โดยโครงการรถไฟฟ้าสายสีม่วง ช่วงบางใหญ่-บางซื่อ ให้ผลตอบแทน -0.87 % และโครงการรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน ช่วงหัวลำโพง-บางแค และช่วงบางซื่อ-ท่าพระ ให้ผลตอบแทน-2.41 % แต่อย่างไรก็ตาม เนื่องจากทั้งสองโครงการให้ผลตอบแทนด้านเศรษฐกิจในรูปแบบของการประหยัดเวลาในการเดินทางและ การประหยัดค่าใช้จ่ายการใช้รถยนต์สูง
--------------------------------------------------------------------------------
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น