Step 1 ขั้นตอนการทำงาน เริ่มตั้งแต่ การปรับดินเทลีน คานคอดิน วางแผ่น Prestress จนถึงการเทคอนกรีตเสร็จ
1. ปรับดินเท Lean Concrete หนาประมาณ 5 ซม. เพื่อทำคานคอดินรับพื้น ข้อระวังในการทำคานคอดิน คือการควบคุมระดับหลังคานให้ใด้ระดับตามแบบก่อสร้าง เพื่อการวางแผ่น Prestress ง่ายขึ้นในระหว่างการทำงาน
2. รื้อไม้แบบคานคอดินออก ปรับระดับดินเดิมตามสภาพ แล้ว ฉีดน้ำยากำจัดปลวกลงดิน ให้ได้ตามสเป็คของผู้ออกแบบ ตามด้วยการวางแผ่น Prestress
3. วางแผนและจัดลำดับ การเทคอนกรีตพื้นออกเป็นโซน แต่ละโซนมีขนาด กว้าง x ยาว ประมาณ 20 x50 เมตร แต่โซนออกแบบรอยต่อเป็น pour strip หรือ Expantion joint ทั้งนี้เพื่อควบคุมรอยแตกร้าว ส่วนการเทคอนกรีตแต่ละครั้งควรแบ่ง strip การเทไม่ควรเกิน 6-8 เมตร เพื่อควบคุมค่าระดับของพื้น
4. การวางเหล็กเสริมควรวางให้ได้ตำแหน่ง เหล็กบนต้องอยู่บนจริง ๆ เหล็กล่างต้องอยู่ล่าง และในส่วน
Covering ต้องได้ตามที่กำหนดโดยใช้ลูกปูนและ barchair ช่วยในการจัดตำแหน่งของเหล็กเสริม
5. Construction Joint ของแต่ละ Bay ให้ใช้ตะแกรงกงไก่เป็นแบบ ด้านที่จะตัด Joint ควรยึดตะแกรงให้แน่นด้วย เหล็ก 9 mm. ตลอดแนวที่จะตัด Joint ระวังเวลา จี้คอนกรีต ถ้ายึดตะแกรงไม่ดีจะทำให้คอนกรีตทะลักล้นออกมา การติดตะแกรง ควรวางให้ได้ระนาบฉากเสมอ
5. การใส่เหล็กฉาก กันเหลี่ยมบิ่น หรือ เพื่อให้เหลี่ยมของพื้นในแนวที่ตัด Joint มีคุณภาพควรใช้เหล็กฉากใหม่ ไม่ควรใช้เหล็กเก่าเพราะอาจมีขี้ปูนติดกับเหล็กฉากอยู่ และควรทาเหล็กฉากด้วยน้ำยา หรือจาระบี เพื่อไม่ให้เหล็กฉากยึดติดกับ Concrete ตอนรื้อเหล็กฉากควรใช้เครื่องตัดร่องนำระหว่างแนวเหล็กฉาก กับคอนกรีต เพื่อป้องกันเหลี่ยมแตก การ Set ระดับ ไม่ควรเชื่อมเหล็กฉากติดกับเหล็กเสริม เพราะระดับอาจเคลื่อนได้ ก่อนเทควรให้ Survey Check ระดับให้อีกครั้ง และควรยึดค่าระดับอ้างอิงจุดเดียวกันเสมอ
6. การเสริมเหล็กกันแตกตามบริเวณ Block Out และ Opening รวมทั้งตามมุมเสา มุมหักต่างๆของคอนกรีต ต้องมี อย่างน้อย 3 เส้น โดยใช้ความยาวเท่ากับ 3 d และระยะห่างประมาณ 2.5 - 3 ซม. โดย Aggregated สามารถแทรกตัวลงได้โดยไม่มีการแยกตัว
7. การเท Concrete ควรจะเทเริ่มจาก Bay ตรงมุมออกมาก่อน หรือ ทาง วิศวกร เห็นสมควร และก่อนเท
คอนกรีต ควร Check Slump ก่อนเททุกครั้ง Slump ต้องได้ตามที่ Mix Design ไว้ ( Slump ปกติจะอยู่ที่ 10 + 1 ซม. )
8. การปาดหน้าปูนให้ใช้กล่องอลูมิเนียม หรือโครงถักอลูมิเนียมช่วยในการปาดหน้า และง่ายต่อการ Check ระดับของผิวคอนกรีต
9. การเท Concrete ใน Bay ต่อไปควรสะกัดคอนกรีตที่ล้นออกนอกตะแกรงกงไก่ก่อนเทคอนกรีตใหม่เสมอ
การตรวจสอบก่อนการเทคอนกรีต และระหว่างการเทคอนกรีต
- ตรวจสอบระดับของ lean Concrete และความเรียบร้อยของพลาสติก Sheet
- ตรวจสอบแนววางท่อ และระดับของลวดอัดแรงให้ได้ตามแบบ
- ตรวจสอบงานระบบที่อยู่ใต้พื้นให้ตรงตามแบบ
- ตรวจสอบเหล็กเสริมตามช่องเปิด และ joint รวมทั้งบริเวณสมอยึด (Anchorage)
- ตรวจสอบเหล็กฉาก ว่าได้ระดับเท และได้แนว และมีความแข็งแรง
- ตรวจสอบว่ามีการจี้ปูนสม่ำเสมอ และ slump ในการเทต้องได้ตามกำหนด
- ตรวจสอบการปาดปูน ปรับระดับด้วยโครงถักอลูมิเนียม และเช็คด้วยกล้องระดับ
- ถ้าเหล็กเสริมติดแนว tendon ให้ขยับเหล็กเสริมออกจากแนว tendon ห้ามหักงอ tendon เพื่อหลบเหล็กเสริมซึ่งจะทำให้เกิด
friction loss สูง
- แนวการเทคอนกรีตต้องเป็นแนวเดียวกันตลอดห้ามเทตัดขวางกันเป็นสามแยก
ข้อควรระวัง
1. ไม่ควรให้คนงานเดินบนเหล็กเสริมเพราะอาจทำให้เหล็กคด งอ เสียรูปทรงได้
2. ก่อนเทคอนกรีต ทุกครั้งควรให้ Survey มา Recheck ระดับก่อนเสมอ และใช้ค่าระดับที่จุดเดียวกัน
3. ก่อนเทคอนกรีตควรลดระดับเผื่องาน Finishing ตามแบบไว้ก่อนเสมอ
4. ก่อนเทคอนกรีต ควรลงน้ำยากันปลวกก่อน 1 วัน
5. ต้องทำความสะอาดแบบก่อนเทคอนกรีตทุกครั้ง
6 เพื่อความสวยงามของพื้นคอนกรีตควร Set ตำแหน่งรอยต่อ joint ให้หลบในที่ลับตาหรือบริเวณที่มีสิ่งของมาบังไว้
7 การเก็บน้ำปูนหรือขี้ปูนที่ล้นเข้าไปใน Concrete Bay เก่าและเก็บรอยต่อให้ดี ถ้าเก็บไม่ดีจะเกิดเป็นรอยตะเข็บเกิดขึ้น
8 ในบริเวณจุดตัว Joint ให้เป็นสี่แยกตลอด และไม่ควรตัด Joint ให้เป็นมุมฉากมุม, มุมเว้า
9 ในส่วนพื้นที่โครงสร้างต่างชนิดกันควรตัด Joint แยกจากกันเป็น Slab on ground กับ Slab on beam
10 ตรงส่วนมุมเว้า มุมแหลม ควรเสริมเหล็กกันแตกเสมอ รวมถึงบริเวณ Block out วงกบ โดยใช้ความยาวเท่ากับ 3 d
Step 2 ขั้นตอนการขัดมันด้วยผง FLOOR HARDENER
http://mybuilt.blogspot.com
2 พฤศจิกายน 2552
ลิฟท์ขนส่งวัสดุชั่วคราว
ความปลอดภัยในการทำงานก่อสร้างว่าด้วยลิฟท์ขนส่งวัสดุชั่วคราว
หมวด 1การสร้างลิฟท์ขนส่งวัสดุชั่วคราว
ข้อ 2 ลิฟท์ที่มีความสูงเกินเก้าเมตร นายจ้างจะต้องจัดให้มีผู้ที่ได้รับใบอนุญาตเป็นผู้ประกอบวิชาชีพวิศวกรรมควบคุม สาขาวิศวกรรมโยธา จาก ก.ว. เป็นผู้ออกแบบและคํานวณโครงสร้าง พร้อมทั้งกําหนดรายละเอียดของหอลิฟท์ และตัวลิฟท์ อย่างน้อยให้เป็นไปตามข้อกําหนด ดังต่อไปนี้
(1) หอลิฟท์ ต้องสามารถรับนํ้าหนักได้ ไม่น้อยกว่าสองเท่าของนํ้าหนักแห่งการใช้งาน (Working Load)
(2) คานสําหรับติดตั้งรอกและฐานที่รองรับคาน ต้องมีความแข็งแรงพอที่จะรับนํ้าหนักรอก นํ้าหนักตัว ลิฟท์ และนํ้าหนักบรรทุก (Live Load) โดยมีส่วนปลอดภัย (Factor of Safety) ไม่น้อยกว่าห้า
(3) หอลิฟท์ ที่สร้างด้วยไม้ต้องสร้างด้วยไม้ที่มีหน่วยแรงดัดประลัย (Ultimate Bending Stress) ไม่น้อยกว่าแปดร้อยกิโลกรัมต่อตารางเซนติเมตร และมีส่วนปลอดภัยไม่น้อยกว่าแปด
(4) หอลิฟท์ ที่สร้างด้วยโลหะ ต้องเป็นโลหะที่มีจุดคราก (Yield Point) ไม่น้อยกว่าสองพันสี่ร้อยกิโลกรัมต่อตารางเซนติเมตร และมีส่วนปลอดภัยไม่น้อยกว่าสอง
(5) ฐานรองรับหอลิฟท์ ต้องมีความมั่นคง สามารถรับนํ้าหนักได้ไม่น้อยกว่าสองเท่าของนํ้าหนักหอลิฟท์ นํ้าหนักตัวลิฟท์ และนํ้าหนักบรรทุก
(6) ตัวลิฟท์ ต้องมั่นคงแข็งแรง สามารถรับนํ้าหนักบรรทุกได้ไม่น้อยกว่าห้าเท่าของนํ้าหนักแห่งการใช้งาน และต้องมีขอบกันของตกสูงไม่น้อยกว่าเจ็ดเซนติเมตรจากพื้นของตัวลิฟท์ โดยรวมและด้านที่มิใช่ทางขนของเข้าออกต้องมีผนังปิดกั้นด้วยไม้ หรือลวดตาข่าย มีความสูงจากพื้นของตัวลิฟท์ ไม่น้อยกว่าหนึ่งเมตร เว้นแต่ ตัวลิฟท์ที่มีลักษณะเป็นถังโลหะ ไม่ต้องมีผนังปิดกั้นก็ได้ในกรณีที่ติดตั้งลิฟท์อยู่ภายนอกหอลิฟท์ ไม่ต้องมีผนังปิดกั้นตัวลิฟท์ก็ได้
(7) หอลิฟท์ ต้องมีการยึดโยง คํ้ายัน หรือตรึงกับพื้นดินหรือตัวอาคารให้มั่นคงแข็งแรงและปลอดภัย
ข้อ 3 เครื่องจักรและอุปกรณ์อื่น ๆ ที่ใช้ยกตัวลิฟท์ นายจ้างต้องจัดให้เป็นไปตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่องความปลอดภัยในการทํางานเกี่ยวกับเครื่องจักร
ข้อ 4 ในการสร้างลิฟท์ นายจ้างต้องดําเนินการตามแบบและรายละเอียดตามข้อ 2 ข้อ 3 และตามข้อกําหนด ดังต่อไปนี้
(1) ในกรณีติดตั้งตัวลิฟท์ภายในหอลิฟท์ ต้องมีลวดตาข่ายหรือไม้ตีเว้นช่องห่างกันไม่น้อยกว่าสามเซนติเมตร แต่ไม่เกินสิบเซนติเมตร ปิดยึดแน่นกับโครงหอลิฟท์ทุกด้าน สูงไม่น้อยกว่าสองเมตรจากพื้นของหอลิฟท์ เว้นแต่ช่องที่ใช้เป็นทางขนของเข้าออก
(2) ในกรณี ติดตั้งตัวลิฟท์ภายนอกหอลิฟท์ ต้องมีรั้วกั้นป้องกันมิให้บุคคลเข้าไปในบริเวณที่อาจเป็นอันตรายเนื่องจากของตกใต้ตัวลิฟท์นั้น
(3) ทางเดินระหว่างลิฟท์กับสิ่งก่อสร้าง ต้อง
(ก) มีราวกันตกสูงไม่น้อยกว่าเก้าสิบเซนติเมตร และไม่เกินหนึ่งเมตรสิบเซนติเมตรจากพื้นทางเดิน
(ข) มีขอบกันของตกสูงไม่น้อยกว่าเจ็ดเซนติเมตรจากพื้นทางเดิน
(ค) มีไม้ หรือโลหะขวางกั้นที่สามารถปิดเปิดได้ มีความสูงไม่น้อยกว่าเก้าสิบเซนติเมตรแต่ไม่เกินหนึ่งเมตรสิบเซนติเมตร จากพื้นทางเดิน อยู่ห่างจากลิฟท์ ไม่น้อยกว่าหกสิบเซนติเมตร บนทางเดินนั้น
(4) ในกรณีที่ปล่องลิฟท์ไม่มีผนังกั้น ต้องมีรั้วที่มีความมั่นคงแข็งแรงปิดกั้นทุกด้านสูงไม่น้อยกว่าสองเมตรจากพื้นแต่ละชั้นเว้นแต่ทางเข้าออกต้องมีไม้ หรือโลหะขวางกั้นที่สามารถปิดเปิดได้ มีความสูงไม่น้อยกว่าเก้าสิบเซนติเมตร และไม่เกินหนึ่งเมตรสิบเซนติเมตรจากพื้น
ข้อ 5 เมื่อนายจ้างได้สร้างลิฟท์แล้วต้องให้วิศวกรผู้ออกแบบตามข้อ 2 หรือวิศวกรผู้ควบคุมงาน ตรวจรับรองว่าได้สร้างถูกต้องตามแบบรายละเอียดและข้อกําหนดตามข้อ 4 แล้วจึงจะใช้ลิฟท์นั้นได้ และใบรับรองของวิศวกรดังกล่าวนายจ้างจะต้องเก็บรักษาไว้ เพื่อให้พนักงานเจ้าหน้าที่กรมแรงงานตรวจดูได้ตลอดเวลาการใช้ลิฟท์นั้น
ข้อ 6 การใช้ลิฟท์ นายจ้างต้องปฏิบัติ ดังนี้
(1) ให้มีผู้ที่ได้รับการฝึกอบรมการใช้ลิฟท์มาแล้วทําหน้าที่บังคับลิฟท์ ประจําตลอดเวลาที่ใช้ลิฟท
(2) ให้มีข้อบังคับการใช้ลิฟท์ติดไว้ให้เห็นชัดเจนในบริเวณลิฟท์ และผู้ทําหน้าที่บังคับลิฟท์ตาม (1) ต้องปฏิบัติตามข้อบังคับนั้นโดยเคร่งครัด
(3) ให้มีการตรวจสอบลิฟท์ทุกวัน ถ้ามีส่วนใดชํารุดเสียหาย ต้องซ่อมให้เรียบร้อยก่อนที่จะใช้
(4) ติดป้าย “ห้ามใช้ลิฟท์” ให้ลูกจ้างทราบในกรณีที่ลิฟท์ไม่อยู่ในสภาพพร้อมใช้งาน หรือไม่มีผู้ทําหน้าที่บังคับลิฟท์ตาม (1)
(5) ห้ามมิให้บุคคลใดใช้ลิฟท์ขึ้นลงอย่างเด็ดขาด เว้นแต่ ในกรณีตรวจสอบหรือซ่อมแซมลิฟท์
(6) ติดป้ายบอกพิกัดนํ้าหนักบรรทุกไว้ที่ลิฟท์ให้เห็นได้ชัดเจน
(7) ต้องจัดวางและป้องกันมิให้วัสดุตกหรือยื่นออกมาขัดกับโครงหอลิฟท์
(8) ในการใช้ลิฟท์ขนรถขนของหรือเครื่องมือที่มีล้อ ต้องป้องกันมิให้รถหรือเครื่องมือนั้นเคลื่อนที่ได้
ข้อ 7 ในกรณีที่นายจ้างใช้ลิฟท์ในการทํางานก่อสร้าง ห้ามมิให้ใช้ลิฟท์ที่มีลักษณะใช้กระป๋องหรือภาชนะอื่นที่คล้ายกัน เกี่ยวหรือเกาะเคลื่อนย้ายพร้อมกับสายพาน ลวดหรือเชือกแทนตัวลิฟท์ในงานก่อสร้าง
หมวด 2การคุ้มครองความปลอดภัยส่วนบุคคล
ข้อ 8 ให้นายจ้างจัดให้ลูกจ้างซึ่งทํางานเกี่ยวกับการประกอบหรือติดตั้งโครงลิฟท์ ซ่อมบํารุงลิฟท์ หรือการขน ยก แบก หาบ หาม สิ่งของหรือวัสดุขึ้นลงลิฟท์ สวมหมวกแข็ง ถุงมือหนัง รองเท้าหนังหัวโลหะ ตลอดเวลาที่ลูกจ้างทํางาน
ข้อ 9 ให้นายจ้างจัดให้ลูกจ้างซึ่งทํางานเกี่ยวกับการควบคุมบังคับลิฟท์ สวมหมวกแข็ง และรองเท้าพื้นยางหุ้มส้นตลอดเวลาที่ลูกจ้างทํางาน
ข้อ 10 ให้นายจ้างจัดให้ลูกจ้างซึ่งทํางานมีลักษณะโดดเดี่ยวในที่สูงเกินสี่เมตร และไม่มีเครื่องป้องกันอันตรายหรือการป้องกันอันตรายอย่างอื่น สวมเข็มขัดนิรภัยและเชือกนิรภัยตลอดเวลาที่ลูกจ้างทํางาน
ข้อ 11 อุปกรณ์คุ้มครองความปลอดภัยส่วนบุคคล ต้องเป็นไปตามมาตรฐาน ดังต่อไปนี้
(1) หมวกแข็ง ต้องมีนํ้าหนักไม่เกินสี่ร้อยยี่สิบสี่กรัม ทําด้วยวัตถุที่ไม่ใช่โลหะและมีความต้านทานสามารถทนแรงกระแทกได้ไม่น้อยกว่าสามร้อยแปดสิบห้ากิโลกรัม ภายในหมวกต้องมีรองในหมวกทําด้วยหนัง พลาสติก ผ้า หรือวัตถุอื่นที่คล้ายกัน อยู่ห่างผนังหมวกไม่น้อยกว่าหนึ่งเซนติเมตร ซึ่งสามารถปรับระยะได้ ตามขนาดศีรษะของผู้ใช้เพื่อป้องกันศีรษะกระทบกับผนังหมวก
(2) ถุงมือหนัง ต้องมีความยาวหุ้มถึงข้อมือ มีลักษณะใช้สวมกับนิ้วมือได้ทุกนิ้ว
(3) รองเท้าหนังหัวโลหะปลายรองเท้าต้องมีโลหะแข็งหุ้ม สามารถทนแรงกดได้ไม่น้อยกว่าสี่ร้อยสี่สิบหกกิโลกรัม
(4) เข็มขัดนิรภัยและเชือกนิรภัย ต้องทําด้วยหนัง ไนล่อน ผ้าฝ้ายถัก หรือวัตถุอื่นที่คล้ายกัน และสามารถทนแรงดึงได้ไม่น้อยกว่าหนึ่งพันหนึ่งร้อยห้าสิบกิโลกรัม สําหรับเข็มขัดนิรภัยต้องมีความกว้างไม่น้อยกว่าห้าเซนติเมตร
ข้อ 12 ข้อกําหนดตามประกาศนี้ ถือเป็นมาตรฐานขั้นตํ่าที่ต้องปฏิบัติเท่านั้น
ข้อ 13 ให้นายจ้างเป็นผู้ออกค่าใช้จ่ายตามประกาศนี้
ข้อ 14 ประกาศกระทรวงมหาดไทยนี้ให้ใช้บังคับเมื่อพ้นกําหนดเก้าสิบวันนับแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
ประกาศกระทรวงมหาดไทยเรื่อง ความปลอดภัยในการทํางานก่อสร้างว่าด้วยลิฟท์ขนส่งวัสดุชั่วคราว
อาศัยอํานาจตามความในข้อ 2 (7) แห่งประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 103 ลงวันที่ 16 มีนาคม พ.ศ.2515 กระทรวงมหาดไทยจึงกําหนดการคุมครองแรงงานในสวัสดิการเกี่ยวกับสุขภาพอนามัยและความปลอดภัยสําหรับลูกจ้างไว้ ดังต่อไปนี้
อาศัยอํานาจตามความในข้อ 2 (7) แห่งประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 103 ลงวันที่ 16 มีนาคม พ.ศ.2515 กระทรวงมหาดไทยจึงกําหนดการคุมครองแรงงานในสวัสดิการเกี่ยวกับสุขภาพอนามัยและความปลอดภัยสําหรับลูกจ้างไว้ ดังต่อไปนี้
ข้อ 1 ในประกาศนี้“งานก่อสร้าง” หมายความว่า การประกอบการเกี่ยวกับการก่อสร้างอาคาร สนามบิน ทางรถไฟ ทางรถราง ท่าเรือ ทางนํ้า สะพาน ถนน การโทรเลข โทรศัพท์ ไฟฟ้า ก๊าซ หรือการประปา และหมายความรวมถึงการต่อเติม ซ่อมแซม ซ่อมบํารุง ดัดแปลง หรือรื้อถอนอาคาร หรือสิ่งก่อสร้างนั้นๆ ด้วย“อาคาร” หมายความว่า อาคารตามความหมายที่บัญญัติไว้ ในกฎหมายว่าด้วยการควบคุมอาคาร“ลิฟทขนส่งวัสดุชั่วคราว” หมายความว่า เครื่องใช้ในการก่อสร้างเพื่อขนส่งวัสดุในทางดิ่ง ประกอบด้วย หอลิฟท์ หรือปล่องลิฟท์ ตัวลิฟท์ และเครื่องจักร“หอลิฟท์” หมายความว่า โครงสร้างเป็นหอสูงจากพื้นสําหรับเป็นที่ติดตั้งตัวลิฟท์ ในงานก่อสร้างเป็นการชั่วคราว“ปล่องลิฟท์” หมายความว่า ช่องที่อยู่ภายในสิ่งก่อสร้างสําหรับใช้เป็นทางเคลื่อนขึ้นลงของตัวลิฟท์ในงานก่อสร้างเป็นการชั่วคราว“ตัวลิฟท์” หมายความว่า ที่สําหรับรองรับหรือบรรจุวัสดุ สามารถเคลื่อนย้ายขึ้นลงได้โดยใช้เครื่องจักรใน หรือนอกหอลิฟท์ หรือปล่องลิฟท์
หมวด 1การสร้างลิฟท์ขนส่งวัสดุชั่วคราว
ข้อ 2 ลิฟท์ที่มีความสูงเกินเก้าเมตร นายจ้างจะต้องจัดให้มีผู้ที่ได้รับใบอนุญาตเป็นผู้ประกอบวิชาชีพวิศวกรรมควบคุม สาขาวิศวกรรมโยธา จาก ก.ว. เป็นผู้ออกแบบและคํานวณโครงสร้าง พร้อมทั้งกําหนดรายละเอียดของหอลิฟท์ และตัวลิฟท์ อย่างน้อยให้เป็นไปตามข้อกําหนด ดังต่อไปนี้
(1) หอลิฟท์ ต้องสามารถรับนํ้าหนักได้ ไม่น้อยกว่าสองเท่าของนํ้าหนักแห่งการใช้งาน (Working Load)
(2) คานสําหรับติดตั้งรอกและฐานที่รองรับคาน ต้องมีความแข็งแรงพอที่จะรับนํ้าหนักรอก นํ้าหนักตัว ลิฟท์ และนํ้าหนักบรรทุก (Live Load) โดยมีส่วนปลอดภัย (Factor of Safety) ไม่น้อยกว่าห้า
(3) หอลิฟท์ ที่สร้างด้วยไม้ต้องสร้างด้วยไม้ที่มีหน่วยแรงดัดประลัย (Ultimate Bending Stress) ไม่น้อยกว่าแปดร้อยกิโลกรัมต่อตารางเซนติเมตร และมีส่วนปลอดภัยไม่น้อยกว่าแปด
(4) หอลิฟท์ ที่สร้างด้วยโลหะ ต้องเป็นโลหะที่มีจุดคราก (Yield Point) ไม่น้อยกว่าสองพันสี่ร้อยกิโลกรัมต่อตารางเซนติเมตร และมีส่วนปลอดภัยไม่น้อยกว่าสอง
(5) ฐานรองรับหอลิฟท์ ต้องมีความมั่นคง สามารถรับนํ้าหนักได้ไม่น้อยกว่าสองเท่าของนํ้าหนักหอลิฟท์ นํ้าหนักตัวลิฟท์ และนํ้าหนักบรรทุก
(6) ตัวลิฟท์ ต้องมั่นคงแข็งแรง สามารถรับนํ้าหนักบรรทุกได้ไม่น้อยกว่าห้าเท่าของนํ้าหนักแห่งการใช้งาน และต้องมีขอบกันของตกสูงไม่น้อยกว่าเจ็ดเซนติเมตรจากพื้นของตัวลิฟท์ โดยรวมและด้านที่มิใช่ทางขนของเข้าออกต้องมีผนังปิดกั้นด้วยไม้ หรือลวดตาข่าย มีความสูงจากพื้นของตัวลิฟท์ ไม่น้อยกว่าหนึ่งเมตร เว้นแต่ ตัวลิฟท์ที่มีลักษณะเป็นถังโลหะ ไม่ต้องมีผนังปิดกั้นก็ได้ในกรณีที่ติดตั้งลิฟท์อยู่ภายนอกหอลิฟท์ ไม่ต้องมีผนังปิดกั้นตัวลิฟท์ก็ได้
(7) หอลิฟท์ ต้องมีการยึดโยง คํ้ายัน หรือตรึงกับพื้นดินหรือตัวอาคารให้มั่นคงแข็งแรงและปลอดภัย
ข้อ 3 เครื่องจักรและอุปกรณ์อื่น ๆ ที่ใช้ยกตัวลิฟท์ นายจ้างต้องจัดให้เป็นไปตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่องความปลอดภัยในการทํางานเกี่ยวกับเครื่องจักร
ข้อ 4 ในการสร้างลิฟท์ นายจ้างต้องดําเนินการตามแบบและรายละเอียดตามข้อ 2 ข้อ 3 และตามข้อกําหนด ดังต่อไปนี้
(1) ในกรณีติดตั้งตัวลิฟท์ภายในหอลิฟท์ ต้องมีลวดตาข่ายหรือไม้ตีเว้นช่องห่างกันไม่น้อยกว่าสามเซนติเมตร แต่ไม่เกินสิบเซนติเมตร ปิดยึดแน่นกับโครงหอลิฟท์ทุกด้าน สูงไม่น้อยกว่าสองเมตรจากพื้นของหอลิฟท์ เว้นแต่ช่องที่ใช้เป็นทางขนของเข้าออก
(2) ในกรณี ติดตั้งตัวลิฟท์ภายนอกหอลิฟท์ ต้องมีรั้วกั้นป้องกันมิให้บุคคลเข้าไปในบริเวณที่อาจเป็นอันตรายเนื่องจากของตกใต้ตัวลิฟท์นั้น
(3) ทางเดินระหว่างลิฟท์กับสิ่งก่อสร้าง ต้อง
(ก) มีราวกันตกสูงไม่น้อยกว่าเก้าสิบเซนติเมตร และไม่เกินหนึ่งเมตรสิบเซนติเมตรจากพื้นทางเดิน
(ข) มีขอบกันของตกสูงไม่น้อยกว่าเจ็ดเซนติเมตรจากพื้นทางเดิน
(ค) มีไม้ หรือโลหะขวางกั้นที่สามารถปิดเปิดได้ มีความสูงไม่น้อยกว่าเก้าสิบเซนติเมตรแต่ไม่เกินหนึ่งเมตรสิบเซนติเมตร จากพื้นทางเดิน อยู่ห่างจากลิฟท์ ไม่น้อยกว่าหกสิบเซนติเมตร บนทางเดินนั้น
(4) ในกรณีที่ปล่องลิฟท์ไม่มีผนังกั้น ต้องมีรั้วที่มีความมั่นคงแข็งแรงปิดกั้นทุกด้านสูงไม่น้อยกว่าสองเมตรจากพื้นแต่ละชั้นเว้นแต่ทางเข้าออกต้องมีไม้ หรือโลหะขวางกั้นที่สามารถปิดเปิดได้ มีความสูงไม่น้อยกว่าเก้าสิบเซนติเมตร และไม่เกินหนึ่งเมตรสิบเซนติเมตรจากพื้น
ข้อ 5 เมื่อนายจ้างได้สร้างลิฟท์แล้วต้องให้วิศวกรผู้ออกแบบตามข้อ 2 หรือวิศวกรผู้ควบคุมงาน ตรวจรับรองว่าได้สร้างถูกต้องตามแบบรายละเอียดและข้อกําหนดตามข้อ 4 แล้วจึงจะใช้ลิฟท์นั้นได้ และใบรับรองของวิศวกรดังกล่าวนายจ้างจะต้องเก็บรักษาไว้ เพื่อให้พนักงานเจ้าหน้าที่กรมแรงงานตรวจดูได้ตลอดเวลาการใช้ลิฟท์นั้น
ข้อ 6 การใช้ลิฟท์ นายจ้างต้องปฏิบัติ ดังนี้
(1) ให้มีผู้ที่ได้รับการฝึกอบรมการใช้ลิฟท์มาแล้วทําหน้าที่บังคับลิฟท์ ประจําตลอดเวลาที่ใช้ลิฟท
(2) ให้มีข้อบังคับการใช้ลิฟท์ติดไว้ให้เห็นชัดเจนในบริเวณลิฟท์ และผู้ทําหน้าที่บังคับลิฟท์ตาม (1) ต้องปฏิบัติตามข้อบังคับนั้นโดยเคร่งครัด
(3) ให้มีการตรวจสอบลิฟท์ทุกวัน ถ้ามีส่วนใดชํารุดเสียหาย ต้องซ่อมให้เรียบร้อยก่อนที่จะใช้
(4) ติดป้าย “ห้ามใช้ลิฟท์” ให้ลูกจ้างทราบในกรณีที่ลิฟท์ไม่อยู่ในสภาพพร้อมใช้งาน หรือไม่มีผู้ทําหน้าที่บังคับลิฟท์ตาม (1)
(5) ห้ามมิให้บุคคลใดใช้ลิฟท์ขึ้นลงอย่างเด็ดขาด เว้นแต่ ในกรณีตรวจสอบหรือซ่อมแซมลิฟท์
(6) ติดป้ายบอกพิกัดนํ้าหนักบรรทุกไว้ที่ลิฟท์ให้เห็นได้ชัดเจน
(7) ต้องจัดวางและป้องกันมิให้วัสดุตกหรือยื่นออกมาขัดกับโครงหอลิฟท์
(8) ในการใช้ลิฟท์ขนรถขนของหรือเครื่องมือที่มีล้อ ต้องป้องกันมิให้รถหรือเครื่องมือนั้นเคลื่อนที่ได้
ข้อ 7 ในกรณีที่นายจ้างใช้ลิฟท์ในการทํางานก่อสร้าง ห้ามมิให้ใช้ลิฟท์ที่มีลักษณะใช้กระป๋องหรือภาชนะอื่นที่คล้ายกัน เกี่ยวหรือเกาะเคลื่อนย้ายพร้อมกับสายพาน ลวดหรือเชือกแทนตัวลิฟท์ในงานก่อสร้าง
หมวด 2การคุ้มครองความปลอดภัยส่วนบุคคล
ข้อ 8 ให้นายจ้างจัดให้ลูกจ้างซึ่งทํางานเกี่ยวกับการประกอบหรือติดตั้งโครงลิฟท์ ซ่อมบํารุงลิฟท์ หรือการขน ยก แบก หาบ หาม สิ่งของหรือวัสดุขึ้นลงลิฟท์ สวมหมวกแข็ง ถุงมือหนัง รองเท้าหนังหัวโลหะ ตลอดเวลาที่ลูกจ้างทํางาน
ข้อ 9 ให้นายจ้างจัดให้ลูกจ้างซึ่งทํางานเกี่ยวกับการควบคุมบังคับลิฟท์ สวมหมวกแข็ง และรองเท้าพื้นยางหุ้มส้นตลอดเวลาที่ลูกจ้างทํางาน
ข้อ 10 ให้นายจ้างจัดให้ลูกจ้างซึ่งทํางานมีลักษณะโดดเดี่ยวในที่สูงเกินสี่เมตร และไม่มีเครื่องป้องกันอันตรายหรือการป้องกันอันตรายอย่างอื่น สวมเข็มขัดนิรภัยและเชือกนิรภัยตลอดเวลาที่ลูกจ้างทํางาน
ข้อ 11 อุปกรณ์คุ้มครองความปลอดภัยส่วนบุคคล ต้องเป็นไปตามมาตรฐาน ดังต่อไปนี้
(1) หมวกแข็ง ต้องมีนํ้าหนักไม่เกินสี่ร้อยยี่สิบสี่กรัม ทําด้วยวัตถุที่ไม่ใช่โลหะและมีความต้านทานสามารถทนแรงกระแทกได้ไม่น้อยกว่าสามร้อยแปดสิบห้ากิโลกรัม ภายในหมวกต้องมีรองในหมวกทําด้วยหนัง พลาสติก ผ้า หรือวัตถุอื่นที่คล้ายกัน อยู่ห่างผนังหมวกไม่น้อยกว่าหนึ่งเซนติเมตร ซึ่งสามารถปรับระยะได้ ตามขนาดศีรษะของผู้ใช้เพื่อป้องกันศีรษะกระทบกับผนังหมวก
(2) ถุงมือหนัง ต้องมีความยาวหุ้มถึงข้อมือ มีลักษณะใช้สวมกับนิ้วมือได้ทุกนิ้ว
(3) รองเท้าหนังหัวโลหะปลายรองเท้าต้องมีโลหะแข็งหุ้ม สามารถทนแรงกดได้ไม่น้อยกว่าสี่ร้อยสี่สิบหกกิโลกรัม
(4) เข็มขัดนิรภัยและเชือกนิรภัย ต้องทําด้วยหนัง ไนล่อน ผ้าฝ้ายถัก หรือวัตถุอื่นที่คล้ายกัน และสามารถทนแรงดึงได้ไม่น้อยกว่าหนึ่งพันหนึ่งร้อยห้าสิบกิโลกรัม สําหรับเข็มขัดนิรภัยต้องมีความกว้างไม่น้อยกว่าห้าเซนติเมตร
ข้อ 12 ข้อกําหนดตามประกาศนี้ ถือเป็นมาตรฐานขั้นตํ่าที่ต้องปฏิบัติเท่านั้น
ข้อ 13 ให้นายจ้างเป็นผู้ออกค่าใช้จ่ายตามประกาศนี้
ข้อ 14 ประกาศกระทรวงมหาดไทยนี้ให้ใช้บังคับเมื่อพ้นกําหนดเก้าสิบวันนับแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
ประกาศ ณ วันที่ 29 มกราคม พ.ศ. 2524
ประเทือง กีรติบุตรรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย
ประกาศในราชกิจจานุเบกษา เล่ม 98 ตอนที่ 28 วันที่ 20 กุมภาพันธ์ 2524
http://mybuilt.blogspot.com
http://mybuilt.blogspot.com
1 พฤศจิกายน 2552
รายงานความก้าวหน้าครั้งที่ 16
weekly report
วิธีการดูการรายงาน ให้คลิกที่สัญลักษณ์ Play ตามด้วย >> หลังเลข 32
27 ตุลาคม 2552
9 ตุลาคม 2552
เทคนิคการขัดมันผิวพื้นด้วยผง Floorhardener
ขั้นตอนการขัดมันด้วยผง FLOOR HARDENER
หลังจากเทคอนกรีนแล้วเสร็๗ จัดช่างปูนทำความสะอาดตามแนวรอยต่อระหว่างคอนกรีตเก่าและใหม่
ก่อนที่คอนกรีตใหม่จะเริ่มเซ็ตตัว
1. เมื่อปูนเริ่มเซ็ทตัว (ทดสอบโดยการเหยียบด้วยเท้า) ให้ทำการเปิดหน้าปูนด้วย ถาดหยาบ
2. ลากกล่องอลูมิเนียม ปรับระดับแบบหยาบ ก่อนลงผง Floorhardener
3 การโรย Floor Hardener ให้แบ่งเป็น 2 ส่วน ส่วนแรก ประมาณ 60 – 70 % ( เช่น 5 กก./ถุง ก็ใช้ 3.5 กก. )
ขัดด้วยถาดหยาบ ลากกล่องอลูมิเนียมควมคุมระดับ แล้วโรยผงส่วนที่เหลือ
4. เสร็จแล้วขัดหน้าด้วยถาดขัดหยาบ
5. เช็คระรับแบบละเอียดครั้งสุดท้าย คอนกรีตเริ่มเซ็ตตัว
6. ก่อนคอนกรีตเซ็ตตัว ต้องคอยเก็บเศษปูน และทำความสะอาดรอยต่อคอนกรีต
7 อาศัยประสบการณ์ของ นายช่าง โฟรแมนและช่างปูน หลังจากใช้ถาดขัดหยาบขัดผิวจนรู้สึกได้ว่า
ผิวคอนกรีตไม่มีการยุบหรือยุบตัวน้อยมาก ให้เริ่มใช้เครื่องขัดสองใบพัด (คอปเตอร์)
8 หลังจากนั้นให้ลงเครื่องขัดแมงปอขนาด 5 แรง
10. ให้สังเกตว่าผิวพื้นว่าแห้ง พอที่จะเก็บเกรียง (ด้วยมือ) หรือยัง ปัจจุบันไม่นิยมเพราะผิวมันจะเป็นรอยเกรียง
แต่จะจบด้วยเครื่องขัดมัน 4 แรง ที่นำเข้าจากต่างประเทศ
11. หลังจากขัดมันเสร็จ โดยประมาณ 3 ชม. ให้บ่มน้ำยา Cureseal type F ของ Samson และหลังจากนั้นล้างออกด้วย
น้ำยา Degreaser type A หรือจะลดค่าใช้จ่ายด้วยการบ่มน้ำแทน ขึ้นอยู่กับความต้องการของเจ้าของงาน
4. การควบคุมผิว
- การควบคุม Slump ของ Concrete ต้องให้ได้ตามที่ Design และมีความสม่ำเสมอ
- การควบคุมเวลาในการเทคอนกรีตควรให้ต่อเนื่องกัน และการเทคอนกรีตในแต่ละ Bay ควรเป็นหน้าและเป็นแนวเดียวกัน
หรือการหยุดรอคอนกรีตควรหยุดให้เป็นแนวตั้งฉากกับ Joint ไม่ควรหยุดในลักษณะเว้าๆ แหว่งๆ
- การโปรยผง Hardener ควรโปรยด้วยความสม่ำเสมอ
- การเก็บเกรียงด้วยมือควรใช้น้ำหนักกดเกรียงให้สม่ำเสมอ และช่วงระยะห่างของการเก็บเกรียงด้วยมือควรมีช่วงระยะ
ที่สม่ำเสมอ การเก็บรอยเกรียงควรทำไปพร้อมกับการเก็บเกรียงด้วยมือโดยใช้ไฟส่องดูว่าเป็นคลื่นหรือไม่และควรเก็บ
แต่งก่อนผิวหน้าจะ set ตัว
จากประสบการณ์ การเก็บเกรียงขั้นตอนสุดท้ายของการขัดมันด้วยเกรียงมือ จะทำให้เห็นรอยเกรียงโค้งเป็นใบพัด
แต่ถ้าขั้นตอนสุดท้ายขัดมันด้วย เครื่องขัดแมงปอชนิดนำเข้าจากต่างประเทศ จะทำให้ผิวเรียบเป็นระเบียบมากกว่า
ข้อควรระวัง
- เพื่อความสวยงามของพื้นคอนกรีตควร Set ตำแหน่งรอยต่อ joint ให้หลบในที่ลับตาหรือบริเวณที่มีสิ่งของมาบังไว้
- การเก็บน้ำปูนหรือขี้ปูนที่ล้นเข้าไปใน Concrete Bay เก่าและเก็บรอยต่อให้ดี ถ้าเก็บไม่ดีจะเกิดเป็นรอยตะเข็บเกิดขึ้น
- ในบริเวณจุดตัว Joint ให้เป็นสี่แยกตลอด และไม่ควรตัด Joint ให้เป็นมุมฉากมุม, มุมเว้า
- ในส่วนพื้นที่โครงสร้างต่างชนิดกันควรตัด Joint แยกจากกันเป็น Slab on ground กับ Slab on beam
- ตรงส่วนมุมเว้า มุมแหลม ควรเสริมเหล็กกันแตกเสมอ รวมถึงบริเวณ Block out วงกบ โดยใช้ความยาวเท่ากับ 3 d
การขัดมันด้วยผง Floor hardener การขัดมันด้วยผง Floor hardener การขัดมันด้วยผง Floor hardener
แนะนำ ขั้นตอนการ Stressing and Grouting
หลังจากเทคอนกรีนแล้วเสร็๗ จัดช่างปูนทำความสะอาดตามแนวรอยต่อระหว่างคอนกรีตเก่าและใหม่
ก่อนที่คอนกรีตใหม่จะเริ่มเซ็ตตัว
1. เมื่อปูนเริ่มเซ็ทตัว (ทดสอบโดยการเหยียบด้วยเท้า) ให้ทำการเปิดหน้าปูนด้วย ถาดหยาบ
2. ลากกล่องอลูมิเนียม ปรับระดับแบบหยาบ ก่อนลงผง Floorhardener
3 การโรย Floor Hardener ให้แบ่งเป็น 2 ส่วน ส่วนแรก ประมาณ 60 – 70 % ( เช่น 5 กก./ถุง ก็ใช้ 3.5 กก. )
ขัดด้วยถาดหยาบ ลากกล่องอลูมิเนียมควมคุมระดับ แล้วโรยผงส่วนที่เหลือ
4. เสร็จแล้วขัดหน้าด้วยถาดขัดหยาบ
5. เช็คระรับแบบละเอียดครั้งสุดท้าย คอนกรีตเริ่มเซ็ตตัว
6. ก่อนคอนกรีตเซ็ตตัว ต้องคอยเก็บเศษปูน และทำความสะอาดรอยต่อคอนกรีต
7 อาศัยประสบการณ์ของ นายช่าง โฟรแมนและช่างปูน หลังจากใช้ถาดขัดหยาบขัดผิวจนรู้สึกได้ว่า
ผิวคอนกรีตไม่มีการยุบหรือยุบตัวน้อยมาก ให้เริ่มใช้เครื่องขัดสองใบพัด (คอปเตอร์)
8 หลังจากนั้นให้ลงเครื่องขัดแมงปอขนาด 5 แรง
10. ให้สังเกตว่าผิวพื้นว่าแห้ง พอที่จะเก็บเกรียง (ด้วยมือ) หรือยัง ปัจจุบันไม่นิยมเพราะผิวมันจะเป็นรอยเกรียง
แต่จะจบด้วยเครื่องขัดมัน 4 แรง ที่นำเข้าจากต่างประเทศ
จาก construction 09 |
น้ำยา Degreaser type A หรือจะลดค่าใช้จ่ายด้วยการบ่มน้ำแทน ขึ้นอยู่กับความต้องการของเจ้าของงาน
4. การควบคุมผิว
- การควบคุม Slump ของ Concrete ต้องให้ได้ตามที่ Design และมีความสม่ำเสมอ
- การควบคุมเวลาในการเทคอนกรีตควรให้ต่อเนื่องกัน และการเทคอนกรีตในแต่ละ Bay ควรเป็นหน้าและเป็นแนวเดียวกัน
หรือการหยุดรอคอนกรีตควรหยุดให้เป็นแนวตั้งฉากกับ Joint ไม่ควรหยุดในลักษณะเว้าๆ แหว่งๆ
- การโปรยผง Hardener ควรโปรยด้วยความสม่ำเสมอ
- การเก็บเกรียงด้วยมือควรใช้น้ำหนักกดเกรียงให้สม่ำเสมอ และช่วงระยะห่างของการเก็บเกรียงด้วยมือควรมีช่วงระยะ
ที่สม่ำเสมอ การเก็บรอยเกรียงควรทำไปพร้อมกับการเก็บเกรียงด้วยมือโดยใช้ไฟส่องดูว่าเป็นคลื่นหรือไม่และควรเก็บ
แต่งก่อนผิวหน้าจะ set ตัว
จากประสบการณ์ การเก็บเกรียงขั้นตอนสุดท้ายของการขัดมันด้วยเกรียงมือ จะทำให้เห็นรอยเกรียงโค้งเป็นใบพัด
แต่ถ้าขั้นตอนสุดท้ายขัดมันด้วย เครื่องขัดแมงปอชนิดนำเข้าจากต่างประเทศ จะทำให้ผิวเรียบเป็นระเบียบมากกว่า
ข้อควรระวัง
- เพื่อความสวยงามของพื้นคอนกรีตควร Set ตำแหน่งรอยต่อ joint ให้หลบในที่ลับตาหรือบริเวณที่มีสิ่งของมาบังไว้
- การเก็บน้ำปูนหรือขี้ปูนที่ล้นเข้าไปใน Concrete Bay เก่าและเก็บรอยต่อให้ดี ถ้าเก็บไม่ดีจะเกิดเป็นรอยตะเข็บเกิดขึ้น
- ในบริเวณจุดตัว Joint ให้เป็นสี่แยกตลอด และไม่ควรตัด Joint ให้เป็นมุมฉากมุม, มุมเว้า
- ในส่วนพื้นที่โครงสร้างต่างชนิดกันควรตัด Joint แยกจากกันเป็น Slab on ground กับ Slab on beam
- ตรงส่วนมุมเว้า มุมแหลม ควรเสริมเหล็กกันแตกเสมอ รวมถึงบริเวณ Block out วงกบ โดยใช้ความยาวเท่ากับ 3 d
การขัดมันด้วยผง Floor hardener การขัดมันด้วยผง Floor hardener การขัดมันด้วยผง Floor hardener
แนะนำ ขั้นตอนการ Stressing and Grouting
8 ตุลาคม 2552
Underground water tank and Waste water treatment.
Method Statement For. Underground water tank and Waste water treatment.
1. When Shop dwg. for construction old revision and revise1 WWT approved
2. Material Approve for all waterproof approved
แถบยางกันซึม ชนิด PVC Waterstops
วัสดุกันซึมภายใน WWT ชนิด water base epoxy
วัสดุกันซึมผนังภายนอก UWT&WWT ชนิด Self adhesive membrane ,cold applied self 1.5 mm thk.
วัสดุกันซึมผนังภายใน UWT ชนิด Cement Base waterproofing
3. ลำดับของงานหลังจากงานฐานรากแล้วเสร็จ บริเวณ Sump pump เตรียมงานเพื่อเทคอนกรีต ถึงระดับใต้พื้น -1.70 m. เนื่องจาก sump pump และพื้นระดับ -1.70 เทไม่ต่อเนื่องกัน ดังนั้นจะต้องติดตั้ง PVC waterstops ที่รอยต่อคอนกรีตบริเวณนี้
4. การติดตั้ง water stop ต้องติดตั้งให้ถูกวิธี หากไม่ถูกวิธี เมื่อเทคอนกรีต waterstops อาจถูกคอนกรีตทับ เท่ากับเปิดทางให้น้ำซึมผ่านผนังคอนกรีตได้ง่าย วิธีป้องกันควรใช้ลวดเหล็กหรืออื่น ๆ ช่วยยึดระยะทุก ๆ 20 cm. การต่อ PVC waterstops ควรกระทำตามข้อแนะนำของผู้ผลิต
5. บริเวณหลุม drop cylo กับพื้นของบ่อบำบัด ให้ทำการเทคอนกรีตครั้งเดียว โดยติดตั้ง ไม้แบบลอย ดังนั้น จึงไม่ต้อง ติดตั้ง
PVC waterstops
6. การเตรียมงานไม้แบบ งานเหล็ก ,วัสดุกันซึม เพื่อการเทคอนกรีต
6.1 ปรับดินเทคอนกรีตหยาบ
6.2 ปู membrane กันซึมพื้นทั้งหมด โดยเผื่อระยะทาบ แนวตั้งของผนัง 30 cm.
6.3 กรณีปูชนฐานราก ให้ทำตามรูปด้านล่าง
6.4 ลงเหล็กพื้นทาบตามแบบที่กำหนด
6.5 ลงเหล็กผนังตามแบบที่กำหนด
6.6 ติดตั้ง PVC waterstops ระหว่างพื้นและผนังดังรูป
6.7 ติดตั้ง PVC waterstops ของผนังที่เทคอนกรีต ก่อนและหลัง ดังรูป
7. ผนังที่สัมผัสดินและน้ำใต้ดิน ทำกันซึมด้วยวิธีติดตั้ง membrane เพื่อป้องกันน้ำซึมด้านข้าง ก่อนถมดินให้ติดตั้งแผ่นวีวี่บอร์ดประกบ membrane เพื่อป้องกันความเสียหายที่จะเกิดกับแผ่น membrane
8. ลำดับการเทผนัง ให้เทผนังรอบนอกทั้งหมดก่อน หลังจากนั้นให้เทผนังภายในตามลำดับ
9. เมื่อเทคอนกรีตแล้วเสร็จ สำหรับ UWT ให้ทำกันซึมภายใน โดยระบบ Cement Base waterproofing
สำหรับ WWT ให้ทำกันซึมภายใน โดยระบบ water base epoxy
10. วิธีการทดสอบการรั่วซึมของ ถังน้ำดี และบ่อบำบัดน้ำเสีย
8.1 กรณีเป็นถังน้ำบนดิน จะทำการทดสอบโดยวิธีขังน้ำ
8.2 กรณี ถังน้ำใต้ดิน จะทำการตรวจสอบการรั่วซึมของผนัง / พื้นก่อนทำกันซึม หากพบว่ามีการรั่วซึมการแก้ไขปัญหา
เบื้องต้นจะใช้วัสดุอุด water plug หากยังเกิดการรั่วซึมอีก ให้ทำการ ยิงโฟม (INJECTION PU FOAM) การยิงน้ำยานั้น จะทำการเจาะบริเวณที่เกิดการรั่วซึม แล้วฝังหัว (PACKER) เป็นหัวที่ใช้ในการเสียบสายต่อจากเครื่องยิงน้ำยา แล้วทำการยิงน้ำยา เมื่อยิงน้ำยาแล้วนั้น น้ำยาที่ยิงเข้าไปจะวิ่งเข้าไปยังรอยต่อ ช่องว่างต่าง ๆ ภายในตัวคอนกรีต ซึ่งน้ำสามารถรั่วซึมออกไปได้นั้น จะทำปฏิกิริยากับน้ำ หรืออากาศ สร้างตัวเป็นแผ่นโฟมยาง ปิดกั้นทางเดินของน้ำไม่ให้น้ำนั้นไหลซึมผ่านออกไปได้อีก
1. When Shop dwg. for construction old revision and revise1 WWT approved
2. Material Approve for all waterproof approved
แถบยางกันซึม ชนิด PVC Waterstops
วัสดุกันซึมภายใน WWT ชนิด water base epoxy
วัสดุกันซึมผนังภายนอก UWT&WWT ชนิด Self adhesive membrane ,cold applied self 1.5 mm thk.
วัสดุกันซึมผนังภายใน UWT ชนิด Cement Base waterproofing
3. ลำดับของงานหลังจากงานฐานรากแล้วเสร็จ บริเวณ Sump pump เตรียมงานเพื่อเทคอนกรีต ถึงระดับใต้พื้น -1.70 m. เนื่องจาก sump pump และพื้นระดับ -1.70 เทไม่ต่อเนื่องกัน ดังนั้นจะต้องติดตั้ง PVC waterstops ที่รอยต่อคอนกรีตบริเวณนี้
4. การติดตั้ง water stop ต้องติดตั้งให้ถูกวิธี หากไม่ถูกวิธี เมื่อเทคอนกรีต waterstops อาจถูกคอนกรีตทับ เท่ากับเปิดทางให้น้ำซึมผ่านผนังคอนกรีตได้ง่าย วิธีป้องกันควรใช้ลวดเหล็กหรืออื่น ๆ ช่วยยึดระยะทุก ๆ 20 cm. การต่อ PVC waterstops ควรกระทำตามข้อแนะนำของผู้ผลิต
5. บริเวณหลุม drop cylo กับพื้นของบ่อบำบัด ให้ทำการเทคอนกรีตครั้งเดียว โดยติดตั้ง ไม้แบบลอย ดังนั้น จึงไม่ต้อง ติดตั้ง
PVC waterstops
6. การเตรียมงานไม้แบบ งานเหล็ก ,วัสดุกันซึม เพื่อการเทคอนกรีต
6.1 ปรับดินเทคอนกรีตหยาบ
6.2 ปู membrane กันซึมพื้นทั้งหมด โดยเผื่อระยะทาบ แนวตั้งของผนัง 30 cm.
6.3 กรณีปูชนฐานราก ให้ทำตามรูปด้านล่าง
6.4 ลงเหล็กพื้นทาบตามแบบที่กำหนด
6.5 ลงเหล็กผนังตามแบบที่กำหนด
6.6 ติดตั้ง PVC waterstops ระหว่างพื้นและผนังดังรูป
6.7 ติดตั้ง PVC waterstops ของผนังที่เทคอนกรีต ก่อนและหลัง ดังรูป
7. ผนังที่สัมผัสดินและน้ำใต้ดิน ทำกันซึมด้วยวิธีติดตั้ง membrane เพื่อป้องกันน้ำซึมด้านข้าง ก่อนถมดินให้ติดตั้งแผ่นวีวี่บอร์ดประกบ membrane เพื่อป้องกันความเสียหายที่จะเกิดกับแผ่น membrane
8. ลำดับการเทผนัง ให้เทผนังรอบนอกทั้งหมดก่อน หลังจากนั้นให้เทผนังภายในตามลำดับ
9. เมื่อเทคอนกรีตแล้วเสร็จ สำหรับ UWT ให้ทำกันซึมภายใน โดยระบบ Cement Base waterproofing
สำหรับ WWT ให้ทำกันซึมภายใน โดยระบบ water base epoxy
10. วิธีการทดสอบการรั่วซึมของ ถังน้ำดี และบ่อบำบัดน้ำเสีย
8.1 กรณีเป็นถังน้ำบนดิน จะทำการทดสอบโดยวิธีขังน้ำ
8.2 กรณี ถังน้ำใต้ดิน จะทำการตรวจสอบการรั่วซึมของผนัง / พื้นก่อนทำกันซึม หากพบว่ามีการรั่วซึมการแก้ไขปัญหา
เบื้องต้นจะใช้วัสดุอุด water plug หากยังเกิดการรั่วซึมอีก ให้ทำการ ยิงโฟม (INJECTION PU FOAM) การยิงน้ำยานั้น จะทำการเจาะบริเวณที่เกิดการรั่วซึม แล้วฝังหัว (PACKER) เป็นหัวที่ใช้ในการเสียบสายต่อจากเครื่องยิงน้ำยา แล้วทำการยิงน้ำยา เมื่อยิงน้ำยาแล้วนั้น น้ำยาที่ยิงเข้าไปจะวิ่งเข้าไปยังรอยต่อ ช่องว่างต่าง ๆ ภายในตัวคอนกรีต ซึ่งน้ำสามารถรั่วซึมออกไปได้นั้น จะทำปฏิกิริยากับน้ำ หรืออากาศ สร้างตัวเป็นแผ่นโฟมยาง ปิดกั้นทางเดินของน้ำไม่ให้น้ำนั้นไหลซึมผ่านออกไปได้อีก
Blog Master
B.ENGINEERING (CIVIL ENGINEER)
EXPERIENCE
Construction Line Co.,ltd.
July 2009 - Present
:
Project Manager:
RHYTHMratchada II
At Huai Khwang,Bangkok
For . Asian Property Development PLC.
Project cost 275,000,000 Baht
:
Ritta Co.,ltd.
Sep 2008 - May 2009
:
Project Manager:
Recall Thailand Phase II
At Samutprakarn Province
For . Recall Thailand Co.,Ltd.
Project cost 177,000,000 Baht
April - August 2008
:
Project Manager:
Tesco Lotus Hypermarket Pranburi
At Pranburi Prajuabkirikhan Province
For . Ek-Chai Distribution Co.,Ltd.
Project cost 163,710,000 Baht
Nov 2007 - Mar 2008
:
Project Manager:
Tesco Lotus Hypermarket Sena
At SENA Ayuttaya Province
For . Ek-Chai Distribution Co.,Ltd.
Project cost 139,100,000 Baht
July-October 2007
:
Project Manager:
Tesco Lotus Value Store Mae Chan
At Mae Chan Chiangrai Province
For . Ek-Chai Distribution Co.,Ltd.
Project cost 115,934,500 Baht
Jan -June 2007
:
Project Manager:
Tesco Lotus Compack Hyper Fang
At Fang Chiangmai Province
For . Ek-Chai Distribution Co.,Ltd.
Project cost 235,593,670 Baht
April -December 2006
Project Manager:
Tesco Lotus Distribution Bangbuathong
At Bangbuathong Nonthaburi Province
For . Ek-Chai Distribution Co.,Ltd.
Project cost 360,000,000 Baht
Dec 2005- March 2006
:
Project Manager:
Tesco Lotus Value Store Sattahip
At Sattahip Chonburi Province
For . Ek-Chai Distribution Co.,Ltd.
Project cost 54,000,000 Baht
April -Nov 2005
:
Project Manager:
Tesco Lotus Value Store Maesai
At Maesai Chringrai Province
For . Ek-Chai Distribution Co.,Ltd.
Project cost 154,000,000 Baht
Dec 2004 - March 2005
:
Project Engineer for :-
Ban Zaan Fresh Market
At Patong,Katoo District,Phuket Provine
For Kaewmaneepichai
Project cost 145,000,000 Baht
Sep -Nov 2004
:
Project Engineer for :-
Sweet Corn Factory
At Wangmung,Saraburi Province
For Siam Food Product Public Co.,Ltd.
Project cost 250,000,000 Baht
April-August 2004
:
Project Manager for:
Tesco Lotus Value Store Nakornpanom
At Nakorn Panom Province
For . Ek-Chai Distribution Co.,Ltd.
Project cost 74,880,000 Baht
Sep 2003 – March2004
:
Project Engineer for :
Tesco Lotus Value Store Mukdaharn
At Mukdaharn Province
For Ek-Chai Distribution Co.,Ltd.
Project cost 115,600,000 Baht
Mar 2003 – Aug 2003
:
Project Engineer for :
Bio Plant Phukiow
At Phukiow District,Chaiyapoom Province
Project cost 50,000,000 Baht
Mar 2002 – Feb 2003
:
Site Civil Engineer :-
DAVID DISTRIBUTION ( THAILAND ) LTD.
New Distribution Center Project Wangnoi,
Ayutaya Province
Project cost 275,000,000 Baht
Jul 2001 – Feb 2002
:
Site Civil Engineer :-
BEER THAI ( 1991 ) PCL
BTCL – KP Project ( Bid -6 ) Kampangphet Province
Project cost 226,000,000 Baht
Feb 2000 - Jun 2001
:
Site Civil Engineer :-
BEER THAI ( 1991 ) LTD.
BTCL – KP Project ( Bid – 1) Kamphangphet Province
Project cost 285,000,000 Baht
21 Jul 1999 – Jan 2000
:
Site Civil Engineer :-
Start work at Ritta
DISCOUNT STORE PROJECT ( MAKRO SATHORN )
Project cost 300,000,000 Baht
1998 – 1999
:
Work at Mar Engineering Co.,ltd ,Position Civil Engineer
WORK AT LAO PDR
Irrigation Project
1995 - 1998
:
Work at Waltzen Enterprize Co.,ltd ,Position site Civil Engineer
National Housing Authority
KEHA RAMKUMHANG
Project cost 900,000,000 Baht
http://mybuilt.blogspot.com
EXPERIENCE
Construction Line Co.,ltd.
July 2009 - Present
:
Project Manager:
RHYTHMratchada II
At Huai Khwang,Bangkok
For . Asian Property Development PLC.
Project cost 275,000,000 Baht
:
Ritta Co.,ltd.
Sep 2008 - May 2009
:
Project Manager:
Recall Thailand Phase II
At Samutprakarn Province
For . Recall Thailand Co.,Ltd.
Project cost 177,000,000 Baht
April - August 2008
:
Project Manager:
Tesco Lotus Hypermarket Pranburi
At Pranburi Prajuabkirikhan Province
For . Ek-Chai Distribution Co.,Ltd.
Project cost 163,710,000 Baht
Nov 2007 - Mar 2008
:
Project Manager:
Tesco Lotus Hypermarket Sena
At SENA Ayuttaya Province
For . Ek-Chai Distribution Co.,Ltd.
Project cost 139,100,000 Baht
July-October 2007
:
Project Manager:
Tesco Lotus Value Store Mae Chan
At Mae Chan Chiangrai Province
For . Ek-Chai Distribution Co.,Ltd.
Project cost 115,934,500 Baht
Jan -June 2007
:
Project Manager:
Tesco Lotus Compack Hyper Fang
At Fang Chiangmai Province
For . Ek-Chai Distribution Co.,Ltd.
Project cost 235,593,670 Baht
April -December 2006
Project Manager:
Tesco Lotus Distribution Bangbuathong
At Bangbuathong Nonthaburi Province
For . Ek-Chai Distribution Co.,Ltd.
Project cost 360,000,000 Baht
Dec 2005- March 2006
:
Project Manager:
Tesco Lotus Value Store Sattahip
At Sattahip Chonburi Province
For . Ek-Chai Distribution Co.,Ltd.
Project cost 54,000,000 Baht
April -Nov 2005
:
Project Manager:
Tesco Lotus Value Store Maesai
At Maesai Chringrai Province
For . Ek-Chai Distribution Co.,Ltd.
Project cost 154,000,000 Baht
Dec 2004 - March 2005
:
Project Engineer for :-
Ban Zaan Fresh Market
At Patong,Katoo District,Phuket Provine
For Kaewmaneepichai
Project cost 145,000,000 Baht
Sep -Nov 2004
:
Project Engineer for :-
Sweet Corn Factory
At Wangmung,Saraburi Province
For Siam Food Product Public Co.,Ltd.
Project cost 250,000,000 Baht
April-August 2004
:
Project Manager for:
Tesco Lotus Value Store Nakornpanom
At Nakorn Panom Province
For . Ek-Chai Distribution Co.,Ltd.
Project cost 74,880,000 Baht
Sep 2003 – March2004
:
Project Engineer for :
Tesco Lotus Value Store Mukdaharn
At Mukdaharn Province
For Ek-Chai Distribution Co.,Ltd.
Project cost 115,600,000 Baht
Mar 2003 – Aug 2003
:
Project Engineer for :
Bio Plant Phukiow
At Phukiow District,Chaiyapoom Province
Project cost 50,000,000 Baht
Mar 2002 – Feb 2003
:
Site Civil Engineer :-
DAVID DISTRIBUTION ( THAILAND ) LTD.
New Distribution Center Project Wangnoi,
Ayutaya Province
Project cost 275,000,000 Baht
Jul 2001 – Feb 2002
:
Site Civil Engineer :-
BEER THAI ( 1991 ) PCL
BTCL – KP Project ( Bid -6 ) Kampangphet Province
Project cost 226,000,000 Baht
Feb 2000 - Jun 2001
:
Site Civil Engineer :-
BEER THAI ( 1991 ) LTD.
BTCL – KP Project ( Bid – 1) Kamphangphet Province
Project cost 285,000,000 Baht
21 Jul 1999 – Jan 2000
:
Site Civil Engineer :-
Start work at Ritta
DISCOUNT STORE PROJECT ( MAKRO SATHORN )
Project cost 300,000,000 Baht
1998 – 1999
:
Work at Mar Engineering Co.,ltd ,Position Civil Engineer
WORK AT LAO PDR
Irrigation Project
1995 - 1998
:
Work at Waltzen Enterprize Co.,ltd ,Position site Civil Engineer
National Housing Authority
KEHA RAMKUMHANG
Project cost 900,000,000 Baht
http://mybuilt.blogspot.com
23 กันยายน 2552
การหล่อเสาคอนกรีตในที่ update 2009-09-09
Method Statement for Column Rebar and Form work
ขั้นตอนการผูกเหล็กและเข้าแบบเสา
1. หลังจากเทฐานรากหรือพื้นแล้ว Surveyor จะเป็นผู้มาให้ Line เสา โดยจะให้เป็น Center Line ของเสา ทั้งสองแกน หรือให้เป็น Offset Line ก็ได้
2. การหาตำแหน่งเสาจริงเพื่อตั้งแบบ นายช่าง / Foreman ผู้รับผิดชอบจะเป็นคนหา Line และตีเต๊าเองแล้วจึงตีกรอบ
ไม้ตีนแบบ โดยใช้ไม้ 1 1/2" x 3"
3. ติดตั้งเหล็กเสา มีข้อสังเกต คือ
- ถ้าเหล็กยื่นออกนอกแนวเสาให้แจ้งนายช่างผู้รับผิดชอบทัน
- ถ้ามีปั้นจั่นใช้งาน จะต้องผูกเสาเป็นโครง แล้วใช้ปั้นจั่นยกขึ้นติดตั้งจะประหยัดค่าแรงมากกว่า การผูกเหล็กเส้นในที่
- ถ้าเหล็กเสาสูงมากทำให้เอียงจะต้องใช้สลิงดึงไว้หรือใช้ไม้ค้ำ
- การโผล่เหล็กตอกเสา ( Starter Bar ) เพื่อทาบเหล็กต้องเช็คจากแบบหรือ Spec ว่าต้องต่อเยื้องระยะทาบ 50 % หรือไม่
- เช็คขนาดจำนวนของเหล็กยื่น และระยะห่างเหล็กปลอกให้ตรงตามแบบ
หมายเหตุ ตรวจสอบเหล็กก่อนเข้าแบบเสา
- ผูกลูกปูน Covering ไว้ที่เหล็กยืนเสา
4. ประกอบแบบเสาเป็นโครงตาม Form work Assembly โดยนายช่าง / Foreman จะต้องตรวจสอบแบบ
ตามรายการดังกล่าวก่อนยกขึ้นติดตั้ง ได้แก่
- จำนวนโครงคร่าว
- ความหนาไม้อัดสำหรับทำแบบต้อง = 15 ซม. เท่านั้น
- ต้องทำความสะอาดผิวไม้แบบ และทาด้วยน้ำมันทาแบบทุกครั้ง
5. ยกแบบเสาขึ้นติดตั้งและยึดตีนเสาไว้กับไม้ตีนแบบ
6. ติดตั้งโซ่ หรือสลิงยึดรั้งปากแบบ 4 มุม พร้อมกับ Turn Buckle เพื่อจัดดิ่งเสา
หมายเหตุ - โซ่ / สลิง = 3 หุน
- Turn Buckle = 5 หุน
- เช็คดิ่ง > 1/400
7. ติดตั้งเหล็กรัดเสาระยะห่างตาม Form work Assembly ขัดให้แน่น
8. เช็คดิ่งเสาโดยใช้ลูกดิ่งอย่างน้อย 2 ด้าน โดยเช็คที่ตำแหน่งใกล้ปากแบบและตีนเสา
9. อุดรูที่ตีนเสาและรอยต่อแบบ
ขั้นตอนการเทเสาคอนกรีต
1. ช่วงก่อนเทคอนกรีต
- เทน้ำปูน - ทรายลงไปในเสา ประมาณ 1-2 กระป๋อง ตอนที่รถปูนมาถึงหน้างาน (ห้ามเททิ้งไว้ก่อน)
- หย่อนสายไว้เบรเตอร์ลงไปให้ถึงตีนเสาโดยยังไม่ต้องติดเครื่อง ขนาดหัวไวเบรเตอร์ 1 1/2 x 2"
2. ช่วงระหว่างเทคอนกรีต
- การเทคอนกรีตให้เปิดเทครั้งละ 1/4 ของ Bucket กรณีขนาดของ Bucket = 0.5 คิว แล้วจี้ไวเบรเตอร์ พร้อมกับใช้
ฆ้อนยางเคาะที่ข้างแบบทุกครั้ง
หมายเหตุ ความสูงของคอนกรีตแต่ละชั้น > 1/400 0.75 m.
- กรณี Load คอนกรีตลง Bucket จะต้อง Check Slump ปูนก่อนทุกคัน Slump 7.5 + 2.5 ซ.ม. Slump ไม่ได้ให้สั่ง
รถปูนกลับทันที ห้ามเติมน้ำ
- การสั่งปูนเพื่อมาเทเสาคอนกรีต ไม่ควรสั่งมากกว่า 2 คิว เพราะจะทำให้ปูนข้นโม่ไม่ได้ Slump ตามที่ต้องการ
- เมื่อเทคอนกรีตใกล้เคียงระดับที่ต้องการแล้ว ควรเทต่อด้วยการใช้ถังปูนรับปูนจาก Bucket ก่อนแทนการเท
Bucket ลงเสาโดยตรง เพื่อให้สามารถควบคุมระดับหัวเสาได้เพื่อไม่ต้องไปสกัดหัวเสาทีหลัง
3. ช่วงหลังเทคอนกรีต
- เช็คดิ่งเสาอีกครั้งทันทีหลังเทคอนกรีตเสร็จใหม่ ๆ ถ้า เสาล้ม > 1/400 ต้องรีบปรับดิ่งเสาใหม่ทันที
ขณะที่คอนกรีตยังไม่ Set ตัว
- ทำความสะอาดเหล็กเสริมเสาชั้นต่อไปทุกครั้งก่อนเสร็จงาน
หมายเหตุ 1. ถ้าเสาเป็นโพรง (Honey Comp) จนต้องตัดทิ้ง จะหักค่าใช้จ่ายจากผลงานผู้รับเหมา
2. ถ้าเทเสาสูงกว่าระดับที่ต้องการ ค่าแรง + ค่าเช่า Jackhammer จะหักค่าใช้จ่ายจากผลงาน
ผู้รับเหมา
การหล่อเสาสำเร็จรูป
30 มิถุนายน 2552
1 ต.ค. นี้เตรียมเปิดแอร์พอร์ตลิงค์ให้คนไทยลองใช้ฟรี
แอร์พอร์ตลิงค์คืบกว่า 98% คาดว่าจะเปิดบริการทัน 12 ส.ค.นี้ โดยให้รฟท.ตั้งบริษัทลูกขึ้นบริหาร นายโสภณ ซารัมย์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม กล่าวภายหลังเป็นประธานเปิดการทดสอบเดินรถไฟฟ้าเชื่อมสนามบินสุวรรณภูมิ (แอร์พอร์ต เรล ลิงค์) วันแรกว่า ขณะนี้โครงการแอร์พอร์ตลิงค์คืบหน้าไปแล้วกว่า 98% ทั้งโครงสร้างพื้นฐานและระบบการเดินรถ โดยคาดว่าสามารถเปิดให้บริการได้ทันในวันที่ 12 สิงหาคมนี้แน่นอน
โดยในวันนี้ (13 ก.พ.) ได้มีการทดสอบการเดินรถจากสถานีรามคำแหงถึงสถานีท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ
สำหรับระบบเช็คอินกระเป๋าผู้โดยสารจะเช็คอินที่ซิตี้เช็กอิน เทอร์มินอล ที่สถานีมักกะสัน ซึ่งหากระบบเช็คอินยังไม่เรียบร้อยพร้อมกันจะให้การรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) เปิดให้บริการเดินรถสำหรับผู้โดยสารไปก่อนจนกว่าระบบดังกล่าวจะเสร็จสมบูร์
อย่างไรก็ตาม ได้เร่งให้รฟท. จัดตั้งบริษัทลูกขึ้นมาบริหารการเดินรถไฟฟ้าแอร์พอร์ตเรลลิงค์ให้พร้อมและเปิดให้บริการได้ตามกำหนด
ด้านนายยุทธนา ทัพเจริญ ผู้ว่าการ รฟท. กล่าวว่า ขณะนี้รฟท. ได้เสนอแผนรายละเอียดและชื่อบริษัทลูก คือ บริษัท เดินรถร่วม รฟท.จำกัด โดยให้กระทรวงคมนาคมเสนอขอความเห็นชอบจากคณะรัฐมนตรี ซึ่งขณะนี้อยู่ระหว่างรอการบรรจุวาระเข้าที่ประชุม รวมทั้งได้ประสานงานขอจดทะเบียนบริษัทกับกระทรวงพาณิชย์ไว้แล้ว
หากครม. เห็นชอบก็สามารถยื่นขอจดทะเบียนบริษัทได้ภายใน 15 วัน และระหว่างรอการจัดตั้งบริษัทลูก รฟท.ก็ได้เร่งจัดหาผู้บริหารบริษัทลูก ซึ่งจะใช้คนของ รฟท.บริหารชั่วคราวควบคู่ไปกับการหาบุคลากรด้านงานบริหารเข้ามาดำเนินงานจำนวน 51 คน และพนักงาน อีก 450 คน
โดยระหว่างนี้จะมีการเปิดอบรมพนักงานให้มีความพร้อมสำหรับการให้บริการซึ่งใช้เวลาประมาณ 3 เดือน
สำหรับอัตราค่าโดยสาร สายรถด่วนในบื้องต้นได้กำหนดไว้ที่ 150 บาทต่อคน ส่วนขบวนรถในเมืองที่จะจอดรับผู้โดยสารตามสถานี 6 แห่ง อัตราค่าโดยสาร 30-50 บาท แต่จะมีการพิจารณาอีกครั้ง
โดยในวันนี้ (13 ก.พ.) ได้มีการทดสอบการเดินรถจากสถานีรามคำแหงถึงสถานีท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ
สำหรับระบบเช็คอินกระเป๋าผู้โดยสารจะเช็คอินที่ซิตี้เช็กอิน เทอร์มินอล ที่สถานีมักกะสัน ซึ่งหากระบบเช็คอินยังไม่เรียบร้อยพร้อมกันจะให้การรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) เปิดให้บริการเดินรถสำหรับผู้โดยสารไปก่อนจนกว่าระบบดังกล่าวจะเสร็จสมบูร์
อย่างไรก็ตาม ได้เร่งให้รฟท. จัดตั้งบริษัทลูกขึ้นมาบริหารการเดินรถไฟฟ้าแอร์พอร์ตเรลลิงค์ให้พร้อมและเปิดให้บริการได้ตามกำหนด
ด้านนายยุทธนา ทัพเจริญ ผู้ว่าการ รฟท. กล่าวว่า ขณะนี้รฟท. ได้เสนอแผนรายละเอียดและชื่อบริษัทลูก คือ บริษัท เดินรถร่วม รฟท.จำกัด โดยให้กระทรวงคมนาคมเสนอขอความเห็นชอบจากคณะรัฐมนตรี ซึ่งขณะนี้อยู่ระหว่างรอการบรรจุวาระเข้าที่ประชุม รวมทั้งได้ประสานงานขอจดทะเบียนบริษัทกับกระทรวงพาณิชย์ไว้แล้ว
หากครม. เห็นชอบก็สามารถยื่นขอจดทะเบียนบริษัทได้ภายใน 15 วัน และระหว่างรอการจัดตั้งบริษัทลูก รฟท.ก็ได้เร่งจัดหาผู้บริหารบริษัทลูก ซึ่งจะใช้คนของ รฟท.บริหารชั่วคราวควบคู่ไปกับการหาบุคลากรด้านงานบริหารเข้ามาดำเนินงานจำนวน 51 คน และพนักงาน อีก 450 คน
โดยระหว่างนี้จะมีการเปิดอบรมพนักงานให้มีความพร้อมสำหรับการให้บริการซึ่งใช้เวลาประมาณ 3 เดือน
สำหรับอัตราค่าโดยสาร สายรถด่วนในบื้องต้นได้กำหนดไว้ที่ 150 บาทต่อคน ส่วนขบวนรถในเมืองที่จะจอดรับผู้โดยสารตามสถานี 6 แห่ง อัตราค่าโดยสาร 30-50 บาท แต่จะมีการพิจารณาอีกครั้ง
รถไฟฟ้ามหานคร
การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) เดิมชื่อองค์การรถไฟฟ้ามหานคร เป็นรัฐวิสาหกิจในสังกัดกระทรวงคมนาคม จัดตั้งขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2535 มีภาระหน้าที่ในการจัดให้มี และให้บริการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนในกรุงเทพมหานครและปริมณฑล และจังหวัดอื่นๆ รวมทั้งดำเนินธุรกิจที่เกี่ยวเนื่องเพื่อประโยชน์แก่ รฟม. และประชาชนในการใช้บริการรถไฟฟ้า ตามพระราชบัญญัติการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย พ.ศ. 2543
ขณะนี้ รฟม. ได้เปิดบริการเดินรถ เมื่อวันที่ 3 กรกฎาคม 2547 ซึ่งเป็นรถไฟฟ้าใต้ดินสายแรกของประเทศไทย ระยะทาง 20 กม. ช่วงหัวลำโพง-ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์-บางซื่อ สำหรับในอนาคต รฟม. ได้รับมอบหมายให้ดำเนินงานโครงการส่วนต่อขยายและสายใหม่ เป็นระยะทาง 94 กม. ประกอบด้วย โครงการรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน ช่วงบางซื่อ-ท่าพระ และช่วงหัวลำโพง-บางแค โครงการรถไฟฟ้าสายสีส้ม ช่วงบางกะปิ-บางบำหรุ และโครงการรถไฟฟ้าสายสีม่วง ช่วงบางใหญ่-ราษฎร์บูรณ ในกลางปี 2548 จะเริ่มก่อสร้าง โครงการรถไฟฟ้าสายสีม่วง บางใหญ่ - ราษฎร์บูรณะ ช่วงบางใหญ่ - บางซื่อ (พ.ศ. 2548-2551) ซึ่งขณะนี้อยู่ระหว่างการเร่งรัดดำเนินงานโครงการตามนโยบายของรัฐบาล
โครงการรถไฟฟ้าสาย สีน้ำเงิน
ลักษณะโครงการ
โครงสร้าง
ช่วงบางซื่อ-ท่าพระ มีระยะทาง 13 กม. เป็นเส้นทางยกระดับทั้งหมด แนวเส้นทางเริ่มต้นจากสถานีบางซื่อ ผ่านถนนประชาราษฎร์สาย 2 สีแยกบางโพ ข้ามแม่น้ำเจ้าพระยา ถนนจรัญสนิทวงศ์ สิ้นสุดที่สี่แยกถนนจรัญสนิทวงศ ์-ถนนเพชรเกษม
--------------------------------------------------------------------------------
สถานี เป็นสถานียกระดับ 10 สถานี ได้แก่ สถานีเตาปูน (เป็นสถานีร่วมกับรถไฟฟ้าสายสีม่วง ช่วงบางใหญ่-บางซื่อ) สถานีบางโพ สถานีบางอ้อ สถานีบางพลัด สถานีสิริธร (เป็นสถานีร่วมกับรถไฟฟ้าสายสีส้ม ช่วงบางกะปิ-บางบำหรุ) สถานีบางยี่ขัน สถานีบางขุนนนท์ สถานีแยกไฟฉาย สถานีจรัญสนิทวงศ์ 13 สถานีท่าพระ (เป็นสถานีร่วมกับรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน ช่วงหัวลำโพง-บางแค)
--------------------------------------------------------------------------------
โครงสร้าง
ช่วงหัวลำโพ-บางแค มีระยะทาง 14 กม. แบ่งเป็นเส้นทางวิ่งใต้ดินในช่วงหัวลำโพง-ท่าพระ ระยะทาง 5 กิโลเมตร ผ่านถนน เจริญกรุง วังบูรพา ถนนสนามไชย พระบรมมหาราชวัง ลอดใต้แม่น้ำเจ้าพระยาที่ปากคลองตลาด คลองบางกอกใหญ่ ถนนอิสรภาพ แล้วเปลี่ยนเป็นเส้นทางยกระดับ ระยะทาง 9 กิโลเมตร เข้าสู่สี่แยกท่าพระ ถนนเพชรเกษม สิ้นสุดที่วงแหวนรอบนอก
--------------------------------------------------------------------------------
สถานี
สถานีจำนวน 11 สถานี เป็นสถานีใด้ดิน 4 สถานี ได้แก่ สถานีวัดมังกร สถานีวังบูรพา (เป็นสถานีใต้ดินร่วมกับรถไฟฟ้าสายสีม่วง บางใหญ่-ราษฎร์บูรณะ) สถานีสนามไชย สถานีอิสรภาพ สถานียกระดับ 7 สถานี ได้แก่ สถานีท่าพระ (เป็นสถานีร่วมกับรถไฟฟ้า สายสีน้ำเงิน ช่วงบางซื่อ-ท่าพระ) สถานีบางไผ่ สถานีบางหว้า สถานีเพชรเกษม 48 สถานีภาษีเจริญ สถานีบางแค สถานีหลักสอง
--------------------------------------------------------------------------------
ระบบรถ
ใช้ระบบรถไฟ้าขนาดใหญ่ (Heavy rail transit system) ที่มีความจุสูง สามารถขนส่งผู้โดยสารได้มากกว่า 50,000 คน ต่อชั่วโมงต่อทิศทาง เช่นเดียวกับรถไฟฟ้ามหานคร สายเฉลิมรัชมงคล
--------------------------------------------------------------------------------
จำนวนผู้โดยสาร
ผลการวิเคราะห์คาดการณ์จำนวนผู้โดยสารในกรณีพื้นฐาน ซึ่งคิดค่าโดยสารในอัตราแรกเข้า 12 บาท และคิดค่าโดยสารเพิ่มขึ้นสถานีละ 2 บาท ไม่คิดค่าเปลี่ยนถ่ายระบบ และมีอัตราค่าโดยสารสูงสุดไม่เกิน 50 บาท
--------------------------------------------------------------------------------
ผลตอบแทนด้านการเงินและเศรษฐกิจของโครงการ
เนื่องจากผลตอบแทนทางด้านการเงินของโครงการ (firr) อยู่ในเกณฑ์ต่ำ โดยโครงการรถไฟฟ้าสายสีม่วง ช่วงบางใหญ่-บางซื่อ ให้ผลตอบแทน -0.87 % และโครงการรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน ช่วงหัวลำโพง-บางแค และช่วงบางซื่อ-ท่าพระ ให้ผลตอบแทน-2.41 % แต่อย่างไรก็ตาม เนื่องจากทั้งสองโครงการให้ผลตอบแทนด้านเศรษฐกิจในรูปแบบของการประหยัดเวลาในการเดินทางและ การประหยัดค่าใช้จ่ายการใช้
โครงการรถไฟฟ้าสาย สีม่วง
ลักษณะโครงการ
โครงสร้าง
ช่วงบางใหญ่-บางซื่อ มีระยะทางประมาณ 23 กม. เป็นทางยกระดับทั้งหมด แนวเส้นทางเริ่มจากบริเวณสถานีรถไฟฟ้าใต้ดิน บางซื่อ ต่อจากโครงสร้างอุโมงค์ที่ปัจจุบัน สิ้นสุดอยู่บริเวณระดับดินหน้าบริษัท ปูนซิเมนต์ไทย จำกัด (มหาชน) เป็นโครงกสร้าง ทางวิ่งยกระดับไปทางสะพานสูงบางซื่อ วิ่งข้ามคลองเปรมประชากร ผ่านถนนประชาราษฎร์สาย 2 สามแยกเตาปูน ถนนกรุงเทพ-นนทบุรี ถนนติวานนท์ ถนนรัตนาธิเบศร์ ข้ามแม่น้ำเจ้าพระยา แยกท่าอิฐ แยกบางพลู ถนนวงแหวนรอบนอก สิ้นสุดที่คลองบางไผ่ (มีศูนยซ่อมบำรุงและอาคารจอดรถ)
--------------------------------------------------------------------------------
สถานี
เป็นสถานียกระดับ 16 สถานี ได้แก่ สถานีเตาปูน สถานีบางซ่อน สถานีวงศ์สว่าง สถานีแยกติวานนท์สถานี กระทรวงสาธารณสุข สถานีศูนย์ราชการนนทบุรี สถานีศรีพรสวรรค์ สถานีแยกนนทบุรี 1 สถานีสะพานพระนั่งเกล้า สถานีไทรม้า สถานีท่าอิฐ สถานีบางรักใหญ่ สถานีบางพลู สถานีสามแยกบางใหญ่ สถานีตลาดบางใหญ่ สถานีคลองบางไผ่
ระบบรถ
ใช้ระบบรถไฟ้าขนาดใหญ่ (Heavy rail transit system) ที่มีความจุสูง สามารถขนส่งผู้โดยสารได้มากกว่า 50,000 คน ต่อชั่วโมงต่อทิศทาง เช่นเดียวกับรถไฟฟ้ามหานคร สายเฉลิมรัชมงคล
--------------------------------------------------------------------------------
จำนวนผู้โดยสาร
ผลการวิเคราะห์คาดการณ์จำนวนผู้โดยสารในกรณีพื้นฐาน ซึ่งคิดค่าโดยสารในอัตราแรกเข้า 12 บาท และคิดค่าโดยสารเพิ่มขึ้นสถานีละ 2 บาท ไม่คิดค่าเปลี่ยนถ่ายระบบ และมีอัตราค่าโดยสารสูงสุดไม่เกิน 50 บาท
--------------------------------------------------------------------------------
ผลตอบแทนด้านการเงินและเศรษฐกิจของโครงการ
เนื่องจากผลตอบแทนทางด้านการเงินของโครงการ (firr) อยู่ในเกณฑ์ต่ำ โดยโครงการรถไฟฟ้าสายสีม่วง ช่วงบางใหญ่-บางซื่อ ให้ผลตอบแทน -0.87 % และโครงการรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน ช่วงหัวลำโพง-บางแค และช่วงบางซื่อ-ท่าพระ ให้ผลตอบแทน-2.41 % แต่อย่างไรก็ตาม เนื่องจากทั้งสองโครงการให้ผลตอบแทนด้านเศรษฐกิจในรูปแบบของการประหยัดเวลาในการเดินทางและ การประหยัดค่าใช้จ่ายการใช้รถยนต์สูง
--------------------------------------------------------------------------------
รถไฟฟ้า BTS
กรุงเทพมหานครได้ทดลองวิ่งรถไฟฟ้าส่วนต่อขยายสายสีลมจากสะพานตากสิน - แยกตากสิน ระยะทาง 2.2 กม.
ซึ่ง ผู้โดยสารสามารถเดินทางฟรี 3 สถานี ตั้งแต่วันที่ 15 พ.ค. - 12 ส.ค. 52
S6 สถานีสะพานตากสิน
S7 สถานีกรุงธนบุรี
S8 สถานีวงเวียนใหญ่
โดยใช้ตั๋วโดยสารเที่ยวเดียวที่กดออกจากเครื่องจำหน่ายตั๋วโดยสารอัตโนมัติ หรือใช้บัตรโดยสารประเภทเติมเงิน (SKY SmartPass)
สำหรับผู้ที่ใช้บัตรโดยสารประเภท 30 วัน ทุกประเภท ให้กดตั๋วโดยสารเที่ยวเดียวจากเครื่องจำหน่ายตั๋วโดยสารอัตโนมัติ เพื่อเดินทางฟรีเท่านั้น
16 มิถุนายน 2552
ข่าวเด่นประจำสัปดาห์ที่ 2009-06-15
เหล็กเส้นเสียบสาวคนงานก่อสร้างชาวลาวหวิดดับ
ศูนย์ข่าวศรีราชา - เกิดอุบัติเหตุรอกส่งของหลุดร่วงกระแทกเหล็กเส้นที่พื้น ดีดปลายอีกด้านงัดขึ้นเสียบทะลุแขนคนงานก่อสร้างสาวชาวลาว เกือบโดนหัวใจ อาการสาหัส
วันนี้ (15 มิ.ย.) เจ้าหน้าที่หน่วยกู้ภัยสว่างประทีปธรรมสถานศรีราชา อ.ศรีราชา จ.ชลบุรี ได้รับแจ้งว่ามีคนถูกเหล็กเสียบที่ร่างกายได้รับบาดเจ็บอาการสาหัส ซึ่งเหตุเกิดบริเวณสถานที่ก่อสร้าง มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตสิรินธร ราชวิทยาลัย ในพระราชูปถัมภ์ (วัดศรีมหาราชา) ถ.สุรศักดิ์สงวน ต.ศรีราชา อ.ศรีราชา จ.ชลบุรี จากนั้นจึงได้เดินทางไปตรวจสอบที่เกิดเหตุพบ น.ส.วรรณา สุทธิ อายุ 21 ปี ชาวลาว ซึ่งเป็นคนงานก่อสร้างได้ถูกเหล็กเส้น ขนาด 2 หุน เกือบ 10 เมตร เสียบที่ต้นแขนด้านซ้ายทะลุเข้าลำตัวได้รับบาดเจ็บอาการสาหัส
จากนั้นเจ้าหน้าที่หน่วยกู้ภัยฯ ได้ทำการช่วยเหลือปฐมพยาบาลเบื้องต้นผู้บาดเจ็บก่อน ที่จะใช้กรรไกรตัดเหล็กที่เสียบแขนและชายโครงให้สั้นลง ก่อนประสานไปยังเจ้าหน้าที่พยาบาลโรงพยาบาลสมเด็จพระบรมราชเทวี ณ ศรีราชา ให้มาทำการเคลื่อนย้ายผู้ได้รับบาดเจ็บ นำไปรักษาตัวที่โรงพยาบาลเพื่อให้แพทย์ทำการช่วยเหลือและทำการผ่าตัดเป็นการด่วน
จากการสอบถามนายสมบัติ เรียงเงิน ผู้เห็นเหตุการณ์ทราบว่า ขณะที่ตนได้ชักลอกนำหินขึ้นไปชั้นบนของอาคาร โดยมี น.ส.วรรณาผู้บาดเจ็บทำหน้าที่คอยตักหินทรายใส่กระบะอยู่ด้านล่าง จังหวะที่กำลังชักลอกหิยขึ้นไปถึงชั้นที่ 2 สายสลิงที่ชักลอกได้เกิดขาด จึงทำให้กระบะที่บรรจุหินล่วงลงมากระแทรกกับเหล็กเส้นที่กองอยู่กับพื้น กระเด็นมาเสียบร่างนางสาววรรณาได้รับบาดเจ็บสาหัสดังกล่าว
ศูนย์ข่าวศรีราชา - เกิดอุบัติเหตุรอกส่งของหลุดร่วงกระแทกเหล็กเส้นที่พื้น ดีดปลายอีกด้านงัดขึ้นเสียบทะลุแขนคนงานก่อสร้างสาวชาวลาว เกือบโดนหัวใจ อาการสาหัส
วันนี้ (15 มิ.ย.) เจ้าหน้าที่หน่วยกู้ภัยสว่างประทีปธรรมสถานศรีราชา อ.ศรีราชา จ.ชลบุรี ได้รับแจ้งว่ามีคนถูกเหล็กเสียบที่ร่างกายได้รับบาดเจ็บอาการสาหัส ซึ่งเหตุเกิดบริเวณสถานที่ก่อสร้าง มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตสิรินธร ราชวิทยาลัย ในพระราชูปถัมภ์ (วัดศรีมหาราชา) ถ.สุรศักดิ์สงวน ต.ศรีราชา อ.ศรีราชา จ.ชลบุรี จากนั้นจึงได้เดินทางไปตรวจสอบที่เกิดเหตุพบ น.ส.วรรณา สุทธิ อายุ 21 ปี ชาวลาว ซึ่งเป็นคนงานก่อสร้างได้ถูกเหล็กเส้น ขนาด 2 หุน เกือบ 10 เมตร เสียบที่ต้นแขนด้านซ้ายทะลุเข้าลำตัวได้รับบาดเจ็บอาการสาหัส
จากนั้นเจ้าหน้าที่หน่วยกู้ภัยฯ ได้ทำการช่วยเหลือปฐมพยาบาลเบื้องต้นผู้บาดเจ็บก่อน ที่จะใช้กรรไกรตัดเหล็กที่เสียบแขนและชายโครงให้สั้นลง ก่อนประสานไปยังเจ้าหน้าที่พยาบาลโรงพยาบาลสมเด็จพระบรมราชเทวี ณ ศรีราชา ให้มาทำการเคลื่อนย้ายผู้ได้รับบาดเจ็บ นำไปรักษาตัวที่โรงพยาบาลเพื่อให้แพทย์ทำการช่วยเหลือและทำการผ่าตัดเป็นการด่วน
จากการสอบถามนายสมบัติ เรียงเงิน ผู้เห็นเหตุการณ์ทราบว่า ขณะที่ตนได้ชักลอกนำหินขึ้นไปชั้นบนของอาคาร โดยมี น.ส.วรรณาผู้บาดเจ็บทำหน้าที่คอยตักหินทรายใส่กระบะอยู่ด้านล่าง จังหวะที่กำลังชักลอกหิยขึ้นไปถึงชั้นที่ 2 สายสลิงที่ชักลอกได้เกิดขาด จึงทำให้กระบะที่บรรจุหินล่วงลงมากระแทรกกับเหล็กเส้นที่กองอยู่กับพื้น กระเด็นมาเสียบร่างนางสาววรรณาได้รับบาดเจ็บสาหัสดังกล่าว
From ASTVผู้จัดการออนไลน์
09-06-14 สั่งปิดไซด์ก่อสร้างหลังเครนใหญ่ทับคนงานดับ
สั่งปิดไซด์ก่อสร้างหลังเครนใหญ่ทับคนงานดับ
กรณีเครนก่อสร้างขนาดใหญ่ล้มทับคนงานเสียชีวิตและได้รับบาดเจ็บ บริเวณไซต์งานก่อสร้างภายในวัดเทวราชกุญชรวรวิหาร ถนนศรีอยุธยา แขวงวชิระ เขตดุสิต กทม. เหตุ เมื่อ 13 มิถุนายน ที่ผ่านมา ความคืบหน้าล่าสุด พ.ต.อ.สรเสริญ ใช้สถิต ผกก.สน.สามเสน เปิดเผยว่า ทางสำนักงานเขตดุสิตและสน.สามเสน ได้สั่งปิดการก่อสร้างบริเวณโครงการที่เกิดเหตุแล้ว และพรุ่งนี้(15 มิ.ย.)จะให้ทางพนักงานสอบสวนประสานงาน ขอคำปรึกษาจากผู้เชี่ยวชาญ จากสมาคมวิศวะกรรมฯแห่งประเทศไทย เพื่อขอข้อมูลมาตรฐานความปลอดภัย และวิธีการขนย้ายและดำเนินการก่อสร้าง
"หลังจากนั้นจะได้นำข้อมูลที่ได้มาตรวจสอบว่าเหตุการณ์ดังกล่าวใครเป็นผู้คนผิด เบื้องต้นจะแจ้งข้อหากระทำการประมาทเป็นเหตุให้ผู้อื่นถึงแก่ความตาย กับวิศวกรคุมงาน และอาจพิจารณายึดใบอนุญาตประกอบวิชาชีพด้วย ส่วนคนบังคับเครนยกเหล็ก หรือคนงานผูกสายสลิงกับท่อเหล็กต้องสอบปากคำว่าใครเป็นคนกระทำผิดด้วย ขณะนี้ได้สอบพยานซึ่งเป็นคนงานในที่เกิดเหตุไปแล้ว 5-6 ปาก ขณะที่คนเจ็บ ขาหักยังคงพักรักษาตัวที่ วชิระพยาบาล" ผกก.สน.สามเสน กล่าว
กรณีเครนก่อสร้างขนาดใหญ่ล้มทับคนงานเสียชีวิตและได้รับบาดเจ็บ บริเวณไซต์งานก่อสร้างภายในวัดเทวราชกุญชรวรวิหาร ถนนศรีอยุธยา แขวงวชิระ เขตดุสิต กทม. เหตุ เมื่อ 13 มิถุนายน ที่ผ่านมา ความคืบหน้าล่าสุด พ.ต.อ.สรเสริญ ใช้สถิต ผกก.สน.สามเสน เปิดเผยว่า ทางสำนักงานเขตดุสิตและสน.สามเสน ได้สั่งปิดการก่อสร้างบริเวณโครงการที่เกิดเหตุแล้ว และพรุ่งนี้(15 มิ.ย.)จะให้ทางพนักงานสอบสวนประสานงาน ขอคำปรึกษาจากผู้เชี่ยวชาญ จากสมาคมวิศวะกรรมฯแห่งประเทศไทย เพื่อขอข้อมูลมาตรฐานความปลอดภัย และวิธีการขนย้ายและดำเนินการก่อสร้าง
"หลังจากนั้นจะได้นำข้อมูลที่ได้มาตรวจสอบว่าเหตุการณ์ดังกล่าวใครเป็นผู้คนผิด เบื้องต้นจะแจ้งข้อหากระทำการประมาทเป็นเหตุให้ผู้อื่นถึงแก่ความตาย กับวิศวกรคุมงาน และอาจพิจารณายึดใบอนุญาตประกอบวิชาชีพด้วย ส่วนคนบังคับเครนยกเหล็ก หรือคนงานผูกสายสลิงกับท่อเหล็กต้องสอบปากคำว่าใครเป็นคนกระทำผิดด้วย ขณะนี้ได้สอบพยานซึ่งเป็นคนงานในที่เกิดเหตุไปแล้ว 5-6 ปาก ขณะที่คนเจ็บ ขาหักยังคงพักรักษาตัวที่ วชิระพยาบาล" ผกก.สน.สามเสน กล่าว
From เนชั่นทันข่าว
http://mybuilt.blogspot.com
http://mybuilt.blogspot.com
09-06-13 เครนสร้างตึกเทคโนฯพระนครถล่มทับคนงานดับ
เครนสร้างตึกเทคโนฯพระนครถล่มทับคนงานดับ 1
เครนก่อสร้างอาคาร ม.เทคโนโลยีราชมงคลพระนคร หักทับช่างไฟเสียชีวิต 1 คน ขณะเดินสายไฟ ส่วนคนขับรถเครนได้รับบาดเจ็บ ตร.สน.สามเสนเตรียมเรียกวิศวกรและสถาปนิกดำเนินคดีร่วมกันประมาททำให้ผู้อื่นถึงแก่ความตาย
วันนี้ (13 มิ.ย.)เมื่อเวลาประมาณ 11.00 น.ร.ต.ท.สมชาย เชาวนะ ร้อยเวร สน.สามเสน รับแจ้งเหตุเครนก่อสร้างถล่มบริเวณวัดเทวราชกุญชร วรวิหาร จุดรุดไปตรวจสอบที่เกิดเหตุพบเครนก่อสร้างขนาดใหญ่หล่นพาดทับรถบรรทุก เจดีย์ หลังคาและทางเดินพระอุโบสถได้รับความเสียหายแตกหักเศษอิฐกระจายเกลื่อนกลาด พบผู้เสียชีวิตทราบชื่อคือนายตะวัน พลเยี่ยม เจ้าหน้าที่ไฟฟ้า ขณะเกิดเหตุกำลังเดินสายไฟภายในอาคาร และผู้ได้รับบาดเจ็บ 1 ราย คือนายสุริยะ แสนสุข คนขับรถเครน เจ้าหน้าที่หน่วยกู้ภัยจึงรีบนำตัวส่งโรงพยาบาล ส่วนบริเวณที่เกิดเหตุได้นำเชือกมากั้นไม่ให้บุคคลที่ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องเข้าไปภายในเนื่องจากอาจได้รับอันตราย
พล.ต.ต.วิชัย สังข์ประไพ ผบก.น.1เปิดเผยภายหลังเดินทางตรวจสอบที่เกิดเหตุว่า บริเวณดังกล่าวบริษัทสแตนดาร์ดเพอร์ฟอร์แม้นซ์ จำกัด เป็นผู้รับเหมาก่อสร้างอาคารอเนกประสงค์คณะเทคโนโลยีคหกรรมศาสตร์ ม.เทคโนโลยีราชมงคลพระนคร ขณะเกิดเหตุคนงานก่อสร้างได้เกี่ยวเหล็กกับรถเครนเพื่อทำการก่อสร้าง ระหว่างที่เครนกำลังยกเหล็กขึ้นไป ตัวเกี่ยวครูดทำให้เหล็กเคลื่อน เครนแกว่งเสียหลักจนเหล็กหล่นลงมาจนเครนเสียหลักหักลงมาทับทำให้มีผู้เสียชีวิต 1 คน บาดเจ็บอีก 1 คน รถยนต์เสียหายทั้งสิ้น 3 คัน พระอุโบสถและเจดีย์เสียหาย เบื้องต้นได้นำตัวนายอภิชัย ลาภทอง ชาวยโสธร คนขับรถบรรทุกที่เครนหล่นลงมาทับ และนายทองสุข เทพาขัน คนงานที่ทำหน้าที่เกี่ยวเหล็กกับเครน ไปสอบปากคำเพิ่มเติม พร้อมกันนี้จะได้เรียกตัวนายปฐมพงศ์ คุ้มผล วิศวกรโยธา และ น.ส.รัฏฐกรณ์ ภักดี สถาปนิก มาสอบปากคำและดำเนินคดีในข้อหาร่วมกันประมาททำให้ผู้อื่นถึงแก่ความตายต่อไป
สำหรับโครงการก่อสร้างดังกล่าวมีนายสังคม นำสุข เป็นผู้จัดการโครงการ น.ส.ศรีสุดา สานิ เป็นเจ้าหน้าที่ความปลอดภัย และนายธวัชชัย นวเลิศปัญญา เป็นหนัวหน้าผู้คุมงาน กำหนดเริ่มสัญญาก่อสร้างเมื่อวันที่ 4 มิ.ย.2551 และสิ้นสุดโครงการในวันที่ 3 มิ.ย. 2553 งบประมาณก่อสร้างทั้งสิ้น 146,300,000 บาท
เครนก่อสร้างอาคาร ม.เทคโนโลยีราชมงคลพระนคร หักทับช่างไฟเสียชีวิต 1 คน ขณะเดินสายไฟ ส่วนคนขับรถเครนได้รับบาดเจ็บ ตร.สน.สามเสนเตรียมเรียกวิศวกรและสถาปนิกดำเนินคดีร่วมกันประมาททำให้ผู้อื่นถึงแก่ความตาย
วันนี้ (13 มิ.ย.)เมื่อเวลาประมาณ 11.00 น.ร.ต.ท.สมชาย เชาวนะ ร้อยเวร สน.สามเสน รับแจ้งเหตุเครนก่อสร้างถล่มบริเวณวัดเทวราชกุญชร วรวิหาร จุดรุดไปตรวจสอบที่เกิดเหตุพบเครนก่อสร้างขนาดใหญ่หล่นพาดทับรถบรรทุก เจดีย์ หลังคาและทางเดินพระอุโบสถได้รับความเสียหายแตกหักเศษอิฐกระจายเกลื่อนกลาด พบผู้เสียชีวิตทราบชื่อคือนายตะวัน พลเยี่ยม เจ้าหน้าที่ไฟฟ้า ขณะเกิดเหตุกำลังเดินสายไฟภายในอาคาร และผู้ได้รับบาดเจ็บ 1 ราย คือนายสุริยะ แสนสุข คนขับรถเครน เจ้าหน้าที่หน่วยกู้ภัยจึงรีบนำตัวส่งโรงพยาบาล ส่วนบริเวณที่เกิดเหตุได้นำเชือกมากั้นไม่ให้บุคคลที่ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องเข้าไปภายในเนื่องจากอาจได้รับอันตราย
พล.ต.ต.วิชัย สังข์ประไพ ผบก.น.1เปิดเผยภายหลังเดินทางตรวจสอบที่เกิดเหตุว่า บริเวณดังกล่าวบริษัทสแตนดาร์ดเพอร์ฟอร์แม้นซ์ จำกัด เป็นผู้รับเหมาก่อสร้างอาคารอเนกประสงค์คณะเทคโนโลยีคหกรรมศาสตร์ ม.เทคโนโลยีราชมงคลพระนคร ขณะเกิดเหตุคนงานก่อสร้างได้เกี่ยวเหล็กกับรถเครนเพื่อทำการก่อสร้าง ระหว่างที่เครนกำลังยกเหล็กขึ้นไป ตัวเกี่ยวครูดทำให้เหล็กเคลื่อน เครนแกว่งเสียหลักจนเหล็กหล่นลงมาจนเครนเสียหลักหักลงมาทับทำให้มีผู้เสียชีวิต 1 คน บาดเจ็บอีก 1 คน รถยนต์เสียหายทั้งสิ้น 3 คัน พระอุโบสถและเจดีย์เสียหาย เบื้องต้นได้นำตัวนายอภิชัย ลาภทอง ชาวยโสธร คนขับรถบรรทุกที่เครนหล่นลงมาทับ และนายทองสุข เทพาขัน คนงานที่ทำหน้าที่เกี่ยวเหล็กกับเครน ไปสอบปากคำเพิ่มเติม พร้อมกันนี้จะได้เรียกตัวนายปฐมพงศ์ คุ้มผล วิศวกรโยธา และ น.ส.รัฏฐกรณ์ ภักดี สถาปนิก มาสอบปากคำและดำเนินคดีในข้อหาร่วมกันประมาททำให้ผู้อื่นถึงแก่ความตายต่อไป
สำหรับโครงการก่อสร้างดังกล่าวมีนายสังคม นำสุข เป็นผู้จัดการโครงการ น.ส.ศรีสุดา สานิ เป็นเจ้าหน้าที่ความปลอดภัย และนายธวัชชัย นวเลิศปัญญา เป็นหนัวหน้าผู้คุมงาน กำหนดเริ่มสัญญาก่อสร้างเมื่อวันที่ 4 มิ.ย.2551 และสิ้นสุดโครงการในวันที่ 3 มิ.ย. 2553 งบประมาณก่อสร้างทั้งสิ้น 146,300,000 บาท
โดย ทีมข่าวอาชญากรรม ASTVผู้จัดการ
http://mybuilt.blogspot.com
http://mybuilt.blogspot.com
09-06-10 ก.ค.นี้ เริ่มเจาะอุโมงค์ราชพฤกษ์-นครอินทร์
คาด ก.ค.นี้ เริ่มเจาะอุโมงค์ราชพฤกษ์-นครอินทร์
ทางหลวงชนบทเผย ก.ค.เริ่มก่อสร้างอุโมงค์ ราชพฤกษ์-นครอินทร์ได้ ช่วยลดปัญหาจราจรติดขัด ก่อสร้าง 3 ปี พร้อมเตรียมต่อขยายโครงข่ายทาง รองรับการใช้งานสนามบินสุวรรณภูมิ
นายวิชาญ คุณากูลสวัสดิ์ อธิบดีกรมทางหลวงชนบท (ทช.) เปิดเผยว่า ขณะนี้ทช.อยู่ระหว่างการประกวดราคาคัดเลือกผู้รับเหมาก่อสร้างอุโมงค์ลอดบริเวณวงเวียนถนนราชพฤกษ์-ถนนนครอินทร์ และทางคู่ขนานถนนราชพฤกษ์ ช่วง กม.15+660 ถึง 17+800 สะพานคู่ขนานข้ามคลองบางกอกน้อย จังหวัดนนทบุรี ซึ่งคาดว่าจะลงนามสัญญาและเริ่มงานก่อสร้างได้ในเดือนก.ค. 2552 โดยใช้เวลาในการก่อสร้าง 3 ปี
ทั้งนี้โครงการดังกล่าวจะแก้ปัญหาจราจรบริเวณ วงเวียนจุดตัดถนนราชพฤกษ์-ถนนนครอินทร์โดยเฉพาะในชั่วโมงเร่งด่วน ซึ่งมักจะเกิดอุบัติเหตุในบริเวณดังกล่าวค่อนข้างบ่อย ซึ่งโครงการจะทำให้ขีดความสามารถในการรองรับการจราจรเพิ่มมากขึ้น และปรับปรุงประสิทธิภาพ ถนนราชพฤกษ์-ถนนนครอินทร์ ให้สมบูรณ์ยิ่งขึ้น โดยรูปแบบจะเป็นการก่อสร้างอุโมงค์ขนาด 6 ช่องจราจร ความยาวประมาณ 650 เมตร บนถนนราชพฤกษ์ลอดใต้วงเวียนจุดตัดถนนราชพฤกษ์-ถนนนครอินทร์ เมื่อก่อสร้างแล้วเสร็จ ในบริเวณทางแยกดังกล่าว จะมีลักษณะเป็นอุโมงค์ทางลอดในการเดินทางแนวเหนือ-ใต้ สะพานลอยข้ามแยกในการเดินทางแนวตะวันออก-ตะวันตกโดยวงเวียนยังคงสามารถใช้งานได้สำหรับรถที่จะเลี้ยวซ้ายและขวาในการเดินทาง
นอกจากนี้ ทช.ยังได้มอบหมายให้สำนักก่อสร้างทาง เร่งดำเนินการศึกษาออกแบบส่วนต่อขยายถนนสายแยก ทล.34 (กม.ที่ 26) เชื่อมกับทางหลวงชนบทสาย ฉช. 3001 พร้อมทางต่างระดับ เพื่อรองรับปริมาณการจราจรบริเวณโดยรอบสนามบินสุวรรณภูมิ และรองรับการเจริญเติบโตในพื้นที่ และพัฒนาโครงข่ายการคมนาคมให้สมบูรณ์มากขึ้น ตามนโยบายของนายประจักษ์ แกล้วกล้าหาญรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม
อย่างไรก็ตามการต่อขยายถนนสายแยกทางหลวงหมายเลข 34 (กม.ที่ 26) ถึงทางหลวงพิเศษหมายเลข 7 โดยต่อขยายจาก กม.8+900 ข้ามทางหลวงพิเศษหมายเลข 7 และคลองพระองค์เจ้าไชยานุชิต ไปเชื่อมกับทางหลวงชนบทสาย ฉช.3001 (ถนนหลวงแพ่ง หรือ ถนนเทพราช-ลาดกระบัง) โดยมีเขตทางกว้างประมาณ 30 เมตร จำนวน 4 ช่องจราจร 2 ทิศทาง มีเกาะกลางแบ่งแยกทิศทางการจราจร ซึ่งเมื่อก่อสร้างแล้วเสร็จจะช่วยเพิ่มความสะดวกสบายและความปลอดภัยในการเดินทาง ลดอุบัติเหตุทางด้านการจราจร รวมถึงลดเวลา ค่าใช้จ่ายในการเดินทางและการขนส่งสินค้าให้น้อยลงด้วย นอกจากนี้กรมยังมีแผนที่จะปรับปรุงถนนช่วงระหว่าง กม.5+000 ถึง กม.8+900 ซึ่งมีปัญหาสภาพดินอ่อนใต้คันทางในบางบริเวณ ให้มีความมั่นคงแข็งแรงมากขึ้นเพื่อเพิ่มอายุการใช้งานของถนนและสร้างความปลอดภัยของผู้ใช้รถใช้ถนน
ทางหลวงชนบทเผย ก.ค.เริ่มก่อสร้างอุโมงค์ ราชพฤกษ์-นครอินทร์ได้ ช่วยลดปัญหาจราจรติดขัด ก่อสร้าง 3 ปี พร้อมเตรียมต่อขยายโครงข่ายทาง รองรับการใช้งานสนามบินสุวรรณภูมิ
นายวิชาญ คุณากูลสวัสดิ์ อธิบดีกรมทางหลวงชนบท (ทช.) เปิดเผยว่า ขณะนี้ทช.อยู่ระหว่างการประกวดราคาคัดเลือกผู้รับเหมาก่อสร้างอุโมงค์ลอดบริเวณวงเวียนถนนราชพฤกษ์-ถนนนครอินทร์ และทางคู่ขนานถนนราชพฤกษ์ ช่วง กม.15+660 ถึง 17+800 สะพานคู่ขนานข้ามคลองบางกอกน้อย จังหวัดนนทบุรี ซึ่งคาดว่าจะลงนามสัญญาและเริ่มงานก่อสร้างได้ในเดือนก.ค. 2552 โดยใช้เวลาในการก่อสร้าง 3 ปี
ทั้งนี้โครงการดังกล่าวจะแก้ปัญหาจราจรบริเวณ วงเวียนจุดตัดถนนราชพฤกษ์-ถนนนครอินทร์โดยเฉพาะในชั่วโมงเร่งด่วน ซึ่งมักจะเกิดอุบัติเหตุในบริเวณดังกล่าวค่อนข้างบ่อย ซึ่งโครงการจะทำให้ขีดความสามารถในการรองรับการจราจรเพิ่มมากขึ้น และปรับปรุงประสิทธิภาพ ถนนราชพฤกษ์-ถนนนครอินทร์ ให้สมบูรณ์ยิ่งขึ้น โดยรูปแบบจะเป็นการก่อสร้างอุโมงค์ขนาด 6 ช่องจราจร ความยาวประมาณ 650 เมตร บนถนนราชพฤกษ์ลอดใต้วงเวียนจุดตัดถนนราชพฤกษ์-ถนนนครอินทร์ เมื่อก่อสร้างแล้วเสร็จ ในบริเวณทางแยกดังกล่าว จะมีลักษณะเป็นอุโมงค์ทางลอดในการเดินทางแนวเหนือ-ใต้ สะพานลอยข้ามแยกในการเดินทางแนวตะวันออก-ตะวันตกโดยวงเวียนยังคงสามารถใช้งานได้สำหรับรถที่จะเลี้ยวซ้ายและขวาในการเดินทาง
นอกจากนี้ ทช.ยังได้มอบหมายให้สำนักก่อสร้างทาง เร่งดำเนินการศึกษาออกแบบส่วนต่อขยายถนนสายแยก ทล.34 (กม.ที่ 26) เชื่อมกับทางหลวงชนบทสาย ฉช. 3001 พร้อมทางต่างระดับ เพื่อรองรับปริมาณการจราจรบริเวณโดยรอบสนามบินสุวรรณภูมิ และรองรับการเจริญเติบโตในพื้นที่ และพัฒนาโครงข่ายการคมนาคมให้สมบูรณ์มากขึ้น ตามนโยบายของนายประจักษ์ แกล้วกล้าหาญรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม
อย่างไรก็ตามการต่อขยายถนนสายแยกทางหลวงหมายเลข 34 (กม.ที่ 26) ถึงทางหลวงพิเศษหมายเลข 7 โดยต่อขยายจาก กม.8+900 ข้ามทางหลวงพิเศษหมายเลข 7 และคลองพระองค์เจ้าไชยานุชิต ไปเชื่อมกับทางหลวงชนบทสาย ฉช.3001 (ถนนหลวงแพ่ง หรือ ถนนเทพราช-ลาดกระบัง) โดยมีเขตทางกว้างประมาณ 30 เมตร จำนวน 4 ช่องจราจร 2 ทิศทาง มีเกาะกลางแบ่งแยกทิศทางการจราจร ซึ่งเมื่อก่อสร้างแล้วเสร็จจะช่วยเพิ่มความสะดวกสบายและความปลอดภัยในการเดินทาง ลดอุบัติเหตุทางด้านการจราจร รวมถึงลดเวลา ค่าใช้จ่ายในการเดินทางและการขนส่งสินค้าให้น้อยลงด้วย นอกจากนี้กรมยังมีแผนที่จะปรับปรุงถนนช่วงระหว่าง กม.5+000 ถึง กม.8+900 ซึ่งมีปัญหาสภาพดินอ่อนใต้คันทางในบางบริเวณ ให้มีความมั่นคงแข็งแรงมากขึ้นเพื่อเพิ่มอายุการใช้งานของถนนและสร้างความปลอดภัยของผู้ใช้รถใช้ถนน
โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์
http://mybuilt.blogspot.com
http://mybuilt.blogspot.com
09-06-08 รถไฟฟ้าสายสีม่วง สัญญา 1 ฉลุย
รถไฟฟ้าสายสีม่วง สัญญา 1 ฉลุย ผู้ว่าฯ รฟม.คนใหม่ เริ่มงาน 1 ก.ค.นี้
บอร์ด รฟม.เห็นชอบผลเจรจาลดค่าก่อสร้างรถไฟฟ้าสายสีม่วง บางใหญ่-บางซื่อ สัญญาที่ 1 เหลือ 14,842 ล้านบาท เปิดซองราคาสัญญาที่ 2 มิ.ย.นี้ “บิ๊กทางหลวง” การันตีคุณภาพคับแก้ว พร้อมเห็นชอบค่าตอบแทน “ชูเกียรติ โพธยานุวัตร์” ผู้ว่าการ รฟม.คนใหม่ เดือนละ 3.4 แสนบาท คาดเริ่มงานได้ 1 ก.ค.นี้
มีรายงานข่าวว่า คณะกรรมการ (บอร์ด) การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) เห็นชอบผลการเจรจากับกลุ่ม CKTC Joint Venture ที่ได้มีการต่อรองราคาค่าก่อสร้างรถไฟฟ้าสายสีม่วงสัญญา 1 ครั้งล่าสุดลงมาเหลือ 14,842 ล้านบาท และคาดว่า จะมีการเปิดซองราคาสัญญา 2 ในช่วงปลายเดือนมิถุนายน 2552 นี้
นายสุพจน์ ทรัพย์ล้อม อธิบดีกรมทางหลวง ในฐานะประธานคณะกรรมการ รฟม.เปิดเผยภายหลังการประชุม โดยระบุว่า ที่ประชุมคณะกรรมการ รฟม.เห็นชอบให้ลดราคาค่าก่อสร้างโครงการก่อสร้างรถไฟฟ้าสายสีม่วง สัญญาที่ 1 งานก่อสร้างทางยกระดับสายตะวันออก ช่วงจากเตาปูน-พระนั่งเกล้า ตามที่คณะอนุกรรมการพิจารณาราคาก่อสร้างสัญญาที่ 1 ได้ต่อรองกับกลุ่ม CKTC Joint Venture ประกอบด้วย บริษัท ช.การช่าง จำกัด (มหาชน) หรือ CK และบริษัท โตคิว คอนสตรัคชั่น จำกัด ซึ่งเป็นผู้ชนะการประมูลในโครงการดังกล่าว มาเจรจาเพื่อต่อรองลดค่าก่อสร้าง ซึ่งสรุปว่า กลุ่ม CKTC ยอมลดเหลือ 14,842 ล้านบาท จากเดิม 14,965 ล้านบาท โดยเป็นราคาค่าก่อสร้างที่แท้จริง 14,242 ล้านบาท และสำรอง 600 ล้านบาท ทั้งนี้ ยืนยันว่าการลดราคาค่าก่อสร้างคุณภาพงานก่อสร้างยังเหมือนเดิมโดยไม่มีการปรับลดปริมาณงานลง
“วงเงินที่ต่อรองได้ดังกล่าว แยกเป็นค่าก่อสร้าง หรืองานโยธา จำนวน 14,242 ล้านบาท และค่าเผื่อเหลือเผื่อขาด 600 ล้านบาท โดยส่วนค่าเผื่อเหลือเผื่อขาดจะจ่ายตามจริง ซึ่งจะจ่ายขั้นต่ำ 50 ล้านบาท ทั้งนี้จะมีการรายงานให้คณะรัฐมนตรี (ครม.) รับทราบต่อไป”
ก่อนหน้านี้ รฟม.ได้มีการเจรจาต่อรองค่าก่อสร้างรถไฟฟ้าสายสีม่วง สัญญาที่ 1 กับกลุ่ม CKTC Joint Venture ลงมาที่ 14,965 ล้านบาท ดังนั้น ผลการเจรจาต่อรองราคาครั้งล่าสุดจึงปรับลดลงมาประมาณ 123 ล้านบาท สำหรับขั้นตอนต่อไป รฟม.จะเสนอขอเงินกู้จากองค์การความร่วมมือระหว่างประเทศแห่งญี่ปุ่น (JICA) ก่อนเสนอ ครม.พิจาณาอนุมัติและเซ็นสัญญาก่อสร้างได้ทันที
นอกจากนี้ คณะกรรมการ รฟม.ยังเห็นชอบค่าตอบแทนของ นายชูเกียรติ โพธยานุวัตร์ รองผู้ว่าการ รฟม.ที่ได้รับการสรรหาเป็นผู้ว่าการ รฟม.คนใหม่ แทน นายประภัสร์ จงสงวน เป็นจำนวนเงิน 340,000 บาทต่อเดือน ซึ่งต่ำกว่าวงเงินว่าจ้าง นายประภัสร์ อดีตผู้ว่าการ รฟม. เนื่องจากในแผนการทำงานโดยเฉพาะโครงการก่อสร้างรถไฟฟ้านั้น ผู้ว่าการคนใหม่ไม่ต้องรับผิดชอบในการเจรจาต่อรองเรื่องสัญญาเงินกู้ จากนั้นจะเสนอสำนักงานคณะกรรมการรัฐวิสาหกิจ (สคร.) เห็นชอบ ก่อนเสนอต่อที่ประชุม ครม.อนุมัติ ซึ่งคาดว่า นายชูเกียรติ จะเริ่มปฏิบัติหน้าที่ได้ประมาณวันที่ 1 กรกฎาคม 2552 นี้ เป็นต้นไป
บอร์ด รฟม.เห็นชอบผลเจรจาลดค่าก่อสร้างรถไฟฟ้าสายสีม่วง บางใหญ่-บางซื่อ สัญญาที่ 1 เหลือ 14,842 ล้านบาท เปิดซองราคาสัญญาที่ 2 มิ.ย.นี้ “บิ๊กทางหลวง” การันตีคุณภาพคับแก้ว พร้อมเห็นชอบค่าตอบแทน “ชูเกียรติ โพธยานุวัตร์” ผู้ว่าการ รฟม.คนใหม่ เดือนละ 3.4 แสนบาท คาดเริ่มงานได้ 1 ก.ค.นี้
มีรายงานข่าวว่า คณะกรรมการ (บอร์ด) การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) เห็นชอบผลการเจรจากับกลุ่ม CKTC Joint Venture ที่ได้มีการต่อรองราคาค่าก่อสร้างรถไฟฟ้าสายสีม่วงสัญญา 1 ครั้งล่าสุดลงมาเหลือ 14,842 ล้านบาท และคาดว่า จะมีการเปิดซองราคาสัญญา 2 ในช่วงปลายเดือนมิถุนายน 2552 นี้
นายสุพจน์ ทรัพย์ล้อม อธิบดีกรมทางหลวง ในฐานะประธานคณะกรรมการ รฟม.เปิดเผยภายหลังการประชุม โดยระบุว่า ที่ประชุมคณะกรรมการ รฟม.เห็นชอบให้ลดราคาค่าก่อสร้างโครงการก่อสร้างรถไฟฟ้าสายสีม่วง สัญญาที่ 1 งานก่อสร้างทางยกระดับสายตะวันออก ช่วงจากเตาปูน-พระนั่งเกล้า ตามที่คณะอนุกรรมการพิจารณาราคาก่อสร้างสัญญาที่ 1 ได้ต่อรองกับกลุ่ม CKTC Joint Venture ประกอบด้วย บริษัท ช.การช่าง จำกัด (มหาชน) หรือ CK และบริษัท โตคิว คอนสตรัคชั่น จำกัด ซึ่งเป็นผู้ชนะการประมูลในโครงการดังกล่าว มาเจรจาเพื่อต่อรองลดค่าก่อสร้าง ซึ่งสรุปว่า กลุ่ม CKTC ยอมลดเหลือ 14,842 ล้านบาท จากเดิม 14,965 ล้านบาท โดยเป็นราคาค่าก่อสร้างที่แท้จริง 14,242 ล้านบาท และสำรอง 600 ล้านบาท ทั้งนี้ ยืนยันว่าการลดราคาค่าก่อสร้างคุณภาพงานก่อสร้างยังเหมือนเดิมโดยไม่มีการปรับลดปริมาณงานลง
“วงเงินที่ต่อรองได้ดังกล่าว แยกเป็นค่าก่อสร้าง หรืองานโยธา จำนวน 14,242 ล้านบาท และค่าเผื่อเหลือเผื่อขาด 600 ล้านบาท โดยส่วนค่าเผื่อเหลือเผื่อขาดจะจ่ายตามจริง ซึ่งจะจ่ายขั้นต่ำ 50 ล้านบาท ทั้งนี้จะมีการรายงานให้คณะรัฐมนตรี (ครม.) รับทราบต่อไป”
ก่อนหน้านี้ รฟม.ได้มีการเจรจาต่อรองค่าก่อสร้างรถไฟฟ้าสายสีม่วง สัญญาที่ 1 กับกลุ่ม CKTC Joint Venture ลงมาที่ 14,965 ล้านบาท ดังนั้น ผลการเจรจาต่อรองราคาครั้งล่าสุดจึงปรับลดลงมาประมาณ 123 ล้านบาท สำหรับขั้นตอนต่อไป รฟม.จะเสนอขอเงินกู้จากองค์การความร่วมมือระหว่างประเทศแห่งญี่ปุ่น (JICA) ก่อนเสนอ ครม.พิจาณาอนุมัติและเซ็นสัญญาก่อสร้างได้ทันที
นอกจากนี้ คณะกรรมการ รฟม.ยังเห็นชอบค่าตอบแทนของ นายชูเกียรติ โพธยานุวัตร์ รองผู้ว่าการ รฟม.ที่ได้รับการสรรหาเป็นผู้ว่าการ รฟม.คนใหม่ แทน นายประภัสร์ จงสงวน เป็นจำนวนเงิน 340,000 บาทต่อเดือน ซึ่งต่ำกว่าวงเงินว่าจ้าง นายประภัสร์ อดีตผู้ว่าการ รฟม. เนื่องจากในแผนการทำงานโดยเฉพาะโครงการก่อสร้างรถไฟฟ้านั้น ผู้ว่าการคนใหม่ไม่ต้องรับผิดชอบในการเจรจาต่อรองเรื่องสัญญาเงินกู้ จากนั้นจะเสนอสำนักงานคณะกรรมการรัฐวิสาหกิจ (สคร.) เห็นชอบ ก่อนเสนอต่อที่ประชุม ครม.อนุมัติ ซึ่งคาดว่า นายชูเกียรติ จะเริ่มปฏิบัติหน้าที่ได้ประมาณวันที่ 1 กรกฎาคม 2552 นี้ เป็นต้นไป
โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์
http://mybuilt.blogspot.com/
http://mybuilt.blogspot.com/
09-06-08 กทม.เดินหน้าถอนป้ายโฆษณาผิดกฎหมาย
กทม.เดินหน้าถอนป้ายโฆษณาผิดกฎหมาย
นายประกอบ จิรกิติ รองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร (กทม.) เปิดเผยถึงการแก้ปัญหาป้ายโฆษณาในพื้นที่ กทม. ว่า ขณะนี้ กทม.ได้กวดขันและตรวจสอบป้ายโฆษณาที่ก่อสร้างโดยไม่ได้รับอนุญาต หรือก่อสร้างผิดไปจากแบบที่ได้รับอนุญาต และดำเนินคดีกับผู้กระทำผิดทุกราย ส่วนป้ายผิดกฎหมายทั้งหมดอยู่ระหว่างรื้อถอนของสำนักงานเขต ทั้งนี้การแก้ไขปัญหาป้ายโฆษณาของ กทม. ได้เสนอให้ออกกฎกระทรวงเรื่องป้ายโดยเฉพาะ โดยเพิ่มแรงลมในการออกแบบโครงสร้างอาคารประเภทป้าย ซึ่งขณะนี้เรื่องอยู่ระหว่างการพิจารณาของกระทรวงมหาดไทย (มท.) ประกอบกับขณะนี้ได้มีกฎกระทรวง เรื่อง การตรวจสอบอาคาร ซึ่งป้ายเป็นอาคารประเภทหนึ่งที่เจ้าของป้ายจะต้องจัดให้มีการตรวจสอบด้านความมั่นคงแข็งแรง ทำให้อาคารประเภทป้ายต้องมีการตรวจสอบทุกปี นอกจากนั้นป้ายที่ฝ่าฝืนกฎหมาย กทม.ก็ได้มีการดำเนินคดีและออกคำสั่งต่างๆ ตามกฎหมายควบคุมอาคาร รวมทั้งคำสั่งห้ามใช้ป้าย ซึ่งการห้ามใช้ป้ายนั้นจะห้ามผู้ลงโฆษณาด้วย โดยหากยังฝ่าฝืนลงโฆษณาบนป้ายที่ผิดกฎหมาย ผู้ลงโฆษณาก็จะมีความผิดตามกฎหมายควบคุมอาคารด้วย ตามมาตรา 67 พ.ร.บ.ควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522 มีโทษจำคุกไม่เกินหกเดือน หรือปรับไม่เกินหนึ่งแสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ และผู้ฝ่าฝืนยังต้องโทษปรับอีกวันละไม่เกินสามหมื่นบาท ตลอดระยะเวลาที่ฝ่าฝืนหรือจนกว่าจะได้ปฏิบัติให้ถูกต้องต่อไป
ด้านนายทรงศักดิ์ นุชประยูร ผู้อำนวยการกองควบคุมอาคาร เปิดเผยว่า สำหรับข้อมูลป้ายที่สำนักงานเขตจะต้องดำเนินการรื้อถอนตั้งแต่วันที่ 27 พ.ค.ที่ผ่านมา มีจำนวน 272 ป้าย ในจำนวนนี้รื้อถอนแล้ว 154 ป้าย อยู่ระหว่างรื้อถอน 107 ป้าย ที่เหลือได้รับการยืนยันว่าสร้างก่อนปี 33 ซึ่งเป็นป้ายที่ไม่ต้องขออนุญาต ถือว่าถูกต้องตาม พ.ร.บ.ควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522 จำนวน 11 ป้าย นอกจากนั้นจากการรายงานของสำนักงานเขตทั้ง 50 เขต มีจำนวนป้ายโฆษณาในพื้นที่ทั้งหมด 1,032 ป้าย ในจำนวนนี้ถูกต้องตามกฎหมาย 836 ป้าย ก่อสร้างผิดแบบที่ขออนุญาต 36 ป้าย และก่อสร้างโดยไม่ได้รับอนุญาต 160 ป้าย
from เนชั่นทันข่าว8 มิย. 2552 19:15 น.
09-03-22 รองผู้ว่าฯ ปากน้ำตรวจอาคารถล่ม
รองผู้ว่าฯ ปากน้ำตรวจอาคารถล่ม ประสาน ปภ.เขต 8 รื้อซากปรักหักพัง
จากกรณีเหตุอาคารถล่มทับบ้านพักคนงาน กระทั่งมีผู้ได้รับบาดเจ็บ จำนวน 18 คน เป็นเด็ก 5 คน เหตุเกิดภายใน ซ.ศรีบุญเรือง ถ.เทพารักษ์ ต.สำโรงเหนือ อ.เมือง จ.สมุทรปราการ
นายสุรชัย ขันอาสา รองผู้ว่าราชการจังหวัดสมุทรปราการ เปิดเผยภายหลังเดินทางมาดูที่เกิดเหตุว่า ได้กำชับให้เทศบาล ต.สำโรงเหนือ เจ้าของพื้นที่ตรวจสอบว่า อาคารดังกล่าวขออนุญาตถูกต้องหรือไม่ พร้อมกับกันพื้นที่ ประกาศเป็นเขตภัยพิบัติ คนที่ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องห้ามเข้าพื้นที่ ทั้งนี้ ยังได้ประสานกับป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย เขต 8 จ.ปราจีนบุรี นำเครื่องจักรกลหนักมาทำการรื้อซากปรักหักพัง และอาคาร เนื่องจากเห็นว่าไม่ปลอดภัย เพราะบางส่วนของอาคารอาจถล่มเพิ่ม
จากกรณีเหตุอาคารถล่มทับบ้านพักคนงาน กระทั่งมีผู้ได้รับบาดเจ็บ จำนวน 18 คน เป็นเด็ก 5 คน เหตุเกิดภายใน ซ.ศรีบุญเรือง ถ.เทพารักษ์ ต.สำโรงเหนือ อ.เมือง จ.สมุทรปราการ
นายสุรชัย ขันอาสา รองผู้ว่าราชการจังหวัดสมุทรปราการ เปิดเผยภายหลังเดินทางมาดูที่เกิดเหตุว่า ได้กำชับให้เทศบาล ต.สำโรงเหนือ เจ้าของพื้นที่ตรวจสอบว่า อาคารดังกล่าวขออนุญาตถูกต้องหรือไม่ พร้อมกับกันพื้นที่ ประกาศเป็นเขตภัยพิบัติ คนที่ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องห้ามเข้าพื้นที่ ทั้งนี้ ยังได้ประสานกับป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย เขต 8 จ.ปราจีนบุรี นำเครื่องจักรกลหนักมาทำการรื้อซากปรักหักพัง และอาคาร เนื่องจากเห็นว่าไม่ปลอดภัย เพราะบางส่วนของอาคารอาจถล่มเพิ่ม
โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์22 มีนาคม 2552 15:38 น.
http://mybuilt.blogspot.com
http://mybuilt.blogspot.com
ระทึก!บ่อบำบัดน้ำเสียหน้าห้างบิ๊กซีลาดพร้าวบึม!
ระทึก!บ่อบำบัดน้ำเสียหน้าห้างบิ๊กซีลาดพร้าวบึม! แม่ค้าเจ็บ 4 ราย คาดเกิดจากแก็สมีเทนระเบิด ด้านเขตวังทองหลางเตรียมถกผู้รับผิดชอบหามาตรการแก้ไข ตำรวจเร่งหาตัวเจ้าของพื้นที่มาดำเนินการต่อไป เมื่อเวลา 20.00 น.วันนี้ 11 มิ.ย.ร.ต.ท.สถาพร สุขสว่าง ร้อยเวร สน.โชคชัย รับแจ้งเหตุระเบิดบริเวณลาดจอดรถหน้าห้างบิ๊กซี สาขาลาดพร้าว แขวงและเขตลาดพร้าว กทม.จึงประสานเจ้าหน้าที่สำนักงานเขตวังทองหลาง เดินทางไปตรวจสอบที่เกิดเหตุเป็นลานกว้างประมาณ 30 เมตรหน้าห้างบิ๊กซีที่ให้ผู้ค้าเช่าแผงขายสินค้าต่างๆ ตั้งแต่เวลา 18.00 น.จนถึงเวลา 23.00 น.โดยเบื้องต้นพบว่าบริเวณพื้นผิวของลานจอดรถดังกล่าวมีแผงกั้นท่อระบายน้ำเสีย ส่วนบริเวณด้านล่างเป็นบ่อบำบัดน้ำเสียของห้างบิ๊กซี โดยแรงระเบิดทำให้พื้นบริเวณลานจอดรถดังกล่าวได้รับความเสียหาย รอยแยกยาวประมาณ 10 เมตรและยกตัวดันฝาท่อระบายน้ำสูงขึ้นประมาณ 1เมตร และส่งกลิ่นเหม็นเน่าคละคลุ้ง คล้ายสิ่งปฏิกูล นอกจากนี้ยังทำให้มีผู้บาดเจ็บเป็นรอยถลอก ที่บริเวณ ศีรษะ แขนและลำตัว จำนวน 4 ราย ซึ่งได้นำตัวส่งโรงพยาบาลเปาโลสยาม ซอยโชคชัย 4 ทราบชื่อคึอน.ส.สุวรรณา อนุศักดิ์ชน อายุ 24ปี น.ส.เกศดา ยินดี อายุ 20 ปี นางนิดา สร้อยจำปา อายุ 54 ปี น.ส.ศรัณยา แห้วไธสง อายุ19 ปี ทั้งหมดเป็นแม่ค้าขายสินค้าบริเวณหน้าห้างฯ ต่อมาเจ้าหน้าที่ตำรวจได้นำเชือกมากั้นบริเวณที่เกิดเหตุ และให้พ่อค้าแม่ค้าที่เช่าแผงบริเวณดังกล่าวนำสินค้าออกจากที่เกิดเหตุเพื่อความปลอดภัย ส่วนพื้นที่บริเวณหน้าห้างบิ๊กซีที่ไม่ได้รับความเสียหายยังสามารถขายสินค้าได้ ร.ต.ท.สถาพร กล่าวว่า เหตุระเบิดดังกล่าวเกิดขึ้นเอง ไม่ได้เป็นเหตุลอบวางระเบิดแต่อย่างใด เนื่องจากบริเวณด้านล่างเป็นบ่อบำบัดน้ำเสียของห้างฯ ทำให้มีผู้บาดเจ็บเล็กน้อย 4 ราย ซึ่งเจ้าหน้าที่ได้นำตัวส่งโรงพยาบาลเรียบร้อยแล้ว แต่ขณะนี้ยังไม่มีผู้บริหารของห้างดังกล่าวติดต่อมา เบื้องต้นสอบถามเจ้าหน้าที่ดูแลบริเวณห้างฯต่าง ปฏิเสธว่าพื้นที่บริเวณดังกล่าวอยู่นอกตัวอาคาร ไม่ใช่พื้นทื่ของห้างบิ๊กซี ซึ่งได้เช่าพื้นที่ของห้างอิมพีเรียล สาขาลาดพร้าว อย่างไรก็ตามหลังจากนี้จะสอบปากคำผู้เสียหายและตรวจสอบพื้นที่ดังกล่าวว่าอยู่ในความรับผิดชอบของเอกชนรายใด นายสมชาย พิสิทสวัสดี หัวหน้าฝ่ายสิ่งแวดล้อมและสุขาภิบาล กล่าวว่า เบื้องต้นน่าจะเกิดจากแก๊สมีเทน ที่เกิดจากการหมักหมมของสิ่งปฏิกูล ซึ่งพบต้นทราบว่าบวิเวณด้านล่างเป็นบ่อพักน้ำเสีย จึงเป็นไปได้ว่าอาจจะเกิดจากประกายไฟ อย่างใดอย่างหนึ่ง จนทำให้เกิดแรงระเบิดขึ้น เช่นอาจจะมีคนโยนก้นบุหรี่ลงไปในท่อพักน้ำเสีย เนื่องจากสอบถามเจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัยที่เห็นเหตุการณ์ ทราบว่าได้ยินเสียงดังคล้ายระเบิด 2ครั้ง มีควันและเห็นมีประกายไฟเกิดขึ้นเช่นกัน ขณะที่นายกรพัส หาญกิจ ผู้ช่วยผู้อำนวยการเขตวังทองหลาง กล่าวว่า หลังจากนี้จะประสานผู้บริหารของห้างฯ เพื่อดูแลรับผิดชอบด้านความปลอดภัยต่อไป โดยอาจจะมีคำสังของสำนักงานเขตวังทองหลางให้ทางห้างฯ ดูแลเรื่องหลักการสุขาภิบาล การจัดการบ่อบำบัดน้ำเสียให้มีมาตรฐานมากขึ้น ส่วนสำนวนการสอบสวนคงเป็นหน้าที่ของพนักงานสอบสวนสน.โชคชัยจะดำเนินการต่อไปที่มา ASTV ผู้จัดการออนไลน์
http://mybuilt.blogspot.com
คมชัดลึก :ปูนพังถล่มนั่งร้านก่อสร้างทับ 3 คนงานเสียชีวิต
คมชัดลึก :ปูนพังถล่มนั่งร้านก่อสร้างทับ 3 คนงานเสียชีวิตคาที่ เจ็บอีก 4 ขณะกำลังก่อสร้างโรงภาพยนตร์เอสพลานาด ซีนีเพล็กซ์ รัตนาธิเบศร์ ตอนนี้สามารถนำศพออกมาได้ 2 ราย อีก 1 รายยังติดอยู่ ด้านผู้ว่าฯเมืองนนท์และผู้การยันจะตรวจสอบถึงสาเหตุของการเร่งเทปูน เตรียมเรียกวิศวกรผู้คุมงาน โฟร์แมน สอบ ด้านวิศวกรชี้อาจเกิดจากนั่งร้านชำรุดรับน้ำหนักไม่ไหว
15 มิถุนายน 2552
ปูนพังถล่มนั่งร้านก่อสร้างทับ 3 คนงานเสียชีวิตคาที่ เจ็บอีก 4
คมชัดลึก : เมื่อเวลา 04.40 น.วันที่ 13 พ.ค. พ.ต.ท.เฉลิมยศ หอมสกล สารวัตรเวรสอบสวน สภ.เมืองนนทบุรี สาขาย่อยรัตนาธิเบศร์ รับแจ้งเหตุมีนั่งร้านปูนถล่มทับคนงานได้รับบาดเจ็บจำนวนมาก และมีผู้ถูกปูนทับติดอยู่ที่ชั่นล่างของอาคารก่อสร้างด้วย โดยที่เกิดเหตุเป็นสถานที่ก่อสร้างโรงภาพยนตร์เอสพลานาด ซีนีเพล็กซ์ รัตนาธิเบศร์ ซึ่งตั้งอยู่แยกแคราย หมู่ 8 ต.บางกระสอ อ.เมือง จ.นนทบุรี หลังรับแจ้งจึงเดินทางไปตรวจสอบยังที่เกิดเหตุ พร้อมด้วยหน่วยกู้ชีพโรงพยาบาลพระนั่งเกล้า เจ้าหน้าที่มูลนิธิปอเต็กตึ้ง ที่เกิดเหตุทางเจ้าหน้าที่ได้ช่วยเหลือผู้บาดเจ็บออกมาได้ 4 คน และนำส่งโรงพยาบาลพระนั่งเกล้าเป็นการด่วน ในเบื้องต้นทราบชื่อคือ นายอาหื่อ มาเยอะ และนายอาบื่อ เยสอกู่ ซึ่งเป็นชาวไทยใหญ่ ได้รับบาดเจ็บสาหัส และอาทู ไม่ทราบนามสกุล กับนายโชคชัย นุสนธิ ได้รับบาดเจ็บเล็กน้อยที่แขนขวาและแผลถลอกตามลำตัว ส่วนคนงานก่อสร้างที่โชคร้ายถูกนั่งร้านและปูนถล่มทับร่าง 3 คน ทราบชื่อนายอาจ่าง อาซอ อายุ 27 ปี อยู่เลขที่ 163 หมู่ 6 ต.แม่คะ อ.ฝาง จ.เชียงใหม่ นายคำแสง ยาราช อายุ 50 ปี อยู่บ้านเลขที่ 31 หมู่ 16 ต.ห้วยข่า อ.บุณฑริก จ.อุบลราชธานี และนายเสถียร เกตุบุตร เกตุบุตร อายุ 22 ปี อยู่บ้านเลขที่ 33 หมู่ 2 ต.อุทัยสวรรค์ อ.นากลาง จ.หนองบัวลำภู โดยตอนเกิดเหตุระหว่างที่เจ้าหน้าที่กำลังระดมกำลังเข้าไปช่วยเหลือคนงานเคราะห์ร้าย 3 คนที่ติดอยู่ในซากนั่งร้านและถูกปูนซีเมนต์ทับนั้น เจ้าหน้าที่ยังได้ยินเสียงร้องขอความช่วยเหลือดังมาจากคนงานทั้ง 3 อยู่ แต่ระหว่างที่เจ้าหน้าที่รอรถดับเพลิงจากเทศบาลมาทำการฉีดน้ำ เพื่อไล่ปูนที่ถล่มทับ เสียงรอขอความช่วยเหลือก็ขาดหายไป ซึ่งทางเจ้าหน้าที่ยังไม่กล้าเข้าไปช่วยเหลือในทันที เนื่องจากเกรงว่านั่งร้านจะถล่มซ้ำลงมาอีก ซึ่งต้องรอทางเจ้าหน้าที่วิศวกรฝ่ายโยธาของเทศบาลนครนนทบุรี มาประเมินสถานการณ์ในที่เกิดเหตุ ก่อนจะเข้าให้ความช่วยเหลือได้ เมื่อปูนซีเมนต์ที่ถล่มมาทับคนงานได้แห้งตัวอย่างเร็ว ทำให้การช่วยเหลือคนงานที่เคราะห์ร้ายเป็นไปด้วยความยากลำบาก จนในที่สุดปูนที่ทับเริ่มแห้ง และแข็งตัวฝังทั้งเป็นคนงานทั้ง 3 คน แม้ว่าทางเจ้าหน้าที่ดับเพลิงจะพยายามฉีดน้ำเลี้ยงไว้ไม่ให้ปูนแข็งตัวก็ตามนั่งร้านถล่มคนงานดับ 3 ศพ
อย่างไรก็ตามหลังจากที่เจ้าหน้าที่มูลนิธิได้ใช้เครื่องมือขุดเจาะทำการเจาะปูนที่ฝังร่างคนงานที่ถูกปูนนั่งร้านถล่มทับจนเสียชีวิต ซึ่งสามารถนำศพผู้เสียชีวิตรายแรกที่พบออกมาได้คือนายอาจ่างสภาพศพถูกปูนทับและมีบาดแผลถลอกทั้งตัว และสามารถขุดเจาะนำศพผู้เคราะห์ร้ายรายที่สองออกมาได้คือ นายเสถียร สภาพศพถูกทับด้วยปูนทั้งตัวเช่นกัน ศรีษะด้านหลังแตกเป็นแผลฉกรรจ์ ขาขวาหัก มีรอยถลอกตามลำตัวหลายแห่ง ส่วนผู้เสียชีวิต
ส่วนรายที่ 3 คือนายคำแสง ทางเจ้าหน้าที่มูลนิธิยังไม่สามารถค้นหาศพพบ เนื่องจากปูนซีเมนต์และนั่งร้านที่ลงทับนั้น น่าจะทับฝังผู้ตายจนมิดไม่เห็นร่าง และปูนซีเมนต์เริ่มแห้งจับเป็นตัวแข็ง ทำให้ทางเจ้าหน้าที่มูลนิธิต้องทำการรื้อถอนนั่งร้านบริเวณโดมซึ่งมีจำนวนมาก ออกเสียก่อน จึงจะสามารถทำการกะเทาะปูนที่พื้นล่างเพื่อค้นหาศพนายคำแสงได้
ด้านนางวิเชียร ยาราช ภรรยานายคำแสง คนงานที่ถูกปูนนั่งร้านทับ และยังค้นหาศพไม่พบ ได้เดินทางมาเฝ้าดูการช่วยเหลือหาร่างของสามี กล่าวว่า คิดว่าขณะนี้สามีตนเองคงไม่น่าจะรอดชีวิต จากเหตุการณ์ดังกล่าวแล้ว แต่อยากให้ทางเจ้าหน้าที่ช่วยเหลือนำร่างของสามีออกมาให้ได้ เหมือนเพื่อนคนงานอีก 2 คน ซึ่งจะได้นำศพเขาไปทำพิธีให้ถูกต้อง เรื่องความช่วยเหลือนั้นคงต้องรอให้ทางบริษัทเป็นผู้เสนอมา ตนเองคงไม่รู้ว่าทางบริษัทจะให้ความช่วยเหลืออะไรบ้างในขณะนี้ นายเชิดวิทย์ ฤทธิประศาสน์ ผู้ว่าราชการจังหวัดนนทบุรี พ.ต.อ.สุพจน์ เกษมชัยอนันต์ รอง ผบก.ภ.จว.นนทบุรี พ.ต.อ.ณรงค์ฤทธิ์ ภักดีณรงค์ ผกก.สภ.เมืองนนทบุรี ได้เดินทางมาตรวจสอบที่เกิดเหตุ นายเชิดวิทย์ กล่าวว่า จะต้องดำเนินการตรวจสอบหาสาเหตุในครั้งนี้ ว่ามาจากสาเหตุใดระหว่างการรีบเร่งเทปูนก่อสร้าง หรือจะเกิดจากการที่ระหว่างก่อสร้างมีฝนตกพร่ำๆ มาตลอดทั้งคืน จนทำให้ปูนเกิดมีน้ำหนักมากขึ้น จนนั่งร้านไม่สามารถรับน้ำหนักได้ เป็นเหตุให้นั่งร้านเกิดถล่มลงมาทับคนงานเสียชีวิต อย่างไรก็ตามระหว่างนี้จะห้ามทางโครงการดำเนินการก่อสร้างใด ๆ ทั้งสิ้น เนื่องจากต้องรอให้ทางเจ้าหน้าที่วิศวกรโยธา และเทศบาลนครนนทบุรี เข้ามาตรวจสอบโครงสร้างและจุดที่เกิดเหตุเสียก่อนว่ามีความปลอดภัยมากน้อยแค่ไหน จึงจะอนุญาตให้ดำเนินการต่อไป
พ.ต.ท.เฉลิมยศ หอมสกล สารวัตรสอบสวน กล่าวว่า จะเรียกวิศวกรผู้คุมงาน โฟร์แมน หัวหน้าคนงาน บ.โฟคัส ดีวีล็อปเม้นท์ แอนด์คอนสตรัคชั่นจำกัด ซึ่งเป็นผู้รับเหมาก่อสร้างของโครงการนี้มาทำการสอบสวนว่าสาเหตุเกิดจากอะไร ถ้าเกิดจากการประมาทของผู้รับเหมา ทางเจ้าหน้าที่จะได้ข้อหากระทำการโดยประมาทจนเป็นเหตุทำให้มีผู้เสียชีวิตและได้รับบาดเจ็บ นอกจากนี้ยังต้องรอผลการตรวจสอบหาสาเหตุจากทางวิศวกรโยธาของเทศบาลนครนนทบุรีเพื่อนำมาสรุปในการดำเนินคดีต่อไป
สำหรับการช่วยเหลือคนงานก่อสร้างที่เคราะห์ร้ายทั้ง 3 คน ที่ถูกซากนั่งร้านและปูนถล่มทับนั้น ต่อมานายคม แสงบำรุง ผู้อำนวยการฝ่ายควบคุมอาคารเทศบาลนครนนทบุรีและวิศวกร ได้เดินทางมาตรวจสอบที่เกิดเหตุและประเมินว่า โครงสร้างนั่งร้านยังแข็งแรงอยู่ ซึ่งให้ทางเจ้าหน้าที่ดับเพลิงและเจ้าหน้าที่มูลนิธิ นำเครื่องมือเจาะปูนเข้าไปทำการช่วยเหลือนำศพผู้เสียชีวิตออกมาได้ โดยทางเจ้าหน้าที่ใช้เวลาเกือบหนึ่งชั่วโมงจึงสามารถเจาะปูนที่แข็งตัวนำศพของนายอาจ่าง อาซอ ชาวไทยใหญ่ ออกมาจากซากปูนได้สำเร็จ
จากนั้นจึงใช้เวลาอีกชั่วโมงกว่านำร่างของคนงานที่เคราะห์ร้ายออกมาได้อีกคน แต่ยังไม่ทราบชื่อว่าผู้ตายเป็นใดระหว่างนายคำแสงกับนายเสถียร เนื่องจากไม่พบหลักฐานใด ๆ ในตัว ส่วนผู้เสียชีวิตรายที่สามนั้น ทางเจ้าหน้าที่ยังไม่พบว่าร่างถูกฝังอยู่ตรงจุดไหนใต้ซากนั่งร้าน ซึ่งกำลังอยู่ในระหว่างการค้นหา
ด้านนิพล จันทร์คำ หัวหน้าคนงานก่อสร้างที่รอดชีวิตจากปูนถล่มทับนั่งร้าน กล่าวว่า ระหว่างที่คุมคนงานก่อสร้างเข้าทำงานตั้งแต่ช่วงเวลาตี 2 โดยมีคนงานทั้งหมดประมาณ 30 กว่าคน ตนเองคุมคนงานทำการปาดปูนอยู่ที่ชั้น 4 ของอาคาร ซึ่งในวันนี้จะต้องเทปูนก่อสร้างทั้งหมดประมาณ 500 คิว ตนเองกับคนงานประมาณ 8 คน ได้ขึ้นไปทำงานปาดปูนจากท่อส่งอยู่ที่ชั้น 4 ซึ่งระหว่างที่ทำงานนั้นก็มีฝนตกพร่ำมาตลอดทั้งคืน
จนกระทั่งเมื่อถึงเวลาประมาณตี 4 ครึ่ง นั่งร้านที่ตนเองกับคนงานอีก 8 คนทำงานอยู่ ก็เกิดยุบตัวถล่มลงมาอย่างไม่ทันตั้งตัว เป็นเหตุให้คนงานทั้งหมดร่วงลงไปอยู่ที่ชั้นล่าง แต่ตนเองโชคดีที่สามารถเกาะนั่งร้านได้ทัน จึงไม่หล่นลงไปที่ชั้นล่างด้วย ทำให้รอดตายมาอย่างหวุดหวิด ซึ่งหลังเกิดเหตุแล้ว ตนเองได้พยายามช่วยเหลือเพื่อนคนงานที่ได้รับบาดเจ็บ แต่สามารถช่วยเหลือเพื่อนคนงานที่ไม่ถูกปูนทับได้เพียง 4 คนเท่านั้น ส่วนอีก 3 คน ไม่สามารถช่วยเหลือได้ทันเพราะถูกซากนั่งร้านและปูนทับจนไม่เห็นร่าง
ด้านนายธงชัย จิ๋วราษฎร์อำนวย วิศวกรโครงการคุมงานก่อสร้าง กล่าวว่า ในการก่อสร้างแต่ละขั้นตอนนั้นจะมีวิศวกรสนามคอยควบคุมงานตลอดเวลา สาเหตุที่นั่งร้านพังถล่มลงมานั้น น่าจะเกิดมาจากนั่งร้านบางจุดเกิดชำรุดขึ้น จึงไม่สามารถรับน้ำหนักปูนที่เทไปไหว จึงเกิดถล่มลงมา ส่วนนั่งร้านที่ทางบริษัทนำมาใช้ในการก่อสร้างก็เป็นนั่งร้านที่มีมาตรฐานและใช้ก่อสร้างมาแล้วหลายอาคาร อย่างไรก็ตามทางบริษัทยินดีที่จะรับผิดชอบความเสียหายที่เกิดขึ้นทั้งหมดให้กับคนงานที่ได้รับบาดเจ็บและเสียชีวิต
สำหรับโครงการก่อสร้างดังกล่าว เป็นของบริษัทเมเจอร์ ซีนีเพล็กซ์ ซึ่งก่อสร้างเป็นโรงภาพยนตร์เอสพลานาด ซีนีเพล็กซ์ บนพื้นที่ประมาณ 50,000-60,000 ตารางเมตร โดยตัวอาคารก่อสร้างเป็นตึกสูง 7 ชั้น ซึ่งจะแบ่งเป็นส่วนเป็นช้อปปิ้งเซ็นเตอร์ โบวลิ่ง คาราโอเกะ และไอซ์สเกต โดยดำเนินการก่อสร้างมาตั้งแต่วันที่ 1 ธันวาคม 2551 ตามสัญญาจะต้องแล้วเสร็จวันที่ 20 กันยายน 2552 จึงทำให้ทางบริษัทโพคัส ดีวอลลอปเม้ทน์แอนด์คอนสตรัคชั่นจำกัด มหาชน ซึ่งเป็นผู้รับเหมาโครงการเร่งทำการก่อสร้างเทปูนเพื่อก่อสร้างให้เสร็จตามสัญญา
โดยในระหว่างที่เกิดเหตุนั้นทางบริษัทผู้รับเหมาได้เร่งเทปูน 500 คิว ก่อสร้างตัวอาคารภายในช่วงโดมที่ยื่นออกมาจากอาคาร ปรากฏว่านั่งร้านที่บริเวณชั้น 4 ของอาคารรับน้ำหนักปูนที่เทไม่ไหว จึงเป็นเหตุทำให้นั่งร้านร่วงถล่มลงมายังชั้นล่าง มีคนงานก่อสร้างได้รับบาดเจ็บ 4 คนและเสียชีวิต 3 คน
ก.แรงงานเล็งเอาผิดนายจ้างปล่อยห้างร้างทับคนงาน
ที่กระทรวงแรงงาน นาง อัมพร นิติสิริ อธิบดีกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน (กสร.) กล่าวภายหลังเดินทางไปตรวจสอบเหตุการณ์นั่งร้านก่อสร้างโรงภาพยนต์ ภายในห้างสรรพสินค้าบริษัท เอกชัย ดิสทีบิวชั่น ซิสเทม จำกัด สาขารัตนาธิเบศร์ พังถล่ม เมื่อช่วงเช้าวันที่ 13 พ.ค.ที่ผ่านมา ทำให้คนงานได้รับบาดเจ็บ 4 คนและเสียชีวิต 3 คน ว่า จากการเดินทางไปตรวจสอบที่เกิดเหตุพบว่าสาเหตุที่นั่งร้านพังถล่มลงมาทับคนงาน มาจากส่วนค้ำยันที่ทำไว้สำหรับเทพื้นคอนกรีต บริเวณชั้นที่ 3 ซึ่งสูงจากชั้นล่างประมาณ 12 เมตรพังลง ซึ่งล่าสุดเจ้าหน้าที่เจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงาน จาก กสร.กำลังอยู่ในระหว่างเข้าไปตรวจสอบ ว่านายจ้างหรือผู้รับเหมาได้ปฏิบัติตามกฎหมายคุ้มครองแรงงาน ว่าด้วยการกำหนดมาตรฐานความปลอดภัยในการทำงาน เช่น จัดอุปกรณ์ที่มีมาตรฐาน มีเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยคอยดูแล หรือสอนให้ลูกจ้างปฏิบัติงานอย่างระมัดระวังแล้วหรือไม่ หากตรวจพบว่าไม่ปฏิบัติตาม ก็อาจถูกดำเนินคดีอาญา มีอัตราโทษสูงสุด ปรับไม่เกิน 2 แสนบาท หรือจำคุกไม่เกิน 1 ปี หรือทั้งจำทั้งปรับ
นางอัมพร กล่าวอีกว่า แต่หากปฏิบัติตามกฎหมายแล้ว แต่เกิดจากความประมาทของลูกจ้างเอง ก็อาจถูกลงโทษน้อยลงแค่เปรียบเทียบปรับเท่านั้น ดังนั้นจึงอยากขอเตือนให้เหตุการณ์ครั้งนี้เป็นอุทาหรณ์ ไม่ให้เกิดเหตุซ้ำอีก ส่วนการรักษาพยาบาล คนงานที่ได้รับบาดเจ็บและตายนั้นเป็นไปตามสิทธิประโยชน์ของกองทุนประกันสังคม และหากเป็นคนงานต่างด้าวที่จดทะเบียนถูกต้องก็สามารถเบิกจ่ายได้จากกองทุนทดแทนได้ อย่างไรก็ตามในระหว่างนี้เป็นช่วงมรสุมลมพัดแรงอาจทำให้ป้ายโฆษณาล้มจำนวนหนึ่ง ซึ่งหากอยู่ในโรงงานจะมีเจ้าหน้าที่ของ กสร.เข้าตรวจสอบ ซึ่งหากไม่ได้มาตรฐานนายจ้างเจ้าของโรงงานก็ต้องรับผิดชอบตามกฎหมาย ทั้งนี้ขอให้นายจ้าง ลูกจ้างช่วยกันตรวจสอบสภาพแวดล้อมความปลอดภัยจากการทำงานด้วย เพื่อเป็นการป้องกันอันตรายในชีวิตและทรัพย์สิน
http://mybuilt.blogspot.com
อย่างไรก็ตามหลังจากที่เจ้าหน้าที่มูลนิธิได้ใช้เครื่องมือขุดเจาะทำการเจาะปูนที่ฝังร่างคนงานที่ถูกปูนนั่งร้านถล่มทับจนเสียชีวิต ซึ่งสามารถนำศพผู้เสียชีวิตรายแรกที่พบออกมาได้คือนายอาจ่างสภาพศพถูกปูนทับและมีบาดแผลถลอกทั้งตัว และสามารถขุดเจาะนำศพผู้เคราะห์ร้ายรายที่สองออกมาได้คือ นายเสถียร สภาพศพถูกทับด้วยปูนทั้งตัวเช่นกัน ศรีษะด้านหลังแตกเป็นแผลฉกรรจ์ ขาขวาหัก มีรอยถลอกตามลำตัวหลายแห่ง ส่วนผู้เสียชีวิต
ส่วนรายที่ 3 คือนายคำแสง ทางเจ้าหน้าที่มูลนิธิยังไม่สามารถค้นหาศพพบ เนื่องจากปูนซีเมนต์และนั่งร้านที่ลงทับนั้น น่าจะทับฝังผู้ตายจนมิดไม่เห็นร่าง และปูนซีเมนต์เริ่มแห้งจับเป็นตัวแข็ง ทำให้ทางเจ้าหน้าที่มูลนิธิต้องทำการรื้อถอนนั่งร้านบริเวณโดมซึ่งมีจำนวนมาก ออกเสียก่อน จึงจะสามารถทำการกะเทาะปูนที่พื้นล่างเพื่อค้นหาศพนายคำแสงได้
ด้านนางวิเชียร ยาราช ภรรยานายคำแสง คนงานที่ถูกปูนนั่งร้านทับ และยังค้นหาศพไม่พบ ได้เดินทางมาเฝ้าดูการช่วยเหลือหาร่างของสามี กล่าวว่า คิดว่าขณะนี้สามีตนเองคงไม่น่าจะรอดชีวิต จากเหตุการณ์ดังกล่าวแล้ว แต่อยากให้ทางเจ้าหน้าที่ช่วยเหลือนำร่างของสามีออกมาให้ได้ เหมือนเพื่อนคนงานอีก 2 คน ซึ่งจะได้นำศพเขาไปทำพิธีให้ถูกต้อง เรื่องความช่วยเหลือนั้นคงต้องรอให้ทางบริษัทเป็นผู้เสนอมา ตนเองคงไม่รู้ว่าทางบริษัทจะให้ความช่วยเหลืออะไรบ้างในขณะนี้ นายเชิดวิทย์ ฤทธิประศาสน์ ผู้ว่าราชการจังหวัดนนทบุรี พ.ต.อ.สุพจน์ เกษมชัยอนันต์ รอง ผบก.ภ.จว.นนทบุรี พ.ต.อ.ณรงค์ฤทธิ์ ภักดีณรงค์ ผกก.สภ.เมืองนนทบุรี ได้เดินทางมาตรวจสอบที่เกิดเหตุ นายเชิดวิทย์ กล่าวว่า จะต้องดำเนินการตรวจสอบหาสาเหตุในครั้งนี้ ว่ามาจากสาเหตุใดระหว่างการรีบเร่งเทปูนก่อสร้าง หรือจะเกิดจากการที่ระหว่างก่อสร้างมีฝนตกพร่ำๆ มาตลอดทั้งคืน จนทำให้ปูนเกิดมีน้ำหนักมากขึ้น จนนั่งร้านไม่สามารถรับน้ำหนักได้ เป็นเหตุให้นั่งร้านเกิดถล่มลงมาทับคนงานเสียชีวิต อย่างไรก็ตามระหว่างนี้จะห้ามทางโครงการดำเนินการก่อสร้างใด ๆ ทั้งสิ้น เนื่องจากต้องรอให้ทางเจ้าหน้าที่วิศวกรโยธา และเทศบาลนครนนทบุรี เข้ามาตรวจสอบโครงสร้างและจุดที่เกิดเหตุเสียก่อนว่ามีความปลอดภัยมากน้อยแค่ไหน จึงจะอนุญาตให้ดำเนินการต่อไป
พ.ต.ท.เฉลิมยศ หอมสกล สารวัตรสอบสวน กล่าวว่า จะเรียกวิศวกรผู้คุมงาน โฟร์แมน หัวหน้าคนงาน บ.โฟคัส ดีวีล็อปเม้นท์ แอนด์คอนสตรัคชั่นจำกัด ซึ่งเป็นผู้รับเหมาก่อสร้างของโครงการนี้มาทำการสอบสวนว่าสาเหตุเกิดจากอะไร ถ้าเกิดจากการประมาทของผู้รับเหมา ทางเจ้าหน้าที่จะได้ข้อหากระทำการโดยประมาทจนเป็นเหตุทำให้มีผู้เสียชีวิตและได้รับบาดเจ็บ นอกจากนี้ยังต้องรอผลการตรวจสอบหาสาเหตุจากทางวิศวกรโยธาของเทศบาลนครนนทบุรีเพื่อนำมาสรุปในการดำเนินคดีต่อไป
สำหรับการช่วยเหลือคนงานก่อสร้างที่เคราะห์ร้ายทั้ง 3 คน ที่ถูกซากนั่งร้านและปูนถล่มทับนั้น ต่อมานายคม แสงบำรุง ผู้อำนวยการฝ่ายควบคุมอาคารเทศบาลนครนนทบุรีและวิศวกร ได้เดินทางมาตรวจสอบที่เกิดเหตุและประเมินว่า โครงสร้างนั่งร้านยังแข็งแรงอยู่ ซึ่งให้ทางเจ้าหน้าที่ดับเพลิงและเจ้าหน้าที่มูลนิธิ นำเครื่องมือเจาะปูนเข้าไปทำการช่วยเหลือนำศพผู้เสียชีวิตออกมาได้ โดยทางเจ้าหน้าที่ใช้เวลาเกือบหนึ่งชั่วโมงจึงสามารถเจาะปูนที่แข็งตัวนำศพของนายอาจ่าง อาซอ ชาวไทยใหญ่ ออกมาจากซากปูนได้สำเร็จ
จากนั้นจึงใช้เวลาอีกชั่วโมงกว่านำร่างของคนงานที่เคราะห์ร้ายออกมาได้อีกคน แต่ยังไม่ทราบชื่อว่าผู้ตายเป็นใดระหว่างนายคำแสงกับนายเสถียร เนื่องจากไม่พบหลักฐานใด ๆ ในตัว ส่วนผู้เสียชีวิตรายที่สามนั้น ทางเจ้าหน้าที่ยังไม่พบว่าร่างถูกฝังอยู่ตรงจุดไหนใต้ซากนั่งร้าน ซึ่งกำลังอยู่ในระหว่างการค้นหา
ด้านนิพล จันทร์คำ หัวหน้าคนงานก่อสร้างที่รอดชีวิตจากปูนถล่มทับนั่งร้าน กล่าวว่า ระหว่างที่คุมคนงานก่อสร้างเข้าทำงานตั้งแต่ช่วงเวลาตี 2 โดยมีคนงานทั้งหมดประมาณ 30 กว่าคน ตนเองคุมคนงานทำการปาดปูนอยู่ที่ชั้น 4 ของอาคาร ซึ่งในวันนี้จะต้องเทปูนก่อสร้างทั้งหมดประมาณ 500 คิว ตนเองกับคนงานประมาณ 8 คน ได้ขึ้นไปทำงานปาดปูนจากท่อส่งอยู่ที่ชั้น 4 ซึ่งระหว่างที่ทำงานนั้นก็มีฝนตกพร่ำมาตลอดทั้งคืน
จนกระทั่งเมื่อถึงเวลาประมาณตี 4 ครึ่ง นั่งร้านที่ตนเองกับคนงานอีก 8 คนทำงานอยู่ ก็เกิดยุบตัวถล่มลงมาอย่างไม่ทันตั้งตัว เป็นเหตุให้คนงานทั้งหมดร่วงลงไปอยู่ที่ชั้นล่าง แต่ตนเองโชคดีที่สามารถเกาะนั่งร้านได้ทัน จึงไม่หล่นลงไปที่ชั้นล่างด้วย ทำให้รอดตายมาอย่างหวุดหวิด ซึ่งหลังเกิดเหตุแล้ว ตนเองได้พยายามช่วยเหลือเพื่อนคนงานที่ได้รับบาดเจ็บ แต่สามารถช่วยเหลือเพื่อนคนงานที่ไม่ถูกปูนทับได้เพียง 4 คนเท่านั้น ส่วนอีก 3 คน ไม่สามารถช่วยเหลือได้ทันเพราะถูกซากนั่งร้านและปูนทับจนไม่เห็นร่าง
ด้านนายธงชัย จิ๋วราษฎร์อำนวย วิศวกรโครงการคุมงานก่อสร้าง กล่าวว่า ในการก่อสร้างแต่ละขั้นตอนนั้นจะมีวิศวกรสนามคอยควบคุมงานตลอดเวลา สาเหตุที่นั่งร้านพังถล่มลงมานั้น น่าจะเกิดมาจากนั่งร้านบางจุดเกิดชำรุดขึ้น จึงไม่สามารถรับน้ำหนักปูนที่เทไปไหว จึงเกิดถล่มลงมา ส่วนนั่งร้านที่ทางบริษัทนำมาใช้ในการก่อสร้างก็เป็นนั่งร้านที่มีมาตรฐานและใช้ก่อสร้างมาแล้วหลายอาคาร อย่างไรก็ตามทางบริษัทยินดีที่จะรับผิดชอบความเสียหายที่เกิดขึ้นทั้งหมดให้กับคนงานที่ได้รับบาดเจ็บและเสียชีวิต
สำหรับโครงการก่อสร้างดังกล่าว เป็นของบริษัทเมเจอร์ ซีนีเพล็กซ์ ซึ่งก่อสร้างเป็นโรงภาพยนตร์เอสพลานาด ซีนีเพล็กซ์ บนพื้นที่ประมาณ 50,000-60,000 ตารางเมตร โดยตัวอาคารก่อสร้างเป็นตึกสูง 7 ชั้น ซึ่งจะแบ่งเป็นส่วนเป็นช้อปปิ้งเซ็นเตอร์ โบวลิ่ง คาราโอเกะ และไอซ์สเกต โดยดำเนินการก่อสร้างมาตั้งแต่วันที่ 1 ธันวาคม 2551 ตามสัญญาจะต้องแล้วเสร็จวันที่ 20 กันยายน 2552 จึงทำให้ทางบริษัทโพคัส ดีวอลลอปเม้ทน์แอนด์คอนสตรัคชั่นจำกัด มหาชน ซึ่งเป็นผู้รับเหมาโครงการเร่งทำการก่อสร้างเทปูนเพื่อก่อสร้างให้เสร็จตามสัญญา
โดยในระหว่างที่เกิดเหตุนั้นทางบริษัทผู้รับเหมาได้เร่งเทปูน 500 คิว ก่อสร้างตัวอาคารภายในช่วงโดมที่ยื่นออกมาจากอาคาร ปรากฏว่านั่งร้านที่บริเวณชั้น 4 ของอาคารรับน้ำหนักปูนที่เทไม่ไหว จึงเป็นเหตุทำให้นั่งร้านร่วงถล่มลงมายังชั้นล่าง มีคนงานก่อสร้างได้รับบาดเจ็บ 4 คนและเสียชีวิต 3 คน
ก.แรงงานเล็งเอาผิดนายจ้างปล่อยห้างร้างทับคนงาน
ที่กระทรวงแรงงาน นาง อัมพร นิติสิริ อธิบดีกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน (กสร.) กล่าวภายหลังเดินทางไปตรวจสอบเหตุการณ์นั่งร้านก่อสร้างโรงภาพยนต์ ภายในห้างสรรพสินค้าบริษัท เอกชัย ดิสทีบิวชั่น ซิสเทม จำกัด สาขารัตนาธิเบศร์ พังถล่ม เมื่อช่วงเช้าวันที่ 13 พ.ค.ที่ผ่านมา ทำให้คนงานได้รับบาดเจ็บ 4 คนและเสียชีวิต 3 คน ว่า จากการเดินทางไปตรวจสอบที่เกิดเหตุพบว่าสาเหตุที่นั่งร้านพังถล่มลงมาทับคนงาน มาจากส่วนค้ำยันที่ทำไว้สำหรับเทพื้นคอนกรีต บริเวณชั้นที่ 3 ซึ่งสูงจากชั้นล่างประมาณ 12 เมตรพังลง ซึ่งล่าสุดเจ้าหน้าที่เจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงาน จาก กสร.กำลังอยู่ในระหว่างเข้าไปตรวจสอบ ว่านายจ้างหรือผู้รับเหมาได้ปฏิบัติตามกฎหมายคุ้มครองแรงงาน ว่าด้วยการกำหนดมาตรฐานความปลอดภัยในการทำงาน เช่น จัดอุปกรณ์ที่มีมาตรฐาน มีเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยคอยดูแล หรือสอนให้ลูกจ้างปฏิบัติงานอย่างระมัดระวังแล้วหรือไม่ หากตรวจพบว่าไม่ปฏิบัติตาม ก็อาจถูกดำเนินคดีอาญา มีอัตราโทษสูงสุด ปรับไม่เกิน 2 แสนบาท หรือจำคุกไม่เกิน 1 ปี หรือทั้งจำทั้งปรับ
นางอัมพร กล่าวอีกว่า แต่หากปฏิบัติตามกฎหมายแล้ว แต่เกิดจากความประมาทของลูกจ้างเอง ก็อาจถูกลงโทษน้อยลงแค่เปรียบเทียบปรับเท่านั้น ดังนั้นจึงอยากขอเตือนให้เหตุการณ์ครั้งนี้เป็นอุทาหรณ์ ไม่ให้เกิดเหตุซ้ำอีก ส่วนการรักษาพยาบาล คนงานที่ได้รับบาดเจ็บและตายนั้นเป็นไปตามสิทธิประโยชน์ของกองทุนประกันสังคม และหากเป็นคนงานต่างด้าวที่จดทะเบียนถูกต้องก็สามารถเบิกจ่ายได้จากกองทุนทดแทนได้ อย่างไรก็ตามในระหว่างนี้เป็นช่วงมรสุมลมพัดแรงอาจทำให้ป้ายโฆษณาล้มจำนวนหนึ่ง ซึ่งหากอยู่ในโรงงานจะมีเจ้าหน้าที่ของ กสร.เข้าตรวจสอบ ซึ่งหากไม่ได้มาตรฐานนายจ้างเจ้าของโรงงานก็ต้องรับผิดชอบตามกฎหมาย ทั้งนี้ขอให้นายจ้าง ลูกจ้างช่วยกันตรวจสอบสภาพแวดล้อมความปลอดภัยจากการทำงานด้วย เพื่อเป็นการป้องกันอันตรายในชีวิตและทรัพย์สิน
http://mybuilt.blogspot.com
23 กุมภาพันธ์ 2552
Field density Test
Field Density Test
การหาความหนาแน่นของลูกรัง ในสนาม
ความเข้าใจง่ายๆ เป็นการทดลองหาความหนาแน่นของลูกรังในสนาม โดยวิธี Sand Cone Method
การหาความหนาแน่นของลูกรัง คือการหาน้ำหนักของลูกรัง ในบริเวณที่บดอัดเรียบร้อย หาร ด้วย ปริมาตรของหลุมที่ขุดลูกรังออกมา และการที่จะหาปริมาตรของหลุมที่กล่าวนี้ จำเป็นจะต้องวัดหรือใช้วัสดุ ที่ทราบความหนาแน่นและความถ่วงจำเพาะที่แน่นอน แล้วไปแทนที่ในหลุมที่ขุดลูกรังขึ้นมา
Sand Cone method คือ วิธี การใช้ทรายช่วยในการหาปริมาตรของหลุม ทรายที่นิยมใช้คือ ทราย Ottawa ซึ่งมีเม็ดของทราย กลมและขนาดเท่ากัน (Uniform) เพื่อให้ได้ความหนาแน่นที่เท่ากันโดยตลอด และไม่เกิดการแยกตัวของเม็ดหยาบและเม็ดเล็ก (Segregation) ขณะทำการทดลอง
การหาความหนาแน่นของลูกรัง ในสนาม
ความเข้าใจง่ายๆ เป็นการทดลองหาความหนาแน่นของลูกรังในสนาม โดยวิธี Sand Cone Method
การหาความหนาแน่นของลูกรัง คือการหาน้ำหนักของลูกรัง ในบริเวณที่บดอัดเรียบร้อย หาร ด้วย ปริมาตรของหลุมที่ขุดลูกรังออกมา และการที่จะหาปริมาตรของหลุมที่กล่าวนี้ จำเป็นจะต้องวัดหรือใช้วัสดุ ที่ทราบความหนาแน่นและความถ่วงจำเพาะที่แน่นอน แล้วไปแทนที่ในหลุมที่ขุดลูกรังขึ้นมา
Sand Cone method คือ วิธี การใช้ทรายช่วยในการหาปริมาตรของหลุม ทรายที่นิยมใช้คือ ทราย Ottawa ซึ่งมีเม็ดของทราย กลมและขนาดเท่ากัน (Uniform) เพื่อให้ได้ความหนาแน่นที่เท่ากันโดยตลอด และไม่เกิดการแยกตัวของเม็ดหยาบและเม็ดเล็ก (Segregation) ขณะทำการทดลอง
เครื่องมือที่ใช้ในการทดลองได้แก่
ขวดรูปทรงกระบอก โปร่งแสง สำหรับบรรจุทราย
กรวยโลหะ มีลิ้นปิด เปิด เพื่อควบคุมการไหลของทราย
แผ่นมาตรฐาน (Base plate) ตรงกลางมีรูกลมเส้นผ่าศูนย์กลาง 152.5 mm
เครื่องชั่งสนาม สามารถชั่งได้ประมาณ 1-10 กก
ทราย Ottawa
เครื่องมือเบ็ดเตล็ด เช่น เตาแก๊ส กระทะ ช้อน ถาด กระป๋อง สมุดบันทึก
ขวดรูปทรงกระบอก โปร่งแสง สำหรับบรรจุทราย
กรวยโลหะ มีลิ้นปิด เปิด เพื่อควบคุมการไหลของทราย
แผ่นมาตรฐาน (Base plate) ตรงกลางมีรูกลมเส้นผ่าศูนย์กลาง 152.5 mm
เครื่องชั่งสนาม สามารถชั่งได้ประมาณ 1-10 กก
ทราย Ottawa
เครื่องมือเบ็ดเตล็ด เช่น เตาแก๊ส กระทะ ช้อน ถาด กระป๋อง สมุดบันทึก
จากตารางการบันทึก เรามาทำความเข้าใจกัน ตามลำดับดังนี้
1. การหาความหนาแน่นเปียกของลูกรัง (wet density)
[a] = น้ำหนักของ ( ลูกรังที่ขุดจากหลุม + กระป๋องที่บรรจุลูกรัง)
[b] = น้ำหนักของกระป๋องที่บรรจุลูกรัง
[1] = [a]-[b]= น้ำหนักของลูกรังที่ขุดจากหลุม
[2] = น้ำของ (ขวดบรรจุทราย+ทราย Ottawa+กรวย) ก่อนปล่อยทรายลงหลุม
[3] = น้ำของ (ขวดบรรจุทราย+ทราย Ottawa+กรวย) หลังปล่อยทรายลงหลุม
[4] = [2]-[3] = น้ำหนักของทรายที่อยู่ใน ( กรวย+แผ่นฐาน+หลุม)
[5] = น้ำหนักของทรายที่อยู่ใน ( กรวย+แผ่นฐาน)
[6] = [4]-[5] = น้ำหนักของทรายในหลุม
R sand = ความหนาแน่นของทราย Ottawa จะมีค่ามากับทรายด้วย
[8] = [6]/[7] = ปริมาตรของหลุมที่ขุด
[9] = [1]/[8] = ความหนาแน่นเปียกของลูกรัง
2 การหาปริมาณความชื้นและความหนาแน่นแห้งของลูกรัง
1. การหาความหนาแน่นเปียกของลูกรัง (wet density)
[a] = น้ำหนักของ ( ลูกรังที่ขุดจากหลุม + กระป๋องที่บรรจุลูกรัง)
[b] = น้ำหนักของกระป๋องที่บรรจุลูกรัง
[1] = [a]-[b]= น้ำหนักของลูกรังที่ขุดจากหลุม
[2] = น้ำของ (ขวดบรรจุทราย+ทราย Ottawa+กรวย) ก่อนปล่อยทรายลงหลุม
[3] = น้ำของ (ขวดบรรจุทราย+ทราย Ottawa+กรวย) หลังปล่อยทรายลงหลุม
[4] = [2]-[3] = น้ำหนักของทรายที่อยู่ใน ( กรวย+แผ่นฐาน+หลุม)
[5] = น้ำหนักของทรายที่อยู่ใน ( กรวย+แผ่นฐาน)
[6] = [4]-[5] = น้ำหนักของทรายในหลุม
R sand = ความหนาแน่นของทราย Ottawa จะมีค่ามากับทรายด้วย
[8] = [6]/[7] = ปริมาตรของหลุมที่ขุด
[9] = [1]/[8] = ความหนาแน่นเปียกของลูกรัง
2 การหาปริมาณความชื้นและความหนาแน่นแห้งของลูกรัง
[10] = น้ำหนักของกระป๋องทีบรรจุลูกรังเปียกก่นอคั่ว
[11] = น้ำหนักของ (กระป๋อง + ลูกรังเปียกก่อนคั่ว )
[12] = น้ำหนักของ (กระป๋อง + ลูกรังหลังคั่วแห้ง )
[13] = [12]-[10] = น้ำหนักของ ลูกรังแห้ง
[14] = [11]-[12] = น้ำหนักของ น้ำ
[15] = [14]x100/[13] = ปริมาณความชื้นของลูกรัง
[16] = [9]/{1+[15]/100} = ความหนาแน่นแห้งของลูกรัง
3 ผลของการทดสอบความหนาแน่นของลูกรัง ในสนาม
[17] = ความหนาแน่นแห้งสูงสุดของลูกรัง จากห้องแลป
[18] = สเป็คการบดอัดความหนาแน่นของลูกรัง ในสนาม ปกติ กำหนดที่ 95%
[19] = { [16]/[17] } x 100
ถ้า [19] มากกว่าหรือเท่ากับ [18] แสดงว่าผลการบดอัดลูกรังที่หน้างานได้มาตรฐาน
[18] = สเป็คการบดอัดความหนาแน่นของลูกรัง ในสนาม ปกติ กำหนดที่ 95%
[19] = { [16]/[17] } x 100
ถ้า [19] มากกว่าหรือเท่ากับ [18] แสดงว่าผลการบดอัดลูกรังที่หน้างานได้มาตรฐาน
www.mybuilt.blogspot.com
28 มกราคม 2552
ซานติก้า เปลี่ยนอาคารพานิย์เป็นสถานบริการโดยไม่ได้รับอนุญาติ
มีการปลอมลายเซ็นของวิศวกรผู้ออกแบบ และวิศวกรผู้คุมงานก่อสร้าง
คณะทำงานฯ สรุปสอบซานติก้าผับต่อ รมว.ยุติธรรม ระบุรองผบก.ป.ถือหุ้น เบ่งละเว้นจับ โอละพ่อ เสี่ยสุริยา แค่คนดูลานจอดรถ 5 ปีเลี่ยงภาษี 25 ล้านบาทเมื่อวันที่ 26 ม.ค. เวลา 14.00 น. คณะทำงานของกระทรวงยุติธรรม ชุดตรวจสอบเสาเหตุเพลิงไหม้ซานติก้าผับ ได้เข้ารายงานคืบหน้าการตรวจสอบสาเหตุเพลิงไหม้อาคารซานติก้าผับ ต่อ นายพีระพันธุ์ สาลีรัฐวิภาค รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม
โดยล่าสุดการตรวจสอบสรุปชัดเจนว่า เกิดจากยิงพลุไฟฉลองปีใหม่ของทีมงานซานติก้าผับ ไม่ใช่การจุดไฟเย็นของลูกค้า ไฟติดฉนวนเก็บเสียงบนเพดานทำให้ลุกไหม้อย่างรวดเร็ว
นอกจากนั้น คณะทำงานฯยังพบประเด็นน่าสงสัยว่า ภายหลัง พ.ต.อ.ประยนต์ ลาเสือ รองผู้บังคับการกองปราบปราม(รอง ผบก.ป.) เข้ามาถือหุ้นในบริษัท ไวท์แอนด์บราเธอร์ จำกัด เมื่อวันที่ 17 ก.ย.2549 ตำรวจก็ไม่เคยเข้าจับกุมซานติก้าผับอีกเลย ทั้งที่ ก่อนหน้านั้นเข้าจับกุมฐานเปิดสถานบริการโดยไม่รับอนุญาต และจำหน่ายสุราในเวลาห้ามจำหน่าย เกือบจะวันเว้นวัน รวมถึง 47 ครั้ง
ยิ่งกว่านั้น คณะทำงานฯ ยังพบว่า นายสุริยา ฤทธิ์ระบือ ระบุเป็นผู้จัดการบริษัทไวท์แอนด์บราเธอร์ จำกัด นั้น เป็นเพียงเด็กรับรถในลานจอดรถยนต์ ซึ่งมีรายงานการตรวจสอบความผิดสืบเนื่องหลายด้านของผู้ประกอบการซานติก้าผับ และเจ้าหน้าที่รัฐหลายฝ่าย มีการหลบเลี่ยงไม่เสียภาษีสถานบริการ ในอัตราร้อยละ 10 ของรายได้ให้กับกรมสรรพสามิต ตลอดระยะเวลา 5 ปีที่เปิดซานติก้าผับ มีรายได้รวม 250 ล้านบาท จึงมีภาระต้องชำระภาษีสรรพสามิต 25 ล้านบาท ในกรณีนี้จึงมีความผิด ทั้งในส่วนของเอกชนและเจ้าหน้าที่สรรพสามิต ทั้งนี้ จะให้มีการตรวจสอบไปยังกรมสรรสามิตว่า ทางซ่านติก้าผับ ได้มีการเสีย-ภาษีอย่างถูกต้องหรือไม่
นอกจากนี้ ยังพบว่า ซานติก้าผับ ไม่ได้เสียภาษีป้ายและภาษีโรงเรือน ให้กับสำนักงานเขตวัฒนา รวมถึงการไม่เสียภาษีเงินได้ให้กับกรมสรรพากรอีกด้วย
รายงาน ยังเปิดเผยด้วยว่า ในส่วนของ นายวิสุทธิ์ เสร็จสวัสดิ์ หรือเสี่ยขาว มีส่วนต้องร่วมรับผิดในหลายข้อกล่าวหา เนื่องจากมีการแก้ไขเปลี่ยนแปลงอาคารซานติก้าผับ จากอาคารพาณิชย์เพื่อพักอาศัยมาเป็นสถานบริการโดยไม่ได้รับอนุญาต และเข้าใช้อาคารโดยไม่ได้รับอนุญาต ไม่ตรวจสอบอาคารให้อยู่ในสภาพปลอดภัย และไม่ทำประกันภัยคุ้มครองให้กับบุคคลภายนอก
นอกจากนี้ ยังพบว่า มีการปลอมลายเซ็นของวิศวกรผู้ออกแบบ และวิศวกรผู้คุมงานก่อสร้าง ซึ่งกรณีดังกล่าวเจ้าหน้าที่ของสำนักงานเขต อาจต้องร่วมรับผิด กับเจ้าของซานติก้าผับ
www.mybuilt.blogspot.com
22 มกราคม 2552
การทำงาน ชั้นใต้ดิน
1. วางแผนกำหนดตำแหน่ง ที่จะต้องฝังเสาเหล็ก KING POST หรือ PREFOUNDED COLUMN เพื่อใช้เป็นเสาชั่วคราวหรือเสาอาคารจริง เพื่อที่จะใช้รองน้ำหนักพื้นคานในขณะที่ยังไม่มีฐานรากจริง โดยตำแหน่ง PREFOUNDED COLUMN จะต้องตรงกับตำแหน่งของเสาเข็มเจาะต้นใดต้นหนึ่ง
2. ทำการเจาะเสาเข็มตามปกติ แต่เมื่อเทคอนกรีตได้ระดับตามต้องการแล้ว ให้หย่อนเสา PREFOUNDED COLUMN ลงไปและฝังในคอนกรีตเสาเข็มที่ดีอย่างเพียงพอ โดยทำเฉพาะต้นที่กำหนดไว้ตามข้อ 1 ส่วนต้นอื่นๆ เป็นเสาเข็มเจาะตามปกติ
หมายเหตุ : ระยะห่างของ PREFOUNDED COLUMN ควรจะอยู่ที่ 8 – 9 เมตร สำหรับช่องว่างให้ BACK HOE ขุดดิน
3. ทำการเทกำแพง DIAPHAGM WALL โดยรอบให้เรียบร้อยโดยรอบโครงการ จนเป็นวงปิด (CLOSED LOOP)
4. เทพื้น (หรือคาน) ที่ระดับชั้น GROUND สูงหรือต่ำกว่าระดับดินเดิมเล็กน้อยก็ได้ โดยใช้พื้นดินเป็นแบบรองรับชั่วคราว แต่จะต้องมี DETAIL รอยต่อของพื้น,คาน เชื่อมกับเสา PREFOUNDED COLUMN เป็นอย่างดี (เพื่อถ่ายน้ำหนักพื้น,คาน ลงสู่เสาเหล็กได้) และจะต้องเว้นพื้นบางช่วงเอาไว้ชั่วคราว เพื่อสำหรับนำดินขึ้นมาจากใต้ดินในภายหลัง
5. เริ่มงานขุดดินโดยใช้รถ BACK HOE ขนาดกลาง (10 – 15 ตัน) มุดลงไปขุดดินใต้พื้นคอนกรีตที่เทไปแล้ว (น้ำหนักพื้นจะเริ่มถ่ายลงสู่เสาเหล็ก PREFOUNDED COLUMN ในขั้นตอนนี้ และแบกน้ำหนักไว้โดยเสาเข็มเจาะ 1 ต้น) งานขุดดินจะดำเนินการไปจนกระทั่งถึงระดับใต้ท้องพื้นชั้นถัดไป (ควรจะลึกจากท้องพื้นคอนกรีตมากกว่า 5 เมตร) ในขั้นตอนนี้พื้นและคานชั้น GROUND จะทำหน้าที่เป็นค้ำยันไปในตัวสำหรับค้ำยันกำแพงกันดินมิให้เอียงเข้ามาในบ่อขุด
6. เทพื้นชั้นใต้ดินแรกนี้ (ถ้ามี) และดำเนินการขุดดินลงไป อีกจนถึงระดับใต้ฐานราก
7. เทฐานราก MAT FOUNDATION
8. เทคอนกรีตหุ้มเสาเหล็กจากชั้นที่ลึกที่สุดขึ้นมาตามลำดับขึ้นสู่ชั้นบน ๆ
9. เก็บงานเทพื้นชั้นใต้ดินที่เว้นว่างไว้
10. ดำเนินการเทชั้นบนๆ ไปตามลำดับปกติ
http://mybuilt.blogspot.com
2. ทำการเจาะเสาเข็มตามปกติ แต่เมื่อเทคอนกรีตได้ระดับตามต้องการแล้ว ให้หย่อนเสา PREFOUNDED COLUMN ลงไปและฝังในคอนกรีตเสาเข็มที่ดีอย่างเพียงพอ โดยทำเฉพาะต้นที่กำหนดไว้ตามข้อ 1 ส่วนต้นอื่นๆ เป็นเสาเข็มเจาะตามปกติ
หมายเหตุ : ระยะห่างของ PREFOUNDED COLUMN ควรจะอยู่ที่ 8 – 9 เมตร สำหรับช่องว่างให้ BACK HOE ขุดดิน
3. ทำการเทกำแพง DIAPHAGM WALL โดยรอบให้เรียบร้อยโดยรอบโครงการ จนเป็นวงปิด (CLOSED LOOP)
4. เทพื้น (หรือคาน) ที่ระดับชั้น GROUND สูงหรือต่ำกว่าระดับดินเดิมเล็กน้อยก็ได้ โดยใช้พื้นดินเป็นแบบรองรับชั่วคราว แต่จะต้องมี DETAIL รอยต่อของพื้น,คาน เชื่อมกับเสา PREFOUNDED COLUMN เป็นอย่างดี (เพื่อถ่ายน้ำหนักพื้น,คาน ลงสู่เสาเหล็กได้) และจะต้องเว้นพื้นบางช่วงเอาไว้ชั่วคราว เพื่อสำหรับนำดินขึ้นมาจากใต้ดินในภายหลัง
5. เริ่มงานขุดดินโดยใช้รถ BACK HOE ขนาดกลาง (10 – 15 ตัน) มุดลงไปขุดดินใต้พื้นคอนกรีตที่เทไปแล้ว (น้ำหนักพื้นจะเริ่มถ่ายลงสู่เสาเหล็ก PREFOUNDED COLUMN ในขั้นตอนนี้ และแบกน้ำหนักไว้โดยเสาเข็มเจาะ 1 ต้น) งานขุดดินจะดำเนินการไปจนกระทั่งถึงระดับใต้ท้องพื้นชั้นถัดไป (ควรจะลึกจากท้องพื้นคอนกรีตมากกว่า 5 เมตร) ในขั้นตอนนี้พื้นและคานชั้น GROUND จะทำหน้าที่เป็นค้ำยันไปในตัวสำหรับค้ำยันกำแพงกันดินมิให้เอียงเข้ามาในบ่อขุด
6. เทพื้นชั้นใต้ดินแรกนี้ (ถ้ามี) และดำเนินการขุดดินลงไป อีกจนถึงระดับใต้ฐานราก
7. เทฐานราก MAT FOUNDATION
8. เทคอนกรีตหุ้มเสาเหล็กจากชั้นที่ลึกที่สุดขึ้นมาตามลำดับขึ้นสู่ชั้นบน ๆ
9. เก็บงานเทพื้นชั้นใต้ดินที่เว้นว่างไว้
10. ดำเนินการเทชั้นบนๆ ไปตามลำดับปกติ
http://mybuilt.blogspot.com
20 มกราคม 2552
Super Flat floor with floorhardener At RC Site
Step 1 ขั้นตอนการทำงาน เริ่มตั้งแต่ การปรับดินเทลีน คานคอดิน วางแผ่น Prestress จนถึงการเทคอนกรีตเสร็จ
1. ปรับดินเท Lean Concrete หนาประมาณ 5 ซม. เพื่อทำคานคอดินรับพื้น ข้อระวังในการทำคานคอดิน คือการควบคุมระดับหลังคานให้ใด้ระดับตามแบบก่อสร้าง เพื่อการวางแผ่น Prestress ง่ายขึ้นในระหว่างการทำงาน
2. รื้อไม้แบบคานคอดินออก ปรับระดับดินเดิมตามสภาพ แล้ว ฉีดน้ำยากำจัดปลวกลงดิน ให้ได้ตามสเป็คของผู้ออกแบบ ตามด้วยการวางแผ่น Prestress
3. วางแผนและจัดลำดับ การเทคอนกรีตพื้นออกเป็นโซน แต่ละโซนมีขนาด กว้าง x ยาว ประมาณ 20 x50 เมตร แต่โซนออกแบบรอยต่อเป็น pour strip หรือ Expantion joint ทั้งนี้เพื่อควบคุมรอยแตกร้าว ส่วนการเทคอนกรีตแต่ละครั้งควรแบ่ง strip การเทไม่ควรเกิน 6-8 เมตร เพื่อควบคุมค่าระดับของพื้น
4. การวางเหล็กเสริมควรวางให้ได้ตำแหน่ง เหล็กบนต้องอยู่บนจริง ๆ เหล็กล่างต้องอยู่ล่าง และในส่วน
Covering ต้องได้ตามที่กำหนดโดยใช้ลูกปูนและ barchair ช่วยในการจัดตำแหน่งของเหล็กเสริม
5. Construction Joint ของแต่ละ Bay ให้ใช้ตะแกรงกงไก่เป็นแบบ ด้านที่จะตัด Joint ควรยึดตะแกรงให้แน่นด้วย เหล็ก 9 mm. ตลอดแนวที่จะตัด Joint ระวังเวลา จี้คอนกรีต ถ้ายึดตะแกรงไม่ดีจะทำให้คอนกรีตทะลักล้นออกมา การติดตะแกรง ควรวางให้ได้ระนาบฉากเสมอ
5. การใส่เหล็กฉาก กันเหลี่ยมบิ่น หรือ เพื่อให้เหลี่ยมของพื้นในแนวที่ตัด Joint มีคุณภาพควรใช้เหล็กฉากใหม่ ไม่ควรใช้เหล็กเก่าเพราะอาจมีขี้ปูนติดกับเหล็กฉากอยู่ และควรทาเหล็กฉากด้วยน้ำยา หรือจาระบี เพื่อไม่ให้เหล็กฉากยึดติดกับ Concrete ตอนรื้อเหล็กฉากควรใช้เครื่องตัดร่องนำระหว่างแนวเหล็กฉาก กับคอนกรีต เพื่อป้องกันเหลี่ยมแตก การ Set ระดับ ไม่ควรเชื่อมเหล็กฉากติดกับเหล็กเสริม เพราะระดับอาจเคลื่อนได้ ก่อนเทควรให้ Survey Check ระดับให้อีกครั้ง และควรยึดค่าระดับอ้างอิงจุดเดียวกันเสมอ
6. การเสริมเหล็กกันแตกตามบริเวณ Block Out และ Opening รวมทั้งตามมุมเสา มุมหักต่างๆของคอนกรีต ต้องมี อย่างน้อย 3 เส้น โดยใช้ความยาวเท่ากับ 3 d และระยะห่างประมาณ 2.5 - 3 ซม. โดย Aggregated สามารถแทรกตัวลงได้โดยไม่มีการแยกตัว
7. การเท Concrete ควรจะเทเริ่มจาก Bay ตรงมุมออกมาก่อน หรือ ทาง วิศวกร เห็นสมควร และก่อนเท
คอนกรีต ควร Check Slump ก่อนเททุกครั้ง Slump ต้องได้ตามที่ Mix Design ไว้ ( Slump ปกติจะอยู่ที่ 10 + 1 ซม. )
8. การปาดหน้าปูนให้ใช้กล่องอลูมิเนียม หรือโครงถักอลูมิเนียมช่วยในการปาดหน้า และง่ายต่อการ Check ระดับของผิวคอนกรีต
9. การเท Concrete ใน Bay ต่อไปควรสะกัดคอนกรีตที่ล้นออกนอกตะแกรงกงไก่ก่อนเทคอนกรีตใหม่เสมอ
การตรวจสอบก่อนการเทคอนกรีต และระหว่างการเทคอนกรีต
- ตรวจสอบระดับของ lean Concrete และความเรียบร้อยของพลาสติก Sheet
- ตรวจสอบแนววางท่อ และระดับของลวดอัดแรงให้ได้ตามแบบ
- ตรวจสอบงานระบบที่อยู่ใต้พื้นให้ตรงตามแบบ
- ตรวจสอบเหล็กเสริมตามช่องเปิด และ joint รวมทั้งบริเวณสมอยึด (Anchorage)
- ตรวจสอบเหล็กฉาก ว่าได้ระดับเท และได้แนว และมีความแข็งแรง
- ตรวจสอบว่ามีการจี้ปูนสม่ำเสมอ และ slump ในการเทต้องได้ตามกำหนด
- ตรวจสอบการปาดปูน ปรับระดับด้วยโครงถักอลูมิเนียม และเช็คด้วยกล้องระดับ
- ถ้าเหล็กเสริมติดแนว tendon ให้ขยับเหล็กเสริมออกจากแนว tendon ห้ามหักงอ tendon เพื่อหลบเหล็กเสริมซึ่งจะทำให้เกิด
friction loss สูง
- แนวการเทคอนกรีตต้องเป็นแนวเดียวกันตลอดห้ามเทตัดขวางกันเป็นสามแยก
ข้อควรระวัง
1. ไม่ควรให้คนงานเดินบนเหล็กเสริมเพราะอาจทำให้เหล็กคด งอ เสียรูปทรงได้
2. ก่อนเทคอนกรีต ทุกครั้งควรให้ Survey มา Recheck ระดับก่อนเสมอ และใช้ค่าระดับที่จุดเดียวกัน
3. ก่อนเทคอนกรีตควรลดระดับเผื่องาน Finishing ตามแบบไว้ก่อนเสมอ
4. ก่อนเทคอนกรีต ควรลงน้ำยากันปลวกก่อน 1 วัน
5. ต้องทำความสะอาดแบบก่อนเทคอนกรีตทุกครั้ง
6 เพื่อความสวยงามของพื้นคอนกรีตควร Set ตำแหน่งรอยต่อ joint ให้หลบในที่ลับตาหรือบริเวณที่มีสิ่งของมาบังไว้
7 การเก็บน้ำปูนหรือขี้ปูนที่ล้นเข้าไปใน Concrete Bay เก่าและเก็บรอยต่อให้ดี ถ้าเก็บไม่ดีจะเกิดเป็นรอยตะเข็บเกิดขึ้น
8 ในบริเวณจุดตัว Joint ให้เป็นสี่แยกตลอด และไม่ควรตัด Joint ให้เป็นมุมฉากมุม, มุมเว้า
9 ในส่วนพื้นที่โครงสร้างต่างชนิดกันควรตัด Joint แยกจากกันเป็น Slab on ground กับ Slab on beam
10 ตรงส่วนมุมเว้า มุมแหลม ควรเสริมเหล็กกันแตกเสมอ รวมถึงบริเวณ Block out วงกบ โดยใช้ความยาวเท่ากับ 3 d
Step 2 ขั้นตอนการขัดมันด้วยผง FLOOR HARDENER
1. ปรับดินเท Lean Concrete หนาประมาณ 5 ซม. เพื่อทำคานคอดินรับพื้น ข้อระวังในการทำคานคอดิน คือการควบคุมระดับหลังคานให้ใด้ระดับตามแบบก่อสร้าง เพื่อการวางแผ่น Prestress ง่ายขึ้นในระหว่างการทำงาน
2. รื้อไม้แบบคานคอดินออก ปรับระดับดินเดิมตามสภาพ แล้ว ฉีดน้ำยากำจัดปลวกลงดิน ให้ได้ตามสเป็คของผู้ออกแบบ ตามด้วยการวางแผ่น Prestress
3. วางแผนและจัดลำดับ การเทคอนกรีตพื้นออกเป็นโซน แต่ละโซนมีขนาด กว้าง x ยาว ประมาณ 20 x50 เมตร แต่โซนออกแบบรอยต่อเป็น pour strip หรือ Expantion joint ทั้งนี้เพื่อควบคุมรอยแตกร้าว ส่วนการเทคอนกรีตแต่ละครั้งควรแบ่ง strip การเทไม่ควรเกิน 6-8 เมตร เพื่อควบคุมค่าระดับของพื้น
4. การวางเหล็กเสริมควรวางให้ได้ตำแหน่ง เหล็กบนต้องอยู่บนจริง ๆ เหล็กล่างต้องอยู่ล่าง และในส่วน
Covering ต้องได้ตามที่กำหนดโดยใช้ลูกปูนและ barchair ช่วยในการจัดตำแหน่งของเหล็กเสริม
5. Construction Joint ของแต่ละ Bay ให้ใช้ตะแกรงกงไก่เป็นแบบ ด้านที่จะตัด Joint ควรยึดตะแกรงให้แน่นด้วย เหล็ก 9 mm. ตลอดแนวที่จะตัด Joint ระวังเวลา จี้คอนกรีต ถ้ายึดตะแกรงไม่ดีจะทำให้คอนกรีตทะลักล้นออกมา การติดตะแกรง ควรวางให้ได้ระนาบฉากเสมอ
5. การใส่เหล็กฉาก กันเหลี่ยมบิ่น หรือ เพื่อให้เหลี่ยมของพื้นในแนวที่ตัด Joint มีคุณภาพควรใช้เหล็กฉากใหม่ ไม่ควรใช้เหล็กเก่าเพราะอาจมีขี้ปูนติดกับเหล็กฉากอยู่ และควรทาเหล็กฉากด้วยน้ำยา หรือจาระบี เพื่อไม่ให้เหล็กฉากยึดติดกับ Concrete ตอนรื้อเหล็กฉากควรใช้เครื่องตัดร่องนำระหว่างแนวเหล็กฉาก กับคอนกรีต เพื่อป้องกันเหลี่ยมแตก การ Set ระดับ ไม่ควรเชื่อมเหล็กฉากติดกับเหล็กเสริม เพราะระดับอาจเคลื่อนได้ ก่อนเทควรให้ Survey Check ระดับให้อีกครั้ง และควรยึดค่าระดับอ้างอิงจุดเดียวกันเสมอ
6. การเสริมเหล็กกันแตกตามบริเวณ Block Out และ Opening รวมทั้งตามมุมเสา มุมหักต่างๆของคอนกรีต ต้องมี อย่างน้อย 3 เส้น โดยใช้ความยาวเท่ากับ 3 d และระยะห่างประมาณ 2.5 - 3 ซม. โดย Aggregated สามารถแทรกตัวลงได้โดยไม่มีการแยกตัว
7. การเท Concrete ควรจะเทเริ่มจาก Bay ตรงมุมออกมาก่อน หรือ ทาง วิศวกร เห็นสมควร และก่อนเท
คอนกรีต ควร Check Slump ก่อนเททุกครั้ง Slump ต้องได้ตามที่ Mix Design ไว้ ( Slump ปกติจะอยู่ที่ 10 + 1 ซม. )
8. การปาดหน้าปูนให้ใช้กล่องอลูมิเนียม หรือโครงถักอลูมิเนียมช่วยในการปาดหน้า และง่ายต่อการ Check ระดับของผิวคอนกรีต
9. การเท Concrete ใน Bay ต่อไปควรสะกัดคอนกรีตที่ล้นออกนอกตะแกรงกงไก่ก่อนเทคอนกรีตใหม่เสมอ
การตรวจสอบก่อนการเทคอนกรีต และระหว่างการเทคอนกรีต
- ตรวจสอบระดับของ lean Concrete และความเรียบร้อยของพลาสติก Sheet
- ตรวจสอบแนววางท่อ และระดับของลวดอัดแรงให้ได้ตามแบบ
- ตรวจสอบงานระบบที่อยู่ใต้พื้นให้ตรงตามแบบ
- ตรวจสอบเหล็กเสริมตามช่องเปิด และ joint รวมทั้งบริเวณสมอยึด (Anchorage)
- ตรวจสอบเหล็กฉาก ว่าได้ระดับเท และได้แนว และมีความแข็งแรง
- ตรวจสอบว่ามีการจี้ปูนสม่ำเสมอ และ slump ในการเทต้องได้ตามกำหนด
- ตรวจสอบการปาดปูน ปรับระดับด้วยโครงถักอลูมิเนียม และเช็คด้วยกล้องระดับ
- ถ้าเหล็กเสริมติดแนว tendon ให้ขยับเหล็กเสริมออกจากแนว tendon ห้ามหักงอ tendon เพื่อหลบเหล็กเสริมซึ่งจะทำให้เกิด
friction loss สูง
- แนวการเทคอนกรีตต้องเป็นแนวเดียวกันตลอดห้ามเทตัดขวางกันเป็นสามแยก
ข้อควรระวัง
1. ไม่ควรให้คนงานเดินบนเหล็กเสริมเพราะอาจทำให้เหล็กคด งอ เสียรูปทรงได้
2. ก่อนเทคอนกรีต ทุกครั้งควรให้ Survey มา Recheck ระดับก่อนเสมอ และใช้ค่าระดับที่จุดเดียวกัน
3. ก่อนเทคอนกรีตควรลดระดับเผื่องาน Finishing ตามแบบไว้ก่อนเสมอ
4. ก่อนเทคอนกรีต ควรลงน้ำยากันปลวกก่อน 1 วัน
5. ต้องทำความสะอาดแบบก่อนเทคอนกรีตทุกครั้ง
6 เพื่อความสวยงามของพื้นคอนกรีตควร Set ตำแหน่งรอยต่อ joint ให้หลบในที่ลับตาหรือบริเวณที่มีสิ่งของมาบังไว้
7 การเก็บน้ำปูนหรือขี้ปูนที่ล้นเข้าไปใน Concrete Bay เก่าและเก็บรอยต่อให้ดี ถ้าเก็บไม่ดีจะเกิดเป็นรอยตะเข็บเกิดขึ้น
8 ในบริเวณจุดตัว Joint ให้เป็นสี่แยกตลอด และไม่ควรตัด Joint ให้เป็นมุมฉากมุม, มุมเว้า
9 ในส่วนพื้นที่โครงสร้างต่างชนิดกันควรตัด Joint แยกจากกันเป็น Slab on ground กับ Slab on beam
10 ตรงส่วนมุมเว้า มุมแหลม ควรเสริมเหล็กกันแตกเสมอ รวมถึงบริเวณ Block out วงกบ โดยใช้ความยาวเท่ากับ 3 d
Step 2 ขั้นตอนการขัดมันด้วยผง FLOOR HARDENER
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)